Skip to main content

มหกรรมฟุตบอลโลกจบลงไปแล้วด้วยชัยชนะของกองเชียร์ฝ่ายสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะกลุ่มสนับสนุนสิทธิของผู้อพยพ เนื่องทีมแชมป์โลกเป็นการรวมตัวของนักฟุตบอลที่มิได้มีพื้นเพเป็นคนฝรั่งเศส (พูดอย่างถึงที่สุด คือ มิได้มีบุพการีที่เกิดในดินแดนฝรั่งเศส)

                ฝรั่งเศสซึ่งมีแก่นแกนของรัฐอยู่ที่การเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้คน ส่งเสริมความเสมอภาคของบุคคลแม้จะมีที่มาและเชื้อชาติศาสนาที่แปลกแตกต่างกันไป บนพื้นฐานของความเข้าอกเข้าใจในความจำเป็นของเพื่อมนุษย์ที่ในบางสถานการณ์จำต้องอพยพย้ายถิ่นฐานของมาที่หนีภัยออกจากประเทศบ้านเกิด

                มีการสำรวจข้อเท็จจริงในข่าวกีฬาหรือสารคดีทางสังคมจำนวนมากที่บอกสัดส่วนให้เห็นอยู่แล้วว่าหากตัดกลุ่มนักเตะอพยพออกจะทำให้โฉมหน้า 11 ตัวจริงเปลี่ยนไปชนิดที่ไม่เหลือเค้าเดิมของทีมเลอเบลอส์ที่โลดแล่นในฟุตบอลโลก 2018 หรือแม้แต่ย้อนไปเมื่อครั้งได้แชมป์สมัยแรกในปี 1998 ก็มีนักเตะอพยพเกินครึ่งเช่นกัน

                ปรากฏการณ์นี้ให้บทเรียนอะไรกับเรา โดยเฉพาะผู้ที่มีอำนาจในการกำหนดนโยบายพัฒนาประเทศ การควบคุมดุแลคนเข้าเมือง หรือพูดอย่างถึงที่สุด คือ การบริหารจัดการประชากรเพื่อขับเคลื่อนอนาคตของประเทศท่ามกลางอีกสถานการณ์ที่รุกเร้ารัฐไทยนั่นคือ การก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ เนื่องจากคนรุ่นใหม่มีทายาทน้อยลง

มิพักต้องพูดถึงปัญหาที่ซ่อนอีกประการ คือ ลูกหลานคนไทยยุคใหม่ไม่ต้องการประกอบอาชีพ สกปรก อันตราย และไร้เกียรติ

                กีฬาฟุตบอลโดยเฉพาะการแข่งขันของ “ทีมชาติ” ย่อมสะท้อนเรื่องนี้ได้อย่างถึงแก่น

                กล่าวคือ ทีมที่เข้าแข่งขันนั้นต้องเป็นตัวแทนของประเทศ มีสัญชาติของรัฐเพื่อให้เกิดสิทธิในการลงเล่นให้ทีมชาติเหล่านั้น  แต่ที่ลึกไปกว่านั้น เราจะเห็นถึงระบบการสร้างเยาวชนนักฟุตบอลตั้งแต่วัยเยาว์ที่ประกอบไปด้วยเด็กซึ่งได้สัญชาติมาตามนโยบายของรัฐนั้นๆ แม้พ่อแม่จะเป็นผู้อพยพถือสัญชาติอื่นก็ตาม

                ข้อคัดค้านที่มีเสมอคือ ถ้ายอมให้ผู้อพยพเข้ามา ไม่กลัวล้นประเทศหรือ จะควบคุมอาชญากรรมอย่างไร จะเข้ามาแย่งงานไหม หรือถ้าต้องให้สิทธิสวัสดิการ จะเอาที่ไหนไปจัดให้เขา 

ขอตั้งต้นอย่างนี้นะครับ

                ในโลกหลังสมัยใหม่ ความสามารถในการข้ามพรมแดนย่อมมีมากกว่าในอดีตอยู่แล้ว แต่ในทางกลับกันเทคโนโลยีจำนวนมากก็ช่วยให้รัฐควบคุมชายแดนหรือประชากรได้มากขึ้นเช่นกัน ระบบเอกสารหรือตรวจนับคนทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น  แต่สิ่งที่ทั่วโลกกำลังเผชิญไปด้วย คือ ขาดกำลังแรงงานในภาคการผลิตและบริการที่จำเป็น “ในราคาประหยัด”

                เราจะตอบสนองเป้าหมายทั้งสองที่ดูเหมือนจะขัดกันได้อย่างไร ไม่ให้กระเทือนชีวิตหรือแม้กระทั่งอารมณ์ความรู้สึกของผู้รักชาติ ย่อมเป็นประเด็นสำคัญในการเมืองร่วมสมัย ดังที่จะเห็นแนวโน้มของการใช้นโยบายเรื่องผู้อพยพเป็นเครื่องมือหาเสียงมากขึ้นเรื่อยๆในหลายประเทศ

                ว่ากันด้วยเรื่องความมั่นคงก่อน การวิจัยเกี่ยวกับการควบคุมประชากร พบว่า ความสามารถในการตรวจนับเขาสู่ระบบ และสร้างประสิทธิภาพในการสอดส่องจับจ้องผู้ต้องสงสัย คือ เครื่องมือสำคัญในการรักษาความมั่นคง ป้องกันอาชญากรรม หรือในบั้นปลายคือติดตามจับกุมอาชญากรมาดำเนินคดี

                ดังนั้นการมีผู้อพยพที่ลักลอบเข้าเมืองโดยที่รัฐไม่พัฒนาระบบในการลงทะเบียนตรวจนับ เพื่อสร้างกลไกในการติดตามบุคคลต่างหากที่เป็นรูลอดให้องค์กรอาชญากรรมสอดทะลุเข้ามาดำเนินกิจกรรมผิดกฎหมาย เช่นเดียวกับการปล่อยให้เรื่องผู้อพยพเป็นสิ่งซุกซ่อนใต้พรม เพราะจะทำให้คนเหล่านั้นเข้าสู่อาชีพหรือกิจกรรมผิดกฎหมายสร้างรายได้ให้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้แสวงหาประโยชน์โดยทุจริต และกลายเป็นเสาค้ำยันองค์กรอาชญากรรมไปด้วย

                หลายประเทศจึงเลือกที่จะทำให้ขึ้นมาอยู่ในที่สว่าง มีการดำเนินการที่ชัดเจนตรวจสอบได้อย่างโปร่งใส

                ในประเด็นเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ สังคมไทยเริ่มมีความเข้าใจมากขึ้นเรื่อยๆว่าอาชีพที่ผู้อพยพทำนั้นล้วนมีความเสี่ยงและได้ผลตอบแทนต่ำจนคนไทยเลือกที่จะไม่ทำ หากขาดแรงงานข้ามชาติอาจทำให้สายพานการผลิตชะงักงัน 

เรื่องที่สำคัญกว่า คือ แรงงานอพยพเปลี่ยนแปลงอัตลักษณ์ของสินค้าและบริการไทยให้เสื่อมคุณภาพเสียชื่อเสียงต่อแบรนด์ไทยหรือไม่ เช่น อาหารไทยที่รสชาติแปร่งปล่าเพราะว่าใช้เชพจากต่างประเทศ หรือร้านค้าที่เปลี่ยนวิถีการให้บริการผิดแผกไปจากกลิ่นอายไทยแท้

จากการลงพื้นที่สำรวจวิจัยพบว่า ร้านที่มีลักษณะเปลี่ยนไปในเชิงคุณภาพนั้นก็ด้วย 2 สาเหตุใหญ่ คือ

  1. ไม่ได้มีการรักษาคุณภาพ เช่น เจ้าของไม่ได้เฝ้าร้าน เปิดแฟรนไชส์ไปหลายสาขาจนยากควบคุม หรือไม่มีการส่งมือดีไปชิม ไปบริหารอย่างใส่ใจในรายละเอียด
  2. การเข้ามาของทุนต่างชาติที่แผ่อิทธิพลมากขึ้นผ่านกำลังเงินมหาศาล เช่น การมาซื้อกิจการต่อจากคนไทยแล้วเอาไปทำเองจนเพี้ยนไป เสมือนไปกินร้านอาหารไทยในต่างแดนที่มีเจ้าของไม่ไทย เป็นต้น

ปัญหามิใช่ตัวแรงงาน แต่เป็นปัญหาที่ผู้ควบคุมคุณภาพเสียหรือที่โหดร้ายกว่านั้น คือ การซื้อห้างร้านนั้นไปเพื่อบังหน้ากิจกรรมผิดกฎหมายอื่น แล้วทำการฟอกเงินผ่านตัวเลขที่ปั้นแต่งโดยอาศัยชื่อเสียงเก่าของร้านนั้นๆ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่บั่นทอนทั้งความมั่นคงของรัฐและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของชาติ

                เราเลือกได้ว่าจะดึงดูดใครเข้าประเทศและควบคุมใครมิให้ทำร้ายชาติ

 

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
การพัฒนาสิทธิแรงงานรับจ้างอิสระ (Freelancer) ต้องยึดโยงกับหลักกฎหมายสำคัญเรื่องการประกันสิทธิของแรงงานอันมีสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐาน (Human Rights-Based Approach – HRBA) ไว้ เพื่อเป็นรากฐานทางกฎหมายในการอ้างสิทธิและเสนอให้ภาครัฐสร้างมาตรการบังคับตามสิทธิอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่การประกันรายได้รูปแบบ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของปัจเจกชนจากการเก็บข้อมูลและประมวลผลโดยบรรษัทเอกชนจำต้องปกป้องคุ้มครองสิทธิของเจ้าของข้อมูลตามมาตรฐานที่กำหนดหน้าที่ของผู้ควบคุมระบบตามกฎหมายด้วย เนื่องจากบุคคลหรือกลุ่มองค์กรเหล่านี้ทำหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิเจ้าของข้อมูลในหลายรูปแบบ อาทิ การให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพปั
ทศพล ทรรศนพรรณ
บุคคลแต่ละคนย่อมมีทุนที่แตกต่างกันไปทั้ง ทุนความรู้ ทุนทางเศรษฐกิจ ทำให้การตัดสินใจนั้นตั้งอยู่บนข้อจำกัดของแต่ละคนไม่ว่าจะเป็นการไม่รู้เท่าทันเทคโนโลยี ขาดความรู้ทางการเงิน ไปจนถึงขาดการตระหนักรู้ถึงผลกระทบต่อสุขภาพตนเองและผู้อื่นในระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้นรัฐไทยยังมีนโยบายที่มิได้วางอยู่บนพื้นฐานข
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทบัญญัติกฎหมายที่ใช้เป็นรากฐานในการอ้างสิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น จะพบว่ารัฐไทยได้วางบรรทัดฐานทางกฎหมายที่รับสิทธิของประชาชนในการรวมกลุ่มกันเพื่อแสดงออกในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มต้นจากหลักการพื้นฐานสำคัญที่เชื่อมโยงเรื่องสิทธิม
ทศพล ทรรศนพรรณ
เทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่เข้ามามีอิทธิพลแทบจะทุกมิติของชีวิต ส่งผลให้พฤติกรรมด้านการปฏิสัมพันธ์ของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี มีประชาชนจำนวนมากที่ใช้เทคโนโลยีในการหา “คู่” หรือแสวง “รัก” ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการกระทำความผิดที่เรียกว่า Romance Scam หรือ “พิศวาสอาชญากรรม”&
ทศพล ทรรศนพรรณ
เมื่อถามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนว่าอยากเห็นสังคมไทยเป็นเช่นไรในประเด็นการมีส่วนร่วมต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ หรือมีความคาดหวังให้รัฐไทยปรับปรุงอะไรเพื่อส่งเสริมการพิทักษ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเสี่ยง   นักปกป้องสิทธิมนุษยชนในไทยได้ฉายภาพความฝัน ออกมาดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
นักปกป้องสิทธิมนุษยชนผู้คร่ำหวอดอยู่ในสนามมายาวนานได้วิเคราะห์สถานการณ์การคุกคามผ่านประสบการณ์ของตนและเครือข่ายแล้วแสดงทัศนะออกมาในหลากหลายมุมมอง ดังนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
สถานการณ์ในด้านสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศนั้น มีความสัมพันธ์กับหลายปัจจัยที่อาจเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการละเมิดต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนภายในประเทศที่เกิดจากข้อค้นพบจากกรณีศึกษา มีปัจจัยดังต่อไปนี้1. สถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับบริบทภายในประเทศ
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทวิเคราะห์ที่ได้จากการถอดบทสัมภาษณ์นักปกป้องสิทธิมนุษยชนมากประสบการณ์ ในหลากหลายภูมิภาคไปจนถึงความแตกต่างของการทำงานกับกลุ่มเสี่ยงที่มีปัญหาสิทธิแตกต่างกันไป   เป็นที่ชัดเจนว่าเขาเหล่านั้นมีชีวิตและอยู่ในวัฒนธรรมแตกต่างไปจากมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนและนิติรัฐที่ปรากฏในสังคมตะวันตก ซึ่งสะ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้ถูกรับรองไว้โดยพันธกรณีระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ให้ความสำคัญประกอบจนก่อให้เกิดอนุสัญญาเฉพาะสำหรับกลุ่มเสี่ยงนั้น ๆ ประกอบไปด้วย สตรี, เด็ก, เชื้อชาติ และ แรงงานอพยพ รวมถึง ผู้พิการ โดยกลุ่มเสี่ยงมีสิทธิที่ถูกระบุไว้ในปฏิญญาว่าด้วย
ทศพล ทรรศนพรรณ
แนวทางในการสร้างนโยบาย กฎหมาย และกลไกเพื่อคุ้มครองสิทธิประชาชนจากการสอดส่องโดยรัฐมาจาการทบทวนมาตรฐานและแนวทางตามมาตรฐานสากลเพื่อสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายครอบคลุม 2 ประเด็นหลัก คือ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ต้นปี 2563 หลังจากการอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคอนาคตใหม่ บรรยากาศความขัดแย้งทางการเมืองไทยที่ถูกกดไว้มาตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 2557 ก็ปะทุขึ้นอีกครั้ง เกิดการเคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านรัฐบาลกระจายไปทั่วทุกจังหวัดในรัฐไทย จุดสำคัญและเป็นเรื่องที่ไม่ปรากฏขึ้นมาก่อนในหน้าประว