Skip to main content

เหตุวินาศกรรมในเมืองหลวงโดยเฉพาะย่านธุรกิจที่เป็นสัญลักษณ์สำคัญของระบบทุนนิยมถือเป็นสิ่งที่รัฐทั้งหลายไม่ปรารถนามากที่สุด เนื่องจากความเสียหายสูงเพราะมีร้านค้าและผู้คนแออัดหนาแน่น แต่ที่ร้ายแรงยิ่งกว่าคือ สภาพจิตใจของผู้คนที่จับจ่ายใช้สอยและมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างเคยชินในบริเวณนั้น

การป้องกันเหตุวินาศกรรมด้วยเทคโนโลยีต่างๆ จึงเป็นแนวทางที่รัฐจำนวนมากเลือกใช้เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ประกอบการ นักท่องเที่ยว และผู้บริโภคทั้งหลายเพื่อให้แน่ใจว่า หากมาใช้บริการแล้วจะมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

ในพื้นที่ของเอกชนจึงต้องมีการจ้างบริษัทที่ปรึกษาและให้บริการด้านความปลอดภัยมาทำหน้าที่ประจำ และมีการสั่งซื้ออุปกรณ์สอดส่อง ตรวจตราบุคคลมาไว้ใช้

ระบบรักษาความปลอดภัยและเทคโนโลยีที่พูดถึงกันมาก คือ ระบบไบโอเมตริกซ์ และเทคโนโลยียืนยันตัวบุคคล ซึ่งยังมีการสับสนมากว่า คืออะไร และประเทศไทยมีการนำระบบและเทคโนโลยีทั้งสองมาใช้แล้วหรือไม่

ระบบไบโอเมตริกซ์ คือ ระบบฐานข้อมูลที่รวบรวมเอาข้อมูลทางกายภาพ เช่น ใบหน้า ลายนิ้วมือ สีผิว กรุ้ปเลือด พันธุกรรม ของ “บุคคลเป้าหมาย” เพื่อประกอบกันเป็นฐานข้อมูลของประชากรแต่ละคน โดยที่บุคคลทั้งหลายอาจไม่เคยรับรู้เลยก็ได้ว่ามีข้อมูลใดของตนบ้างที่อยู่ในการครอบครองของเจ้าของระบบบ้าง  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับศักยภาพของหน่วยงานเจ้าของระบบว่าสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลชุดต่างๆมาเชื่อมโยงสร้างเป็นฐานประวัติของบุคคลได้บ้าง

นอกจากนี้องค์กรต่างๆยังพยายามเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับบุคคลให้กว้างและลึกที่สุดเพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลต่อยอด เช่น   ข้อมูลพื้นฐานในทะเบียนราษฎร์ วันเดือนปีเกิด ภูมิลำเนา เบอร์ติดต่อ แล้วขยายไปยังข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่างๆ เช่น การใช้อินเตอร์เน็ต อีเมลล์ การเดินทาง การใช้จ่ายเงินผ่านบัตรอิเล็คโทรนิกส์ หรือแม้กระทั่งข้อมูลด้านสุขภาพและการออกกำลังกาย การยืมอ่านหนังสือ และการดาวน์โหลดข้อมูลทั้งหลาย ฯลฯ   ขึ้นอยู่กับว่าองค์กรเจ้าของระบบมีศักยภาพมากน้อยแค่ไหน

แต่ปัจจุบันก็ปรากฏข้อกังวลในประเทศผู้ใช้เทคโนโลยีและระบบฐานข้อมูลว่า “ละเมิดความเป็นส่วนตัว” และขัดต่อหลักการ “คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล” ที่กฎหมายรับรองสิทธิไว้ให้ประชาชนปลอดจากการแทรกแซงตามอำเภอใจ   รัฐและองค์การระหว่างประเทศจึงต้องถ่วงดุลย์เรื่องความมั่นคงกับสิทธิมนุษยชน ด้วยการร่างกฎหมายและสนธิสัญญา

การลงทุนสร้างฐานข้อมูลเพื่อสอดส่องบุคคลจึงต้องอยู่ภายใต้กรอบกฎหมายเหล่านี้ด้วย เพื่อป้องกันการใช้ข้อมูลไปโดยมิชอบ จนทำให้เกิดการละเมิดสิทธิ อันจะขยายวงไปสู่ความกังวลและยุติการทำธุรกรรมของประชาชนทั่วไป เพราะรู้สึกว่ากำลังถูกจับจ้องอยู่

ฐานข้อมูลหนึ่งที่นำมาใช้ประกอบสร้างไบโอเมตริกซ์ คือ เทคโนโลยีการยืนยันบุคคลโดยใช้ใบหน้า (Face Recognition) ซึ่งมีใช้มานานกว่าทศวรรษในประเทศเจ้าของเทคโนโลยี แต่ประเทศไทยมิได้มีการลงทุนประเทศนี้ จนมีเสียงเรียกร้องให้รัฐบาลไทยที่อยู่ภายใต้การนำของฝ่ายความมั่นคงว่า ต้องลงทุนขนานใหญ่เพื่อสร้างความมั่นใจให้นักลงทุน นักท่องเที่ยว และประชาชนผู้บริโภค

เทคโนโลยียืนยันตัวบุคคลนี้ ประกอบด้วยข้อมูลสองชุดใหญ่ๆ คือ รูปใบหน้าในฐานข้อมูลที่เก็บไว้โดยรัฐ/องค์กร กับ รูปใบหน้าที่ติดอยู่ในเอกสารยืนยันสถานะบุคคลที่ถือโดยเจ้าของตัวตน   ในหลายประเทศได้มีการฝังชิปเพื่อตรวจจับโครงหน้าและรายะลเอียดบนใบหน้าไว้ในรูปถ่ายติดบัตร/หนังสือ ที่ประชาชนถือ จนเป็นที่มาของมุขตลกสมัย โน้ตเดี่ยว 8 ที่ว่า ทำไมรูปถ่ายขอวีซ่าสหรัฐอเมริกาจะต้องเห็นหูและเปิดหน้าผาก

โครงหน้า สีผิว และอวัยวะบนใบหน้า จึงเป็นวัตถุแห่งการตรวจสอบ  ดังนั้นผู้ก่อการร้าย สายลับ หรืออาชญากร จึงมีความพยายามในการปรับแปลงโฉมหน้าตลอดเวลาเพื่อมิให้ระบบเฝ้าระวังต่างๆตรวจจับตนได้   เช่น ในพื้นที่เศรษฐกิจที่เสี่ยงต่อการก่อวินาศกรรม รัฐและองค์กรเอกชนจะมีกล้องถ่ายภาพและการเคลื่อนไหวตลอดเวลา   หากมีบุคคลต้องสงสัยเดินทางเข้ามาในพื้นที่ ก็อาจมีการส่งสัญญาณเตือนภัยไปยังผู้ที่รับผิดชอบ

ดังนั้นการลงทุนเพื่อเสริมศักยภาพของอุปกรณ์หรือเทคโนโลยีในประเทศทุนนิยมจึงเกิดขึ้นตามการเติบโตของเมืองและตลาดทางเศรษฐกิจ  แต่ต้องย้ำว่า ซื้อมาโดยไม่ปรับเข้ากับรูปหน้าหรือกิจกรรมของประชากรตนก็ไม่ได้เช่นกัน

ยกตัวอย่างประเทศมหาอำนาจที่ลงทุนเรื่องนี้มากและพยายามส่งออกระบบเหล่านี้ให้ประเทศอื่นใช้เพื่อจะได้เชื่อมโยงข้อมูลของประเทศต่างๆ เข้าเป็นส่วนหนึ่งกับระบบตนหรือในนามองค์การระหว่างประเทศ อาทิ ตำรวจสากล INTERPOL หรือ สภาความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐ NSA

อย่างไรก็ดีสิ่งที่มากกว่า อุปกรณ์และเทคโนโลยี คือ การข่าวที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลเข้ามาเสริมฐานข้อมูลไบโอเมตริกซ์ที่เน้นไปที่การเก็บข้อมูล “ตัวบุคคล” เพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายความสัมพันธ์ของบุคคลที่อาจปฏิบัติการร่วมกัน หรืออยู่ในลักษณะองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ หรือกลุ่มก่อการร้ายข้ามชาติ  

ประเทศไทยนอกจากจะโชคดีมีความปลอดภัยเนื่องจากผู้ก่อการร้าย หรืออาชญากร ละเว้นการก่อวินาศกรรมเพื่อเก็บไว้เป็นแหล่งกบดาน หรือประเทศทางผ่านในการหลบหนีไปประเทศอื่นแล้ว   มิตรประเทศทั่วโลกยังได้ประสานข่าวกรองกับหน่วยงานความมั่นคงไทยด้วย 

โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาที่ปรากฏตัวเลขการลงทุนช่วยเหลือการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้กับประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง และมีสัดส่วนที่มากขึ้นเรื่อยๆในปีท้ายๆ ก่อนจะเกิดการรัฐประหารแล้วรัฐบาลสหรัฐต้องยุติการสนับสนุนงบประมาณไปตามเงื่อนไขของข้อกฎหมายที่ “ห้ามมีความสัมพันธ์กับรัฐเผด็จการทหาร” เช่นเดียวกับ สหภาพยุโรปและประเทศประชาธิปไตยอื่น

การรักษาความมั่นคงภายใต้ร่มประชาธิปไตยของโลกจึงเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า

อุกกาบาต อนุสาวรีย์ นั้นไม่เกี่ยว

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
คำถามที่สำคัญในเศรษฐกิจการเมืองยุคดิจิทัล ก็คือ บทบาทหน้าที่ของภาครัฐรัฐท่ามกลางการเติบโตของตลาดดิจิทัลที่ภาคเอกชนเป็นผู้ผลักดันและก่อร่างสร้างระบบมาตั้งแต่ต้น  ซึ่งสร้างผลกระทบต่อชีวิตผู้คนในรัฐให้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางและลึกซึ้ง   อย่างไรก็ดีความเจริญก้าวหน้าของตลาดย่อมเกิดบนพื้น
ทศพล ทรรศนพรรณ
แนวทางในการส่งเสริมสิทธิคนทำงานในยุคดิจิทัลประกอบไปด้วย 2 แนวทางหลัก คือ1. การระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นภายในความสัมพันธ์ระหว่าง แพลตฟอร์ม กับ คนทำงาน2. การพัฒนารัฐให้รองรับสิทธิคนทำงานอย่างถ้วนหน้า
ทศพล ทรรศนพรรณ
เนื่องจากการทำงานของคนในแพลตฟอร์มดิจิทัลในช่วงก่อนหน้าสถานการณ์วิกฤตโรคระบาดนั้นยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นทำให้ปริมาณคนที่เข้ามาทำงานมีไม่มากนัก และเป็นช่วงทำการตลาดของเหล่าแพลตฟอร์มต่าง ๆ ในการดึงคนเข้ามาร่วมงานกับแพลตฟอร์มตนยังผลให้สิทธิประโยชน์เกิดขึ้นมากมายเป็นที่พึงพอใจของผู้เข้าร่วมทำงานกับแพลตฟ
ทศพล ทรรศนพรรณ
รัฐชาติในโลกปัจจุบันไม่เปิดโอกาสให้บุคคลเคลื่อนย้ายถิ่นฐาน ที่อยู่ แหล่งทำมาหากินได้อย่างอิสระ เสรีมาตั้งแต่การสถาปนารัฐสมัยใหม่ขึ้นในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลก   เช่นเดียวกับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่าง ไทย พม่า ลาว หรือกัมพูชา   ก็ล้วนเกิดพรมแดนระหว่างรัฐในลักษณะที
ทศพล ทรรศนพรรณ
นับตั้งแต่เกิดปรากฏการณ์ “สีเสื้อ”   สื่อกลายเป็นประเด็นสำคัญที่เป็นตัวสะท้อนภาพของคนและสังคมเพื่อขับเน้นประเด็นเคลื่อนไหวทางสังคมให้ปรากฏเป็นขบวนการทางการเมืองที่มีผู้คนเข้าร่วมอย่างมากมายมหาศาล และมีกิจกรรมทางการเมืองหลากหลายรูปแบบ   ดังนั้นอำนาจในการสื่อสารและการมีส่วนร่วมใ
ทศพล ทรรศนพรรณ
สังคมไทยเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลง แตกแยก และปะทะกันอย่างรุนแรงทั้งในด้านความคิด และกำลังประหัตประหารกัน ระหว่างการปะทะกันนั้นระบบรัฐ ระบบยุติธรรม ระบบคุณค่าเกียรติยศ และวัฒนธรรมถูกท้าทายอย่างหนัก จนสูญเสียอำนาจในการบริหารจัดการรัฐ   ในวันนี้ความตึงเครียดจากการเผชิญหน้าอาจเบาบางลง พร้อ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เศรษฐกิจและการเมืองยุคดิจิทัล ใช้ข้อมูลของประชาชนและผู้บริโภคเป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจตลาดการเมืองและเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดีเจ้าของข้อมูลทั้งหลายได้รับประกันสิทธิในความเป็นส่วนตัวและข้อมูลส่วนบุคคลจะถูกนำไปใช้ตามอำเภอใจไม่ได้ เว้นแต่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่กฎหมายยอมรับ หรือได้รับความยินยอมจากเจ
ทศพล ทรรศนพรรณ
หากรัฐไทยต้องการสร้างกรอบทางกฎหมายเพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์จากข้อมูลพันธุกรรมมนุษย์ในช่วงเวลาที่ยังไม่มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติจริยธรรมวิจัยในมนุษย์ มาบังคับกับการวิจัยในพันธุกรรมมนุษย์ ซึ่งถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหวจำต้องมีมาตรการประกันสิทธิเจ้าของข้อมูลพันธุกรรมให้สอดคล้องกับมาตร
ทศพล ทรรศนพรรณ
กองทัพเป็นรากเหง้าที่สำคัญของความขัดแย้งเนื่องจากทหารเข้ามามีบทบาทแทรกแซงทางการเมืองมานาน โดยการข่มขู่ว่าจะใช้กำลัง การใช้อิทธิพลกดดันนโยบายของรัฐบาล กดดันเพื่อเปลี่ยนรัฐมนตรี และการยึดอำนาจโดยปฏิวัติรัฐประหาร ซึ่งทหารมักอ้างว่ารัฐบาลไม่มีเสถียรภาพ ระบบการเมืองไม่เป็นประชาธิปไตยเท่าที่ควรมีการฉ้อ
ทศพล ทรรศนพรรณ
 ปัญหาทางเศรษฐกิจที่มีขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมเรียกร้องมาตลอด คือ การผูกขาด ซึ่งมีรากเหง้ามาจากการแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจของกลุ่มผลประโยชน์ที่ทรงอำนาจ แล้วนำไปสู่ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจอันเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่ขบวนการความเป็นธรรมทางสังคมเสนอให้แก้ไข   บทความนี้จะพยายามแสดงให
ทศพล ทรรศนพรรณ
การแสดงออกไม่ว่าจะในสื่อเก่าหรือสื่อใหม่ย่อมมีขอบเขตการใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิของผู้อื่น ดังนั้นรัฐจึงได้ขีดเส้นไว้ไม่ให้ประชาชนใช้สิทธิเสรีภาพจนไปถึงขั้นละเมิดสิทธิของผู้อื่นเอาไว้ในกรอบกฎหมายหลายฉบับ บทความนี้จะพาชาวเน็ตไปสำรวจเส้นพรมแดนที่มิอาจล่วงล้ำให้เห็นพอสังเขป
ทศพล ทรรศนพรรณ
การช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติที่อดอยากหิวโหยที่นั้นดำเนินการได้โดยตรงด้วยมาตรการความช่วยเหลือด้านอาหารโดยตรง (Food Aid) ซึ่งมีทั้งมาตรการระหว่างประเทศ และมาตรการภายใน   ในบทความนี้จะนำเสนอมาตรการและกรณีศึกษาที่ใช้ในการช่วยเหลือด้านอาหารในสถานการณ์ฉุกเฉินเหล่านั้น แต่ความแตกต่างจากการสงเ