Skip to main content

หากสังคมไทยมีแนวโน้มจะเป็น สังคมทุนนิยม องค์กร สถาบัน จารีต ต่างๆ เสื่อมลง คนสัมพันธ์ผ่านระบบตลาด แคร์คนอื่นน้อยลง ขาดสำนึกร่วมในความอยุติธรรมทางสังคม หรือ มีสำนึกเชิง “ปัจเจก” มากขึ้นเรื่อยๆ

การหาวิธีการอำนวยความยุติธรรมในชีวิตประจำวันให้กับประชาชนคนสามัญ น่าจะเป็นว่าทำอย่างไรให้คนที่มีทุนสังคมต่ำ(เส้นสายน้อยหรือไม่มี) สามารถต่อรองหรือได้รับการอำนวยความยุติธรรมได้สะดวกหรือเป็นไปได้มากขึ้นน่ะครับ

จะเป็นเรื่องกระจายอำนาจออกจากศูนย์กลางบังคับบัญชา เพิ่มเครือข่ายหรือองค์กรใหม่ๆให้คนตัวเล็กๆได้เกาะเกี่ยว

หรือจะเป็นแบบเดิมๆที่เสนอแบบลอกฝรั่งมา คือ เพิ่มประสิทธิภาพของหน่วยงานรัฐที่รับร้องทุกข์และแก้ไขปัญหาประชาชน

แต่เท่าที่ดูๆ หลายโมเดล พบว่า การนำระบบตลาดในทางยุติธรรมมาช่วย กลับได้ผลครับ

ยกตัวอย่างนะครับ แต่ก่อนในประเทสอุตสาหกรรม โรงงานปล่อยมลพิษสู่สาธารณะบ่อยมาก แต่พอเริ่มมีสำนักงานทนายมาจับคดีนี้ แล้วฟ้องให้ชาวบ้าน จนสำเร็จ หรือทำให้บรรษัทต้องเข้ามาเจรจาจ่ายค่าเสียหาย พบว่า มีสนง.ทนาย แห่กันไปหาชาวบ้านพื้นที่ต่างๆ ที่ได้รับความเสียหายจากมลพิษ เพื่อฟ้องเรียกร้องค่าเสียหาย

ไม่ใช่คนดีรักความยุติธรรมอะไรหรอกครับ แต่เม็ดเงินมันใหญ่มาก

รวมไปถึงคดี ฟ้องหมอรักษาห่วย  ฟ้องตำรวจฟ้องผู้ต้องหา หรือคดีสิทธิมนุษยชนอีกมากมาย

คือพูดง่ายๆ ถ้าเราคาดหวังแค่อุดมการณ์ ความยุติธรรม คงไม่มีคนเก่งๆ รุ่นใหม่ๆ ที่ต้องหาเลี้ยงปากท้องและอยากมั่นคงมีครอบครัว เข้ามาช่วยแสวงหาความยุติธรรมให้กับชาวบ้านหรอกครับ

อย่างเมืองไทยเนี่ย แค่ ENlaw กับ สมาคมนักกฎหมายสิทธิฯ ก็รับคดีทั่วราชอาณาจักรกันแทบอ้วก เพราะต้องทำกึ่งฟรี

แต่ถ้าเมื่อไหร่คดีเหล่านี้เป็น "เงิน"  การอำนวยความยุติธรรมด้วยมืออาชีพมาแน่ครับ

อันนี้ผมลองเสนอแบบให้เข้ากับโทนบทความอาจารย์ที่ว่าสังคมมีแนวโน้มเป็น "ปัจเจก" มากขึ้นเลยนะครับ

กลับไปก็ว่าจะสร้างเครือข่ายกับลูกศิษย์ที่มีแววปั้นทนายขึ้นมาสักกลุ่มรับทำคดีพวกนี้แล้วให้เลี้ยงตัวเองได้ด้วยครับ

สรุป ถ้าจะประยุกต์เป็นวิจัย ก็น่าจะทำวิจัยว่า โมเดลหรือวิธีการไหนที่ทำให้ประชาชนเข้าถึงความยุติธรรมได้มากขึ้น เทียบกันเลยก็ได้ครับ ระหว่าง รัฐทำ ภาคประชาสังคมทำ ภาคประชาชนทำ หรือสมาคมวิชาชีพ  หรือสำนักงานทนายเอกชน ทำกันแน่  มีหลายประเทศให้เลือกสรร ครับ

ถ้า เมธีวิจัยอาวุโสสนับสนุน ทศพล ยอมเหนื่อยช่วยหาคนมาทำโครงการวิจัยให้ได้ครับ

แต่ถ้าจะให้ครบเครื่องจริงๆ ก็ต้องทำครบวงจรแบบที่บรรษัททำ คือ นอกจากมีนักกฎหมายแล้ว ยังต้องมีนักสื่อสาร นักยุทธศาสตร์ และนักรบ/รักษาความปลอดภัย และเส้นสายกับภาคส่วนต่างๆ รวมไปถึงงานด้านข่าวกรองและต่อต้านจารกรรม ด้วย

เห็นแสวงสว่างที่ปลายอุโมงค์ด้วยคบไฟแห่งระบบตลาด 

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
คำถามที่สำคัญในเศรษฐกิจการเมืองยุคดิจิทัล ก็คือ บทบาทหน้าที่ของภาครัฐรัฐท่ามกลางการเติบโตของตลาดดิจิทัลที่ภาคเอกชนเป็นผู้ผลักดันและก่อร่างสร้างระบบมาตั้งแต่ต้น  ซึ่งสร้างผลกระทบต่อชีวิตผู้คนในรัฐให้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางและลึกซึ้ง   อย่างไรก็ดีความเจริญก้าวหน้าของตลาดย่อมเกิดบนพื้น
ทศพล ทรรศนพรรณ
แนวทางในการส่งเสริมสิทธิคนทำงานในยุคดิจิทัลประกอบไปด้วย 2 แนวทางหลัก คือ1. การระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นภายในความสัมพันธ์ระหว่าง แพลตฟอร์ม กับ คนทำงาน2. การพัฒนารัฐให้รองรับสิทธิคนทำงานอย่างถ้วนหน้า
ทศพล ทรรศนพรรณ
เนื่องจากการทำงานของคนในแพลตฟอร์มดิจิทัลในช่วงก่อนหน้าสถานการณ์วิกฤตโรคระบาดนั้นยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นทำให้ปริมาณคนที่เข้ามาทำงานมีไม่มากนัก และเป็นช่วงทำการตลาดของเหล่าแพลตฟอร์มต่าง ๆ ในการดึงคนเข้ามาร่วมงานกับแพลตฟอร์มตนยังผลให้สิทธิประโยชน์เกิดขึ้นมากมายเป็นที่พึงพอใจของผู้เข้าร่วมทำงานกับแพลตฟ
ทศพล ทรรศนพรรณ
รัฐชาติในโลกปัจจุบันไม่เปิดโอกาสให้บุคคลเคลื่อนย้ายถิ่นฐาน ที่อยู่ แหล่งทำมาหากินได้อย่างอิสระ เสรีมาตั้งแต่การสถาปนารัฐสมัยใหม่ขึ้นในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลก   เช่นเดียวกับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่าง ไทย พม่า ลาว หรือกัมพูชา   ก็ล้วนเกิดพรมแดนระหว่างรัฐในลักษณะที
ทศพล ทรรศนพรรณ
นับตั้งแต่เกิดปรากฏการณ์ “สีเสื้อ”   สื่อกลายเป็นประเด็นสำคัญที่เป็นตัวสะท้อนภาพของคนและสังคมเพื่อขับเน้นประเด็นเคลื่อนไหวทางสังคมให้ปรากฏเป็นขบวนการทางการเมืองที่มีผู้คนเข้าร่วมอย่างมากมายมหาศาล และมีกิจกรรมทางการเมืองหลากหลายรูปแบบ   ดังนั้นอำนาจในการสื่อสารและการมีส่วนร่วมใ
ทศพล ทรรศนพรรณ
สังคมไทยเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลง แตกแยก และปะทะกันอย่างรุนแรงทั้งในด้านความคิด และกำลังประหัตประหารกัน ระหว่างการปะทะกันนั้นระบบรัฐ ระบบยุติธรรม ระบบคุณค่าเกียรติยศ และวัฒนธรรมถูกท้าทายอย่างหนัก จนสูญเสียอำนาจในการบริหารจัดการรัฐ   ในวันนี้ความตึงเครียดจากการเผชิญหน้าอาจเบาบางลง พร้อ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เศรษฐกิจและการเมืองยุคดิจิทัล ใช้ข้อมูลของประชาชนและผู้บริโภคเป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจตลาดการเมืองและเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดีเจ้าของข้อมูลทั้งหลายได้รับประกันสิทธิในความเป็นส่วนตัวและข้อมูลส่วนบุคคลจะถูกนำไปใช้ตามอำเภอใจไม่ได้ เว้นแต่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่กฎหมายยอมรับ หรือได้รับความยินยอมจากเจ
ทศพล ทรรศนพรรณ
หากรัฐไทยต้องการสร้างกรอบทางกฎหมายเพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์จากข้อมูลพันธุกรรมมนุษย์ในช่วงเวลาที่ยังไม่มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติจริยธรรมวิจัยในมนุษย์ มาบังคับกับการวิจัยในพันธุกรรมมนุษย์ ซึ่งถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหวจำต้องมีมาตรการประกันสิทธิเจ้าของข้อมูลพันธุกรรมให้สอดคล้องกับมาตร
ทศพล ทรรศนพรรณ
กองทัพเป็นรากเหง้าที่สำคัญของความขัดแย้งเนื่องจากทหารเข้ามามีบทบาทแทรกแซงทางการเมืองมานาน โดยการข่มขู่ว่าจะใช้กำลัง การใช้อิทธิพลกดดันนโยบายของรัฐบาล กดดันเพื่อเปลี่ยนรัฐมนตรี และการยึดอำนาจโดยปฏิวัติรัฐประหาร ซึ่งทหารมักอ้างว่ารัฐบาลไม่มีเสถียรภาพ ระบบการเมืองไม่เป็นประชาธิปไตยเท่าที่ควรมีการฉ้อ
ทศพล ทรรศนพรรณ
 ปัญหาทางเศรษฐกิจที่มีขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมเรียกร้องมาตลอด คือ การผูกขาด ซึ่งมีรากเหง้ามาจากการแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจของกลุ่มผลประโยชน์ที่ทรงอำนาจ แล้วนำไปสู่ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจอันเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่ขบวนการความเป็นธรรมทางสังคมเสนอให้แก้ไข   บทความนี้จะพยายามแสดงให
ทศพล ทรรศนพรรณ
การแสดงออกไม่ว่าจะในสื่อเก่าหรือสื่อใหม่ย่อมมีขอบเขตการใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิของผู้อื่น ดังนั้นรัฐจึงได้ขีดเส้นไว้ไม่ให้ประชาชนใช้สิทธิเสรีภาพจนไปถึงขั้นละเมิดสิทธิของผู้อื่นเอาไว้ในกรอบกฎหมายหลายฉบับ บทความนี้จะพาชาวเน็ตไปสำรวจเส้นพรมแดนที่มิอาจล่วงล้ำให้เห็นพอสังเขป
ทศพล ทรรศนพรรณ
การช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติที่อดอยากหิวโหยที่นั้นดำเนินการได้โดยตรงด้วยมาตรการความช่วยเหลือด้านอาหารโดยตรง (Food Aid) ซึ่งมีทั้งมาตรการระหว่างประเทศ และมาตรการภายใน   ในบทความนี้จะนำเสนอมาตรการและกรณีศึกษาที่ใช้ในการช่วยเหลือด้านอาหารในสถานการณ์ฉุกเฉินเหล่านั้น แต่ความแตกต่างจากการสงเ