Skip to main content

หากสังคมไทยมีแนวโน้มจะเป็น สังคมทุนนิยม องค์กร สถาบัน จารีต ต่างๆ เสื่อมลง คนสัมพันธ์ผ่านระบบตลาด แคร์คนอื่นน้อยลง ขาดสำนึกร่วมในความอยุติธรรมทางสังคม หรือ มีสำนึกเชิง “ปัจเจก” มากขึ้นเรื่อยๆ

การหาวิธีการอำนวยความยุติธรรมในชีวิตประจำวันให้กับประชาชนคนสามัญ น่าจะเป็นว่าทำอย่างไรให้คนที่มีทุนสังคมต่ำ(เส้นสายน้อยหรือไม่มี) สามารถต่อรองหรือได้รับการอำนวยความยุติธรรมได้สะดวกหรือเป็นไปได้มากขึ้นน่ะครับ

จะเป็นเรื่องกระจายอำนาจออกจากศูนย์กลางบังคับบัญชา เพิ่มเครือข่ายหรือองค์กรใหม่ๆให้คนตัวเล็กๆได้เกาะเกี่ยว

หรือจะเป็นแบบเดิมๆที่เสนอแบบลอกฝรั่งมา คือ เพิ่มประสิทธิภาพของหน่วยงานรัฐที่รับร้องทุกข์และแก้ไขปัญหาประชาชน

แต่เท่าที่ดูๆ หลายโมเดล พบว่า การนำระบบตลาดในทางยุติธรรมมาช่วย กลับได้ผลครับ

ยกตัวอย่างนะครับ แต่ก่อนในประเทสอุตสาหกรรม โรงงานปล่อยมลพิษสู่สาธารณะบ่อยมาก แต่พอเริ่มมีสำนักงานทนายมาจับคดีนี้ แล้วฟ้องให้ชาวบ้าน จนสำเร็จ หรือทำให้บรรษัทต้องเข้ามาเจรจาจ่ายค่าเสียหาย พบว่า มีสนง.ทนาย แห่กันไปหาชาวบ้านพื้นที่ต่างๆ ที่ได้รับความเสียหายจากมลพิษ เพื่อฟ้องเรียกร้องค่าเสียหาย

ไม่ใช่คนดีรักความยุติธรรมอะไรหรอกครับ แต่เม็ดเงินมันใหญ่มาก

รวมไปถึงคดี ฟ้องหมอรักษาห่วย  ฟ้องตำรวจฟ้องผู้ต้องหา หรือคดีสิทธิมนุษยชนอีกมากมาย

คือพูดง่ายๆ ถ้าเราคาดหวังแค่อุดมการณ์ ความยุติธรรม คงไม่มีคนเก่งๆ รุ่นใหม่ๆ ที่ต้องหาเลี้ยงปากท้องและอยากมั่นคงมีครอบครัว เข้ามาช่วยแสวงหาความยุติธรรมให้กับชาวบ้านหรอกครับ

อย่างเมืองไทยเนี่ย แค่ ENlaw กับ สมาคมนักกฎหมายสิทธิฯ ก็รับคดีทั่วราชอาณาจักรกันแทบอ้วก เพราะต้องทำกึ่งฟรี

แต่ถ้าเมื่อไหร่คดีเหล่านี้เป็น "เงิน"  การอำนวยความยุติธรรมด้วยมืออาชีพมาแน่ครับ

อันนี้ผมลองเสนอแบบให้เข้ากับโทนบทความอาจารย์ที่ว่าสังคมมีแนวโน้มเป็น "ปัจเจก" มากขึ้นเลยนะครับ

กลับไปก็ว่าจะสร้างเครือข่ายกับลูกศิษย์ที่มีแววปั้นทนายขึ้นมาสักกลุ่มรับทำคดีพวกนี้แล้วให้เลี้ยงตัวเองได้ด้วยครับ

สรุป ถ้าจะประยุกต์เป็นวิจัย ก็น่าจะทำวิจัยว่า โมเดลหรือวิธีการไหนที่ทำให้ประชาชนเข้าถึงความยุติธรรมได้มากขึ้น เทียบกันเลยก็ได้ครับ ระหว่าง รัฐทำ ภาคประชาสังคมทำ ภาคประชาชนทำ หรือสมาคมวิชาชีพ  หรือสำนักงานทนายเอกชน ทำกันแน่  มีหลายประเทศให้เลือกสรร ครับ

ถ้า เมธีวิจัยอาวุโสสนับสนุน ทศพล ยอมเหนื่อยช่วยหาคนมาทำโครงการวิจัยให้ได้ครับ

แต่ถ้าจะให้ครบเครื่องจริงๆ ก็ต้องทำครบวงจรแบบที่บรรษัททำ คือ นอกจากมีนักกฎหมายแล้ว ยังต้องมีนักสื่อสาร นักยุทธศาสตร์ และนักรบ/รักษาความปลอดภัย และเส้นสายกับภาคส่วนต่างๆ รวมไปถึงงานด้านข่าวกรองและต่อต้านจารกรรม ด้วย

เห็นแสวงสว่างที่ปลายอุโมงค์ด้วยคบไฟแห่งระบบตลาด 

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
Nick Srnicek ได้สรุปภาพรวมของแพลตฟอร์มดิจิทัลที่แตกต่างกัน 5 ประเภท คือ1.แพลตฟอร์มโฆษณา, 2.แพลตฟอร์มจัดเก็ยข้อมูล, 3.แพลตฟอร์มอุตสาหกรรม, 4.แพลตฟอร์มผลิตภัณฑ์, และ 5.แพลตฟอร์มแบบลีน 
ทศพล ทรรศนพรรณ
ผู้ประกอบการแพลตฟอร์มดิจิทัลมีรายได้และผลกำไรจำนวนมหาศาลจากการประมวลผลข้อมูลการใช้งานของผู้บริโภคในระบบของตน แต่ยังไม่มีระบบการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม    เนื่องจากยังมีข้อถกเถียงเรื่องใครเป็นเจ้าของข้อมูลและมีสิทธิแสวงหาผลประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้นบ้าง    จึงจ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การบังคับใช้ พรบ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่ผลักดันออกมาในปี พ.ศ.
ทศพล ทรรศนพรรณ
แพลตฟอร์มมักเป็นระบบแบบเปิดให้ทุกคนมีส่วนร่วม ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่นำไปสู่ปัญหา จากการที่ทำให้การเข้าถึงข้ามเขตอํานาจ ในทางกลับกัน กลับมีการกําหนดให้หน่วยงานกํากับดูแลและผู้ออกกฎหมายต้องร่วมมือกันข้ามพรมแดนแห่งชาติเพื่อประสานระบอบกฎหมายและกฎระเบียบในขณะที่จัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นรวมถึงประเด็นกา
ทศพล ทรรศนพรรณ
การวิเคราะห์ปรับปรุงเกระบวนการระงับข้อพิพาทของบรรดาผู้บริโภคในแพลตฟอร์มต่าง ๆ ยืนยันว่าระบบสามารถใช้เพื่อทำการแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้บริโภคจํานวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน่วยงานระงับข้อพิพาททางเลือก (Alternative Dispute Resolution - ADR) ที่ได้รับการรับรองจากสาธารณะให้เป็นมากกว่ากลไกการระงับข้อพิพาทใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
การสร้างความเชื่อถือให้กับผู้บริโภคจึงเป็นผลดีต่อการเติบโตของธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ และการตัดสินใจของผู้บริโภคที่จะทำธุรกรรมออนไลน์กับผู้ขายต่อไป ทำให้ประเทศต่าง ๆ  รวมถึงประเทศไทยให้ความสนใจและมุ่งให้เกิดการคุ้มครองอย่างจริงจังต่อปัญหาการละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู
ทศพล ทรรศนพรรณ
ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันทันใดที่ผู้คนจำนวนมากขาดความรู้ความเข้าใจต่อเทคโนโลยีที่มีผลกระทบต่อชีวิตโดยตรง รัฐในฐานะผู้คุ้มครองสิทธิประชาชนและยังต้องทำหน้าที่กระตุ้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจด้วย จึงมีภาระหนักในการสถาปนาความ “เชื่อมั่น” ให้เกิดขึ้นในใจประชาชนที่ลังเลต่อการเข้าร่วมสังฆกรรมใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริงเป็นสื่อใหม่ในโลกยุคดิจิทัลที่แสดงด้วยภาพและเสียงสามมิติซึ่งผู้ใช้สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในโลกที่ถูกสร้างขึ้นเหล่านี้ ทำให้เกิดเป็นสังคม (Community) ภายในโลกเสมือนจริงที่ผู้คนสามารถติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันได้ แต่มิใช่เพียงการเข้าไปรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสเพียงเท่านั้น นอก
ทศพล ทรรศนพรรณ
การทำธุรกรรมบนอินเตอร์เน็ตมีแนวโน้มที่จะส่งเสริมการเข้าร่วมสัญญาอย่างรวดเร็วสะดวกลดอุปสรรค ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตก็ด้วยไม่ต้องการเดินทางหรือไม่ต้องมีตัวกลางในการประสานความร่วมมือหรือต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับผู้รับรองสถานะของสัญญาในลักษณะตัวกลางแบบที่ต้องทำในโลกจริง ที่อาจถูกกฎหมายบังคับให้ทำตามแบ
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริง (Virtual World) คือสภาพแวดล้อมเสมือนซึ่งสร้างและปฏิบัติการด้วยซอฟต์แวร์ (Software) ที่อยู่ในเซิร์ฟเวอร์ (Server) ของเจ้าของแพลตฟอร์ม (Platform) สิ่งแวดล้อมเสมือนเหล่านี้ออกแบบมาให้ผู้เล่นหรือผู้ใช้โลกเสมือนจริงสามารถใช้ตัวตนเสมือนหรืออวตาร (Avatar) ในการท่องไปในโลกนั้น โดยสามารถติดต
ทศพล ทรรศนพรรณ
เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ในยุคดิจิทัลตั้งอยู่บนพื้นฐานของเสรีภาพในการแสดงออกบนโลกออนไลน์ โดยมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับประเด็นกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเนื่องจากกฎหมายลิขสิทธิ์สามารถห้ามปรามการเผยแพร่ความคิดหรือการแสดงออกในงานสร้างสรรค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยอ้างเหตุแห่งการคุ้มครองสิทธิของปัจเจกชนอย
ทศพล ทรรศนพรรณ
ความเฟื่องฟูของเศรษฐกิจดิจิทัลที่สร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการจำนวนมหาศาลแต่นำมาซึ่งความกังขาว่า สังคมได้อะไรจากการเติบโตของบรรษัทขนาดใหญ่ผู้เป็นเจ้าของเทคโนโลยีและควบคุมแพลตฟอร์มเหล่านี้ อันเป็นที่มาของเรื่อง การจัดเก็บภาษีดิจิทัลได้กลายเป็นข้อกังวลที่สำคัญสำหรับหลาย ๆ รัฐบาล ในยุโรป เช่นใน เยอรมนี