Skip to main content

            ความสัตย์ซื่อและยึดถือกฎหมายด้วยศรัทธาอย่างแรงกล้า

            มีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสำนักกฎหมายบ้านเมือง ว่า คำสั่งทั้งหลายของรัฐาธิปัตย์ถือเป็นกฎหมายอย่างเด็ดขาด
            ศรัทธาต่อกฎหมาย เกิดขึ้นได้ ด้วยกฎหมายที่ยุติธรรมเชื่อมโยงกับศีลธรรมทางสังคม และกฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
            Fidelity to the Law

            นัยยะของมันจริงๆ คือ ฝ่ายสำนักกฎหมายธรรมชาติเถียงว่า หากกฎหมายเป็นเพียงกฎใดๆที่ออกมาด้วยอำนาจของผู้ปกครองโดยไม่เชื่อมโยงกับศีลธรรมหรือความยุติธรรมตามธรรมชาติแล้ว ย่อมทำให้ความมุ่งมาดปรารถนาในการเคารพกฎหมายของประชาชนเสื่อมลงไปได้

            การออก/สร้างกฎหมายให้คนไว้ใจแหล่ะศรัทธานั้น จึงต้องการมากกว่าการเรียกร้องให้ประชาชนเคารพกฎหมาย แต่ผู้ปกครองต้องสร้างกฎหมายให้ประชาชนศรัทธาด้วยการสอดคล้องกับความยุติธรรมด้วย

            ซึ่งตอนหลัง ฮาร์ท ก็จะมาอธิบาย ที่ทำให้เข้าใจชัดขึ้นว่า สำนักกฎหมายบ้านเมืองไม่ได้บอกว่ากฎหมายเป็น คำสั่งอะไรก็ได้ของผู้ปกครอง แต่ต้องเป็นกฎหมายที่เชื่อมโยงกับกฎหมายอื่นๆ เช่น ออก พรบ.ก็ไม่ละเมิดรัฐธรรมนูญ ออกกฎหมายภายในก็ไม่ละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ แม้กระทั่งจะเขียนสนธิสัญญาระหว่างประเทศยังต้องอยู่ภายใต้กรอบของจารีตประเพณีระหว่างประเทศ Erga Omnes ด้วยซ้ำ

             หรือ รัฐสมาชิกอียูจะออกกฎหมายภายในก็ต้องดูระบบกฎหมาย Supra National ของ EU ด้วย

            ความเข้าใจผิดต่อ สำนักกฎหมายบ้านเมืองว่า กฎหมายคือคำสั่งของผู้ปกครอง (เฉยๆ) นั้นตกยุคไปนานมาแล้ว ที่ชัดสุดก็คือ หลังชัยชนะของการปลดแอกประเทสอาณานิคมทั้งหลาย เช่น การต่อสู้ของมหาตมะคานธีด้วยวิถีแห่งสันติอหิงสา เพื่อชี้ให้เห็นว่า คำสั่งของรัฐธิปัตย์ที่ไร้ความยุติธรรม ย่อมไม่นำมาสู่การเคารพกฎหมายโดยประชาชน

การกำหนดอนาคตตนเองของประชานด้วยอารยะขัดขืนได้รับการยอมรับตามระหว่างประเทศอย่างชัดเจนในยุคปลดแอกหลังสงครามโลกครั้งที่สอง (ดู http://www.un-documents.net/a25r2625.htm)

นี่ตอบได้ด้วยว่าทำไม มหาตมะ คานธี ไม่ได้โนเบลสันติภาพ ก็เพราะตอนที่ทำ โลกตะวันตกมองว่านี่คือ คนที่กระทำการฝ่าฝืนกฎหมายบั่นทอนความมั่นคงของรัฐ(ผู้ปกครอง) แต่เมื่อประชาชนชนะ รัฐอาณานิคมทยอยปลดแอกสำเร็จ จนเกิดปฏิญญา และ กติการสากลว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง และสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ล้วนยอมรับ

            "สิทธิในการกำหนดอนาคตตนเองของปวงชน" 

จึงเป็นการเริ่มต้นของ การยอมรับวิธีการต่อต้านรัฐโดยสันติวิธีตามเจตจำนงของประชาชน

มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จึงได้รับโนเบลสาขาสันติภาพ แม้จะตกเป็นจำเลยในประเทศตนเองก็ตาม
 

            https://www.youtube.com/watch?v=ZzbKaDPMoDU

            เวลาพูดถึงความก้าวหน้าด้านสิทธิมนุษยชน จึงพูดในประสบการณ์และความสัตย์ซื่อต่อกฎหมายและหลักการโดยเฉพาะในยุโรป

ส่วนสหรัฐเป็นที่ตั้งข้อสังเกตว่ามุ่งมั่นผลักดันสิทธิมนุษยชนเฉพาะนอกเขตอำนาจของตัวเอง

 

การซื่อสัตย์ต่อกฎหมาย จะเกิดได้ก็ต่อเมื่อกฎหมายนั้นเป็นที่ยอมรับของประชาชน

 

            โดยประชาชนจะต่อต้านต่อผู้ปกครองเฉพาะกฎหมาย/นโยบายที่ไร้ความยุติธรรมเท่านั้น มิใช่มุ่งล้มการปกครองทั้งหมด จึงต้องยอมรับผลของกฎหมายในการกระทำต่อต้านนั้น และยอมอยู่ใต้ระบบกฎหมายและความยุติธรรมหลัก เพื่อแสดงให้เห็นถึงการเคารพกฎหมายอย่างสุดซึ้ง มิได้มุ่งทำลายกฎหมาย โครงสร้างทั้งมวลของรัฐทิ้งเสียทั้งหมด แบบ "อนาธิปไตย"

 

ศรัทธาต่อกฎหมาย จึงเกิดขึ้นได้ด้วย กฎหมายที่ยุติธรรมเชื่อมโยงกับศีลธรรมทางสังคม (สำนักกฎหมายธรรมชาติ) และยึดโยงกับกฎหรือกฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง (สำนักกฎหมายบ้านเมือง)
            ซึ่งไม่อยากพูดอะไรเยอะน่ะครับ เพราะหนังสือนิติปรัชญาจำนวนมาก ของอาจารย์ที่เคารพก็เขียนทำให้เกิดความเข้าใจต่อ สำนักกฎหมายบ้านเมืองคลาดเคลื่อนอยู่เยอะมาก

            รศ.ดร.ไชยันตร์ รัชชะกูล ผู้สอน นิติปรัชญา ระดับมหาบัณฑิต จึงมีดำริว่า นักกฎหมายรุ่นใหม่ ควรเขียนนิติปรัชญารุ่นใหม่ ที่ไม่ตกหลุม

            คู่ตรงข้ามของ สำนักกฎหมายบ้านเมือง Vs สำนักกฎหมายธรรมชาติ
            เพราะในยุคหลังที่ประชาธิปไตยเบ่งบาน และสิทธิมนุษยชนเป็นค่านิยมหลักของโลก ทั้งสองสำนักได้เดินทางมาบรรจบกันแล้ว แม้ในเบื้องต้นจะมีจุดเริ่มคนละฟากฝั่งกัน

พวกบอกว่า คำสั่งของรัฐาธิปัตย์ คือ กฎหมาย จึงเป็นพวกสำนักกฎหมายก่อนศตวรรษที่ 19 

ครับ นักกฎหมายไทยล้าหลังไปเกือบ 2 ศตวรรษ

อย่างไรก็ดีการทำให้คนทั้งสังคมเชื่อมมั่นศรัทธาและอยากปฏิบัติตามกฎหมายเป็นไปได้ยาก การเอากำลังหรืออำนาจกฎหมายเข้าไปบังคับปิดปากก็เป็นการขัดหลักการประกันเสรีภาพขั้นพื้นฐาน

ดังนั้น "ทุกคน" คงยาก ทำได้มากสุด คือ โดดเดี่ยวพวกสุดโต่ง อะครับ 
คือ ต้องทำให้ความ คลั่ง........ เป็นสิ่งที่ไม่ "ชิค ชิค คูล คูล" ให้ได้ในท้ายที่สุด
เพราะในยุคโพสต์แมทีเรียล เซลฟ์รีเฟรกชั่นสำคัญสุด ถ้าทำแล้วดูไม่ดี ไม่เท่ห์ คนอื่นไม่สนใจ ก็อายกันเลยทีเดียว เพราะ หน้าตาภาพลักษณ์ คือต้นทุนสำคัญในการอยู่กับสังคมไทย

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การนำ คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 205/2549 มาตราเป็นพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร  โดยแฝงนัยยะของการสร้าง “รัฐทหาร” ด้วยการขยับขยายขอบเขตอำนาจแก่เจ้าหน้าที่ กอ. รมน.
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
หลังสิ้นสุดยุคสมัยสงครามเย็น หนึ่งในมรดกตกทอดจากยุคนั้น ได้แก่ หน่วยงานความมั่นคงของรัฐไทยที่มีอำนาจหน้าที่อย่างเข้มข้นในการเฝ้าระวัง สอดส่อง ควบคุมการสื่อสารและการกระทำต่าง ๆ ของประชาชนที่ผู้มีอำนาจเห็นว่าเป็นภัยต่อความมั่นคง และส่งผลเสียต่อการยืนหยัดสู้เพื่ออุดมการณ์ทางการเมืองช่วงนั้น อาทิ กอง
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
คนไร้บ้านจัดเป็นกลุ่มที่เสี่ยงที่จะถูกละเมิดสิทธิและด้อยโอกาสในการเข้าถึงบริการสาธารณะ สวัสดิการ และหลักประกันด้านต่าง ๆ ด้วยเหตุที่เป็นกลุ่มซึ่งต้องปะทะโดยตรงกับการพัฒนาเมืองอย่างไม่ยั่งยืนทั้งที่สาเหตุของการออกมาอยู่ในพื้นที่สาธารณะนั้นเกี่ยวข้องกับความเหลื่อมล้ำทางสังคมอันเป็นผลลัพธ์ของนโยบายส
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
คนไร้บ้านตกอยู่ในสถานะของกลุ่มเสี่ยงที่อาจต้องเผชิญจากการเหยียดหยามศักดิ์ความเป็นมนุษย์โดยตรงจากการละเมิด และยังอาจไม่ได้รับการดูและแก้ไขปัญหาเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ยุ่งยากต่าง ๆ เพราะถูกจัดให้อยู่ในสถานะต่ำต้อยเสี่ยงต่อการเลือกประติบัติจากรัฐ จนไปถึงการเพิกเฉย ละเลย ไม่ใส่จะแก้ปัญหาให้คนไร้บ้
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
คนไร้บ้านเป็นเสียงที่ไม่ถูกนับ การใช้พลังในลักษณะกลุ่มก้อนทางการเมืองเพื่อเรียกร้องประโยชน์จากผู้มีอำนาจให้จัดสรรทรัพยากรให้จึงเป็นเรื่องยาก ด้วยสาเหตุหลัก 2 ประการ คือ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของคนไร้บ้านจำเป็นต้องยืนอยู่บนฐานของกฎหมายที่ประกันสิทธิของบุคคลโดยมิคำนึงถึงความแตกต่างหลากหลายทางสถานภาพใด ๆ แม้คนไร้บ้านจะเป็นปัจเจกชน หรือกลุ่มคนที่มีปริมาณน้อยเพียงไร รัฐก็มีพันธกรณีในการเคารพ ปกป้อง และส่งเสริมสิทธิให้กลุ่มเสี่ยงนี้โดยเหตุแห่งความเป็นสิทธิมนุษยชนที่ร
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
หากต้องกำหนดยุทธศาสตร์ของประเทศไทยในการเข้าร่วมตลาดดิจิทัลที่มีเข้มข้นของกิจกรรมข้ามพรมแดนตลอดเวลา เพื่อแก้ไขปัญหาศักยภาพของรัฐในการบังคับใช้กฎหมายขยายไปเหนือหลักเขตอำนาจศาลเหนือดินแดนของตนแบบเก่า เมื่อต้องกำกับกิจกรรมของบรรษัทข้ามชาติที่อยู่ในการบังคับของกฎหมายรัฐอื่นซึ่งมีบรรทัดฐานในหลายประเด็น
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การวิเคราะห์กฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติกับรัฐ จะกระทำใน 3 ประเด็นหลัก คือ ใครเป็นเจ้าของข้อมูล ใครมีสิทธิใช้ประโยชน์จากข้อมูลมากน้อยอย่างไร หรือแบ่งปันกันอย่างไร อันเป็นการเตรียมความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูล
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บทความนี้จะทำการรวบรวมข้อเสนอทางกฎหมายในระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติ กับรัฐและองค์การระหว่างประเทศ อันเป็นการเตรียมความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูลจากแพลตฟอร์มดิจิทัล ว่าสามารถบริหารจัดการให
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บทความนี้จะทำการทบทวนข้อกฎหมายทั้งในระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติ เรื่อยมาจนถึงสำรวจความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูลจากแพลตฟอร์มดิจิทัล ว่าสามารถบริหารจัดการให้เกิดการแบ่งปันข้อมูลดิจิทัลระหว
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
ประเด็นพื้นฐานที่รัฐต้องคิด คือ จะส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมทางเทคโนโลยีเพื่อสะสมความมั่งคั่งได้อย่างไร แล้วจึงจะไปสู่แนวทางในการแบ่งปันความมั่งคั่งให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการผลิตข้อมูลขึ้นมาในแพลตฟอร์ม
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
Kean Birch นำเสนอปัญหาของข้อมูลส่วนบุคคลในฐานะสินค้าของตลาดนวัตกรรมเทคโนโลยีจำนวน 5 ประเด็น คือ1.ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของแพลตฟอร์มในฐานะเจ้าของข้อมูลทึ่ถูกรวบรวมโดยนวัตกรรม,