Skip to main content

ผลิตบนหลักการอย่างหนึ่ง เช่น ทำกำไรจากกิจการอะไรที่ให้เงินเยอะ ไม่คำนึงถึงชีวิตเพื่อนมนุษย์หรือสิ่งแวดล้อม


บริโภคบนหลักการอีกอย่างหนึ่ง เช่น การอุดหนุนสินค้าที่โฆษณาว่าห่วงใยสังคม หรือแสดงออกว่าเสพกิจกรรมการกุศล

อาการ พร่องความดี

อาการ กระหายอยากเชื่อต่อกับทุกความหายทุกหลักการ

สะท้อน “ความไม่มั่นคงในชีวิต จิตใจ” เพราะเชื่อว่า สังคมมีความเสี่ยงสูง    ต้องสะสมมันไปทุกอย่าง แม้การกระทำมันจะยืนอยู่บนหลักการที่ขัดกัน

ครับ ลองไปคุยกับเกษตรกรสิครับ  เจ้าหน้าที่กระทรวงพาณิชย์ ยังมาถามเลยครับ  ว่า  "ทำไมชาวบ้านพูดกับข้าราชการแบบหนึ่ง พูดกับนักวิจัยอีกแบบ"

ก็ ชาวบ้านเขาไม่กล้าพูดตรงๆ กับคนที่ไม่ไว้ใจไงครับ

กว่าจะได้ความจริง ต้องเข้าไปใช้ชีวิตเสี่ยงภัยร่วมกับเขาเป็นเดือนๆ

ลองถามเขมชาติดูสิครับ วาต้องไปอยู่กับลุงๆ ป้าๆ เป็นปีๆ เห็นอะไรบ้าง

ส่วน ข้าราชการ เป็น พญาเหยียบเมือง ลงไปแป้บๆ แล้วหาย แถม บรรษัทส่งคนมาเฝ้า ว่าใครเอาความจริงไปบอก จะโดนเชือด   ชาวบ้านที่ไหนจะกล้าเสี่ยงพูดความจริงล่ะครับ

ผมถึงบอกไงครับว่า   "ความจริง"   ไม่ใช่สิ่งที่ได้มาง่ายๆ

ถ้าสบายใจจะเสพกับข้อมูลแบบนั้น  ก็แล้ว 

ส่วนที่อ้าง ดาวน์โจนส์ อ้างต่างประเทศ อะไรนั่น มันกลุ่มประเทศที่บีบให้เหลือเกษตรกร ไม่ถึง 5% ของประชากรแล้วครับ (เขาคือ ผู้จัดการฟาร์ม  ไม่ใช่เกษตรกรแบบในไทย)

ส่วนในยุโรป และญี่ปุ่น  เกษตรกรเป็นเจ้าของหุ้นในบรรษัทเองเลยครับ

โมเดลที่ใช้ในไทย มันโมเดล บรรษัทแบบ East India ใช้กับประเทศใต้อาณานิคม น่ะครับนะ

ส่วนกระแสสังคมนี่ แค่เห็น CP All ปล่อยหุ้น ออกมาให้ถือ นี่ก็เงียบกริบ ไม่ต้องพูดถงสื่อที่โดนซื้อเลยครั่บ

ถึงบอกไงครับ นี่มันสังคมทุนนิยมแบบยุโรป ยุคก่อนสงครามโลกชัดๆ

ส่วนตัวผม มีคนทำลายกำลังใจเยอะครับ ด้วยคำประเภท อิจฉาเขารวยล่ะสิ ทำให้ได้อย่างเขาแล้วค่อยมาด่าเขา หรือ ถ้าที่คุณพูดมันจริงคงเป็นกระแสสังคมแล้ว   หนักกว่านั้น บอกว่า เอาแต่ด่า ไม่มีข้อมูล ไม่ทำวิจัย   เอ่อ..........นี่กำลังด่าว่า สิบปีมานี้ ผมไม่ได้ทำงานเลยสินะ

ดูถูกกันเกินไปรึเปล่า

เป็นคนอื่นเขาไม่สละเวลามาคุยด้วยนะครับ  นี่ก็ถือว่า เป็น ศิษย์เก่า ม.ช. ในวิชาชีพกฎหมาย ก็มาให้ข้อมูลนะครับ

หลังจากนี้ ก็เลือกเอาเอง ผมคงไม่พูดซ้ำอีกแล้ว

แล้วแต่ครับ ถ้าไม่รู้ คือ ไม่มีเจตนา ถ้ารู้แล้วทำ ก็รับเต็ม แต่จะดี จะชั่ว ก็แล้วแต่คิดละกันครับ

แต่คนที่อาฆาต สาปแช่ง นี่มีจริง คือ คนที่ชีวิตพังกับบรรษัทเหล่านั้น

ขนาดอเมริกา ที่ชอบด่าเขาว่าทุนนิยม นี่เขายังก้าวข้ามมาได้ และมีการเลือกซื้อสินค้า บริการ หุ้น เฉพาะบรรษัทที่รักษาจริยธรรมด้าน แรงงาน สิทธิมนุษยชน และสิ่งแวดล้อม เลยครับ 

ประเทศไทยยังเข้ายุคตื่นทองของการลงทุนในตลาดหุ้น ก็พอเข้าใจได้ครับ แถมธนาคารก็เหยียบดอกเบี้ยเงินฝากไว้ต่ำขนาดนั้น ก็ไม่แปลกที่จะแห่ไปซื้อหุ้นกัน

การควบคุมการผูกขนาดตลาด หรือการปฏิบัติงานของอุตสาหกรรมต่างๆไม่ให้ละเมิดสิทธิคนอื่นก็ทำได้ไม่เต็มที่

ก็ไม่แปลกใจว่า ทำไมบริษัทที่มีผลประกอบการดี ปันผลเยอะ จะเป็นบริษัทที่สร้างผลกำไรจากการเบียดบังชีวิตคนอื่น
 

ยิ่งเมื่อเกิดการรัฐประหาร แล้วมีกองเชียร์ที่เคยต้านทุนนิยมสามานย์มาก่อน กลับมาสนับสนุนโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมที่อาจบดขยี้ชีวิตคนในท้องถิ่น ยิ่งสะท้อนให้เห็น

อาการ Schizophrenia ของคนในสังคมทุนนิยมเผด็จการ อย่างชัดแจ้ง

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
การพัฒนาสิทธิแรงงานรับจ้างอิสระ (Freelancer) ต้องยึดโยงกับหลักกฎหมายสำคัญเรื่องการประกันสิทธิของแรงงานอันมีสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐาน (Human Rights-Based Approach – HRBA) ไว้ เพื่อเป็นรากฐานทางกฎหมายในการอ้างสิทธิและเสนอให้ภาครัฐสร้างมาตรการบังคับตามสิทธิอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่การประกันรายได้รูปแบบ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของปัจเจกชนจากการเก็บข้อมูลและประมวลผลโดยบรรษัทเอกชนจำต้องปกป้องคุ้มครองสิทธิของเจ้าของข้อมูลตามมาตรฐานที่กำหนดหน้าที่ของผู้ควบคุมระบบตามกฎหมายด้วย เนื่องจากบุคคลหรือกลุ่มองค์กรเหล่านี้ทำหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิเจ้าของข้อมูลในหลายรูปแบบ อาทิ การให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพปั
ทศพล ทรรศนพรรณ
บุคคลแต่ละคนย่อมมีทุนที่แตกต่างกันไปทั้ง ทุนความรู้ ทุนทางเศรษฐกิจ ทำให้การตัดสินใจนั้นตั้งอยู่บนข้อจำกัดของแต่ละคนไม่ว่าจะเป็นการไม่รู้เท่าทันเทคโนโลยี ขาดความรู้ทางการเงิน ไปจนถึงขาดการตระหนักรู้ถึงผลกระทบต่อสุขภาพตนเองและผู้อื่นในระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้นรัฐไทยยังมีนโยบายที่มิได้วางอยู่บนพื้นฐานข
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทบัญญัติกฎหมายที่ใช้เป็นรากฐานในการอ้างสิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น จะพบว่ารัฐไทยได้วางบรรทัดฐานทางกฎหมายที่รับสิทธิของประชาชนในการรวมกลุ่มกันเพื่อแสดงออกในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มต้นจากหลักการพื้นฐานสำคัญที่เชื่อมโยงเรื่องสิทธิม
ทศพล ทรรศนพรรณ
เทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่เข้ามามีอิทธิพลแทบจะทุกมิติของชีวิต ส่งผลให้พฤติกรรมด้านการปฏิสัมพันธ์ของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี มีประชาชนจำนวนมากที่ใช้เทคโนโลยีในการหา “คู่” หรือแสวง “รัก” ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการกระทำความผิดที่เรียกว่า Romance Scam หรือ “พิศวาสอาชญากรรม”&
ทศพล ทรรศนพรรณ
เมื่อถามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนว่าอยากเห็นสังคมไทยเป็นเช่นไรในประเด็นการมีส่วนร่วมต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ หรือมีความคาดหวังให้รัฐไทยปรับปรุงอะไรเพื่อส่งเสริมการพิทักษ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเสี่ยง   นักปกป้องสิทธิมนุษยชนในไทยได้ฉายภาพความฝัน ออกมาดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
นักปกป้องสิทธิมนุษยชนผู้คร่ำหวอดอยู่ในสนามมายาวนานได้วิเคราะห์สถานการณ์การคุกคามผ่านประสบการณ์ของตนและเครือข่ายแล้วแสดงทัศนะออกมาในหลากหลายมุมมอง ดังนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
สถานการณ์ในด้านสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศนั้น มีความสัมพันธ์กับหลายปัจจัยที่อาจเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการละเมิดต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนภายในประเทศที่เกิดจากข้อค้นพบจากกรณีศึกษา มีปัจจัยดังต่อไปนี้1. สถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับบริบทภายในประเทศ
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทวิเคราะห์ที่ได้จากการถอดบทสัมภาษณ์นักปกป้องสิทธิมนุษยชนมากประสบการณ์ ในหลากหลายภูมิภาคไปจนถึงความแตกต่างของการทำงานกับกลุ่มเสี่ยงที่มีปัญหาสิทธิแตกต่างกันไป   เป็นที่ชัดเจนว่าเขาเหล่านั้นมีชีวิตและอยู่ในวัฒนธรรมแตกต่างไปจากมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนและนิติรัฐที่ปรากฏในสังคมตะวันตก ซึ่งสะ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้ถูกรับรองไว้โดยพันธกรณีระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ให้ความสำคัญประกอบจนก่อให้เกิดอนุสัญญาเฉพาะสำหรับกลุ่มเสี่ยงนั้น ๆ ประกอบไปด้วย สตรี, เด็ก, เชื้อชาติ และ แรงงานอพยพ รวมถึง ผู้พิการ โดยกลุ่มเสี่ยงมีสิทธิที่ถูกระบุไว้ในปฏิญญาว่าด้วย
ทศพล ทรรศนพรรณ
แนวทางในการสร้างนโยบาย กฎหมาย และกลไกเพื่อคุ้มครองสิทธิประชาชนจากการสอดส่องโดยรัฐมาจาการทบทวนมาตรฐานและแนวทางตามมาตรฐานสากลเพื่อสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายครอบคลุม 2 ประเด็นหลัก คือ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ต้นปี 2563 หลังจากการอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคอนาคตใหม่ บรรยากาศความขัดแย้งทางการเมืองไทยที่ถูกกดไว้มาตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 2557 ก็ปะทุขึ้นอีกครั้ง เกิดการเคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านรัฐบาลกระจายไปทั่วทุกจังหวัดในรัฐไทย จุดสำคัญและเป็นเรื่องที่ไม่ปรากฏขึ้นมาก่อนในหน้าประว