Skip to main content

พอมาอยู่ที่ยุโรป ถึงได้รู้ว่า อิตาลี กับ สเปน มันไม่แคร์เรื่อง ขาดดุลตัวเลขเลย เพราะมันเอาไปลงทุนไว้กับคน รอถอนทุนคืน

การทำให้คนร่างกายจิตใจแข็งแรง ลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ และสังคม(อาชญากรรม)  เพิ่มโอกาสในการพัฒนาตัวเองหรือพัฒนาสังคม   สามารถถอนทุนคืนได้ เมื่อทรัพยากรมนุษย์เหล่านั้นพร้อม เช่น จบการศึกษา มีทักษะวิชาชีพ  ทำให้ยังมีโอกาสขยับเลื่อนสถานะ และมีเวลาคิดแก้ไขปัญหาสังคม อนาคต ร่วมกัน  แสวงหาความรู้และสื่อสาระ

ไม่เหมือนบางประเทศ เอาไปกระตุ้นการบริโภคกับสร้างขยะที่ไม่จำเป็น เลยเจ๊ง เบิ้ลๆ นะครับนะ

การทำให้เกิดภาระในการซ่อมบำรุงในอนาคต การเพิ่มค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ และการทำให้คนติดนิสัยใช้จ่ายเกินตัวและกู้ยืม และคนตัดใจไม่เรียนต่อโดยเฉพาะคนที่ต้องกู้ยืม  ทำให้โอกาสขยับเลื่อนสถานะยิ่งยาก   และต้องใช้เวลาทั้งหมดภายใต้ตรรกะของทุนนิยม การบังคับของนายจ้าง และรัฐ โดยมีสื่อบันเทิงกล่อม


ดีใจที่มีคนเห็นร่วมกันมากขึ้นโดยมิได้นัดหมายในเรื่อง

1. คนที่ทรงอิทธิพลทางความคิด คือ นักโฆษณาประชาสัมพันธ์ หรือคนทำหนังทำละคร และแต่งเพลง มิใช่ นักวิชาการ หรือ นักเขียนวรรณกรรม

2. หนังหน้า หรือรูปลักษณ์ภายนอก เป็นต้นทุนสำคัญในการ ขยับเลื่อนสถานะความเป็นอยู่ในสังคมไทย ทุกเรื่อง ทุกแวดวง

ส่วนข้อสังเกตที่เห็นชัด คือ ตั้งแต่มีการรัฐประหาร และคนรุ่นใหม่ลงทุนทางอ้อมด้วยการซื้อหุ้น ตราสารต่างๆ มากขึ้น คือ

อาการ Schizophrenia ของคนในสังคมทุนนิยมเผด็จการ

มีคนที่ ต่อต้านทุนนิยมสามานย์แต่ดันเอาใจช่วยเชียร์ทุนเผด็จการที่ผลักดันโครงการใหญ่ๆที่ไปบดขยี้คนตัวเล็กตัวน้อยมากขึ้น

ก็เข้าใจได้นะครับว่า ทุนมันทำงานสลับซับซ้อนและทำให้คนที่มีส่วนได้เสีย เอาใจช่วยมัน แม้จะขัดกับหลักการที่ "ตนเคยประกาศไว้"

ผมเข้าใจนะครับ ว่าโครงสร้างเศรษฐกิจมันไม่เอื้อให้คนรุ่นใหม่ลงทุนในการผลิตสินค้าและบริการใหม่ๆ แต่ไม่ต้องทำอะไรที่มันย้อนแย้งกัน ให้ "คำสำคัญๆ" พังไปด้วยก็ได้

คนที่เขาทำงานเรื่องนั้นจริงๆ ลำบากมากครับ โดนโหนกันจนเละ

พอเสร็จแล้วก็ทิ้งเรื่องไว้ ให้เขาต้องมาตามล้างตามเช็ดกัน

หรือจริงๆ นโยบายที่สังคมไทยไม่ได้คิดกัน คือ

"Pacification" การทำให้ประชากรสุขสงบ

ซึ่งเป็นนโยบายที่รัฐหลังสงครามโลก ดำเนินการกันอย่างจริงจัง เพื่อป้องกันการ หงุดหงิด เดือดดาล แล้วลุกฮือ

บางคนบอกว่ามี ก็ "คืนความสุข" กันอยู่นี่ไง เอ่อ....ใช่เหรอ

สวัสดิการสังคม การสร้าง "เวลาว่าง" และ "กิจกรรม" ให้ประชาชนได้ทำแล้วรู้สึกเต็มในหัวใจ หรือให้โอกาสได้พัฒนาขยับเลื่อนสถานะตัวเองได้
ไม่มีการโกงหรือกลั่นแกล้งกัน น่าจะเป็นปลายทางของความสำเร็จ

ไม่งั้นก็จะได้เห็น "ความวิปลาส" กันเป็นรอบๆ แต่รอบจะถี่ขึ้น เพราะมี Social Media ที่ทำให้แรงริษยา กระเพื่อมไวไปด้วย

การบอกให้แต่ละคนไปปฏิบัติธรรม คงไม่พอแล้วครับ 
ถ้ากลับมาแล้วยังต้องมาเจออะไรแบบนี้

เอาตัวรอดไปวันๆ ก็ต้องมาเจอความขัดแย้งทางสังคมเป็นระยะ

คงต้องยอมให้คนรุ่นใหม่ๆ ขึ้นมาบ้างนะครับ ดาวค้างฟ้าทั้งหลาย

ไม่งั้นจะกลายเป็นคลื่นกัดเซาะฝั่ง จนตลิ่งพังแน่นอน

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การพัฒนาสิทธิแรงงานรับจ้างอิสระ (Freelancer) ต้องยึดโยงกับหลักกฎหมายสำคัญเรื่องการประกันสิทธิของแรงงานอันมีสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐาน (Human Rights-Based Approach – HRBA) ไว้ เพื่อเป็นรากฐานทางกฎหมายในการอ้างสิทธิและเสนอให้ภาครัฐสร้างมาตรการบังคับตามสิทธิอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่การประกันรายได้รูปแบบ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของปัจเจกชนจากการเก็บข้อมูลและประมวลผลโดยบรรษัทเอกชนจำต้องปกป้องคุ้มครองสิทธิของเจ้าของข้อมูลตามมาตรฐานที่กำหนดหน้าที่ของผู้ควบคุมระบบตามกฎหมายด้วย เนื่องจากบุคคลหรือกลุ่มองค์กรเหล่านี้ทำหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิเจ้าของข้อมูลในหลายรูปแบบ อาทิ การให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพปั
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บุคคลแต่ละคนย่อมมีทุนที่แตกต่างกันไปทั้ง ทุนความรู้ ทุนทางเศรษฐกิจ ทำให้การตัดสินใจนั้นตั้งอยู่บนข้อจำกัดของแต่ละคนไม่ว่าจะเป็นการไม่รู้เท่าทันเทคโนโลยี ขาดความรู้ทางการเงิน ไปจนถึงขาดการตระหนักรู้ถึงผลกระทบต่อสุขภาพตนเองและผู้อื่นในระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้นรัฐไทยยังมีนโยบายที่มิได้วางอยู่บนพื้นฐานข
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บทบัญญัติกฎหมายที่ใช้เป็นรากฐานในการอ้างสิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น จะพบว่ารัฐไทยได้วางบรรทัดฐานทางกฎหมายที่รับสิทธิของประชาชนในการรวมกลุ่มกันเพื่อแสดงออกในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มต้นจากหลักการพื้นฐานสำคัญที่เชื่อมโยงเรื่องสิทธิม
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
เทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่เข้ามามีอิทธิพลแทบจะทุกมิติของชีวิต ส่งผลให้พฤติกรรมด้านการปฏิสัมพันธ์ของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี มีประชาชนจำนวนมากที่ใช้เทคโนโลยีในการหา “คู่” หรือแสวง “รัก” ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการกระทำความผิดที่เรียกว่า Romance Scam หรือ “พิศวาสอาชญากรรม”&
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
เมื่อถามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนว่าอยากเห็นสังคมไทยเป็นเช่นไรในประเด็นการมีส่วนร่วมต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ หรือมีความคาดหวังให้รัฐไทยปรับปรุงอะไรเพื่อส่งเสริมการพิทักษ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเสี่ยง   นักปกป้องสิทธิมนุษยชนในไทยได้ฉายภาพความฝัน ออกมาดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
นักปกป้องสิทธิมนุษยชนผู้คร่ำหวอดอยู่ในสนามมายาวนานได้วิเคราะห์สถานการณ์การคุกคามผ่านประสบการณ์ของตนและเครือข่ายแล้วแสดงทัศนะออกมาในหลากหลายมุมมอง ดังนี้
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
สถานการณ์ในด้านสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศนั้น มีความสัมพันธ์กับหลายปัจจัยที่อาจเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการละเมิดต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนภายในประเทศที่เกิดจากข้อค้นพบจากกรณีศึกษา มีปัจจัยดังต่อไปนี้1. สถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับบริบทภายในประเทศ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บทวิเคราะห์ที่ได้จากการถอดบทสัมภาษณ์นักปกป้องสิทธิมนุษยชนมากประสบการณ์ ในหลากหลายภูมิภาคไปจนถึงความแตกต่างของการทำงานกับกลุ่มเสี่ยงที่มีปัญหาสิทธิแตกต่างกันไป   เป็นที่ชัดเจนว่าเขาเหล่านั้นมีชีวิตและอยู่ในวัฒนธรรมแตกต่างไปจากมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนและนิติรัฐที่ปรากฏในสังคมตะวันตก ซึ่งสะ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้ถูกรับรองไว้โดยพันธกรณีระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ให้ความสำคัญประกอบจนก่อให้เกิดอนุสัญญาเฉพาะสำหรับกลุ่มเสี่ยงนั้น ๆ ประกอบไปด้วย สตรี, เด็ก, เชื้อชาติ และ แรงงานอพยพ รวมถึง ผู้พิการ โดยกลุ่มเสี่ยงมีสิทธิที่ถูกระบุไว้ในปฏิญญาว่าด้วย
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
แนวทางในการสร้างนโยบาย กฎหมาย และกลไกเพื่อคุ้มครองสิทธิประชาชนจากการสอดส่องโดยรัฐมาจาการทบทวนมาตรฐานและแนวทางตามมาตรฐานสากลเพื่อสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายครอบคลุม 2 ประเด็นหลัก คือ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
ต้นปี 2563 หลังจากการอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคอนาคตใหม่ บรรยากาศความขัดแย้งทางการเมืองไทยที่ถูกกดไว้มาตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 2557 ก็ปะทุขึ้นอีกครั้ง เกิดการเคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านรัฐบาลกระจายไปทั่วทุกจังหวัดในรัฐไทย จุดสำคัญและเป็นเรื่องที่ไม่ปรากฏขึ้นมาก่อนในหน้าประว