Skip to main content

            ความสัตย์ซื่อและยึดถือกฎหมายด้วยศรัทธาอย่างแรงกล้า

            มีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสำนักกฎหมายบ้านเมือง ว่า คำสั่งทั้งหลายของรัฐาธิปัตย์ถือเป็นกฎหมายอย่างเด็ดขาด
            ศรัทธาต่อกฎหมาย เกิดขึ้นได้ ด้วยกฎหมายที่ยุติธรรมเชื่อมโยงกับศีลธรรมทางสังคม และกฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
            Fidelity to the Law

            นัยยะของมันจริงๆ คือ ฝ่ายสำนักกฎหมายธรรมชาติเถียงว่า หากกฎหมายเป็นเพียงกฎใดๆที่ออกมาด้วยอำนาจของผู้ปกครองโดยไม่เชื่อมโยงกับศีลธรรมหรือความยุติธรรมตามธรรมชาติแล้ว ย่อมทำให้ความมุ่งมาดปรารถนาในการเคารพกฎหมายของประชาชนเสื่อมลงไปได้

            การออก/สร้างกฎหมายให้คนไว้ใจแหล่ะศรัทธานั้น จึงต้องการมากกว่าการเรียกร้องให้ประชาชนเคารพกฎหมาย แต่ผู้ปกครองต้องสร้างกฎหมายให้ประชาชนศรัทธาด้วยการสอดคล้องกับความยุติธรรมด้วย

            ซึ่งตอนหลัง ฮาร์ท ก็จะมาอธิบาย ที่ทำให้เข้าใจชัดขึ้นว่า สำนักกฎหมายบ้านเมืองไม่ได้บอกว่ากฎหมายเป็น คำสั่งอะไรก็ได้ของผู้ปกครอง แต่ต้องเป็นกฎหมายที่เชื่อมโยงกับกฎหมายอื่นๆ เช่น ออก พรบ.ก็ไม่ละเมิดรัฐธรรมนูญ ออกกฎหมายภายในก็ไม่ละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ แม้กระทั่งจะเขียนสนธิสัญญาระหว่างประเทศยังต้องอยู่ภายใต้กรอบของจารีตประเพณีระหว่างประเทศ Erga Omnes ด้วยซ้ำ

             หรือ รัฐสมาชิกอียูจะออกกฎหมายภายในก็ต้องดูระบบกฎหมาย Supra National ของ EU ด้วย

            ความเข้าใจผิดต่อ สำนักกฎหมายบ้านเมืองว่า กฎหมายคือคำสั่งของผู้ปกครอง (เฉยๆ) นั้นตกยุคไปนานมาแล้ว ที่ชัดสุดก็คือ หลังชัยชนะของการปลดแอกประเทสอาณานิคมทั้งหลาย เช่น การต่อสู้ของมหาตมะคานธีด้วยวิถีแห่งสันติอหิงสา เพื่อชี้ให้เห็นว่า คำสั่งของรัฐธิปัตย์ที่ไร้ความยุติธรรม ย่อมไม่นำมาสู่การเคารพกฎหมายโดยประชาชน

การกำหนดอนาคตตนเองของประชานด้วยอารยะขัดขืนได้รับการยอมรับตามระหว่างประเทศอย่างชัดเจนในยุคปลดแอกหลังสงครามโลกครั้งที่สอง (ดู http://www.un-documents.net/a25r2625.htm)

นี่ตอบได้ด้วยว่าทำไม มหาตมะ คานธี ไม่ได้โนเบลสันติภาพ ก็เพราะตอนที่ทำ โลกตะวันตกมองว่านี่คือ คนที่กระทำการฝ่าฝืนกฎหมายบั่นทอนความมั่นคงของรัฐ(ผู้ปกครอง) แต่เมื่อประชาชนชนะ รัฐอาณานิคมทยอยปลดแอกสำเร็จ จนเกิดปฏิญญา และ กติการสากลว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง และสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ล้วนยอมรับ

            "สิทธิในการกำหนดอนาคตตนเองของปวงชน" 

จึงเป็นการเริ่มต้นของ การยอมรับวิธีการต่อต้านรัฐโดยสันติวิธีตามเจตจำนงของประชาชน

มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จึงได้รับโนเบลสาขาสันติภาพ แม้จะตกเป็นจำเลยในประเทศตนเองก็ตาม
 

            https://www.youtube.com/watch?v=ZzbKaDPMoDU

            เวลาพูดถึงความก้าวหน้าด้านสิทธิมนุษยชน จึงพูดในประสบการณ์และความสัตย์ซื่อต่อกฎหมายและหลักการโดยเฉพาะในยุโรป

ส่วนสหรัฐเป็นที่ตั้งข้อสังเกตว่ามุ่งมั่นผลักดันสิทธิมนุษยชนเฉพาะนอกเขตอำนาจของตัวเอง

 

การซื่อสัตย์ต่อกฎหมาย จะเกิดได้ก็ต่อเมื่อกฎหมายนั้นเป็นที่ยอมรับของประชาชน

 

            โดยประชาชนจะต่อต้านต่อผู้ปกครองเฉพาะกฎหมาย/นโยบายที่ไร้ความยุติธรรมเท่านั้น มิใช่มุ่งล้มการปกครองทั้งหมด จึงต้องยอมรับผลของกฎหมายในการกระทำต่อต้านนั้น และยอมอยู่ใต้ระบบกฎหมายและความยุติธรรมหลัก เพื่อแสดงให้เห็นถึงการเคารพกฎหมายอย่างสุดซึ้ง มิได้มุ่งทำลายกฎหมาย โครงสร้างทั้งมวลของรัฐทิ้งเสียทั้งหมด แบบ "อนาธิปไตย"

 

ศรัทธาต่อกฎหมาย จึงเกิดขึ้นได้ด้วย กฎหมายที่ยุติธรรมเชื่อมโยงกับศีลธรรมทางสังคม (สำนักกฎหมายธรรมชาติ) และยึดโยงกับกฎหรือกฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง (สำนักกฎหมายบ้านเมือง)
            ซึ่งไม่อยากพูดอะไรเยอะน่ะครับ เพราะหนังสือนิติปรัชญาจำนวนมาก ของอาจารย์ที่เคารพก็เขียนทำให้เกิดความเข้าใจต่อ สำนักกฎหมายบ้านเมืองคลาดเคลื่อนอยู่เยอะมาก

            รศ.ดร.ไชยันตร์ รัชชะกูล ผู้สอน นิติปรัชญา ระดับมหาบัณฑิต จึงมีดำริว่า นักกฎหมายรุ่นใหม่ ควรเขียนนิติปรัชญารุ่นใหม่ ที่ไม่ตกหลุม

            คู่ตรงข้ามของ สำนักกฎหมายบ้านเมือง Vs สำนักกฎหมายธรรมชาติ
            เพราะในยุคหลังที่ประชาธิปไตยเบ่งบาน และสิทธิมนุษยชนเป็นค่านิยมหลักของโลก ทั้งสองสำนักได้เดินทางมาบรรจบกันแล้ว แม้ในเบื้องต้นจะมีจุดเริ่มคนละฟากฝั่งกัน

พวกบอกว่า คำสั่งของรัฐาธิปัตย์ คือ กฎหมาย จึงเป็นพวกสำนักกฎหมายก่อนศตวรรษที่ 19 

ครับ นักกฎหมายไทยล้าหลังไปเกือบ 2 ศตวรรษ

อย่างไรก็ดีการทำให้คนทั้งสังคมเชื่อมมั่นศรัทธาและอยากปฏิบัติตามกฎหมายเป็นไปได้ยาก การเอากำลังหรืออำนาจกฎหมายเข้าไปบังคับปิดปากก็เป็นการขัดหลักการประกันเสรีภาพขั้นพื้นฐาน

ดังนั้น "ทุกคน" คงยาก ทำได้มากสุด คือ โดดเดี่ยวพวกสุดโต่ง อะครับ 
คือ ต้องทำให้ความ คลั่ง........ เป็นสิ่งที่ไม่ "ชิค ชิค คูล คูล" ให้ได้ในท้ายที่สุด
เพราะในยุคโพสต์แมทีเรียล เซลฟ์รีเฟรกชั่นสำคัญสุด ถ้าทำแล้วดูไม่ดี ไม่เท่ห์ คนอื่นไม่สนใจ ก็อายกันเลยทีเดียว เพราะ หน้าตาภาพลักษณ์ คือต้นทุนสำคัญในการอยู่กับสังคมไทย

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
หากสังคมไทยมีแนวโน้มจะเป็น สังคมทุนนิยม องค์กร สถาบัน จารีต ต่างๆ เสื่อมลง คนสัมพันธ์ผ่านระบบตลาด แคร์คนอื่นน้อยลง ขาดสำนึกร่วมในความอยุติธรรมทางสังคม หรือ มีสำนึกเชิง “ปัจเจก” มากขึ้นเรื่อยๆ
ทศพล ทรรศนพรรณ
อาจจะดูแปลกประหลาดไปสักหน่อยสำหรับบางท่านเมื่อพูดว่ากฎหมายได้รับรอง “สิทธิที่จะพักผ่อน” ไว้เป็นสิทธิมนุษยชนประการหนึ่ง เพราะคนไทยถือว่าการขยันตั้งใจทำมาหากินหามรุ่งหามค่ำเป็นศีลธรรมอันดีงามประเภทหนึ่งที่ต้องยึดถือปฏิบัติ หรือต้องแสดงออกให้สังคมเห็นเป็นประจักษ์ และสังคมก็ยกย่องบุคคลสำคัญโดยพิจารณา
ทศพล ทรรศนพรรณ
การลดช่องว่าง ด้วยการใช้อำนาจทางการเมืองมาจัดการเศรษฐกิจรัฐสวัสดิการ สร้างความมั่นคงขจัดความขัดแย้งด้วยแนวทางเจือจานบนพื้นฐานของภราดรภาพป้องกันการลุกฮือของมวลชน 
ทศพล ทรรศนพรรณ
มหกรรมฟุตบอลโลกจบลงไปแล้วด้วยชัยชนะของกองเชียร์ฝ่ายสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะกลุ่มสนับสนุนสิทธิของผู้อพยพ เนื่องทีมแชมป์โลกเป็นการรวมตัวของนักฟุตบอลที่มิได้มีพื้นเพเป็นคนฝรั่งเศส (พูดอย่างถึงที่สุด คือ มิได้มีบุพการีที่เกิดในดินแดนฝรั่งเศส)
ทศพล ทรรศนพรรณ
พอมาอยู่ที่ยุโรป ถึงได้รู้ว่า อิตาลี กับ สเปน มันไม่แคร์เรื่อง ขาดดุลตัวเลขเลย เพราะมันเอาไปลงทุนไว้กับคน รอถอนทุนคืน
ทศพล ทรรศนพรรณ
การเลือกตั้งท้องถิ่นในแคว้นคาตาลุนญ่า ราชอาณาจักรสเปน จะเกิดขึ้นในวันที่ 27 กันยายน 2015 ก่อนหน้าการเลือกตั้งทั่วไปของประเทศสเปนประมาณ 2 เดือน ความตื่นตัวของประชาชนสูงเพราะอยู่ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่ประชาชนได้รับผลกระทบกันไปทั่ว
ทศพล ทรรศนพรรณ
เกษตรพันธสัญญาที่ดี มีการสร้างความร่ำรวยให้กับเกษตรกรจำนวนมาก ลดความไม่แน่นอนในการผลิตและประกันว่ามีตลาดขายสินค้าแน่นอน หากมีปัญหาระหว่างการเพาะปลูก/เลี้ยงสัตว์จะมีการแบ่งรับความเสียหายกับบรรษัท นั้นมีจริง
ทศพล ทรรศนพรรณ
ผลิตบนหลักการอย่างหนึ่ง เช่น ทำกำไรจากกิจการอะไรที่ให้เงินเยอะ ไม่คำนึงถึงชีวิตเพื่อนมนุษย์หรือสิ่งแวดล้อมบริโภคบนหลักการอีกอย่างหนึ่ง เช่น การอุดหนุนสินค้าที่โฆษณาว่าห่วงใยสังคม หรือแสดงออกว่าเสพกิจกรรมการกุศลอาการ พร่องความดี
ทศพล ทรรศนพรรณ
การพัฒนาชนบทถือเป็นภารกิจของรัฐบาลทุกยุคทุกสมัย ตั้งแต่ยุคต้านภัยคอมมิวนิสต์ที่ต้องการขจัดภัยคุกคาม ด้วยการเปลี่ยนพื้นที่กันดารให้มี น้ำไหล ไฟสว่าง ทางสะดวก เพื่อขับไล่พวกที่ปลุกระดมโดยอาศัยความแร้นแค้นเป็นข้ออ้างให้ฝ่อไปเพราะเชื่อว่าเมื่อ “การพัฒนา” มาถึง คอมมิวนิสต์ก็จะแทรกซึมไม่ได้
ทศพล ทรรศนพรรณ
กาลครั้งหนึ่งไม่นานมานี้ ผมได้ตกเป็นเหยื่อ "ความมักง่าย" เข้าแล้วครับท่านผู้อ่าน
ทศพล ทรรศนพรรณ
            ความสัตย์ซื่อและยึดถือกฎหมายด้วยศรัทธาอย่างแรงกล้า            มีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสำนักกฎหมายบ้านเมือง ว่า คำสั่งทั้งหลายของรัฐาธิปัตย์ถือเป็นกฎหมายอย่างเด็ดขาด