Skip to main content

มหกรรมฟุตบอลโลกจบลงไปแล้วด้วยชัยชนะของกองเชียร์ฝ่ายสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะกลุ่มสนับสนุนสิทธิของผู้อพยพ เนื่องทีมแชมป์โลกเป็นการรวมตัวของนักฟุตบอลที่มิได้มีพื้นเพเป็นคนฝรั่งเศส (พูดอย่างถึงที่สุด คือ มิได้มีบุพการีที่เกิดในดินแดนฝรั่งเศส)

                ฝรั่งเศสซึ่งมีแก่นแกนของรัฐอยู่ที่การเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้คน ส่งเสริมความเสมอภาคของบุคคลแม้จะมีที่มาและเชื้อชาติศาสนาที่แปลกแตกต่างกันไป บนพื้นฐานของความเข้าอกเข้าใจในความจำเป็นของเพื่อมนุษย์ที่ในบางสถานการณ์จำต้องอพยพย้ายถิ่นฐานของมาที่หนีภัยออกจากประเทศบ้านเกิด

                มีการสำรวจข้อเท็จจริงในข่าวกีฬาหรือสารคดีทางสังคมจำนวนมากที่บอกสัดส่วนให้เห็นอยู่แล้วว่าหากตัดกลุ่มนักเตะอพยพออกจะทำให้โฉมหน้า 11 ตัวจริงเปลี่ยนไปชนิดที่ไม่เหลือเค้าเดิมของทีมเลอเบลอส์ที่โลดแล่นในฟุตบอลโลก 2018 หรือแม้แต่ย้อนไปเมื่อครั้งได้แชมป์สมัยแรกในปี 1998 ก็มีนักเตะอพยพเกินครึ่งเช่นกัน

                ปรากฏการณ์นี้ให้บทเรียนอะไรกับเรา โดยเฉพาะผู้ที่มีอำนาจในการกำหนดนโยบายพัฒนาประเทศ การควบคุมดุแลคนเข้าเมือง หรือพูดอย่างถึงที่สุด คือ การบริหารจัดการประชากรเพื่อขับเคลื่อนอนาคตของประเทศท่ามกลางอีกสถานการณ์ที่รุกเร้ารัฐไทยนั่นคือ การก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ เนื่องจากคนรุ่นใหม่มีทายาทน้อยลง

มิพักต้องพูดถึงปัญหาที่ซ่อนอีกประการ คือ ลูกหลานคนไทยยุคใหม่ไม่ต้องการประกอบอาชีพ สกปรก อันตราย และไร้เกียรติ

                กีฬาฟุตบอลโดยเฉพาะการแข่งขันของ “ทีมชาติ” ย่อมสะท้อนเรื่องนี้ได้อย่างถึงแก่น

                กล่าวคือ ทีมที่เข้าแข่งขันนั้นต้องเป็นตัวแทนของประเทศ มีสัญชาติของรัฐเพื่อให้เกิดสิทธิในการลงเล่นให้ทีมชาติเหล่านั้น  แต่ที่ลึกไปกว่านั้น เราจะเห็นถึงระบบการสร้างเยาวชนนักฟุตบอลตั้งแต่วัยเยาว์ที่ประกอบไปด้วยเด็กซึ่งได้สัญชาติมาตามนโยบายของรัฐนั้นๆ แม้พ่อแม่จะเป็นผู้อพยพถือสัญชาติอื่นก็ตาม

                ข้อคัดค้านที่มีเสมอคือ ถ้ายอมให้ผู้อพยพเข้ามา ไม่กลัวล้นประเทศหรือ จะควบคุมอาชญากรรมอย่างไร จะเข้ามาแย่งงานไหม หรือถ้าต้องให้สิทธิสวัสดิการ จะเอาที่ไหนไปจัดให้เขา 

ขอตั้งต้นอย่างนี้นะครับ

                ในโลกหลังสมัยใหม่ ความสามารถในการข้ามพรมแดนย่อมมีมากกว่าในอดีตอยู่แล้ว แต่ในทางกลับกันเทคโนโลยีจำนวนมากก็ช่วยให้รัฐควบคุมชายแดนหรือประชากรได้มากขึ้นเช่นกัน ระบบเอกสารหรือตรวจนับคนทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น  แต่สิ่งที่ทั่วโลกกำลังเผชิญไปด้วย คือ ขาดกำลังแรงงานในภาคการผลิตและบริการที่จำเป็น “ในราคาประหยัด”

                เราจะตอบสนองเป้าหมายทั้งสองที่ดูเหมือนจะขัดกันได้อย่างไร ไม่ให้กระเทือนชีวิตหรือแม้กระทั่งอารมณ์ความรู้สึกของผู้รักชาติ ย่อมเป็นประเด็นสำคัญในการเมืองร่วมสมัย ดังที่จะเห็นแนวโน้มของการใช้นโยบายเรื่องผู้อพยพเป็นเครื่องมือหาเสียงมากขึ้นเรื่อยๆในหลายประเทศ

                ว่ากันด้วยเรื่องความมั่นคงก่อน การวิจัยเกี่ยวกับการควบคุมประชากร พบว่า ความสามารถในการตรวจนับเขาสู่ระบบ และสร้างประสิทธิภาพในการสอดส่องจับจ้องผู้ต้องสงสัย คือ เครื่องมือสำคัญในการรักษาความมั่นคง ป้องกันอาชญากรรม หรือในบั้นปลายคือติดตามจับกุมอาชญากรมาดำเนินคดี

                ดังนั้นการมีผู้อพยพที่ลักลอบเข้าเมืองโดยที่รัฐไม่พัฒนาระบบในการลงทะเบียนตรวจนับ เพื่อสร้างกลไกในการติดตามบุคคลต่างหากที่เป็นรูลอดให้องค์กรอาชญากรรมสอดทะลุเข้ามาดำเนินกิจกรรมผิดกฎหมาย เช่นเดียวกับการปล่อยให้เรื่องผู้อพยพเป็นสิ่งซุกซ่อนใต้พรม เพราะจะทำให้คนเหล่านั้นเข้าสู่อาชีพหรือกิจกรรมผิดกฎหมายสร้างรายได้ให้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้แสวงหาประโยชน์โดยทุจริต และกลายเป็นเสาค้ำยันองค์กรอาชญากรรมไปด้วย

                หลายประเทศจึงเลือกที่จะทำให้ขึ้นมาอยู่ในที่สว่าง มีการดำเนินการที่ชัดเจนตรวจสอบได้อย่างโปร่งใส

                ในประเด็นเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ สังคมไทยเริ่มมีความเข้าใจมากขึ้นเรื่อยๆว่าอาชีพที่ผู้อพยพทำนั้นล้วนมีความเสี่ยงและได้ผลตอบแทนต่ำจนคนไทยเลือกที่จะไม่ทำ หากขาดแรงงานข้ามชาติอาจทำให้สายพานการผลิตชะงักงัน 

เรื่องที่สำคัญกว่า คือ แรงงานอพยพเปลี่ยนแปลงอัตลักษณ์ของสินค้าและบริการไทยให้เสื่อมคุณภาพเสียชื่อเสียงต่อแบรนด์ไทยหรือไม่ เช่น อาหารไทยที่รสชาติแปร่งปล่าเพราะว่าใช้เชพจากต่างประเทศ หรือร้านค้าที่เปลี่ยนวิถีการให้บริการผิดแผกไปจากกลิ่นอายไทยแท้

จากการลงพื้นที่สำรวจวิจัยพบว่า ร้านที่มีลักษณะเปลี่ยนไปในเชิงคุณภาพนั้นก็ด้วย 2 สาเหตุใหญ่ คือ

  1. ไม่ได้มีการรักษาคุณภาพ เช่น เจ้าของไม่ได้เฝ้าร้าน เปิดแฟรนไชส์ไปหลายสาขาจนยากควบคุม หรือไม่มีการส่งมือดีไปชิม ไปบริหารอย่างใส่ใจในรายละเอียด
  2. การเข้ามาของทุนต่างชาติที่แผ่อิทธิพลมากขึ้นผ่านกำลังเงินมหาศาล เช่น การมาซื้อกิจการต่อจากคนไทยแล้วเอาไปทำเองจนเพี้ยนไป เสมือนไปกินร้านอาหารไทยในต่างแดนที่มีเจ้าของไม่ไทย เป็นต้น

ปัญหามิใช่ตัวแรงงาน แต่เป็นปัญหาที่ผู้ควบคุมคุณภาพเสียหรือที่โหดร้ายกว่านั้น คือ การซื้อห้างร้านนั้นไปเพื่อบังหน้ากิจกรรมผิดกฎหมายอื่น แล้วทำการฟอกเงินผ่านตัวเลขที่ปั้นแต่งโดยอาศัยชื่อเสียงเก่าของร้านนั้นๆ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่บั่นทอนทั้งความมั่นคงของรัฐและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของชาติ

                เราเลือกได้ว่าจะดึงดูดใครเข้าประเทศและควบคุมใครมิให้ทำร้ายชาติ

 

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
ผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน (Human Rights Defender – “นักปกป้องสิทธิมนุษยชน” คือ คำแปลทางการของรัฐไทย) ที่องค์การสหประชาชาติได้ให้นิยามไว้นั้นหมายถึง "บุคคลผู้ดำเนินการโดยลำพังหรือร่วมกับบุคคลอื่น กระทำการเพื่อส่งเสริมหรือคุ้ครองสิทธิมนุษยชน"
ทศพล ทรรศนพรรณ
เกษตรกรรมถือเป็นวิถีการผลิตที่อยู่ควบคู่กับชีวิตคนไทยจำนวนไม่น้อยมาเป็นเวลานาน   แต่ในปัจจุบันนี้การผลิตในวิถีทางเดิมได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างที่คนในสังคมไทยมิได้ตระหนักรู้    ความคิดและจินตนาการเดิมเกี่ยวกับเกษตรกรรมที่มีทุ่งนาสีเขียว ชาวนารวมตัวกันลงแขกเกี่ยวข้าว หรือทำการผ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การใช้กำลังเข้าประหัตประหารกันของมนุษย์ปรากฏอยู่อย่างต่อเนื่องยาวนานควบคู่กับทุกสังคม   แต่ก็มีหลายอารยธรรมพยายามสร้างขอบเขตและแนวทางในการควบคุมความเสียหายของการใช้กำลังมิให้กระทบกระเทือนชีวิตผู้คน ทรัพย์สิน และสังคม มากเกินกว่าจะธำรงเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ไว้ได้
ทศพล ทรรศนพรรณ
การรวมกลุ่มประเทศในระดับภูมิภาคเพื่อสร้างนโยบาย หรือกฎหมายร่วมกันของรัฐสมาชิก ตั้งอยู่บนหลักความสมัครใจเข้าร่วมของรัฐ โดยส่วนใหญ่ยึดถือเจตจำนงของรัฐเป็นสำคัญเหนือสิ่งอื่นใด   เนื่องจากรัฐทั้งหลายที่เข้ารวมกลุ่มนั้นย่อมีความหวังที่จะบรรลุเป้าหมายความเจริญก้าวหน้า และประโยชน์ของรัฐตนเป็นท
ทศพล ทรรศนพรรณ
7.เสรีภาพในการแสดงออก การสอดส่องของรัฐ และการควบคุมเนื้อหา  
ทศพล ทรรศนพรรณ
แรงงานสร้างสรรค์ในบทความนี้ที่จะพูดถึง คือ ผู้คนที่ทำงานในอุตสาหกรรมภาคสร้างสรรค์ เช่น คนทำสื่อสาระ บันเทิง ละคร นักเขียน ไปจนถึง นักแปล ดารา นักแสดง ศิลปิน ที่กลายเป็นอาชีพที่ปัญญาชน หรือผู้มีการศึกษายึดเป็นวิถีทางในการประกอบสัมมาอาชีพ หารายได้เลี้ยงดูตนเองและครอบครัว กันเป็นจำนวนมาก
ทศพล ทรรศนพรรณ
การประกวดความงามในช่วงหลังได้กลายเป็นเวทีแสดงพลังของความงดงามที่หลากหลาย และใช้ประเด็นการสร้างความเข้มแข็งให้สตรีเป็นแกนหลักส่งเสริมความงาม “อย่างมีคุณค่า”
ทศพล ทรรศนพรรณ
ระบอบการกำกับโลกไซเบอร์และตัวแบบในการกำกับดูแลพื้นที่ไซเบอร์
ทศพล ทรรศนพรรณ
4.ความเป็นส่วนตัวในการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล       
ทศพล ทรรศนพรรณ
Internet Communication            ปัจจุบันเทคโนโลยีถือเป็นตัวกำหนดภูมิทัศน์ทางสังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรม ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ถือเป็นความท้าทายในสังคมยุดิจิทัลซึ่งผู้ให้บริการในโลกธุรกิจต้องเผชิญ เ
ทศพล ทรรศนพรรณ
มาตรการรัดเข็มขัด (Austerity) หรือ นโยบายที่มีแนวโน้มปรับลดค่าใช้จ่ายภาครัฐหรือเพิ่มการจัดเก็บภาษีควบคู่ไปด้วย  แนวทางนี้เป็นสิ่งที่ถูกโจมตีโดยนักคิดนักวิเคราะห์สายส่งเสริมสวัสดิการสังคมและพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนมาอย่างต่อเนื่องเพราะการตัดลดงบประมาณหมายถึงการลดคุณภาพและปริมาณสวัสดิการสังคมที