Skip to main content

ในช่วงเศรษฐกิจเฟื่องฟูมักมีการบ่นจากนายจ้างว่าหาแรงงานไม่ค่อยได้ ในทางตรงข้ามก็มีการโอดครวญจากคนทำงานว่าถูกตัดสวัสดิการ ไปจนถึงลดงาน หรือให้ออก  สลับกันไป   แต่สิ่งหนึ่งที่ไทยหรือแม้แต่ตลาดแรงงานในประเทศกำลังพัฒนากำลังเผชิญก็คือ สังคมไร้เสถียรภาพ อันมีสาเหตุจากคนในสังคมรู้สึกว่าชีวิตตนเองเสี่ยงไม่มีความมั่นคงในชีวิต เพราะอยู่ในระบบการจ้างงานที่ไม่มีความมั่นคง

แม้กระทั่งในหน่วยงานรัฐที่ลดจำนวนข้าราชการ กลับพบว่าขนาดของรัฐราชการไม่ได้เล็กลงไปด้วย เพราะปริมาณคนทำงานภาครัฐเพิ่มขึ้น  เจ้าหน้าที่ต่างๆ ถูกจ้างแบบชั่วคราว คนจำนวนมากอยู่ในสถานะ “ลูกจ้างชั่วคราว” ที่ไม่ได้รับบรรจุเป็นข้าราชาการ พนักงานประจำ หรือที่ร้ายแรงที่สุด คือ ถูกเปลี่ยนจากการ   “จ้างแรงงาน”   เป็น   “จ้างทำของ” เฉพาะสิ่ง   เหมือนบรรดา แรงงานเหมาช่วง หรือเกษตรกร ทั้งหลายที่รับจ้างเลี้ยงหรือปลูกให้บริษัทอีกต่อ   ปัญหาของแรงงานเหล่านี้ คือ อาจไม่อยู่ในระบบประกันสังคม และอาจถูกเลิกจ้าง หรือยุติการจ่ายงานได้ง่ายมาก 

เทคนิคการจ้างงานเหล่านี้ เป็นสิ่งที่ ศาสตร์บริหารธุรกิจ หรือ นักเศรษฐศาสตร์ จำนวนไม่น้อย สดุดีว่าเป็นวิธีการ ลดต้นทุน หรือ ผลักภาระในการบริหารงานบุคคลให้พ้นไปจากบริษัท   ทำให้กำไรเพิ่มพูน และลดปัญหาที่จะต้องมาดูแลคนงาน   ใช่มันคือความสำเร็จของนายทุนจำนวนหนึ่ง บนความสั่นไหวและความเสี่ยงของแรงงานจำนวนมาก

แต่ตอนนี้สถานการณ์ได้เข้าขั้นวิกฤตหนัก เพราะหน่วยงานของรัฐ ในกำกับของรัฐ หรือองค์การมหาชนทั้งหลาย ได้เอาวิธีการบริหารงานบุคคลข้างต้นกับองค์กรรัฐ   สิ่งที่ปรากฏชัด คือ การเปลี่ยนจ้างแรงงานเหมา มาเป็น “การจัดซื้อพัสดุ”   นั่นคือ “การเปลี่ยนคนให้เป็นวัตถุ” เปลี่ยน “มนุษย์ให้เป็นเครื่องจักร”   โดยผลของสัญญาที่ออกแบบมาเพื่อหลีกเลี่ยงข้อผูกพันทางกฎหมายทั้งหลายที่นายจ้างไม่ต้องการ  

สถานการณ์แบบนี้เคยเกิดขึ้นในสังคมทุนนิยมยุโรปช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งเป็นช่วง “วิกฤตของทุนนิยม”

รูปแบบของการจ้างแรงงานแบบ “พัสดุ” นี้ได้ลดภาระของฝ่ายจ้างงาน กล่าวคือ ไม่ต้องจ่ายสมทบในกองทุนประกันสังคมหรือกองทุนต่างๆ รวมถึงไม่ต้องอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายแรงงานหรือกฎเกี่ยวกับจ้างงานขององค์กรนั้นๆ เพราะคนเหล่านั้นไม่ใช่ “ลูกจ้าง” มิใช่แรงงาน   เป็นเพียง “วัตถุ” ที่ใช้แล้วหมดไปตามระยะเวลาที่สัญญากำหนด

รูปแบบสัญญานี้เป็นความสำเร็จสูงสุดของนายจ้างในการผลักภาระความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับองค์กรอีกเช่นกัน เพราะไม่ต้องมารับผลที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เช่น ความเจ็บป่วยไข้ของคนทำงาน หรือการมีบุตรมีครอบครัว เพราะผู้จ้างกับคนทำงาน ผูกพันกันด้วยวัตถุประสงค์ของ “ผลงาน” แต่ไม่มีหน้าที่-สิทธิ ต่อกันในฐานะ “ลูกจ้าง-นายจ้าง” อีกต่อไป

หากการบริหารงานเหล่านี้ขยายไปสู่การทำงานที่มีความอันตราย เช่น สารเคมี สารพิษ หรือเสี่ยงต่ออุบัติเหตุ หรือโรคเรื้อรัง โรคติดเชื้อ ก็ย่อมเป็นผลดีกับผู้จ้างอีกเช่นกัน เพราะการทำสัญญา “พัสดุ” มิใช่ทำสัญญากับ “คน” ย่อมไม่ต้องมีการดูแลความปลอดภัยในการทำงานให้กับ “บุคคล” เหล่านั้น   หากจะติดเชื้อ ได้รับอุบัติเหตุ หรือเสื่อมสมรรถภาพ พิการ ก็เป็นเพียงเครื่องจักรที่พัง เปลี่ยนเครื่องใหม่เข้ามาแทน มิใช่ แรงงานมนุษย์ที่จะต้องมีรักษากันอย่างมีมนุษยธรรมอีกต่อไป

วิธีการจ้างงานแบบนี้ได้ประหยัดค่าใช้จ่ายให้กับหน่วยงานเพราะไม่อยู่ในกรอบของกฎหมายใดๆ ที่จะต้องจัดสวัสดิการสังคมให้กับ “พัสดุ” เหล่านั้น เพราะมันเป็นเพียงเครื่องจักรในการผลิตผลงาน

 การบริหารงานแบบรีดไขมันส่วนเกิน (Lean Management) ที่ขจัดภาระและส่วนเกินต่างๆออกไปจากองค์กรให้หมด เหลือไว้เพียงกล้ามเนื้อแดงที่เป็นส่วนสำคัญของร่างกาย   แต่ลองมาดูองค์กรต่างๆที่ใช้การจ้างแบบพัสดุ คงเห็นแล้วว่ากล้ามเนื้อแดงที่รักษาไว้และปูนบำเหน็จมากมาย นั่นคือ เหล่าผู้อาวุโส และผู้ทรงบารมี หรือผู้บริหาร และอาจขยายไปยังผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่ต้องรักษาเอาไว้ถ้าหาใครมาแทนไม่ได้ หรือแทนที่ยากเท่านั้น

คนที่เสี่ยงจากการจ้างงานแบบนี้ จึงเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ตามการขยายตัวของ เทคโนโลยีการบริหารงานแบบนี้  ซึ่งมีคนสดุดีและนำไปใช้ทั่วโลกทุนนิยม

ดังนั้นการที่คนทำงานออฟฟิศแต่ไม่ได้จ้างประจำ หรือที่ถูกเรียกใหม่ว่า “พัสดุ” นั้น จึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มชายขอบ ที่เสี่ยงมาก อีกกลุ่มหนึ่ง และรอวันประทุ ไม่ต่างอะไรกับที่เคยเกิดแล้วกับสังคมฟาสซิสต์ยุโรป เพียงแต่ยังไม่ระเบิดก็เพราะอาจถูกหล่อเลี้ยงไว้ด้วย “มายา” แห่งคนทำงานออฟฟิศ ซึ่งก่อสำนึกที่ผิดพลาด ว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของชนชั้นกลางหรือชนชั้นนำ

สิ่งที่ต้องไม่ลืมคือ คนที่หวั่นไหวต่ออนาคตตนเองและสังคม ก็เกิดจากสำนึกเรื่องความเสี่ยง  เสี่ยงที่จะสูญเสียโอกาสหรือสวัสดิการที่ตนเคยได้รับจากกฎหมายแรงงานของรัฐ นั่นเอง

ดังนั้น การเอาตัวรอดไปวันๆ หรือการพยายามเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งกับชนชั้นนำด้วยการประจบสอพลอ อาจเป็นยุทธวิธีที่ล้มเหลวของคนทำงาน   เป็นสำนึกที่ผิดพลาด เพราะอาจมีการต่ออายุราชการ/ทำงาน หรือให้มรดกแบบมีเงื่อนไข   การวางยุทธศาสตร์ไว้ว่าจะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับชนชั้นนำ/ผู้บริหาร จึงขัดแย้งกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในชีวิต

                ส่วนนายจ้างที่ไม่เข้าใจว่าทำไมแรงงานขาดแคลน หรือลูกจ้างลาออก หรือแรงงานไม่พัฒนาฝีมือ ก็ต้องย้อนมามองว่า การมีชีวิตแบบคนทำงานที่ไร้ความมั่นคง   เป็นชีวิตที่น่าปรารถนาหรือไม่

                รัฐก็ต้องสร้างกลไกรับประกันความมั่นคงในการทำงานเพื่อทำให้เครื่องจักรแห่งการผลิตเดินได้ไม่ติดขัด

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

 
 

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
มาตรการสำหรับการแก้ปัญหาความอดอยากหิวโหยที่เกิดจากภัยพิบัติธรรมชาตินั้นสามารถดำเนินการได้ใน 3 ช่วงเวลา ก็คือ การเตรียมตัวก่อนภัยพิบัติจะเกิด การบรรเทาและแก้ไขปัญหาในขณะเกิดภัยพิบัติ การเยียวยาและฟื้นฟูหลังภัยพิบัติผ่านไปแล้ว   ในบทความนี้จะนำเสนอมาตรการและกรณีศึกษาที่ใช้ในการขจัดความหิว
ทศพล ทรรศนพรรณ
มาตรการทั่วไปที่ใช้ในการประกันความอิ่มท้องของประชากรในประเทศตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติที่รัฐบาลไทยประกาศสมาทานยึดถือนั้น ตั้งอยู่บนหลักกฎหมายสิทธิมนุษยชนเรื่องสิทธิด้านอาหาร นั้นหมายถึงรัฐไทยต้องมีมาตรการเคารพ ปกป้อง และส่งเสริมสิทธิประกอบด้วย กรอบทางกฎหมาย   กรอบทางนโย
ทศพล ทรรศนพรรณ
อุดมการณ์ที่เป็นสาเหตุของปัญหาแรงงานที่เกิดขึ้นทั่วโลกอยู่นั้น มีจุดก่อตัวมาจากระบบเศรษฐกิจการเมืองแบบเสรีนิยมใหม่ที่เข้ามาพร้อม ๆ กับกระแสแห่งการพัฒนาของโลกยุคโลกาภิวัฒน์ ที่ทำให้เกิดเสรีทางการลงทุนจนนำมาซึ่งรูปแบบการจ้างงานรูปที่มีความยืดหยุ่นต่อการบริหารจัดการของบรรษัท และสามารถตอบโจทย์นักลงทุ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินจำเป็นต้องวางแผนในการดำเนินการด้วยความเข้าใจพื้นฐานที่ว่า ความขัดแย้งเป็นสิ่งธรรมดาสามัญที่เกิดขึ้นได้ หากต้องการผลักดันข้อบัญญัติท้องถิ่นให้สำเร็จจึงต้องสามารถทำความเข้าใจลักษณะของข้อพิพาทที่มักเกิดขึ้นในการจัดการที่ดิน   และมีแนวทางในการข
ทศพล ทรรศนพรรณ
 ลู่ทางส่งเสริมการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ปัญหามลพิษ มีดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัญหาสิ่งแวดล้อมมักสร้างผลกระทบในระยะยาว ไม่ได้เกิดการบาดเจ็บ เสียหาย ทันทีทันใด   ดังนั้นเราจึงต้องมีวิธีการพิสูจน์ว่าความเจ็บป่วย เสียหายที่เกิดขึ้นนั้นมีผลมาจากปัญหาสิ่งแวดล้อมจริง   สิ่งที่เราต้องทำคือการเก็บหลักฐานอย่างต่อเนื่องและชัดเจนเพื่อนำไปใช้เป็นพยานหลักฐาน &n
ทศพล ทรรศนพรรณ
การจัดชุมนุมสาธารณะย่อมเป็นที่สนใจของสังคมตามความประสงค์ของผู้จัด จึงมีสื่อมวลชนที่เข้าร่วมทำข่าวทั้งที่เป็นสื่อมวลชนอาชีพที่มีสังกัดประจำหรือสื่อพลเมืองที่ทำหน้าที่ติดตามสถานการณ์และรายงานข่าวตามภูมิทัศน์เทคโนโลยีสื่อสารที่ปรับตัวไป 
ทศพล ทรรศนพรรณ
การชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธมีข้อจำกัดที่อาจถูกรัฐเข้าระงับหรือแทรกแซงการใช้สิทธิได้ตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ข้อ 4 ในสภาวะฉุกเฉินสาธารณะที่คุกคามความอยู่รอดของชาติที่ถูกประกาศอย่างเป็นทางการ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักไทย พุทธศักราช 2560 กำหนดถึงเหตุที
ทศพล ทรรศนพรรณ
การชุมนุมโดยสงบเป็นเครื่องมือที่ทำให้บุคคลทั้งหลายสามารถแสดงออกร่วมกันและมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลง ให้ปัจเจกสามารถแสดงความเป็นตัวตนของตัวเองร่วมกับผู้อื่น   โดยการเลือกสถานที่การชุมนุมอยู่ภายใต้หลักมองเห็นและได้ยิน (sight and sound) ทั้งนี้ผู้ชุมนุมต้องอยู่ในที่ที่มองเห็นและสาธารณชนต้อ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ขบวนการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้น ในบริบทโครงสร้างทางอำนาจในสังคมที่ไม่เท่าเทียมกัน การรวมศูนย์อำนาจหรือการครอบงำทางวัฒนธรรมโดยใช้วัฒนธรรมเดียว สิทธิชุมชนจึงเป็นการต่อสู้เพื่อปรับสัมพันธภาพทางอำนาจ สร้างตำแหน่งแห่งที่ให้ชุมชนให้เกิดความเป็นธรรมและเคารพในความหลากหลาย โดยท้องถิ่นมีเสรีภาพในการกำหนดกติกา
ทศพล ทรรศนพรรณ
ข้อกล่าวอ้างสำคัญของรัฐบาลไทยในการเพิ่มศักยภาพในด้านข่าวกรองและออกกฎหมายที่ให้อำนาจสอดส่องการสื่อสารของประชาชน คือ “ถ้าประชาชนไม่ได้ทำผิดจะกลัวอะไร” โดยมิได้คำนึงหลักการพื้นฐานเบื้องต้นว่า แม้ประชาชนมิได้ทำผิดกฎหมายอันใดก็มีสิทธิความเป็นส่วนตัว ปลอดจากการแทรกแซงการสื่อสาร อันเป็นสิทธิพื้นฐานตามกฎ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การพัฒนารัฐที่ใช้กฎหมายเป็นหลักประกันสิทธิมนุษยชนของประชาชน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพลเมืองในประเด็นสาธารณะของผู้ตื่นตัวทางการเมืองในลักษณะ “นิติรัฐอย่างเป็นทางการ” แตกต่างจากความสัมพันธ์ทางอำนาจแบบ “ไม่เป็นทางการ” ที่รัฐอาจหลีกเลี่ยงการใช้อำนาจปกครองภายใต้กรอบของกฎหมายเพื่อประกันสิทธิเสรีภาพต