Skip to main content

เรื่องที่อยู่ในความสนใจของประชาชนผู้เสียภาษีไม่น้อย คือ ทำไมกองทัพไทยจึงต้องจัดซื้อ “เรือดำน้ำ” ตอนนี้ และซื้อของ “จีน” ด้วยเหตุใด

ขอข้ามประเด็นที่ไม่อยู่ในความชำนาญ คือ เรื่องยุทธศาสตร์ด้านการรบทางทะเลที่มีผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์ว่าไทยไม่มีข้อพิพาททางทะเลกับใคร ภารกิจหลักคือ การป้องกันโจรสลัด การก่ออาชญากรรมข้ามชาติ และการบรรเทาภัยพิบัติธรรมชาติ ที่เหมาะกับการใช้เรือบนผิวน้ำมากกว่า ไว้ให้ท่านอื่นวิเคราะห์แทน เช่นเดียวกับประเด็น ความลึกความตื้นของอ่าวไทยที่ไม่อยู่ในวิสัยความเชี่ยวชาญ

ประเด็นที่อยู่จะวิเคราะห์ คือ ยุทธศาสตร์ด้านข่าวกรอง และเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งผู้อ่านหลายท่านอาจสงสัยว่าเกี่ยวอะไรกับ “เรือดำน้ำ”

ขอเท้าความไปถึง การผงาดขึ้นเป็นมหาอำนาจจักรวรรดินิยมของอังกฤษและสืบเนื่องมาจนถึงยุคของสหรัฐอเมริกา กล่าวได้ว่า สองประเทศนี้เห็นความสำคัญในการเชื่อมโยงเครือข่ายการสื่อสารครอบคลุมทั้งโลก เพื่อประมวลสถานการณ์ในพื้นที่ต่างๆ ที่อยู่ในเขตผลประโยชน์ของตนและสามารถติดต่อกับศูนย์บัญชากลางในประเทศได้อย่างฉับพลัน ก่อนที่จะส่งคำสั่งและติดต่อประสานงานกลับมายังพื้นที่ได้อย่างรวดเร็ว

“เครือข่ายโทรคมนาคม” จึงเป็นหัวใจหลักในการควบคุม “ข่าวกรอง” และ “สายบังคับบัญชา” รวมไปถึงปฏิบัติการ “ต่อต้านจารกรรม” และการบ่อนทำลายจากข้าศึก   โดยในปัจจุบันข้าศึกของรัฐทั้งหลายมิใช่รัฐคู่แข่งอื่นๆ เท่านั้น แต่หมายรวมถึง องค์กรก่อการร้าย องค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ   และภายหลังเริ่มมีการมองประชาชนในประเทศที่ต่อต้านรัฐ เคลื่อนไหวรณรงค์ในทิศทางที่รัฐไม่พอใจ ให้กลายเป็น “กลุ่มที่ต้องจับตา” ไปด้วย

ดังนั้น การควบคุม “เครือข่ายโทรคมนาคม” จึงกลายเป็นเรื่องความมั่นคงที่กองทัพสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากโลกเข้าสู่ยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ การทำสงครามการข่าวให้สัมฤทธิผล จึงต้องมีอำนาจควบคุม “โครงสร้างพื้นฐาน” ให้ได้

ข่าวที่ออกมาจากฝ่ายความมั่นคงไทยหลังรัฐประหาร จึงได้แก่  การพยายามให้ระบบอินเตอร์เน็ตไทยที่เชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์ในต่างประเทศไหลผ่านช่องทางเดียว (Single Gateway) เพื่อให้ง่ายต่อการควบคุมของรัฐ เพราะสามารถใส่ตัวคัดกรองข้อมูล ดูดกักเก็บข้อมูลได้ ณ จุดเดียว ต่างจากปัจจุบันที่มีหลายช่องทาง รัฐควบคุมได้ไม่หมดตามข้อจำกัดด้านงบประมาณ และทรัพยากรบุคคล

ส่วนอีกประเด็นที่เชื่อมโยงกับเรือดำน้ำ คือ สายเคเบิ้ลใยแก้วที่เชื่อมโยงระบบคมนาคมไทยกับต่างแดนถูกวางไว้ใต้ทะเลนั่นเอง   เครือข่าสายเคเบิ้ลใต้น้ำ นี่เองที่เป็นสิ่งสำคัญที่ ยุทธศาสตร์ด้านการข่าวกรองมักกล่าวถึงไว้ว่าเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันหรือเป็นเป้าหมายในการโจมตีมาเสมอ

จากข้อมูลอดีตสายลับ CIA และ NSA สหรัฐเปิดเผยไว้ในชุด Snowden Revelations พบว่า กรณีสหราชอาณาจักรส่งเรือดำน้ำ ดักดูดข้อมูลในเคเบิ้ลใต้น้ำ กลายเป็นประเด็นใหญ่และสร้างความเดือดดาลให้กับมิตรประเทศในเครือ NATO เป็นอันมาก เนื่องจากสหราชอาณาจักรได้ทำข้อตกลงกับสหรัฐในการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ได้รับจากการดักข้อมูลโดยการทะลวงเคเบิลใต้น้ำ 

มิใช่เพียงประเทศอื่นๆที่โกรธเกรี้ยว แต่ประชาชนบริติชหรืออเมริกันก็ไม่พอใจมากเนื่องจากข้อมูลที่ดูดไปมีข้อมูลส่วนบุคคลของพลเมืองสองประเทศด้วยเช่นกัน ทำให้บรรษัทผู้ให้บริการ เช่น Yahoo Google Microsoft Amazon ฯลฯ ต้องออกแถลงการณ์ตอบโต้และเรียกร้องให้ตรวจสอบควบคุมภารกิจจารกรรมทั้งหลายโดยด่วน เนื่องจาก

การรุกล้ำความเป็นส่วนตัวของประชาชน เป็นการทำลายความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่เป็นลูกค้าของบรรษัทนั่นเอง   การส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิตัลจึงต้องระมัดระวังในประเด็น “ความไว้วางใจของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต” ให้มาก

มองกลับมาไทย หลังรัฐประหาร กองทัพเรือได้รับมอบหมายหน้าที่ด้าน “สังคมจิตวิทยา” หรือเข้าใจง่ายๆว่า งานด้านข่าวกรองและการโฆษณาชวนเชื่อเพื่อให้ประชาชนไม่กระด้างกระเดื่องต่อรัฐ

ฝ่ายความมั่นคงทำสงครามจิตวิทยา ภารกิจสำคัญ คือ การทำงานด้านข่าวกรองโดยการดูดข้อมูลผ่านเคเบิลที่เชื่อมไซเบอร์สเปซไทย กับ ฐานข้อมูลของบรรษัทไอทีในต่างประเทศ ดังข้อเสนอ Single Gateway

ล่าสุด การซื้อเรือดำน้ำจากจีน ทั้งที่จีนมีข้อพิพาทกับประเทศอื่นในอาเซียน เช่น เวียดนาม ฟิลิปปินส์ ซึ่งมีสหรัฐเป็นผู้อุปถัมภ์หลัก การซื้อเรือดำน้ำจีน จึงมีข้อสงสัยในการเป็นพันธมิตรกับจีนในภูมิภาคอาเซียนเพื่อต้านสหรัฐและมิตรประเทศอื่นในอาเซียนหรือไม่ แต่ไม่ใช่ประเด็นหลัก

ไทยต้องการอะไรจากเรือดำน้ำจีนที่มีเทคโนโลยีต่ำกว่าของประเทศอื่น จึงน่าสนใจกว่า

เรือดำน้ำจีน มาพร้อมความชำนัญพิเศษของจีนหรือไม่   เป็นที่ทราบดีว่าจีนมีศักยภาพในการทะลุทะลวงเข้าสืบข่าวจากโลกไซเบอร์   สงครามไซเบอร์ที่เพิ่งเกิดขึ้น จีนแฮ็คข้อมูลจากฐานข้อมูลเจ้าหน้าที่รัฐ และระบบประกันสังคมในสหรัฐสำเร็จครั้งใหญ่เมื่อเดือนที่ผ่านมา

ศักยภาพเรือดำน้ำจีนที่ไทยได้มา จะเป็นไปเพื่อปฏิบัติการชนิดใด จะเป็นเรือดำน้ำเพื่อปฏิบัติการจารกรรมและข่าวกรองหรือไม่  และเนื่องจากไทยไม่มีสงครามทางทะเลกับอริราชศัตรูนอกประเทศ  แต่กองทัพคิดว่ามีสงครามติดพันกับศัตรูภายในประเทศ   ประชาชนชาวไทยที่เห็นต่างกับรัฐบาล ต่อต้านรัฐบาลทหาร กลายเป็น ศัตรูที่ต้องเสาะหา สืบข้อมูล เพื่อทำลาย ไปแล้วหรือ

การดำเนินนโยบายความมั่นคงและปกป้องประเทศที่ประหยุดสุด คือ การสานความสัมพันธ์ทางการทูต และหากไทยมีผลประโยชน์ร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน แล้วล่ะก็ ใครหน้าไหนที่บังอาจก่อสงครามจนกระทบกระเทือนตลาด คงโดนประชาทัณฑ์จากทุกฝ่ายอย่างพร้อมเพรียงกัน

หากนโยบายการต่างประเทศที่ได้ผลคือ “เปลี่ยนสนามรบ เป็นสนามการค้า”  นโยบายภายในก็ต้องเป็นการ “เปลี่ยนรัฐประหารให้กลายเป็นการ เข้าถึง เข้าใจ และพัฒนา”

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
การนำ คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 205/2549 มาตราเป็นพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร  โดยแฝงนัยยะของการสร้าง “รัฐทหาร” ด้วยการขยับขยายขอบเขตอำนาจแก่เจ้าหน้าที่ กอ. รมน.
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังสิ้นสุดยุคสมัยสงครามเย็น หนึ่งในมรดกตกทอดจากยุคนั้น ได้แก่ หน่วยงานความมั่นคงของรัฐไทยที่มีอำนาจหน้าที่อย่างเข้มข้นในการเฝ้าระวัง สอดส่อง ควบคุมการสื่อสารและการกระทำต่าง ๆ ของประชาชนที่ผู้มีอำนาจเห็นว่าเป็นภัยต่อความมั่นคง และส่งผลเสียต่อการยืนหยัดสู้เพื่ออุดมการณ์ทางการเมืองช่วงนั้น อาทิ กอง
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านจัดเป็นกลุ่มที่เสี่ยงที่จะถูกละเมิดสิทธิและด้อยโอกาสในการเข้าถึงบริการสาธารณะ สวัสดิการ และหลักประกันด้านต่าง ๆ ด้วยเหตุที่เป็นกลุ่มซึ่งต้องปะทะโดยตรงกับการพัฒนาเมืองอย่างไม่ยั่งยืนทั้งที่สาเหตุของการออกมาอยู่ในพื้นที่สาธารณะนั้นเกี่ยวข้องกับความเหลื่อมล้ำทางสังคมอันเป็นผลลัพธ์ของนโยบายส
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านตกอยู่ในสถานะของกลุ่มเสี่ยงที่อาจต้องเผชิญจากการเหยียดหยามศักดิ์ความเป็นมนุษย์โดยตรงจากการละเมิด และยังอาจไม่ได้รับการดูและแก้ไขปัญหาเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ยุ่งยากต่าง ๆ เพราะถูกจัดให้อยู่ในสถานะต่ำต้อยเสี่ยงต่อการเลือกประติบัติจากรัฐ จนไปถึงการเพิกเฉย ละเลย ไม่ใส่จะแก้ปัญหาให้คนไร้บ้
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านเป็นเสียงที่ไม่ถูกนับ การใช้พลังในลักษณะกลุ่มก้อนทางการเมืองเพื่อเรียกร้องประโยชน์จากผู้มีอำนาจให้จัดสรรทรัพยากรให้จึงเป็นเรื่องยาก ด้วยสาเหตุหลัก 2 ประการ คือ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของคนไร้บ้านจำเป็นต้องยืนอยู่บนฐานของกฎหมายที่ประกันสิทธิของบุคคลโดยมิคำนึงถึงความแตกต่างหลากหลายทางสถานภาพใด ๆ แม้คนไร้บ้านจะเป็นปัจเจกชน หรือกลุ่มคนที่มีปริมาณน้อยเพียงไร รัฐก็มีพันธกรณีในการเคารพ ปกป้อง และส่งเสริมสิทธิให้กลุ่มเสี่ยงนี้โดยเหตุแห่งความเป็นสิทธิมนุษยชนที่ร
ทศพล ทรรศนพรรณ
หากต้องกำหนดยุทธศาสตร์ของประเทศไทยในการเข้าร่วมตลาดดิจิทัลที่มีเข้มข้นของกิจกรรมข้ามพรมแดนตลอดเวลา เพื่อแก้ไขปัญหาศักยภาพของรัฐในการบังคับใช้กฎหมายขยายไปเหนือหลักเขตอำนาจศาลเหนือดินแดนของตนแบบเก่า เมื่อต้องกำกับกิจกรรมของบรรษัทข้ามชาติที่อยู่ในการบังคับของกฎหมายรัฐอื่นซึ่งมีบรรทัดฐานในหลายประเด็น
ทศพล ทรรศนพรรณ
การวิเคราะห์กฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติกับรัฐ จะกระทำใน 3 ประเด็นหลัก คือ ใครเป็นเจ้าของข้อมูล ใครมีสิทธิใช้ประโยชน์จากข้อมูลมากน้อยอย่างไร หรือแบ่งปันกันอย่างไร อันเป็นการเตรียมความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูล
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทความนี้จะทำการรวบรวมข้อเสนอทางกฎหมายในระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติ กับรัฐและองค์การระหว่างประเทศ อันเป็นการเตรียมความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูลจากแพลตฟอร์มดิจิทัล ว่าสามารถบริหารจัดการให
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทความนี้จะทำการทบทวนข้อกฎหมายทั้งในระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติ เรื่อยมาจนถึงสำรวจความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูลจากแพลตฟอร์มดิจิทัล ว่าสามารถบริหารจัดการให้เกิดการแบ่งปันข้อมูลดิจิทัลระหว
ทศพล ทรรศนพรรณ
ประเด็นพื้นฐานที่รัฐต้องคิด คือ จะส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมทางเทคโนโลยีเพื่อสะสมความมั่งคั่งได้อย่างไร แล้วจึงจะไปสู่แนวทางในการแบ่งปันความมั่งคั่งให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการผลิตข้อมูลขึ้นมาในแพลตฟอร์ม
ทศพล ทรรศนพรรณ
Kean Birch นำเสนอปัญหาของข้อมูลส่วนบุคคลในฐานะสินค้าของตลาดนวัตกรรมเทคโนโลยีจำนวน 5 ประเด็น คือ1.ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของแพลตฟอร์มในฐานะเจ้าของข้อมูลทึ่ถูกรวบรวมโดยนวัตกรรม,