Skip to main content

ในช่วงเศรษฐกิจเฟื่องฟูมักมีการบ่นจากนายจ้างว่าหาแรงงานไม่ค่อยได้ ในทางตรงข้ามก็มีการโอดครวญจากคนทำงานว่าถูกตัดสวัสดิการ ไปจนถึงลดงาน หรือให้ออก  สลับกันไป   แต่สิ่งหนึ่งที่ไทยหรือแม้แต่ตลาดแรงงานในประเทศกำลังพัฒนากำลังเผชิญก็คือ สังคมไร้เสถียรภาพ อันมีสาเหตุจากคนในสังคมรู้สึกว่าชีวิตตนเองเสี่ยงไม่มีความมั่นคงในชีวิต เพราะอยู่ในระบบการจ้างงานที่ไม่มีความมั่นคง

แม้กระทั่งในหน่วยงานรัฐที่ลดจำนวนข้าราชการ กลับพบว่าขนาดของรัฐราชการไม่ได้เล็กลงไปด้วย เพราะปริมาณคนทำงานภาครัฐเพิ่มขึ้น  เจ้าหน้าที่ต่างๆ ถูกจ้างแบบชั่วคราว คนจำนวนมากอยู่ในสถานะ “ลูกจ้างชั่วคราว” ที่ไม่ได้รับบรรจุเป็นข้าราชาการ พนักงานประจำ หรือที่ร้ายแรงที่สุด คือ ถูกเปลี่ยนจากการ   “จ้างแรงงาน”   เป็น   “จ้างทำของ” เฉพาะสิ่ง   เหมือนบรรดา แรงงานเหมาช่วง หรือเกษตรกร ทั้งหลายที่รับจ้างเลี้ยงหรือปลูกให้บริษัทอีกต่อ   ปัญหาของแรงงานเหล่านี้ คือ อาจไม่อยู่ในระบบประกันสังคม และอาจถูกเลิกจ้าง หรือยุติการจ่ายงานได้ง่ายมาก 

เทคนิคการจ้างงานเหล่านี้ เป็นสิ่งที่ ศาสตร์บริหารธุรกิจ หรือ นักเศรษฐศาสตร์ จำนวนไม่น้อย สดุดีว่าเป็นวิธีการ ลดต้นทุน หรือ ผลักภาระในการบริหารงานบุคคลให้พ้นไปจากบริษัท   ทำให้กำไรเพิ่มพูน และลดปัญหาที่จะต้องมาดูแลคนงาน   ใช่มันคือความสำเร็จของนายทุนจำนวนหนึ่ง บนความสั่นไหวและความเสี่ยงของแรงงานจำนวนมาก

แต่ตอนนี้สถานการณ์ได้เข้าขั้นวิกฤตหนัก เพราะหน่วยงานของรัฐ ในกำกับของรัฐ หรือองค์การมหาชนทั้งหลาย ได้เอาวิธีการบริหารงานบุคคลข้างต้นกับองค์กรรัฐ   สิ่งที่ปรากฏชัด คือ การเปลี่ยนจ้างแรงงานเหมา มาเป็น “การจัดซื้อพัสดุ”   นั่นคือ “การเปลี่ยนคนให้เป็นวัตถุ” เปลี่ยน “มนุษย์ให้เป็นเครื่องจักร”   โดยผลของสัญญาที่ออกแบบมาเพื่อหลีกเลี่ยงข้อผูกพันทางกฎหมายทั้งหลายที่นายจ้างไม่ต้องการ  

สถานการณ์แบบนี้เคยเกิดขึ้นในสังคมทุนนิยมยุโรปช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งเป็นช่วง “วิกฤตของทุนนิยม”

รูปแบบของการจ้างแรงงานแบบ “พัสดุ” นี้ได้ลดภาระของฝ่ายจ้างงาน กล่าวคือ ไม่ต้องจ่ายสมทบในกองทุนประกันสังคมหรือกองทุนต่างๆ รวมถึงไม่ต้องอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายแรงงานหรือกฎเกี่ยวกับจ้างงานขององค์กรนั้นๆ เพราะคนเหล่านั้นไม่ใช่ “ลูกจ้าง” มิใช่แรงงาน   เป็นเพียง “วัตถุ” ที่ใช้แล้วหมดไปตามระยะเวลาที่สัญญากำหนด

รูปแบบสัญญานี้เป็นความสำเร็จสูงสุดของนายจ้างในการผลักภาระความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับองค์กรอีกเช่นกัน เพราะไม่ต้องมารับผลที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เช่น ความเจ็บป่วยไข้ของคนทำงาน หรือการมีบุตรมีครอบครัว เพราะผู้จ้างกับคนทำงาน ผูกพันกันด้วยวัตถุประสงค์ของ “ผลงาน” แต่ไม่มีหน้าที่-สิทธิ ต่อกันในฐานะ “ลูกจ้าง-นายจ้าง” อีกต่อไป

หากการบริหารงานเหล่านี้ขยายไปสู่การทำงานที่มีความอันตราย เช่น สารเคมี สารพิษ หรือเสี่ยงต่ออุบัติเหตุ หรือโรคเรื้อรัง โรคติดเชื้อ ก็ย่อมเป็นผลดีกับผู้จ้างอีกเช่นกัน เพราะการทำสัญญา “พัสดุ” มิใช่ทำสัญญากับ “คน” ย่อมไม่ต้องมีการดูแลความปลอดภัยในการทำงานให้กับ “บุคคล” เหล่านั้น   หากจะติดเชื้อ ได้รับอุบัติเหตุ หรือเสื่อมสมรรถภาพ พิการ ก็เป็นเพียงเครื่องจักรที่พัง เปลี่ยนเครื่องใหม่เข้ามาแทน มิใช่ แรงงานมนุษย์ที่จะต้องมีรักษากันอย่างมีมนุษยธรรมอีกต่อไป

วิธีการจ้างงานแบบนี้ได้ประหยัดค่าใช้จ่ายให้กับหน่วยงานเพราะไม่อยู่ในกรอบของกฎหมายใดๆ ที่จะต้องจัดสวัสดิการสังคมให้กับ “พัสดุ” เหล่านั้น เพราะมันเป็นเพียงเครื่องจักรในการผลิตผลงาน

 การบริหารงานแบบรีดไขมันส่วนเกิน (Lean Management) ที่ขจัดภาระและส่วนเกินต่างๆออกไปจากองค์กรให้หมด เหลือไว้เพียงกล้ามเนื้อแดงที่เป็นส่วนสำคัญของร่างกาย   แต่ลองมาดูองค์กรต่างๆที่ใช้การจ้างแบบพัสดุ คงเห็นแล้วว่ากล้ามเนื้อแดงที่รักษาไว้และปูนบำเหน็จมากมาย นั่นคือ เหล่าผู้อาวุโส และผู้ทรงบารมี หรือผู้บริหาร และอาจขยายไปยังผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่ต้องรักษาเอาไว้ถ้าหาใครมาแทนไม่ได้ หรือแทนที่ยากเท่านั้น

คนที่เสี่ยงจากการจ้างงานแบบนี้ จึงเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ตามการขยายตัวของ เทคโนโลยีการบริหารงานแบบนี้  ซึ่งมีคนสดุดีและนำไปใช้ทั่วโลกทุนนิยม

ดังนั้นการที่คนทำงานออฟฟิศแต่ไม่ได้จ้างประจำ หรือที่ถูกเรียกใหม่ว่า “พัสดุ” นั้น จึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มชายขอบ ที่เสี่ยงมาก อีกกลุ่มหนึ่ง และรอวันประทุ ไม่ต่างอะไรกับที่เคยเกิดแล้วกับสังคมฟาสซิสต์ยุโรป เพียงแต่ยังไม่ระเบิดก็เพราะอาจถูกหล่อเลี้ยงไว้ด้วย “มายา” แห่งคนทำงานออฟฟิศ ซึ่งก่อสำนึกที่ผิดพลาด ว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของชนชั้นกลางหรือชนชั้นนำ

สิ่งที่ต้องไม่ลืมคือ คนที่หวั่นไหวต่ออนาคตตนเองและสังคม ก็เกิดจากสำนึกเรื่องความเสี่ยง  เสี่ยงที่จะสูญเสียโอกาสหรือสวัสดิการที่ตนเคยได้รับจากกฎหมายแรงงานของรัฐ นั่นเอง

ดังนั้น การเอาตัวรอดไปวันๆ หรือการพยายามเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งกับชนชั้นนำด้วยการประจบสอพลอ อาจเป็นยุทธวิธีที่ล้มเหลวของคนทำงาน   เป็นสำนึกที่ผิดพลาด เพราะอาจมีการต่ออายุราชการ/ทำงาน หรือให้มรดกแบบมีเงื่อนไข   การวางยุทธศาสตร์ไว้ว่าจะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับชนชั้นนำ/ผู้บริหาร จึงขัดแย้งกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในชีวิต

                ส่วนนายจ้างที่ไม่เข้าใจว่าทำไมแรงงานขาดแคลน หรือลูกจ้างลาออก หรือแรงงานไม่พัฒนาฝีมือ ก็ต้องย้อนมามองว่า การมีชีวิตแบบคนทำงานที่ไร้ความมั่นคง   เป็นชีวิตที่น่าปรารถนาหรือไม่

                รัฐก็ต้องสร้างกลไกรับประกันความมั่นคงในการทำงานเพื่อทำให้เครื่องจักรแห่งการผลิตเดินได้ไม่ติดขัด

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

 
 

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
การนำ คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 205/2549 มาตราเป็นพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร  โดยแฝงนัยยะของการสร้าง “รัฐทหาร” ด้วยการขยับขยายขอบเขตอำนาจแก่เจ้าหน้าที่ กอ. รมน.
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังสิ้นสุดยุคสมัยสงครามเย็น หนึ่งในมรดกตกทอดจากยุคนั้น ได้แก่ หน่วยงานความมั่นคงของรัฐไทยที่มีอำนาจหน้าที่อย่างเข้มข้นในการเฝ้าระวัง สอดส่อง ควบคุมการสื่อสารและการกระทำต่าง ๆ ของประชาชนที่ผู้มีอำนาจเห็นว่าเป็นภัยต่อความมั่นคง และส่งผลเสียต่อการยืนหยัดสู้เพื่ออุดมการณ์ทางการเมืองช่วงนั้น อาทิ กอง
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านจัดเป็นกลุ่มที่เสี่ยงที่จะถูกละเมิดสิทธิและด้อยโอกาสในการเข้าถึงบริการสาธารณะ สวัสดิการ และหลักประกันด้านต่าง ๆ ด้วยเหตุที่เป็นกลุ่มซึ่งต้องปะทะโดยตรงกับการพัฒนาเมืองอย่างไม่ยั่งยืนทั้งที่สาเหตุของการออกมาอยู่ในพื้นที่สาธารณะนั้นเกี่ยวข้องกับความเหลื่อมล้ำทางสังคมอันเป็นผลลัพธ์ของนโยบายส
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านตกอยู่ในสถานะของกลุ่มเสี่ยงที่อาจต้องเผชิญจากการเหยียดหยามศักดิ์ความเป็นมนุษย์โดยตรงจากการละเมิด และยังอาจไม่ได้รับการดูและแก้ไขปัญหาเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ยุ่งยากต่าง ๆ เพราะถูกจัดให้อยู่ในสถานะต่ำต้อยเสี่ยงต่อการเลือกประติบัติจากรัฐ จนไปถึงการเพิกเฉย ละเลย ไม่ใส่จะแก้ปัญหาให้คนไร้บ้
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านเป็นเสียงที่ไม่ถูกนับ การใช้พลังในลักษณะกลุ่มก้อนทางการเมืองเพื่อเรียกร้องประโยชน์จากผู้มีอำนาจให้จัดสรรทรัพยากรให้จึงเป็นเรื่องยาก ด้วยสาเหตุหลัก 2 ประการ คือ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของคนไร้บ้านจำเป็นต้องยืนอยู่บนฐานของกฎหมายที่ประกันสิทธิของบุคคลโดยมิคำนึงถึงความแตกต่างหลากหลายทางสถานภาพใด ๆ แม้คนไร้บ้านจะเป็นปัจเจกชน หรือกลุ่มคนที่มีปริมาณน้อยเพียงไร รัฐก็มีพันธกรณีในการเคารพ ปกป้อง และส่งเสริมสิทธิให้กลุ่มเสี่ยงนี้โดยเหตุแห่งความเป็นสิทธิมนุษยชนที่ร
ทศพล ทรรศนพรรณ
หากต้องกำหนดยุทธศาสตร์ของประเทศไทยในการเข้าร่วมตลาดดิจิทัลที่มีเข้มข้นของกิจกรรมข้ามพรมแดนตลอดเวลา เพื่อแก้ไขปัญหาศักยภาพของรัฐในการบังคับใช้กฎหมายขยายไปเหนือหลักเขตอำนาจศาลเหนือดินแดนของตนแบบเก่า เมื่อต้องกำกับกิจกรรมของบรรษัทข้ามชาติที่อยู่ในการบังคับของกฎหมายรัฐอื่นซึ่งมีบรรทัดฐานในหลายประเด็น
ทศพล ทรรศนพรรณ
การวิเคราะห์กฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติกับรัฐ จะกระทำใน 3 ประเด็นหลัก คือ ใครเป็นเจ้าของข้อมูล ใครมีสิทธิใช้ประโยชน์จากข้อมูลมากน้อยอย่างไร หรือแบ่งปันกันอย่างไร อันเป็นการเตรียมความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูล
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทความนี้จะทำการรวบรวมข้อเสนอทางกฎหมายในระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติ กับรัฐและองค์การระหว่างประเทศ อันเป็นการเตรียมความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูลจากแพลตฟอร์มดิจิทัล ว่าสามารถบริหารจัดการให
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทความนี้จะทำการทบทวนข้อกฎหมายทั้งในระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติ เรื่อยมาจนถึงสำรวจความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูลจากแพลตฟอร์มดิจิทัล ว่าสามารถบริหารจัดการให้เกิดการแบ่งปันข้อมูลดิจิทัลระหว
ทศพล ทรรศนพรรณ
ประเด็นพื้นฐานที่รัฐต้องคิด คือ จะส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมทางเทคโนโลยีเพื่อสะสมความมั่งคั่งได้อย่างไร แล้วจึงจะไปสู่แนวทางในการแบ่งปันความมั่งคั่งให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการผลิตข้อมูลขึ้นมาในแพลตฟอร์ม
ทศพล ทรรศนพรรณ
Kean Birch นำเสนอปัญหาของข้อมูลส่วนบุคคลในฐานะสินค้าของตลาดนวัตกรรมเทคโนโลยีจำนวน 5 ประเด็น คือ1.ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของแพลตฟอร์มในฐานะเจ้าของข้อมูลทึ่ถูกรวบรวมโดยนวัตกรรม,