Skip to main content

การลดช่องว่าง ด้วยการใช้อำนาจทางการเมืองมาจัดการเศรษฐกิจ

รัฐสวัสดิการ สร้างความมั่นคง

ขจัดความขัดแย้งด้วยแนวทางเจือจานบนพื้นฐานของภราดรภาพป้องกันการลุกฮือของมวลชน

 

หากมองไปถึงรากของมาร์กซ ในมุมของวิทยาศาสตร์สังคม และการวิเคราะห์ปรัชญาวัตถุนิยม เห็นจะเป็นยุโรปเหนือสแกนดิเนเวียนที่ใช้กรอบคิดนี้เป็นแนวทางและพัฒนาโครงสร้างรัฐไปสู่การสังคมอุดมคติผ่านเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ทั้งหลาย   พรรคแรงงาน พรรคสังคมนิยมประชาธิปไตย และรัฐสภารัฐ ไปจนถึงการสร้างแนวร่วมในสภายุโรป ผ่านแนวร่วมสหภาพและองค์กรประชาสังคมต่างๆ   ร่วมกันคิดร่วมกันแก้

แต่กระแสที่มาแรงในตอนนี้ คือ ยุโรปใต้ที่เริ่มย้อนกลับไปถอดบทเรียนของลาตินอเมริกา ที่ใช้แนวทางโรแมนติคเกี่ยวกับการปลุกระดมมวลชนที่ถูกระบบตลาดทุนนิยมโลกเบียดขับขูดรีดจนรู้สึกแปลกแยกกับตัวเอง รู้สึกได้ถึงความไม่เป็นธรรม แล้วเกิดความรู้สึกรุนแรงในการลุกฮือขึ้นยึดอำนาจรัฐเพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจ    เริ่มจากการเดินขบวน การยึด ไปจนถึงการจัดตั้งองค์กรนำแนวพรรคการเมืองฝ่ายซ้ายเพื่อไปยึดอำนาจในสภา และมีแนวโน้มในการขัดแย้งกับชนชั้นนำทางการเมืองในระดับยุโรป เทคโนแครตในองค์การระหว่างประเทศ และระบบราชการในประเทศ   แต่มีแนวร่วมเป็นขบวนการเคลื่อนไหวในประเทศและข้ามไปถึงประเทศอื่นๆในโลก    มีความรักและเห็นอกเห็นใจเพื่อนมนุษย์

 

สิ่งที่ต้องทำก่อน คือ การก้าวข้ามกับดักทางความคิด เชิงตัวเลขเศรษฐกิจของนักคิดฝ่ายขวา หรือเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก

 

อย่างไรก็ดี ฝ่ายซ้ายเหล่านี้ที่ประสบความสำเร็จ ก็เพราะชี้ให้เห็นปัญหาของโครงสร้างปัจจุบันอย่างชัดเจน มีแนวทางแก้ไขเป็นรูปธรรม และสร้างความเชื่อมั่นให้คนในสังคมว่าจะไม่เกิดเหตุการณ์รุกฮือบานปลายเป็นการใช้กำลังปล้นสะดมใดๆ แต่จะใช้แนวทางเปลี่ยนแปลงเชิงสันติวิธี ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนทั้งหลายเข้ามามีส่วนร่วมได้ตามวิถีทางแห่งประชาธิปไตย และเคารพสิทธิมนุษยชนขันพื้นฐานของคนทั้งสังคม

 

นั่นคือ ใช้ภราดรภาพเป็นธงนำ

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
ผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน (Human Rights Defender – “นักปกป้องสิทธิมนุษยชน” คือ คำแปลทางการของรัฐไทย) ที่องค์การสหประชาชาติได้ให้นิยามไว้นั้นหมายถึง "บุคคลผู้ดำเนินการโดยลำพังหรือร่วมกับบุคคลอื่น กระทำการเพื่อส่งเสริมหรือคุ้ครองสิทธิมนุษยชน"
ทศพล ทรรศนพรรณ
เกษตรกรรมถือเป็นวิถีการผลิตที่อยู่ควบคู่กับชีวิตคนไทยจำนวนไม่น้อยมาเป็นเวลานาน   แต่ในปัจจุบันนี้การผลิตในวิถีทางเดิมได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างที่คนในสังคมไทยมิได้ตระหนักรู้    ความคิดและจินตนาการเดิมเกี่ยวกับเกษตรกรรมที่มีทุ่งนาสีเขียว ชาวนารวมตัวกันลงแขกเกี่ยวข้าว หรือทำการผ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การใช้กำลังเข้าประหัตประหารกันของมนุษย์ปรากฏอยู่อย่างต่อเนื่องยาวนานควบคู่กับทุกสังคม   แต่ก็มีหลายอารยธรรมพยายามสร้างขอบเขตและแนวทางในการควบคุมความเสียหายของการใช้กำลังมิให้กระทบกระเทือนชีวิตผู้คน ทรัพย์สิน และสังคม มากเกินกว่าจะธำรงเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ไว้ได้
ทศพล ทรรศนพรรณ
การรวมกลุ่มประเทศในระดับภูมิภาคเพื่อสร้างนโยบาย หรือกฎหมายร่วมกันของรัฐสมาชิก ตั้งอยู่บนหลักความสมัครใจเข้าร่วมของรัฐ โดยส่วนใหญ่ยึดถือเจตจำนงของรัฐเป็นสำคัญเหนือสิ่งอื่นใด   เนื่องจากรัฐทั้งหลายที่เข้ารวมกลุ่มนั้นย่อมีความหวังที่จะบรรลุเป้าหมายความเจริญก้าวหน้า และประโยชน์ของรัฐตนเป็นท
ทศพล ทรรศนพรรณ
7.เสรีภาพในการแสดงออก การสอดส่องของรัฐ และการควบคุมเนื้อหา  
ทศพล ทรรศนพรรณ
แรงงานสร้างสรรค์ในบทความนี้ที่จะพูดถึง คือ ผู้คนที่ทำงานในอุตสาหกรรมภาคสร้างสรรค์ เช่น คนทำสื่อสาระ บันเทิง ละคร นักเขียน ไปจนถึง นักแปล ดารา นักแสดง ศิลปิน ที่กลายเป็นอาชีพที่ปัญญาชน หรือผู้มีการศึกษายึดเป็นวิถีทางในการประกอบสัมมาอาชีพ หารายได้เลี้ยงดูตนเองและครอบครัว กันเป็นจำนวนมาก
ทศพล ทรรศนพรรณ
การประกวดความงามในช่วงหลังได้กลายเป็นเวทีแสดงพลังของความงดงามที่หลากหลาย และใช้ประเด็นการสร้างความเข้มแข็งให้สตรีเป็นแกนหลักส่งเสริมความงาม “อย่างมีคุณค่า”
ทศพล ทรรศนพรรณ
ระบอบการกำกับโลกไซเบอร์และตัวแบบในการกำกับดูแลพื้นที่ไซเบอร์
ทศพล ทรรศนพรรณ
4.ความเป็นส่วนตัวในการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล       
ทศพล ทรรศนพรรณ
Internet Communication            ปัจจุบันเทคโนโลยีถือเป็นตัวกำหนดภูมิทัศน์ทางสังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรม ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ถือเป็นความท้าทายในสังคมยุดิจิทัลซึ่งผู้ให้บริการในโลกธุรกิจต้องเผชิญ เ
ทศพล ทรรศนพรรณ
มาตรการรัดเข็มขัด (Austerity) หรือ นโยบายที่มีแนวโน้มปรับลดค่าใช้จ่ายภาครัฐหรือเพิ่มการจัดเก็บภาษีควบคู่ไปด้วย  แนวทางนี้เป็นสิ่งที่ถูกโจมตีโดยนักคิดนักวิเคราะห์สายส่งเสริมสวัสดิการสังคมและพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนมาอย่างต่อเนื่องเพราะการตัดลดงบประมาณหมายถึงการลดคุณภาพและปริมาณสวัสดิการสังคมที