Skip to main content

พอมาอยู่ที่ยุโรป ถึงได้รู้ว่า อิตาลี กับ สเปน มันไม่แคร์เรื่อง ขาดดุลตัวเลขเลย เพราะมันเอาไปลงทุนไว้กับคน รอถอนทุนคืน

การทำให้คนร่างกายจิตใจแข็งแรง ลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ และสังคม(อาชญากรรม)  เพิ่มโอกาสในการพัฒนาตัวเองหรือพัฒนาสังคม   สามารถถอนทุนคืนได้ เมื่อทรัพยากรมนุษย์เหล่านั้นพร้อม เช่น จบการศึกษา มีทักษะวิชาชีพ  ทำให้ยังมีโอกาสขยับเลื่อนสถานะ และมีเวลาคิดแก้ไขปัญหาสังคม อนาคต ร่วมกัน  แสวงหาความรู้และสื่อสาระ

ไม่เหมือนบางประเทศ เอาไปกระตุ้นการบริโภคกับสร้างขยะที่ไม่จำเป็น เลยเจ๊ง เบิ้ลๆ นะครับนะ

การทำให้เกิดภาระในการซ่อมบำรุงในอนาคต การเพิ่มค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ และการทำให้คนติดนิสัยใช้จ่ายเกินตัวและกู้ยืม และคนตัดใจไม่เรียนต่อโดยเฉพาะคนที่ต้องกู้ยืม  ทำให้โอกาสขยับเลื่อนสถานะยิ่งยาก   และต้องใช้เวลาทั้งหมดภายใต้ตรรกะของทุนนิยม การบังคับของนายจ้าง และรัฐ โดยมีสื่อบันเทิงกล่อม


ดีใจที่มีคนเห็นร่วมกันมากขึ้นโดยมิได้นัดหมายในเรื่อง

1. คนที่ทรงอิทธิพลทางความคิด คือ นักโฆษณาประชาสัมพันธ์ หรือคนทำหนังทำละคร และแต่งเพลง มิใช่ นักวิชาการ หรือ นักเขียนวรรณกรรม

2. หนังหน้า หรือรูปลักษณ์ภายนอก เป็นต้นทุนสำคัญในการ ขยับเลื่อนสถานะความเป็นอยู่ในสังคมไทย ทุกเรื่อง ทุกแวดวง

ส่วนข้อสังเกตที่เห็นชัด คือ ตั้งแต่มีการรัฐประหาร และคนรุ่นใหม่ลงทุนทางอ้อมด้วยการซื้อหุ้น ตราสารต่างๆ มากขึ้น คือ

อาการ Schizophrenia ของคนในสังคมทุนนิยมเผด็จการ

มีคนที่ ต่อต้านทุนนิยมสามานย์แต่ดันเอาใจช่วยเชียร์ทุนเผด็จการที่ผลักดันโครงการใหญ่ๆที่ไปบดขยี้คนตัวเล็กตัวน้อยมากขึ้น

ก็เข้าใจได้นะครับว่า ทุนมันทำงานสลับซับซ้อนและทำให้คนที่มีส่วนได้เสีย เอาใจช่วยมัน แม้จะขัดกับหลักการที่ "ตนเคยประกาศไว้"

ผมเข้าใจนะครับ ว่าโครงสร้างเศรษฐกิจมันไม่เอื้อให้คนรุ่นใหม่ลงทุนในการผลิตสินค้าและบริการใหม่ๆ แต่ไม่ต้องทำอะไรที่มันย้อนแย้งกัน ให้ "คำสำคัญๆ" พังไปด้วยก็ได้

คนที่เขาทำงานเรื่องนั้นจริงๆ ลำบากมากครับ โดนโหนกันจนเละ

พอเสร็จแล้วก็ทิ้งเรื่องไว้ ให้เขาต้องมาตามล้างตามเช็ดกัน

หรือจริงๆ นโยบายที่สังคมไทยไม่ได้คิดกัน คือ

"Pacification" การทำให้ประชากรสุขสงบ

ซึ่งเป็นนโยบายที่รัฐหลังสงครามโลก ดำเนินการกันอย่างจริงจัง เพื่อป้องกันการ หงุดหงิด เดือดดาล แล้วลุกฮือ

บางคนบอกว่ามี ก็ "คืนความสุข" กันอยู่นี่ไง เอ่อ....ใช่เหรอ

สวัสดิการสังคม การสร้าง "เวลาว่าง" และ "กิจกรรม" ให้ประชาชนได้ทำแล้วรู้สึกเต็มในหัวใจ หรือให้โอกาสได้พัฒนาขยับเลื่อนสถานะตัวเองได้
ไม่มีการโกงหรือกลั่นแกล้งกัน น่าจะเป็นปลายทางของความสำเร็จ

ไม่งั้นก็จะได้เห็น "ความวิปลาส" กันเป็นรอบๆ แต่รอบจะถี่ขึ้น เพราะมี Social Media ที่ทำให้แรงริษยา กระเพื่อมไวไปด้วย

การบอกให้แต่ละคนไปปฏิบัติธรรม คงไม่พอแล้วครับ 
ถ้ากลับมาแล้วยังต้องมาเจออะไรแบบนี้

เอาตัวรอดไปวันๆ ก็ต้องมาเจอความขัดแย้งทางสังคมเป็นระยะ

คงต้องยอมให้คนรุ่นใหม่ๆ ขึ้นมาบ้างนะครับ ดาวค้างฟ้าทั้งหลาย

ไม่งั้นจะกลายเป็นคลื่นกัดเซาะฝั่ง จนตลิ่งพังแน่นอน

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
มาตรการสำหรับการแก้ปัญหาความอดอยากหิวโหยที่เกิดจากภัยพิบัติธรรมชาตินั้นสามารถดำเนินการได้ใน 3 ช่วงเวลา ก็คือ การเตรียมตัวก่อนภัยพิบัติจะเกิด การบรรเทาและแก้ไขปัญหาในขณะเกิดภัยพิบัติ การเยียวยาและฟื้นฟูหลังภัยพิบัติผ่านไปแล้ว   ในบทความนี้จะนำเสนอมาตรการและกรณีศึกษาที่ใช้ในการขจัดความหิว
ทศพล ทรรศนพรรณ
มาตรการทั่วไปที่ใช้ในการประกันความอิ่มท้องของประชากรในประเทศตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติที่รัฐบาลไทยประกาศสมาทานยึดถือนั้น ตั้งอยู่บนหลักกฎหมายสิทธิมนุษยชนเรื่องสิทธิด้านอาหาร นั้นหมายถึงรัฐไทยต้องมีมาตรการเคารพ ปกป้อง และส่งเสริมสิทธิประกอบด้วย กรอบทางกฎหมาย   กรอบทางนโย
ทศพล ทรรศนพรรณ
อุดมการณ์ที่เป็นสาเหตุของปัญหาแรงงานที่เกิดขึ้นทั่วโลกอยู่นั้น มีจุดก่อตัวมาจากระบบเศรษฐกิจการเมืองแบบเสรีนิยมใหม่ที่เข้ามาพร้อม ๆ กับกระแสแห่งการพัฒนาของโลกยุคโลกาภิวัฒน์ ที่ทำให้เกิดเสรีทางการลงทุนจนนำมาซึ่งรูปแบบการจ้างงานรูปที่มีความยืดหยุ่นต่อการบริหารจัดการของบรรษัท และสามารถตอบโจทย์นักลงทุ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินจำเป็นต้องวางแผนในการดำเนินการด้วยความเข้าใจพื้นฐานที่ว่า ความขัดแย้งเป็นสิ่งธรรมดาสามัญที่เกิดขึ้นได้ หากต้องการผลักดันข้อบัญญัติท้องถิ่นให้สำเร็จจึงต้องสามารถทำความเข้าใจลักษณะของข้อพิพาทที่มักเกิดขึ้นในการจัดการที่ดิน   และมีแนวทางในการข
ทศพล ทรรศนพรรณ
 ลู่ทางส่งเสริมการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ปัญหามลพิษ มีดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัญหาสิ่งแวดล้อมมักสร้างผลกระทบในระยะยาว ไม่ได้เกิดการบาดเจ็บ เสียหาย ทันทีทันใด   ดังนั้นเราจึงต้องมีวิธีการพิสูจน์ว่าความเจ็บป่วย เสียหายที่เกิดขึ้นนั้นมีผลมาจากปัญหาสิ่งแวดล้อมจริง   สิ่งที่เราต้องทำคือการเก็บหลักฐานอย่างต่อเนื่องและชัดเจนเพื่อนำไปใช้เป็นพยานหลักฐาน &n
ทศพล ทรรศนพรรณ
การจัดชุมนุมสาธารณะย่อมเป็นที่สนใจของสังคมตามความประสงค์ของผู้จัด จึงมีสื่อมวลชนที่เข้าร่วมทำข่าวทั้งที่เป็นสื่อมวลชนอาชีพที่มีสังกัดประจำหรือสื่อพลเมืองที่ทำหน้าที่ติดตามสถานการณ์และรายงานข่าวตามภูมิทัศน์เทคโนโลยีสื่อสารที่ปรับตัวไป 
ทศพล ทรรศนพรรณ
การชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธมีข้อจำกัดที่อาจถูกรัฐเข้าระงับหรือแทรกแซงการใช้สิทธิได้ตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ข้อ 4 ในสภาวะฉุกเฉินสาธารณะที่คุกคามความอยู่รอดของชาติที่ถูกประกาศอย่างเป็นทางการ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักไทย พุทธศักราช 2560 กำหนดถึงเหตุที
ทศพล ทรรศนพรรณ
การชุมนุมโดยสงบเป็นเครื่องมือที่ทำให้บุคคลทั้งหลายสามารถแสดงออกร่วมกันและมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลง ให้ปัจเจกสามารถแสดงความเป็นตัวตนของตัวเองร่วมกับผู้อื่น   โดยการเลือกสถานที่การชุมนุมอยู่ภายใต้หลักมองเห็นและได้ยิน (sight and sound) ทั้งนี้ผู้ชุมนุมต้องอยู่ในที่ที่มองเห็นและสาธารณชนต้อ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ขบวนการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้น ในบริบทโครงสร้างทางอำนาจในสังคมที่ไม่เท่าเทียมกัน การรวมศูนย์อำนาจหรือการครอบงำทางวัฒนธรรมโดยใช้วัฒนธรรมเดียว สิทธิชุมชนจึงเป็นการต่อสู้เพื่อปรับสัมพันธภาพทางอำนาจ สร้างตำแหน่งแห่งที่ให้ชุมชนให้เกิดความเป็นธรรมและเคารพในความหลากหลาย โดยท้องถิ่นมีเสรีภาพในการกำหนดกติกา
ทศพล ทรรศนพรรณ
ข้อกล่าวอ้างสำคัญของรัฐบาลไทยในการเพิ่มศักยภาพในด้านข่าวกรองและออกกฎหมายที่ให้อำนาจสอดส่องการสื่อสารของประชาชน คือ “ถ้าประชาชนไม่ได้ทำผิดจะกลัวอะไร” โดยมิได้คำนึงหลักการพื้นฐานเบื้องต้นว่า แม้ประชาชนมิได้ทำผิดกฎหมายอันใดก็มีสิทธิความเป็นส่วนตัว ปลอดจากการแทรกแซงการสื่อสาร อันเป็นสิทธิพื้นฐานตามกฎ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การพัฒนารัฐที่ใช้กฎหมายเป็นหลักประกันสิทธิมนุษยชนของประชาชน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพลเมืองในประเด็นสาธารณะของผู้ตื่นตัวทางการเมืองในลักษณะ “นิติรัฐอย่างเป็นทางการ” แตกต่างจากความสัมพันธ์ทางอำนาจแบบ “ไม่เป็นทางการ” ที่รัฐอาจหลีกเลี่ยงการใช้อำนาจปกครองภายใต้กรอบของกฎหมายเพื่อประกันสิทธิเสรีภาพต