Skip to main content

เหตุวินาศกรรมในเมืองหลวงโดยเฉพาะย่านธุรกิจที่เป็นสัญลักษณ์สำคัญของระบบทุนนิยมถือเป็นสิ่งที่รัฐทั้งหลายไม่ปรารถนามากที่สุด เนื่องจากความเสียหายสูงเพราะมีร้านค้าและผู้คนแออัดหนาแน่น แต่ที่ร้ายแรงยิ่งกว่าคือ สภาพจิตใจของผู้คนที่จับจ่ายใช้สอยและมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างเคยชินในบริเวณนั้น

การป้องกันเหตุวินาศกรรมด้วยเทคโนโลยีต่างๆ จึงเป็นแนวทางที่รัฐจำนวนมากเลือกใช้เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ประกอบการ นักท่องเที่ยว และผู้บริโภคทั้งหลายเพื่อให้แน่ใจว่า หากมาใช้บริการแล้วจะมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

ในพื้นที่ของเอกชนจึงต้องมีการจ้างบริษัทที่ปรึกษาและให้บริการด้านความปลอดภัยมาทำหน้าที่ประจำ และมีการสั่งซื้ออุปกรณ์สอดส่อง ตรวจตราบุคคลมาไว้ใช้

ระบบรักษาความปลอดภัยและเทคโนโลยีที่พูดถึงกันมาก คือ ระบบไบโอเมตริกซ์ และเทคโนโลยียืนยันตัวบุคคล ซึ่งยังมีการสับสนมากว่า คืออะไร และประเทศไทยมีการนำระบบและเทคโนโลยีทั้งสองมาใช้แล้วหรือไม่

ระบบไบโอเมตริกซ์ คือ ระบบฐานข้อมูลที่รวบรวมเอาข้อมูลทางกายภาพ เช่น ใบหน้า ลายนิ้วมือ สีผิว กรุ้ปเลือด พันธุกรรม ของ “บุคคลเป้าหมาย” เพื่อประกอบกันเป็นฐานข้อมูลของประชากรแต่ละคน โดยที่บุคคลทั้งหลายอาจไม่เคยรับรู้เลยก็ได้ว่ามีข้อมูลใดของตนบ้างที่อยู่ในการครอบครองของเจ้าของระบบบ้าง  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับศักยภาพของหน่วยงานเจ้าของระบบว่าสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลชุดต่างๆมาเชื่อมโยงสร้างเป็นฐานประวัติของบุคคลได้บ้าง

นอกจากนี้องค์กรต่างๆยังพยายามเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับบุคคลให้กว้างและลึกที่สุดเพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลต่อยอด เช่น   ข้อมูลพื้นฐานในทะเบียนราษฎร์ วันเดือนปีเกิด ภูมิลำเนา เบอร์ติดต่อ แล้วขยายไปยังข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่างๆ เช่น การใช้อินเตอร์เน็ต อีเมลล์ การเดินทาง การใช้จ่ายเงินผ่านบัตรอิเล็คโทรนิกส์ หรือแม้กระทั่งข้อมูลด้านสุขภาพและการออกกำลังกาย การยืมอ่านหนังสือ และการดาวน์โหลดข้อมูลทั้งหลาย ฯลฯ   ขึ้นอยู่กับว่าองค์กรเจ้าของระบบมีศักยภาพมากน้อยแค่ไหน

แต่ปัจจุบันก็ปรากฏข้อกังวลในประเทศผู้ใช้เทคโนโลยีและระบบฐานข้อมูลว่า “ละเมิดความเป็นส่วนตัว” และขัดต่อหลักการ “คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล” ที่กฎหมายรับรองสิทธิไว้ให้ประชาชนปลอดจากการแทรกแซงตามอำเภอใจ   รัฐและองค์การระหว่างประเทศจึงต้องถ่วงดุลย์เรื่องความมั่นคงกับสิทธิมนุษยชน ด้วยการร่างกฎหมายและสนธิสัญญา

การลงทุนสร้างฐานข้อมูลเพื่อสอดส่องบุคคลจึงต้องอยู่ภายใต้กรอบกฎหมายเหล่านี้ด้วย เพื่อป้องกันการใช้ข้อมูลไปโดยมิชอบ จนทำให้เกิดการละเมิดสิทธิ อันจะขยายวงไปสู่ความกังวลและยุติการทำธุรกรรมของประชาชนทั่วไป เพราะรู้สึกว่ากำลังถูกจับจ้องอยู่

ฐานข้อมูลหนึ่งที่นำมาใช้ประกอบสร้างไบโอเมตริกซ์ คือ เทคโนโลยีการยืนยันบุคคลโดยใช้ใบหน้า (Face Recognition) ซึ่งมีใช้มานานกว่าทศวรรษในประเทศเจ้าของเทคโนโลยี แต่ประเทศไทยมิได้มีการลงทุนประเทศนี้ จนมีเสียงเรียกร้องให้รัฐบาลไทยที่อยู่ภายใต้การนำของฝ่ายความมั่นคงว่า ต้องลงทุนขนานใหญ่เพื่อสร้างความมั่นใจให้นักลงทุน นักท่องเที่ยว และประชาชนผู้บริโภค

เทคโนโลยียืนยันตัวบุคคลนี้ ประกอบด้วยข้อมูลสองชุดใหญ่ๆ คือ รูปใบหน้าในฐานข้อมูลที่เก็บไว้โดยรัฐ/องค์กร กับ รูปใบหน้าที่ติดอยู่ในเอกสารยืนยันสถานะบุคคลที่ถือโดยเจ้าของตัวตน   ในหลายประเทศได้มีการฝังชิปเพื่อตรวจจับโครงหน้าและรายะลเอียดบนใบหน้าไว้ในรูปถ่ายติดบัตร/หนังสือ ที่ประชาชนถือ จนเป็นที่มาของมุขตลกสมัย โน้ตเดี่ยว 8 ที่ว่า ทำไมรูปถ่ายขอวีซ่าสหรัฐอเมริกาจะต้องเห็นหูและเปิดหน้าผาก

โครงหน้า สีผิว และอวัยวะบนใบหน้า จึงเป็นวัตถุแห่งการตรวจสอบ  ดังนั้นผู้ก่อการร้าย สายลับ หรืออาชญากร จึงมีความพยายามในการปรับแปลงโฉมหน้าตลอดเวลาเพื่อมิให้ระบบเฝ้าระวังต่างๆตรวจจับตนได้   เช่น ในพื้นที่เศรษฐกิจที่เสี่ยงต่อการก่อวินาศกรรม รัฐและองค์กรเอกชนจะมีกล้องถ่ายภาพและการเคลื่อนไหวตลอดเวลา   หากมีบุคคลต้องสงสัยเดินทางเข้ามาในพื้นที่ ก็อาจมีการส่งสัญญาณเตือนภัยไปยังผู้ที่รับผิดชอบ

ดังนั้นการลงทุนเพื่อเสริมศักยภาพของอุปกรณ์หรือเทคโนโลยีในประเทศทุนนิยมจึงเกิดขึ้นตามการเติบโตของเมืองและตลาดทางเศรษฐกิจ  แต่ต้องย้ำว่า ซื้อมาโดยไม่ปรับเข้ากับรูปหน้าหรือกิจกรรมของประชากรตนก็ไม่ได้เช่นกัน

ยกตัวอย่างประเทศมหาอำนาจที่ลงทุนเรื่องนี้มากและพยายามส่งออกระบบเหล่านี้ให้ประเทศอื่นใช้เพื่อจะได้เชื่อมโยงข้อมูลของประเทศต่างๆ เข้าเป็นส่วนหนึ่งกับระบบตนหรือในนามองค์การระหว่างประเทศ อาทิ ตำรวจสากล INTERPOL หรือ สภาความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐ NSA

อย่างไรก็ดีสิ่งที่มากกว่า อุปกรณ์และเทคโนโลยี คือ การข่าวที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลเข้ามาเสริมฐานข้อมูลไบโอเมตริกซ์ที่เน้นไปที่การเก็บข้อมูล “ตัวบุคคล” เพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายความสัมพันธ์ของบุคคลที่อาจปฏิบัติการร่วมกัน หรืออยู่ในลักษณะองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ หรือกลุ่มก่อการร้ายข้ามชาติ  

ประเทศไทยนอกจากจะโชคดีมีความปลอดภัยเนื่องจากผู้ก่อการร้าย หรืออาชญากร ละเว้นการก่อวินาศกรรมเพื่อเก็บไว้เป็นแหล่งกบดาน หรือประเทศทางผ่านในการหลบหนีไปประเทศอื่นแล้ว   มิตรประเทศทั่วโลกยังได้ประสานข่าวกรองกับหน่วยงานความมั่นคงไทยด้วย 

โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาที่ปรากฏตัวเลขการลงทุนช่วยเหลือการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้กับประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง และมีสัดส่วนที่มากขึ้นเรื่อยๆในปีท้ายๆ ก่อนจะเกิดการรัฐประหารแล้วรัฐบาลสหรัฐต้องยุติการสนับสนุนงบประมาณไปตามเงื่อนไขของข้อกฎหมายที่ “ห้ามมีความสัมพันธ์กับรัฐเผด็จการทหาร” เช่นเดียวกับ สหภาพยุโรปและประเทศประชาธิปไตยอื่น

การรักษาความมั่นคงภายใต้ร่มประชาธิปไตยของโลกจึงเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า

อุกกาบาต อนุสาวรีย์ นั้นไม่เกี่ยว

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
Nick Srnicek ได้สรุปภาพรวมของแพลตฟอร์มดิจิทัลที่แตกต่างกัน 5 ประเภท คือ1.แพลตฟอร์มโฆษณา, 2.แพลตฟอร์มจัดเก็ยข้อมูล, 3.แพลตฟอร์มอุตสาหกรรม, 4.แพลตฟอร์มผลิตภัณฑ์, และ 5.แพลตฟอร์มแบบลีน 
ทศพล ทรรศนพรรณ
ผู้ประกอบการแพลตฟอร์มดิจิทัลมีรายได้และผลกำไรจำนวนมหาศาลจากการประมวลผลข้อมูลการใช้งานของผู้บริโภคในระบบของตน แต่ยังไม่มีระบบการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม    เนื่องจากยังมีข้อถกเถียงเรื่องใครเป็นเจ้าของข้อมูลและมีสิทธิแสวงหาผลประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้นบ้าง    จึงจ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การบังคับใช้ พรบ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่ผลักดันออกมาในปี พ.ศ.
ทศพล ทรรศนพรรณ
แพลตฟอร์มมักเป็นระบบแบบเปิดให้ทุกคนมีส่วนร่วม ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่นำไปสู่ปัญหา จากการที่ทำให้การเข้าถึงข้ามเขตอํานาจ ในทางกลับกัน กลับมีการกําหนดให้หน่วยงานกํากับดูแลและผู้ออกกฎหมายต้องร่วมมือกันข้ามพรมแดนแห่งชาติเพื่อประสานระบอบกฎหมายและกฎระเบียบในขณะที่จัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นรวมถึงประเด็นกา
ทศพล ทรรศนพรรณ
การวิเคราะห์ปรับปรุงเกระบวนการระงับข้อพิพาทของบรรดาผู้บริโภคในแพลตฟอร์มต่าง ๆ ยืนยันว่าระบบสามารถใช้เพื่อทำการแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้บริโภคจํานวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน่วยงานระงับข้อพิพาททางเลือก (Alternative Dispute Resolution - ADR) ที่ได้รับการรับรองจากสาธารณะให้เป็นมากกว่ากลไกการระงับข้อพิพาทใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
การสร้างความเชื่อถือให้กับผู้บริโภคจึงเป็นผลดีต่อการเติบโตของธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ และการตัดสินใจของผู้บริโภคที่จะทำธุรกรรมออนไลน์กับผู้ขายต่อไป ทำให้ประเทศต่าง ๆ  รวมถึงประเทศไทยให้ความสนใจและมุ่งให้เกิดการคุ้มครองอย่างจริงจังต่อปัญหาการละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู
ทศพล ทรรศนพรรณ
ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันทันใดที่ผู้คนจำนวนมากขาดความรู้ความเข้าใจต่อเทคโนโลยีที่มีผลกระทบต่อชีวิตโดยตรง รัฐในฐานะผู้คุ้มครองสิทธิประชาชนและยังต้องทำหน้าที่กระตุ้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจด้วย จึงมีภาระหนักในการสถาปนาความ “เชื่อมั่น” ให้เกิดขึ้นในใจประชาชนที่ลังเลต่อการเข้าร่วมสังฆกรรมใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริงเป็นสื่อใหม่ในโลกยุคดิจิทัลที่แสดงด้วยภาพและเสียงสามมิติซึ่งผู้ใช้สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในโลกที่ถูกสร้างขึ้นเหล่านี้ ทำให้เกิดเป็นสังคม (Community) ภายในโลกเสมือนจริงที่ผู้คนสามารถติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันได้ แต่มิใช่เพียงการเข้าไปรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสเพียงเท่านั้น นอก
ทศพล ทรรศนพรรณ
การทำธุรกรรมบนอินเตอร์เน็ตมีแนวโน้มที่จะส่งเสริมการเข้าร่วมสัญญาอย่างรวดเร็วสะดวกลดอุปสรรค ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตก็ด้วยไม่ต้องการเดินทางหรือไม่ต้องมีตัวกลางในการประสานความร่วมมือหรือต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับผู้รับรองสถานะของสัญญาในลักษณะตัวกลางแบบที่ต้องทำในโลกจริง ที่อาจถูกกฎหมายบังคับให้ทำตามแบ
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริง (Virtual World) คือสภาพแวดล้อมเสมือนซึ่งสร้างและปฏิบัติการด้วยซอฟต์แวร์ (Software) ที่อยู่ในเซิร์ฟเวอร์ (Server) ของเจ้าของแพลตฟอร์ม (Platform) สิ่งแวดล้อมเสมือนเหล่านี้ออกแบบมาให้ผู้เล่นหรือผู้ใช้โลกเสมือนจริงสามารถใช้ตัวตนเสมือนหรืออวตาร (Avatar) ในการท่องไปในโลกนั้น โดยสามารถติดต
ทศพล ทรรศนพรรณ
เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ในยุคดิจิทัลตั้งอยู่บนพื้นฐานของเสรีภาพในการแสดงออกบนโลกออนไลน์ โดยมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับประเด็นกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเนื่องจากกฎหมายลิขสิทธิ์สามารถห้ามปรามการเผยแพร่ความคิดหรือการแสดงออกในงานสร้างสรรค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยอ้างเหตุแห่งการคุ้มครองสิทธิของปัจเจกชนอย
ทศพล ทรรศนพรรณ
ความเฟื่องฟูของเศรษฐกิจดิจิทัลที่สร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการจำนวนมหาศาลแต่นำมาซึ่งความกังขาว่า สังคมได้อะไรจากการเติบโตของบรรษัทขนาดใหญ่ผู้เป็นเจ้าของเทคโนโลยีและควบคุมแพลตฟอร์มเหล่านี้ อันเป็นที่มาของเรื่อง การจัดเก็บภาษีดิจิทัลได้กลายเป็นข้อกังวลที่สำคัญสำหรับหลาย ๆ รัฐบาล ในยุโรป เช่นใน เยอรมนี