Skip to main content

            ความสัตย์ซื่อและยึดถือกฎหมายด้วยศรัทธาอย่างแรงกล้า

            มีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสำนักกฎหมายบ้านเมือง ว่า คำสั่งทั้งหลายของรัฐาธิปัตย์ถือเป็นกฎหมายอย่างเด็ดขาด
            ศรัทธาต่อกฎหมาย เกิดขึ้นได้ ด้วยกฎหมายที่ยุติธรรมเชื่อมโยงกับศีลธรรมทางสังคม และกฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
            Fidelity to the Law

            นัยยะของมันจริงๆ คือ ฝ่ายสำนักกฎหมายธรรมชาติเถียงว่า หากกฎหมายเป็นเพียงกฎใดๆที่ออกมาด้วยอำนาจของผู้ปกครองโดยไม่เชื่อมโยงกับศีลธรรมหรือความยุติธรรมตามธรรมชาติแล้ว ย่อมทำให้ความมุ่งมาดปรารถนาในการเคารพกฎหมายของประชาชนเสื่อมลงไปได้

            การออก/สร้างกฎหมายให้คนไว้ใจแหล่ะศรัทธานั้น จึงต้องการมากกว่าการเรียกร้องให้ประชาชนเคารพกฎหมาย แต่ผู้ปกครองต้องสร้างกฎหมายให้ประชาชนศรัทธาด้วยการสอดคล้องกับความยุติธรรมด้วย

            ซึ่งตอนหลัง ฮาร์ท ก็จะมาอธิบาย ที่ทำให้เข้าใจชัดขึ้นว่า สำนักกฎหมายบ้านเมืองไม่ได้บอกว่ากฎหมายเป็น คำสั่งอะไรก็ได้ของผู้ปกครอง แต่ต้องเป็นกฎหมายที่เชื่อมโยงกับกฎหมายอื่นๆ เช่น ออก พรบ.ก็ไม่ละเมิดรัฐธรรมนูญ ออกกฎหมายภายในก็ไม่ละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ แม้กระทั่งจะเขียนสนธิสัญญาระหว่างประเทศยังต้องอยู่ภายใต้กรอบของจารีตประเพณีระหว่างประเทศ Erga Omnes ด้วยซ้ำ

             หรือ รัฐสมาชิกอียูจะออกกฎหมายภายในก็ต้องดูระบบกฎหมาย Supra National ของ EU ด้วย

            ความเข้าใจผิดต่อ สำนักกฎหมายบ้านเมืองว่า กฎหมายคือคำสั่งของผู้ปกครอง (เฉยๆ) นั้นตกยุคไปนานมาแล้ว ที่ชัดสุดก็คือ หลังชัยชนะของการปลดแอกประเทสอาณานิคมทั้งหลาย เช่น การต่อสู้ของมหาตมะคานธีด้วยวิถีแห่งสันติอหิงสา เพื่อชี้ให้เห็นว่า คำสั่งของรัฐธิปัตย์ที่ไร้ความยุติธรรม ย่อมไม่นำมาสู่การเคารพกฎหมายโดยประชาชน

การกำหนดอนาคตตนเองของประชานด้วยอารยะขัดขืนได้รับการยอมรับตามระหว่างประเทศอย่างชัดเจนในยุคปลดแอกหลังสงครามโลกครั้งที่สอง (ดู http://www.un-documents.net/a25r2625.htm)

นี่ตอบได้ด้วยว่าทำไม มหาตมะ คานธี ไม่ได้โนเบลสันติภาพ ก็เพราะตอนที่ทำ โลกตะวันตกมองว่านี่คือ คนที่กระทำการฝ่าฝืนกฎหมายบั่นทอนความมั่นคงของรัฐ(ผู้ปกครอง) แต่เมื่อประชาชนชนะ รัฐอาณานิคมทยอยปลดแอกสำเร็จ จนเกิดปฏิญญา และ กติการสากลว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง และสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ล้วนยอมรับ

            "สิทธิในการกำหนดอนาคตตนเองของปวงชน" 

จึงเป็นการเริ่มต้นของ การยอมรับวิธีการต่อต้านรัฐโดยสันติวิธีตามเจตจำนงของประชาชน

มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จึงได้รับโนเบลสาขาสันติภาพ แม้จะตกเป็นจำเลยในประเทศตนเองก็ตาม
 

            https://www.youtube.com/watch?v=ZzbKaDPMoDU

            เวลาพูดถึงความก้าวหน้าด้านสิทธิมนุษยชน จึงพูดในประสบการณ์และความสัตย์ซื่อต่อกฎหมายและหลักการโดยเฉพาะในยุโรป

ส่วนสหรัฐเป็นที่ตั้งข้อสังเกตว่ามุ่งมั่นผลักดันสิทธิมนุษยชนเฉพาะนอกเขตอำนาจของตัวเอง

 

การซื่อสัตย์ต่อกฎหมาย จะเกิดได้ก็ต่อเมื่อกฎหมายนั้นเป็นที่ยอมรับของประชาชน

 

            โดยประชาชนจะต่อต้านต่อผู้ปกครองเฉพาะกฎหมาย/นโยบายที่ไร้ความยุติธรรมเท่านั้น มิใช่มุ่งล้มการปกครองทั้งหมด จึงต้องยอมรับผลของกฎหมายในการกระทำต่อต้านนั้น และยอมอยู่ใต้ระบบกฎหมายและความยุติธรรมหลัก เพื่อแสดงให้เห็นถึงการเคารพกฎหมายอย่างสุดซึ้ง มิได้มุ่งทำลายกฎหมาย โครงสร้างทั้งมวลของรัฐทิ้งเสียทั้งหมด แบบ "อนาธิปไตย"

 

ศรัทธาต่อกฎหมาย จึงเกิดขึ้นได้ด้วย กฎหมายที่ยุติธรรมเชื่อมโยงกับศีลธรรมทางสังคม (สำนักกฎหมายธรรมชาติ) และยึดโยงกับกฎหรือกฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง (สำนักกฎหมายบ้านเมือง)
            ซึ่งไม่อยากพูดอะไรเยอะน่ะครับ เพราะหนังสือนิติปรัชญาจำนวนมาก ของอาจารย์ที่เคารพก็เขียนทำให้เกิดความเข้าใจต่อ สำนักกฎหมายบ้านเมืองคลาดเคลื่อนอยู่เยอะมาก

            รศ.ดร.ไชยันตร์ รัชชะกูล ผู้สอน นิติปรัชญา ระดับมหาบัณฑิต จึงมีดำริว่า นักกฎหมายรุ่นใหม่ ควรเขียนนิติปรัชญารุ่นใหม่ ที่ไม่ตกหลุม

            คู่ตรงข้ามของ สำนักกฎหมายบ้านเมือง Vs สำนักกฎหมายธรรมชาติ
            เพราะในยุคหลังที่ประชาธิปไตยเบ่งบาน และสิทธิมนุษยชนเป็นค่านิยมหลักของโลก ทั้งสองสำนักได้เดินทางมาบรรจบกันแล้ว แม้ในเบื้องต้นจะมีจุดเริ่มคนละฟากฝั่งกัน

พวกบอกว่า คำสั่งของรัฐาธิปัตย์ คือ กฎหมาย จึงเป็นพวกสำนักกฎหมายก่อนศตวรรษที่ 19 

ครับ นักกฎหมายไทยล้าหลังไปเกือบ 2 ศตวรรษ

อย่างไรก็ดีการทำให้คนทั้งสังคมเชื่อมมั่นศรัทธาและอยากปฏิบัติตามกฎหมายเป็นไปได้ยาก การเอากำลังหรืออำนาจกฎหมายเข้าไปบังคับปิดปากก็เป็นการขัดหลักการประกันเสรีภาพขั้นพื้นฐาน

ดังนั้น "ทุกคน" คงยาก ทำได้มากสุด คือ โดดเดี่ยวพวกสุดโต่ง อะครับ 
คือ ต้องทำให้ความ คลั่ง........ เป็นสิ่งที่ไม่ "ชิค ชิค คูล คูล" ให้ได้ในท้ายที่สุด
เพราะในยุคโพสต์แมทีเรียล เซลฟ์รีเฟรกชั่นสำคัญสุด ถ้าทำแล้วดูไม่ดี ไม่เท่ห์ คนอื่นไม่สนใจ ก็อายกันเลยทีเดียว เพราะ หน้าตาภาพลักษณ์ คือต้นทุนสำคัญในการอยู่กับสังคมไทย

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
บทความนี้จะไม่พูดถึงเหตุการณ์ในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 เนื่องจากการแสดงความคิดเห็นต่อต้านการลงประชามติรับรองรัฐธรรมนูญในปัจจุบันอาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมาย ไม่ว่าเราจะเห็นต่างและไม่ยอมรับกระบวนการที่ไม่เป็นประชาธิปไตยอย่างไร ก็ห้ามแสดงความคิดเห็น
ทศพล ทรรศนพรรณ
จากกรณีฮือฮาที่บัณฑิตนิติศาสตร์ถูกจับดำเนินคดี เนื่องจากผลิตเบียร์โดยไม่ได้รับอนุญาต จนมีการถกเถียงว่า “ทำไมรัฐไทยไม่อนุญาตให้คนทั่วไปผลิตเบียร์” ทั้งที่ชอบป่าวประกาศให้คนรุ่นใหม่ลุกขึ้นมาคิดค้นผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างแบรนด์สินค้าท้องถิ่น ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย  จนทายาทเบียร์ยี่ห้อดังออกมาตอบโต้ โ
ทศพล ทรรศนพรรณ
นอกจากประเด็นที่สื่อมวลชนกำลังตื่นตัวว่าจะมีการออกกฎหมายมาควบคุมตีตราสื่อให้อยู่ภายใต้การควบคุมขององค์กรในลักษณะที่ผู้มีอำนาจอาจเข้ามาแทรกแซงแล้ว  อีกประเด็นที่เชื่อมโยงกันและกระเทือนไปสู่วงกว้างมาก คือ การขยายขอบเขตการควบคุมไปยัง สื่อใหม่  
ทศพล ทรรศนพรรณ
จากประสบการณ์ตรงและการสังเกตการณ์งานต่อสู้ของประชาชนในท้องถิ่นหลายงานสะท้อนปัญหาหนึ่งที่คล้ายกันในหลายพื้นที่ คือ ชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการและนโยบายพัฒนาขนาดใหญ่ของรัฐ หรือการลงทุนของภาคธุรกิจอุตสาหกรรม มักจะถูกจ้องมองด้วยสายตาหวาดระแวงไปจนถึงการถูกสลายทำลายขบวนการเรื่อยมา
ทศพล ทรรศนพรรณ
การเมืองประเด็นใหญ่ช่วงปลายปี 2016 ที่ชาวโลกจับตามองเห็นจะไม่พ้นการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา และการทยอยประกาศรางวัลโนเบลสาขาต่างๆ บ็อบ ดีแลน ได้โนเบล แต่ โดนัลด์ ทรัมป์ ได้ตำแหน่งประธานาธิบดี
ทศพล ทรรศนพรรณ
การเมืองในโลกออนไลน์ที่ฮือฮาในช่วงปลายปีก่อนต่อเนื่องมาถึงช่วงต้นปีหนีไม่พ้นเรื่องกระแสวิพากษ์วิจารณ์ ร่างแก้ไขพระราชบัญญัติความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ ที่ สนช. ภายใต้การผลักดันของรัฐบาล คสช.
ทศพล ทรรศนพรรณ
ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสื่อสารที่ตัดข้ามผ่านพรมแดนตลอดเวลา และเศรษฐกิจระบบตลาดที่มีพละกำลังมหาศาลจนมิมีรัฐใดทัดทานได้ จนต้องเปิดกำแพงให้สินค้า บริการและผู้คนเคลื่อนไหวไปมาได้สะดวกกว่ายุคสงครามเย็นที่แบ่งฝักแบ่งฝ่าย จนนักคิดไม่น้อยหลุดปากว่า “รัฐชาติลดความสำคัญ” ไปแล้ว
ทศพล ทรรศนพรรณ
หากประเทศไทยต้องการผลักดันนโยบายไทยแลนด์ 4.0 จำต้องมีพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และกฎหมายที่ประกันความเป็นส่วนตัวในการสื่อสาร ตามมาตรฐานสากลใน 12 ประเด็นนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
จะพัฒนารัฐ ต้องมุ้งเป้าไปที่ ลูกหลานแรงงานและเกษตรกรโดยเฉพาะสตรี นี่คือสิ่งที่องค์การระหว่างประเทศด้านการพัฒนาเน้นย้ำเสมอ
ทศพล ทรรศนพรรณ
รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ปีนี้มอบให้แด่ ศาสตราจารย์ชอง ติโรล (Jean Tirole) แห่งมหาวิทยาลัยตูลูส ประเทศฝรั่งเศส    องค์กรให้เหตุผลอย่างชัดเจว่าเป็นผลจาก การวิเคราะห์อำนาจเหนือตลาดของผู้เล่นน้อยรายที่มักจะมีอำนาจเหนือตลาด ประสิทธิภาพของกลไกตลาดจึงเสียหาย และมีข้อเสนอในงานวิจัยของเขา
ทศพล ทรรศนพรรณ
ความเข้าใจผิดประการหนึ่งต่อการกระตุ้นตลาดเศรษฐกิจดิจิทัลและดึงดูดการลงทุนในอภิมหาโครงการไทยแลนด์ 4.0 ก็คือ การมุ่งไปชักชวนผู้ประกอบการรายใหญ่โดยใช้มาตรการลดแลกแจกแถมในรูปแบบการเชิญชวนนักลงทุนในยุคอุตสาหกรรมหนักซึ่งพ้นยุคสมัยไปแล้ว
ทศพล ทรรศนพรรณ
เมื่อมีรัฐบาลใหม่สิ่งทีตามมาด้วยเสมอ คือ นโยบายด้านเกษตรกรรม   ในอดีตเกษตรกร หรือที่คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าเป็น “ชาวนา” คือ กลุ่มเป้าหมายหลักในการหยิบมาเป็นกลุ่มคนที่ต้องได้รับนโยบายอุดหนุน   ตามสโลแกน “ชาวนา คือ กระดูกสันหลังของชาติ”  ที่แม้แต่คนรุ่นหลังๆ ก็ยังได้ฟังคำขวัญเห