Skip to main content

การเลือกตั้งท้องถิ่นในแคว้นคาตาลุนญ่า ราชอาณาจักรสเปน จะเกิดขึ้นในวันที่ 27 กันยายน 2015 ก่อนหน้าการเลือกตั้งทั่วไปของประเทศสเปนประมาณ 2 เดือน ความตื่นตัวของประชาชนสูงเพราะอยู่ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่ประชาชนได้รับผลกระทบกันไปทั่ว

สิ่งที่เห็นได้ชัด คือ กระแสแบ่งแยกดินแดนมาแรงมากถึงขนาด เช่น คณะกรรมการเลือกตั้งประกาศห้ามหน่วยงานรัฐบาลท้องถิ่นติดธงสัญลักษณ์แคมเปญประกาศอิสรภาพคาตาลัน ซึ่งหมายความว่า การติดธงสัญลักษณ์จะช่วยให้พรรคที่ใช้ประเด็นแบ่งแยกดินแดนหาเสียงได้ประโยชน์จากตราสัญลักษณ์นี้   และก่อนหน้านี้ศาลรัฐธรรมนูญเคยมีคำพิพากษาว่า โรงเรียนที่อยู่ในการบริหารของรัฐบาลท้องถิ่นคาตาลุนญ่าบังคับใช้ภาษาคาตาลันสอนวิชาต่างๆมากไป ต้องใช้ภาษาสเปนมากขึ้น ด้วย

คำถาม คือ ทำไมรัฐที่มั่นคงและมีบูรณภาพแห่งดินแดนมาช้านานจึงยังหลงเหลือไฟครุกรุ่นเกี่ยวกับความขัดแย้งทางเชื้อชาติ หรือชาติพันธุ์

หากวิเคราะห์จากฟากประชาชน สเปนก็ไม่ต่างจากประเทศอื่นในยุโรปนัก คือ พรรคฝ่ายขวาสมาทานนโยบายเศรษฐกิจแบบลดรายจ่ายภาครัฐ ส่งเสริมบรรษัทและนายทุน   ส่วนพรรคมวลชนฝ่ายซ้ายก็ดูแลสมาชิกสหภาพรุ่นเก๋าจนคนรุ่นใหม่เสื่อมศรัทธาในพรรค 

ความล้มเหลวของพรรคการเมืองระดับชาติสเปน ทำให้คนผิดหวัง จึงถวิลหา "พรรคทางเลือกที่สาม" จนสเปนเกิดพรรคใหม่ที่ชื่อว่า “Podemos” (เราทำได้) ขึ้นมา

พรรค Podemos นี้เน้นโจมตีนโยบายพรรคเก่าๆที่คงนโยบายสร้าง ความเหลื่อมล้ำ รัดเข็มขัด และผูกขาดอำนาจในหมู่ชนชั้นนำ   แล้วมามุ่งตอบสนองมวลชนอย่างถูกที่ถูกเวลา ตามความต้องการของมวลชน   กระแสตอบรับ Podemos จึงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในแคว้นที่ไม่มีปัญหา "ชาติพันธุ์" ถึงขั้นเป็นความขัดแย้งอยากแยกดินแดน   

แต่ในแคว้นที่มีรากเหง้าความขัดแย้งจากปัญหาชาติพันธุ์ ความอ่อนด้อยของพรรคทั้งสองทำให้เกิด “ความแหลมคม” ของสถานการณ์ เนื่องจากในแคว้นเหล่านี้ไม่น้อยมีความรู้สึกว่าไม่ด้อยกว่า คนคาสตีญ่า(แถบเมืองหลวงมาดริด) หรือคนอัลดาลูซ(แคว้นใหญ่สุดทางตอนใต้ใกล้อัฟริกา) และรู้สึก “แปลกแยก” จากคนสเปน มิได้มีสำนึกว่าเป็นคนชาติ เอสปันญ่อล เหมือนคนสเปนทั่วไป   จึงอยากจะออกแยกดินแดนออกไปบริหารงานเองดีกว่ากอดคอล่มสลายไปพร้อมกับเศรษฐกิจที่ร่อแร่ของสเปนในภาพรวม

สิ่งที่ต้องระลึกอย่าง คือ 19 เขตปกครองท้องถิ่นของสเปน มีความหลากหลายทางการเมืองมาก สเปนน่าจะถือว่าเป็นประเทศยุโรปที่มีการรวมศูนย์อำนาจน้อยสุด เนื่องจากมีการออกแบบเขตการปกครองระดับท้องถิ่นที่มีอำนาจการในการปกครองตนเองสูง สามารถบริหารจัดการนโยบายต่างๆได้อย่างเป็นอิสระมาก ริเริ่มโครงการและสวัสดิการทั้งหลายต่างไปจากเขตปกครองอื่นได้   หากจะเทียบเคียงก็ใกล้กับมลรัฐต่างๆในสหรัฐอเมริกา   โดยทั้งหมดอยู่ในร่มของระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ

ความต้องการอิสระและการปกครองตนเองสูงมีที่มา สืบเนื่องจากความเจ็บปวดในช่วงสงครามกลางเมืองที่นายพลฟรังโกที่ใช้กำลังทหารเข้าปราบปรามกลุ่มอุดมการณ์ฝ่ายสาธารณรัฐประชาธิปไตยลง แล้วสถาปนารัฐชาตินิยมฟาสซิสต์ขึ้นมา กดความแตกต่างหลากหลายในทุกภูมิภาคไว้ใต้ท้อปบู้ธนานนับ 40 ปี หลังจากระบอบเผด็จการล่มไปพร้อมกับความตายของฟรังโกในปี 1975 กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญจึงได้มีการคิดค้นการสร้างสมดุลระหว่าง “อำนาจรัฐบาลส่วนกลาง” กับ “อำนาจรัฐบาลเขตปกครองท้องถิ่น” ให้เกิดความสมดุลเพื่อลดความตึงเครียดและความขัดแย้งภายในประเทศไว้เป็นสำคัญ จนกระทั่งประกาศใช้ในปี1978 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน   รัฐธรรมนูญสเปนจึงเป็นการลดความขัดแย้งของคนในชาติด้วยการ ขีดแบ่ง และจัดความสัมพันธ์ระหว่างคนที่มีความแตกต่างหลากหลายได้ลงตัว

แต่เมื่อถึงระยะเปลี่ยนผ่านที่สำคัญในยุคนี้ที่ เศรษฐกิจกลายเป็นเรื่องชี้เป็นชี้ตายในชีวิตประจำวันของทุกคน การเกิดวิกฤตเศรษฐกิจที่ประชาชนพุ่งเป้าไปที่ความล้มเหลวของพรรคการเมืองทั้งขั้ว ซ้าย-ขวา ทำให้ประชาชนในแคว้นที่มีสำนึกเรื่องชาติที่แปลกแยกไปจากส่วนกลางอยู่แล้ว เริ่มหวนกลับมาคิดว่า จะฝากอนาคตไว้กับชนชั้นนำสเปน หรือจะแยกออกมาแล้วจัดการกันเอง ให้รอดพ้นวิกฤตเศรษฐกิจที่โหมซัดไปทั่วยุโรปใต้ได้อย่างไร

ดังนั้นชนชั้นนำและนักการเมืองท้องถิ่นในแคว้นที่มีประเด็นเรื่องชาติพันธุ์อยู่แล้ว เลยถือโอกาสเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาสในการปลุกกระแสแยกดินแดนไปเลย   ซึ่งก็ทำอย่างเป็นเรื่องเป็นราวเปิดเผยเลยทีเดียว  อย่าง คาตาลุนญ่า บาสก์ และกาลีเซียง พรรคมวลชนที่มีกระแสดีระดับประเทศอย่าง Podemos ก็ยังพ่ายแพ้ให้กับ กระแส "แยกดินแดน" หรือ "ชาติพันธุ์นิยม" ซึ่งมาแรงกว่า เพราะสามารถเชื่อมกลับไปยังรากเหง้าทางประวัติศาสตร์ได้

การผลักดันแคมเปญโดยรัฐบาลแคว้นและนักการเมืองท้องถิ่นทำกันมาต่อเนื่อง โดยเฉพาะเมื่อสิ้นสุดระบอบเผด็จการ ก็มีการใช้จ่ายเพื่อสร้างการเรียนรู้วัฒนธรรมของชาติพันธุ์ตนสูงมากขึ้นเรื่อยๆ อีกเช่นกัน  

การเมืองท้องถิ่น เลยใช้ประเด็นแยกดินแดนนี้มาหาเสียงแทนนโยบายอื่นๆ โดยผลักดันว่า ถ้าแยกมาบริหารเองจะดีกว่าไปผูกติดกับรัฐบาลกลางมาดริด และกลบความเน่าในที่เกิดจากการบริหารระดับท้องถิ่นเองด้วย

การเล่นเรื่องแยกดินแดน ได้ผลเนื่องจาก ประชาชนเบื่อหน่ายการบริหารงานแบบรวมศูนย์ของรัฐราชการสเปน และนักการเมืองท้องถิ่นก็เบี่ยงความเกลียดชังของประชาชนในแคว้นให้มุ่งไปโจมตีรัฐบาลกลาง พรรคระดับชาติ โดยฉวยใช้นโยบายชาตินิยมมาเป็นกุญแจสู่ชัยชนะ

การปรับปรุงประสิทธิภาพของรัฐราชการ และการตอบสนองความต้องการของมวลชนจึงเป็นวิธีการป้องกันกระแสแบ่งแยกดินแดนที่ยั่งยืน

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
Nick Srnicek ได้สรุปภาพรวมของแพลตฟอร์มดิจิทัลที่แตกต่างกัน 5 ประเภท คือ1.แพลตฟอร์มโฆษณา, 2.แพลตฟอร์มจัดเก็ยข้อมูล, 3.แพลตฟอร์มอุตสาหกรรม, 4.แพลตฟอร์มผลิตภัณฑ์, และ 5.แพลตฟอร์มแบบลีน 
ทศพล ทรรศนพรรณ
ผู้ประกอบการแพลตฟอร์มดิจิทัลมีรายได้และผลกำไรจำนวนมหาศาลจากการประมวลผลข้อมูลการใช้งานของผู้บริโภคในระบบของตน แต่ยังไม่มีระบบการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม    เนื่องจากยังมีข้อถกเถียงเรื่องใครเป็นเจ้าของข้อมูลและมีสิทธิแสวงหาผลประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้นบ้าง    จึงจ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การบังคับใช้ พรบ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่ผลักดันออกมาในปี พ.ศ.
ทศพล ทรรศนพรรณ
แพลตฟอร์มมักเป็นระบบแบบเปิดให้ทุกคนมีส่วนร่วม ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่นำไปสู่ปัญหา จากการที่ทำให้การเข้าถึงข้ามเขตอํานาจ ในทางกลับกัน กลับมีการกําหนดให้หน่วยงานกํากับดูแลและผู้ออกกฎหมายต้องร่วมมือกันข้ามพรมแดนแห่งชาติเพื่อประสานระบอบกฎหมายและกฎระเบียบในขณะที่จัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นรวมถึงประเด็นกา
ทศพล ทรรศนพรรณ
การวิเคราะห์ปรับปรุงเกระบวนการระงับข้อพิพาทของบรรดาผู้บริโภคในแพลตฟอร์มต่าง ๆ ยืนยันว่าระบบสามารถใช้เพื่อทำการแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้บริโภคจํานวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน่วยงานระงับข้อพิพาททางเลือก (Alternative Dispute Resolution - ADR) ที่ได้รับการรับรองจากสาธารณะให้เป็นมากกว่ากลไกการระงับข้อพิพาทใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
การสร้างความเชื่อถือให้กับผู้บริโภคจึงเป็นผลดีต่อการเติบโตของธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ และการตัดสินใจของผู้บริโภคที่จะทำธุรกรรมออนไลน์กับผู้ขายต่อไป ทำให้ประเทศต่าง ๆ  รวมถึงประเทศไทยให้ความสนใจและมุ่งให้เกิดการคุ้มครองอย่างจริงจังต่อปัญหาการละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู
ทศพล ทรรศนพรรณ
ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันทันใดที่ผู้คนจำนวนมากขาดความรู้ความเข้าใจต่อเทคโนโลยีที่มีผลกระทบต่อชีวิตโดยตรง รัฐในฐานะผู้คุ้มครองสิทธิประชาชนและยังต้องทำหน้าที่กระตุ้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจด้วย จึงมีภาระหนักในการสถาปนาความ “เชื่อมั่น” ให้เกิดขึ้นในใจประชาชนที่ลังเลต่อการเข้าร่วมสังฆกรรมใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริงเป็นสื่อใหม่ในโลกยุคดิจิทัลที่แสดงด้วยภาพและเสียงสามมิติซึ่งผู้ใช้สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในโลกที่ถูกสร้างขึ้นเหล่านี้ ทำให้เกิดเป็นสังคม (Community) ภายในโลกเสมือนจริงที่ผู้คนสามารถติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันได้ แต่มิใช่เพียงการเข้าไปรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสเพียงเท่านั้น นอก
ทศพล ทรรศนพรรณ
การทำธุรกรรมบนอินเตอร์เน็ตมีแนวโน้มที่จะส่งเสริมการเข้าร่วมสัญญาอย่างรวดเร็วสะดวกลดอุปสรรค ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตก็ด้วยไม่ต้องการเดินทางหรือไม่ต้องมีตัวกลางในการประสานความร่วมมือหรือต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับผู้รับรองสถานะของสัญญาในลักษณะตัวกลางแบบที่ต้องทำในโลกจริง ที่อาจถูกกฎหมายบังคับให้ทำตามแบ
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริง (Virtual World) คือสภาพแวดล้อมเสมือนซึ่งสร้างและปฏิบัติการด้วยซอฟต์แวร์ (Software) ที่อยู่ในเซิร์ฟเวอร์ (Server) ของเจ้าของแพลตฟอร์ม (Platform) สิ่งแวดล้อมเสมือนเหล่านี้ออกแบบมาให้ผู้เล่นหรือผู้ใช้โลกเสมือนจริงสามารถใช้ตัวตนเสมือนหรืออวตาร (Avatar) ในการท่องไปในโลกนั้น โดยสามารถติดต
ทศพล ทรรศนพรรณ
เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ในยุคดิจิทัลตั้งอยู่บนพื้นฐานของเสรีภาพในการแสดงออกบนโลกออนไลน์ โดยมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับประเด็นกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเนื่องจากกฎหมายลิขสิทธิ์สามารถห้ามปรามการเผยแพร่ความคิดหรือการแสดงออกในงานสร้างสรรค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยอ้างเหตุแห่งการคุ้มครองสิทธิของปัจเจกชนอย
ทศพล ทรรศนพรรณ
ความเฟื่องฟูของเศรษฐกิจดิจิทัลที่สร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการจำนวนมหาศาลแต่นำมาซึ่งความกังขาว่า สังคมได้อะไรจากการเติบโตของบรรษัทขนาดใหญ่ผู้เป็นเจ้าของเทคโนโลยีและควบคุมแพลตฟอร์มเหล่านี้ อันเป็นที่มาของเรื่อง การจัดเก็บภาษีดิจิทัลได้กลายเป็นข้อกังวลที่สำคัญสำหรับหลาย ๆ รัฐบาล ในยุโรป เช่นใน เยอรมนี