Skip to main content

พอมาอยู่ที่ยุโรป ถึงได้รู้ว่า อิตาลี กับ สเปน มันไม่แคร์เรื่อง ขาดดุลตัวเลขเลย เพราะมันเอาไปลงทุนไว้กับคน รอถอนทุนคืน

การทำให้คนร่างกายจิตใจแข็งแรง ลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ และสังคม(อาชญากรรม)  เพิ่มโอกาสในการพัฒนาตัวเองหรือพัฒนาสังคม   สามารถถอนทุนคืนได้ เมื่อทรัพยากรมนุษย์เหล่านั้นพร้อม เช่น จบการศึกษา มีทักษะวิชาชีพ  ทำให้ยังมีโอกาสขยับเลื่อนสถานะ และมีเวลาคิดแก้ไขปัญหาสังคม อนาคต ร่วมกัน  แสวงหาความรู้และสื่อสาระ

ไม่เหมือนบางประเทศ เอาไปกระตุ้นการบริโภคกับสร้างขยะที่ไม่จำเป็น เลยเจ๊ง เบิ้ลๆ นะครับนะ

การทำให้เกิดภาระในการซ่อมบำรุงในอนาคต การเพิ่มค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ และการทำให้คนติดนิสัยใช้จ่ายเกินตัวและกู้ยืม และคนตัดใจไม่เรียนต่อโดยเฉพาะคนที่ต้องกู้ยืม  ทำให้โอกาสขยับเลื่อนสถานะยิ่งยาก   และต้องใช้เวลาทั้งหมดภายใต้ตรรกะของทุนนิยม การบังคับของนายจ้าง และรัฐ โดยมีสื่อบันเทิงกล่อม


ดีใจที่มีคนเห็นร่วมกันมากขึ้นโดยมิได้นัดหมายในเรื่อง

1. คนที่ทรงอิทธิพลทางความคิด คือ นักโฆษณาประชาสัมพันธ์ หรือคนทำหนังทำละคร และแต่งเพลง มิใช่ นักวิชาการ หรือ นักเขียนวรรณกรรม

2. หนังหน้า หรือรูปลักษณ์ภายนอก เป็นต้นทุนสำคัญในการ ขยับเลื่อนสถานะความเป็นอยู่ในสังคมไทย ทุกเรื่อง ทุกแวดวง

ส่วนข้อสังเกตที่เห็นชัด คือ ตั้งแต่มีการรัฐประหาร และคนรุ่นใหม่ลงทุนทางอ้อมด้วยการซื้อหุ้น ตราสารต่างๆ มากขึ้น คือ

อาการ Schizophrenia ของคนในสังคมทุนนิยมเผด็จการ

มีคนที่ ต่อต้านทุนนิยมสามานย์แต่ดันเอาใจช่วยเชียร์ทุนเผด็จการที่ผลักดันโครงการใหญ่ๆที่ไปบดขยี้คนตัวเล็กตัวน้อยมากขึ้น

ก็เข้าใจได้นะครับว่า ทุนมันทำงานสลับซับซ้อนและทำให้คนที่มีส่วนได้เสีย เอาใจช่วยมัน แม้จะขัดกับหลักการที่ "ตนเคยประกาศไว้"

ผมเข้าใจนะครับ ว่าโครงสร้างเศรษฐกิจมันไม่เอื้อให้คนรุ่นใหม่ลงทุนในการผลิตสินค้าและบริการใหม่ๆ แต่ไม่ต้องทำอะไรที่มันย้อนแย้งกัน ให้ "คำสำคัญๆ" พังไปด้วยก็ได้

คนที่เขาทำงานเรื่องนั้นจริงๆ ลำบากมากครับ โดนโหนกันจนเละ

พอเสร็จแล้วก็ทิ้งเรื่องไว้ ให้เขาต้องมาตามล้างตามเช็ดกัน

หรือจริงๆ นโยบายที่สังคมไทยไม่ได้คิดกัน คือ

"Pacification" การทำให้ประชากรสุขสงบ

ซึ่งเป็นนโยบายที่รัฐหลังสงครามโลก ดำเนินการกันอย่างจริงจัง เพื่อป้องกันการ หงุดหงิด เดือดดาล แล้วลุกฮือ

บางคนบอกว่ามี ก็ "คืนความสุข" กันอยู่นี่ไง เอ่อ....ใช่เหรอ

สวัสดิการสังคม การสร้าง "เวลาว่าง" และ "กิจกรรม" ให้ประชาชนได้ทำแล้วรู้สึกเต็มในหัวใจ หรือให้โอกาสได้พัฒนาขยับเลื่อนสถานะตัวเองได้
ไม่มีการโกงหรือกลั่นแกล้งกัน น่าจะเป็นปลายทางของความสำเร็จ

ไม่งั้นก็จะได้เห็น "ความวิปลาส" กันเป็นรอบๆ แต่รอบจะถี่ขึ้น เพราะมี Social Media ที่ทำให้แรงริษยา กระเพื่อมไวไปด้วย

การบอกให้แต่ละคนไปปฏิบัติธรรม คงไม่พอแล้วครับ 
ถ้ากลับมาแล้วยังต้องมาเจออะไรแบบนี้

เอาตัวรอดไปวันๆ ก็ต้องมาเจอความขัดแย้งทางสังคมเป็นระยะ

คงต้องยอมให้คนรุ่นใหม่ๆ ขึ้นมาบ้างนะครับ ดาวค้างฟ้าทั้งหลาย

ไม่งั้นจะกลายเป็นคลื่นกัดเซาะฝั่ง จนตลิ่งพังแน่นอน

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
Nick Srnicek ได้สรุปภาพรวมของแพลตฟอร์มดิจิทัลที่แตกต่างกัน 5 ประเภท คือ1.แพลตฟอร์มโฆษณา, 2.แพลตฟอร์มจัดเก็ยข้อมูล, 3.แพลตฟอร์มอุตสาหกรรม, 4.แพลตฟอร์มผลิตภัณฑ์, และ 5.แพลตฟอร์มแบบลีน 
ทศพล ทรรศนพรรณ
ผู้ประกอบการแพลตฟอร์มดิจิทัลมีรายได้และผลกำไรจำนวนมหาศาลจากการประมวลผลข้อมูลการใช้งานของผู้บริโภคในระบบของตน แต่ยังไม่มีระบบการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม    เนื่องจากยังมีข้อถกเถียงเรื่องใครเป็นเจ้าของข้อมูลและมีสิทธิแสวงหาผลประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้นบ้าง    จึงจ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การบังคับใช้ พรบ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่ผลักดันออกมาในปี พ.ศ.
ทศพล ทรรศนพรรณ
แพลตฟอร์มมักเป็นระบบแบบเปิดให้ทุกคนมีส่วนร่วม ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่นำไปสู่ปัญหา จากการที่ทำให้การเข้าถึงข้ามเขตอํานาจ ในทางกลับกัน กลับมีการกําหนดให้หน่วยงานกํากับดูแลและผู้ออกกฎหมายต้องร่วมมือกันข้ามพรมแดนแห่งชาติเพื่อประสานระบอบกฎหมายและกฎระเบียบในขณะที่จัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นรวมถึงประเด็นกา
ทศพล ทรรศนพรรณ
การวิเคราะห์ปรับปรุงเกระบวนการระงับข้อพิพาทของบรรดาผู้บริโภคในแพลตฟอร์มต่าง ๆ ยืนยันว่าระบบสามารถใช้เพื่อทำการแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้บริโภคจํานวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน่วยงานระงับข้อพิพาททางเลือก (Alternative Dispute Resolution - ADR) ที่ได้รับการรับรองจากสาธารณะให้เป็นมากกว่ากลไกการระงับข้อพิพาทใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
การสร้างความเชื่อถือให้กับผู้บริโภคจึงเป็นผลดีต่อการเติบโตของธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ และการตัดสินใจของผู้บริโภคที่จะทำธุรกรรมออนไลน์กับผู้ขายต่อไป ทำให้ประเทศต่าง ๆ  รวมถึงประเทศไทยให้ความสนใจและมุ่งให้เกิดการคุ้มครองอย่างจริงจังต่อปัญหาการละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู
ทศพล ทรรศนพรรณ
ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันทันใดที่ผู้คนจำนวนมากขาดความรู้ความเข้าใจต่อเทคโนโลยีที่มีผลกระทบต่อชีวิตโดยตรง รัฐในฐานะผู้คุ้มครองสิทธิประชาชนและยังต้องทำหน้าที่กระตุ้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจด้วย จึงมีภาระหนักในการสถาปนาความ “เชื่อมั่น” ให้เกิดขึ้นในใจประชาชนที่ลังเลต่อการเข้าร่วมสังฆกรรมใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริงเป็นสื่อใหม่ในโลกยุคดิจิทัลที่แสดงด้วยภาพและเสียงสามมิติซึ่งผู้ใช้สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในโลกที่ถูกสร้างขึ้นเหล่านี้ ทำให้เกิดเป็นสังคม (Community) ภายในโลกเสมือนจริงที่ผู้คนสามารถติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันได้ แต่มิใช่เพียงการเข้าไปรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสเพียงเท่านั้น นอก
ทศพล ทรรศนพรรณ
การทำธุรกรรมบนอินเตอร์เน็ตมีแนวโน้มที่จะส่งเสริมการเข้าร่วมสัญญาอย่างรวดเร็วสะดวกลดอุปสรรค ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตก็ด้วยไม่ต้องการเดินทางหรือไม่ต้องมีตัวกลางในการประสานความร่วมมือหรือต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับผู้รับรองสถานะของสัญญาในลักษณะตัวกลางแบบที่ต้องทำในโลกจริง ที่อาจถูกกฎหมายบังคับให้ทำตามแบ
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริง (Virtual World) คือสภาพแวดล้อมเสมือนซึ่งสร้างและปฏิบัติการด้วยซอฟต์แวร์ (Software) ที่อยู่ในเซิร์ฟเวอร์ (Server) ของเจ้าของแพลตฟอร์ม (Platform) สิ่งแวดล้อมเสมือนเหล่านี้ออกแบบมาให้ผู้เล่นหรือผู้ใช้โลกเสมือนจริงสามารถใช้ตัวตนเสมือนหรืออวตาร (Avatar) ในการท่องไปในโลกนั้น โดยสามารถติดต
ทศพล ทรรศนพรรณ
เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ในยุคดิจิทัลตั้งอยู่บนพื้นฐานของเสรีภาพในการแสดงออกบนโลกออนไลน์ โดยมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับประเด็นกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเนื่องจากกฎหมายลิขสิทธิ์สามารถห้ามปรามการเผยแพร่ความคิดหรือการแสดงออกในงานสร้างสรรค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยอ้างเหตุแห่งการคุ้มครองสิทธิของปัจเจกชนอย
ทศพล ทรรศนพรรณ
ความเฟื่องฟูของเศรษฐกิจดิจิทัลที่สร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการจำนวนมหาศาลแต่นำมาซึ่งความกังขาว่า สังคมได้อะไรจากการเติบโตของบรรษัทขนาดใหญ่ผู้เป็นเจ้าของเทคโนโลยีและควบคุมแพลตฟอร์มเหล่านี้ อันเป็นที่มาของเรื่อง การจัดเก็บภาษีดิจิทัลได้กลายเป็นข้อกังวลที่สำคัญสำหรับหลาย ๆ รัฐบาล ในยุโรป เช่นใน เยอรมนี