Skip to main content

พอมาอยู่ที่ยุโรป ถึงได้รู้ว่า อิตาลี กับ สเปน มันไม่แคร์เรื่อง ขาดดุลตัวเลขเลย เพราะมันเอาไปลงทุนไว้กับคน รอถอนทุนคืน

การทำให้คนร่างกายจิตใจแข็งแรง ลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ และสังคม(อาชญากรรม)  เพิ่มโอกาสในการพัฒนาตัวเองหรือพัฒนาสังคม   สามารถถอนทุนคืนได้ เมื่อทรัพยากรมนุษย์เหล่านั้นพร้อม เช่น จบการศึกษา มีทักษะวิชาชีพ  ทำให้ยังมีโอกาสขยับเลื่อนสถานะ และมีเวลาคิดแก้ไขปัญหาสังคม อนาคต ร่วมกัน  แสวงหาความรู้และสื่อสาระ

ไม่เหมือนบางประเทศ เอาไปกระตุ้นการบริโภคกับสร้างขยะที่ไม่จำเป็น เลยเจ๊ง เบิ้ลๆ นะครับนะ

การทำให้เกิดภาระในการซ่อมบำรุงในอนาคต การเพิ่มค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ และการทำให้คนติดนิสัยใช้จ่ายเกินตัวและกู้ยืม และคนตัดใจไม่เรียนต่อโดยเฉพาะคนที่ต้องกู้ยืม  ทำให้โอกาสขยับเลื่อนสถานะยิ่งยาก   และต้องใช้เวลาทั้งหมดภายใต้ตรรกะของทุนนิยม การบังคับของนายจ้าง และรัฐ โดยมีสื่อบันเทิงกล่อม


ดีใจที่มีคนเห็นร่วมกันมากขึ้นโดยมิได้นัดหมายในเรื่อง

1. คนที่ทรงอิทธิพลทางความคิด คือ นักโฆษณาประชาสัมพันธ์ หรือคนทำหนังทำละคร และแต่งเพลง มิใช่ นักวิชาการ หรือ นักเขียนวรรณกรรม

2. หนังหน้า หรือรูปลักษณ์ภายนอก เป็นต้นทุนสำคัญในการ ขยับเลื่อนสถานะความเป็นอยู่ในสังคมไทย ทุกเรื่อง ทุกแวดวง

ส่วนข้อสังเกตที่เห็นชัด คือ ตั้งแต่มีการรัฐประหาร และคนรุ่นใหม่ลงทุนทางอ้อมด้วยการซื้อหุ้น ตราสารต่างๆ มากขึ้น คือ

อาการ Schizophrenia ของคนในสังคมทุนนิยมเผด็จการ

มีคนที่ ต่อต้านทุนนิยมสามานย์แต่ดันเอาใจช่วยเชียร์ทุนเผด็จการที่ผลักดันโครงการใหญ่ๆที่ไปบดขยี้คนตัวเล็กตัวน้อยมากขึ้น

ก็เข้าใจได้นะครับว่า ทุนมันทำงานสลับซับซ้อนและทำให้คนที่มีส่วนได้เสีย เอาใจช่วยมัน แม้จะขัดกับหลักการที่ "ตนเคยประกาศไว้"

ผมเข้าใจนะครับ ว่าโครงสร้างเศรษฐกิจมันไม่เอื้อให้คนรุ่นใหม่ลงทุนในการผลิตสินค้าและบริการใหม่ๆ แต่ไม่ต้องทำอะไรที่มันย้อนแย้งกัน ให้ "คำสำคัญๆ" พังไปด้วยก็ได้

คนที่เขาทำงานเรื่องนั้นจริงๆ ลำบากมากครับ โดนโหนกันจนเละ

พอเสร็จแล้วก็ทิ้งเรื่องไว้ ให้เขาต้องมาตามล้างตามเช็ดกัน

หรือจริงๆ นโยบายที่สังคมไทยไม่ได้คิดกัน คือ

"Pacification" การทำให้ประชากรสุขสงบ

ซึ่งเป็นนโยบายที่รัฐหลังสงครามโลก ดำเนินการกันอย่างจริงจัง เพื่อป้องกันการ หงุดหงิด เดือดดาล แล้วลุกฮือ

บางคนบอกว่ามี ก็ "คืนความสุข" กันอยู่นี่ไง เอ่อ....ใช่เหรอ

สวัสดิการสังคม การสร้าง "เวลาว่าง" และ "กิจกรรม" ให้ประชาชนได้ทำแล้วรู้สึกเต็มในหัวใจ หรือให้โอกาสได้พัฒนาขยับเลื่อนสถานะตัวเองได้
ไม่มีการโกงหรือกลั่นแกล้งกัน น่าจะเป็นปลายทางของความสำเร็จ

ไม่งั้นก็จะได้เห็น "ความวิปลาส" กันเป็นรอบๆ แต่รอบจะถี่ขึ้น เพราะมี Social Media ที่ทำให้แรงริษยา กระเพื่อมไวไปด้วย

การบอกให้แต่ละคนไปปฏิบัติธรรม คงไม่พอแล้วครับ 
ถ้ากลับมาแล้วยังต้องมาเจออะไรแบบนี้

เอาตัวรอดไปวันๆ ก็ต้องมาเจอความขัดแย้งทางสังคมเป็นระยะ

คงต้องยอมให้คนรุ่นใหม่ๆ ขึ้นมาบ้างนะครับ ดาวค้างฟ้าทั้งหลาย

ไม่งั้นจะกลายเป็นคลื่นกัดเซาะฝั่ง จนตลิ่งพังแน่นอน

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
การนำ คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 205/2549 มาตราเป็นพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร  โดยแฝงนัยยะของการสร้าง “รัฐทหาร” ด้วยการขยับขยายขอบเขตอำนาจแก่เจ้าหน้าที่ กอ. รมน.
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังสิ้นสุดยุคสมัยสงครามเย็น หนึ่งในมรดกตกทอดจากยุคนั้น ได้แก่ หน่วยงานความมั่นคงของรัฐไทยที่มีอำนาจหน้าที่อย่างเข้มข้นในการเฝ้าระวัง สอดส่อง ควบคุมการสื่อสารและการกระทำต่าง ๆ ของประชาชนที่ผู้มีอำนาจเห็นว่าเป็นภัยต่อความมั่นคง และส่งผลเสียต่อการยืนหยัดสู้เพื่ออุดมการณ์ทางการเมืองช่วงนั้น อาทิ กอง
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านจัดเป็นกลุ่มที่เสี่ยงที่จะถูกละเมิดสิทธิและด้อยโอกาสในการเข้าถึงบริการสาธารณะ สวัสดิการ และหลักประกันด้านต่าง ๆ ด้วยเหตุที่เป็นกลุ่มซึ่งต้องปะทะโดยตรงกับการพัฒนาเมืองอย่างไม่ยั่งยืนทั้งที่สาเหตุของการออกมาอยู่ในพื้นที่สาธารณะนั้นเกี่ยวข้องกับความเหลื่อมล้ำทางสังคมอันเป็นผลลัพธ์ของนโยบายส
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านตกอยู่ในสถานะของกลุ่มเสี่ยงที่อาจต้องเผชิญจากการเหยียดหยามศักดิ์ความเป็นมนุษย์โดยตรงจากการละเมิด และยังอาจไม่ได้รับการดูและแก้ไขปัญหาเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ยุ่งยากต่าง ๆ เพราะถูกจัดให้อยู่ในสถานะต่ำต้อยเสี่ยงต่อการเลือกประติบัติจากรัฐ จนไปถึงการเพิกเฉย ละเลย ไม่ใส่จะแก้ปัญหาให้คนไร้บ้
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านเป็นเสียงที่ไม่ถูกนับ การใช้พลังในลักษณะกลุ่มก้อนทางการเมืองเพื่อเรียกร้องประโยชน์จากผู้มีอำนาจให้จัดสรรทรัพยากรให้จึงเป็นเรื่องยาก ด้วยสาเหตุหลัก 2 ประการ คือ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของคนไร้บ้านจำเป็นต้องยืนอยู่บนฐานของกฎหมายที่ประกันสิทธิของบุคคลโดยมิคำนึงถึงความแตกต่างหลากหลายทางสถานภาพใด ๆ แม้คนไร้บ้านจะเป็นปัจเจกชน หรือกลุ่มคนที่มีปริมาณน้อยเพียงไร รัฐก็มีพันธกรณีในการเคารพ ปกป้อง และส่งเสริมสิทธิให้กลุ่มเสี่ยงนี้โดยเหตุแห่งความเป็นสิทธิมนุษยชนที่ร
ทศพล ทรรศนพรรณ
หากต้องกำหนดยุทธศาสตร์ของประเทศไทยในการเข้าร่วมตลาดดิจิทัลที่มีเข้มข้นของกิจกรรมข้ามพรมแดนตลอดเวลา เพื่อแก้ไขปัญหาศักยภาพของรัฐในการบังคับใช้กฎหมายขยายไปเหนือหลักเขตอำนาจศาลเหนือดินแดนของตนแบบเก่า เมื่อต้องกำกับกิจกรรมของบรรษัทข้ามชาติที่อยู่ในการบังคับของกฎหมายรัฐอื่นซึ่งมีบรรทัดฐานในหลายประเด็น
ทศพล ทรรศนพรรณ
การวิเคราะห์กฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติกับรัฐ จะกระทำใน 3 ประเด็นหลัก คือ ใครเป็นเจ้าของข้อมูล ใครมีสิทธิใช้ประโยชน์จากข้อมูลมากน้อยอย่างไร หรือแบ่งปันกันอย่างไร อันเป็นการเตรียมความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูล
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทความนี้จะทำการรวบรวมข้อเสนอทางกฎหมายในระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติ กับรัฐและองค์การระหว่างประเทศ อันเป็นการเตรียมความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูลจากแพลตฟอร์มดิจิทัล ว่าสามารถบริหารจัดการให
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทความนี้จะทำการทบทวนข้อกฎหมายทั้งในระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติ เรื่อยมาจนถึงสำรวจความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูลจากแพลตฟอร์มดิจิทัล ว่าสามารถบริหารจัดการให้เกิดการแบ่งปันข้อมูลดิจิทัลระหว
ทศพล ทรรศนพรรณ
ประเด็นพื้นฐานที่รัฐต้องคิด คือ จะส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมทางเทคโนโลยีเพื่อสะสมความมั่งคั่งได้อย่างไร แล้วจึงจะไปสู่แนวทางในการแบ่งปันความมั่งคั่งให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการผลิตข้อมูลขึ้นมาในแพลตฟอร์ม
ทศพล ทรรศนพรรณ
Kean Birch นำเสนอปัญหาของข้อมูลส่วนบุคคลในฐานะสินค้าของตลาดนวัตกรรมเทคโนโลยีจำนวน 5 ประเด็น คือ1.ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของแพลตฟอร์มในฐานะเจ้าของข้อมูลทึ่ถูกรวบรวมโดยนวัตกรรม,