Skip to main content

ตัวเลขในงานวิจัยทั้งหลายแหล่ บอกว่าคนแห่มาอยู่ “โสด” ทั้งที่โสดมาตลอด หย่าร้างแล้วกลับมาโสด หรือคบหากันแต่จงใจแยกกันไป “โสด”  

กลุ่มที่ตกใจและตื่นตระหนกเป็นที่สุดเห็นจะเป็นผู้ใหญ่ล่วงเข้าวัยชราที่กังวลว่า ใครจะมาทำงาน ใครจะมาดูแล ใครจะมาสืบทอดสืบสานงานที่ยังไม่สิ้นสุด ถึงขนาดคิดขึ้นมาเป็นชุดว่านี่คือสิ่งที่จะทำให้ชาติสิ้นสุดและเศรษฐกิจสะดุดลง ด้วยสิ่งที่เรียกว่า   “สังคมสูงวัย” Aging Society

ลองสาเหตุของภาวะสังคมที่มีคนสูงวัยเป็นคนส่วนใหญ่ในสังคม คงไปโทษว่าระบบสาธารณสุขดี สังคมมีความปลอดภัยมากขึ้นไม่ได้ เพราะมันสะท้อนว่าสังคมเราได้พัฒนาคุณภาพชีวิตมนุษย์ให้มี “เวลา” พัฒนาตัวเองและสังคมมากขึ้นด้วย

สาเหตุที่แท้จริง คือ จำนวนคนเกิดใหม่ไล่ไม่ทันคนแก่ !
 

แล้วทำไมจึงมีคนเกิดใหม่น้อยลง ?

ทำไม คนจึงตัดสินใจอยู่ด้วยกันน้อยลง มีลูกด้วยกันน้อยลง และลดจำนวนลูกในแต่ละครอบครัวน้อยไปต่ำกว่า อัตราที่เหล่าผู้อาวุโสแห่ง สสส.  คาดหวังให้มีกันสักสามคนต่อครัวเรือน

การเมืองเรื่อง อยากให้คนกลุ่มไหนสถานะทางเศรษฐกิจและการศึกษาระดับใดมีลูกเยอะก็น่าคิด   แต่ที่แน่ๆ ไม่ใช่คุณแม่วัยรุ่นที่เขาพยายามลดอัตราการเกิด   ยิ่งมีงานวิจัยที่ สสส.สนับสนุน บอกให้แก้ด้วยการเก็บภาษีคนโสดที่มีฐานะทางเศรษฐกิจพอใช้สามารถมีครอบครัวได้   คงชัดเจนว่า อยากให้คนชั้นกลางขึ้นไปมีลูกมากขึ้น เพื่อมาเพิ่มจำนวนกลุ่มใดในทางการเมืองด้วยรึเปล่าก็ไม่อาจทราบได้

เมื่อตัดคุณแม่วัยรุ่นอายุ 15-19 ปี ที่เกินอัตราเกิดใหม่ไปถึง 53% ออกไป คงเห็นกันชัดเจนใช่ไหมว่าอะไรกำลังเกิดขึ้น   ไหนจะอัตราหย่าร้างที่พุ่งสูงมาก อัตราสตรีโสดของกรุงเทพฯ ที่อยู่อันดับสองของเอเชีย   คงสะท้อนว่า มันมีอะไรเกิดขึ้นในความสัมพันธ์ “หญิง-ชาย” ไทยแน่นอน

คนรุ่นใหม่ และนักวิชาการบอกว่า ทุกวันนี้การแต่งงาน มีคู่ หรือมีลูกหลานครอบครัว ไม่ใช่สิ่งสำคัญสูงสุดที่ทุกคนต้องทำอีกต่อไป   มีกิจกรรมอีกหลายอย่างให้คนรู้สึกอิ่มเอมและมีความสุขได้แม้จะไม่ผูกมัดตัวเองอยู่กับใคร

แต่ก็ชวนสงสัยว่าแค่ เพลินๆ หรือ เลือกเดินทางนี้มาแต่ไหนแต่ไร     หากตัดกลุ่มนี้ออกไปให้เหลือคนที่อยากมีคู่หรือมีคู่แล้วแต่ไม่อยากมีลูก ไม่กล้ามีครอบครัว น่าจะได้คำตอบชัดเจนกว่า

เราพบคนที่พูดว่า   “ยังไม่มั่นคง”   หรือ   “เสี่ยงเกินไป” บ่อยครั้ง   ทั้งที่ตั้งใจตอบแต่ต้น หรือเมื่อไล่ถามจนถึงแก่น

 

ความไม่มั่นคง” กับ “ความเสี่ยง”
สองสิ่งนี้จึงเป็นเงื่อนไขที่ต้องกำจัดหรือกระชับให้น้อยลงหน่อย หากจะทำให้คนมั่นใจกล้าเสี่ยงมีคู่ และมีลูกเพื่อสร้างครอบครัวอย่างมั่นคง  

ความเสี่ยง หรือ ไม่มั่นคง   มีหลายปัจจัยที่เป็นเงื่อนไขขัดขวางชีวิต ทั้งปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม จนไปถึงวัฒนธรรม ที่บิดเบือนธรรมชาติของมนุษย์ที่ถูกสร้างมาขยายเผ่าพันธุ์สืบไปเผื่อว่าใครเกิดมาใหม่จะสร้างความเป็นไปได้อันยิ่งใหญ่ในอนาคต   จึงไม่น่าแปลกใจที่คนเจเนอเรชั่น X หรือ Y ลงมาจะตัดสินใจเป็นโสด หรือไม่มีครอบครัวมากขึ้น

จนเดี๋ยวนี้ “คนโสด” และ “ความโสด” กลายเป็นเป้าหมายทางเศรษฐกิจให้ธุรกิจใหญ่น้อยเข้ามาคอยหากิน   โดยขายความตื่นเต้น เติมเต็มประสบการณ์ใหม่ๆ ให้ไปผจญภัย หรือได้เป็นคนสำคัญ เพื่อลบความรู้สึก “โล่ง กลวง โบ๋” ที่โตคับอกคับใจให้แคบลงบ้าง
เพื่อลบความอ้างว้างเหล่านี้ คนโสดต้องเสียอะไรไปมากมาย แต่สังคมอาจไม่ได้อะไรกลับมา

ใช่แล้ว ผมกำลังจะบอกว่า คนไม่ได้อยากโสดเองทั้งหมด  แต่เพราะเงื่อนไขหลายๆอย่างในสังคมทำให้คนเลือกที่จะ “โสดดีกว่า”   เพราะว่าไม่มีอะไรมาทำให้มั่นใจว่า เสี่ยงมีครอบครัวไปแล้วจะมั่นคง

 

แล้วใครล่ะที่มีความมั่นคง?

คนที่มีเวลาสะสมความมั่งคั่งมานาน จะเป็นกลุ่มไหนถ้าไม่ใช่ ผู้อาวุโสที่กุมอำนาจทางเศรษฐกิจและการเมือง แต่กลับเมินเฉยปัญหาเหล่านี้ แถมใช้วิธีดึงคนรุ่นใหม่ให้อยู่ใต้อาณัติโดยไม่ปล่อยให้ไปจัดการชีวิตตนเอง ไม่ให้ทุน ไม่ให้โอกาส ไม่ให้อำนาจจัดการ หรือกำหนดนโยบายสังคม ใดๆทั้งสิ้น

ภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก ระหว่างคนแก่ที่กุมอำนาจเศรษฐกิจการเมือง กับ คนรุ่นใหม่ที่เป็นความหวังในการนำพาอนาคตประเทศชาติแต่ขาดทุนตั้งต้น  

สงครามระหว่างเจนเนอร์เรชั่น จึงอาจบังเกิดขึ้น!!!   แทนที่ ความรักความห่วงใยระหว่างกัน


นโยบายสลายโสดและเพิ่มจำนวนประชากร

ภาษีครอบครัว กฎหมายครอบครัว ที่ไม่ส่งเสริมให้คนสร้างครอบครัวใหม่ หรือสร้างมาตรการรองรับเหตุอันไม่คาดฝันในอนาคต ย่อมกดโอกาสให้คนตัดสินใจมีคู่ลดลง ยิ่งมีลูกล่ะไม่ต้องพูดถึง

คนในวิชาชีพขั้นสูง งานใช้ฝีมือ และมีการศึกษา เมื่อตระหนักแล้วว่า เสี่ยง จึงตัดสินใจไม่มีลูก ไม่มีครอบครัว

ส่วนพวกพร้อมแต่ยังไม่เจอเนื้อคู่  ทั้งที่เราเป็นคนสังคมกว้างไกลมีเครือข่ายเยอะแยะจะเห็นว่า  ไอ้คนโสดคนนี้มันอยากได้คุณสมบัติแบบคนนั้น   แต่จะทำอย่างไรให้เขา/เธอได้รู้จักกัน   มันเป็นปัญหาขาดการเชื่อมข้อมูลและเครือข่ายของคนโสด  ขาดกิจกรรมสร้างสรรค์ให้คนพบกันแบบไม่เกร็ง ขาดพื้นที่ให้คนมีชีวิตว่างร่วมกันทำกิจกรรม หรือขาดตัวกลางที่จัดการข้อมูลให้คนที่เหงา หรืออยากมีคู่ได้เจอกัน เพื่อทำให้ฝันของคนที่มีความคาดหวังแบบที่ตรงกัน แต่หากันไม่เจอ ได้หากันจนเจอ

 

หาก “เวลา” คือ สิ่งสำคัญในชีวิต มนุษย์จะเลือกเติมอะไรลงไปในเวลาที่ตนมีอย่างจำกัด

เรามาร่วมผลักดันให้รัฐสร้างมาตรการและสวัสดิการให้แก่คนทำงานรุ่นใหม่ ให้มี “เวลาว่าง” มากพอ ที่จะสร้างครอบครัวเพื่อส่งต่อ “คบเพลิงแห่งความหวัง”   เป็นพลังรุ่นใหม่ให้ธำรงไว้ซึ่ง มวลมนุษยชาติ กันดีไหม

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
มาตรการสำหรับการแก้ปัญหาความอดอยากหิวโหยที่เกิดจากภัยพิบัติธรรมชาตินั้นสามารถดำเนินการได้ใน 3 ช่วงเวลา ก็คือ การเตรียมตัวก่อนภัยพิบัติจะเกิด การบรรเทาและแก้ไขปัญหาในขณะเกิดภัยพิบัติ การเยียวยาและฟื้นฟูหลังภัยพิบัติผ่านไปแล้ว   ในบทความนี้จะนำเสนอมาตรการและกรณีศึกษาที่ใช้ในการขจัดความหิว
ทศพล ทรรศนพรรณ
มาตรการทั่วไปที่ใช้ในการประกันความอิ่มท้องของประชากรในประเทศตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติที่รัฐบาลไทยประกาศสมาทานยึดถือนั้น ตั้งอยู่บนหลักกฎหมายสิทธิมนุษยชนเรื่องสิทธิด้านอาหาร นั้นหมายถึงรัฐไทยต้องมีมาตรการเคารพ ปกป้อง และส่งเสริมสิทธิประกอบด้วย กรอบทางกฎหมาย   กรอบทางนโย
ทศพล ทรรศนพรรณ
อุดมการณ์ที่เป็นสาเหตุของปัญหาแรงงานที่เกิดขึ้นทั่วโลกอยู่นั้น มีจุดก่อตัวมาจากระบบเศรษฐกิจการเมืองแบบเสรีนิยมใหม่ที่เข้ามาพร้อม ๆ กับกระแสแห่งการพัฒนาของโลกยุคโลกาภิวัฒน์ ที่ทำให้เกิดเสรีทางการลงทุนจนนำมาซึ่งรูปแบบการจ้างงานรูปที่มีความยืดหยุ่นต่อการบริหารจัดการของบรรษัท และสามารถตอบโจทย์นักลงทุ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินจำเป็นต้องวางแผนในการดำเนินการด้วยความเข้าใจพื้นฐานที่ว่า ความขัดแย้งเป็นสิ่งธรรมดาสามัญที่เกิดขึ้นได้ หากต้องการผลักดันข้อบัญญัติท้องถิ่นให้สำเร็จจึงต้องสามารถทำความเข้าใจลักษณะของข้อพิพาทที่มักเกิดขึ้นในการจัดการที่ดิน   และมีแนวทางในการข
ทศพล ทรรศนพรรณ
 ลู่ทางส่งเสริมการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ปัญหามลพิษ มีดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัญหาสิ่งแวดล้อมมักสร้างผลกระทบในระยะยาว ไม่ได้เกิดการบาดเจ็บ เสียหาย ทันทีทันใด   ดังนั้นเราจึงต้องมีวิธีการพิสูจน์ว่าความเจ็บป่วย เสียหายที่เกิดขึ้นนั้นมีผลมาจากปัญหาสิ่งแวดล้อมจริง   สิ่งที่เราต้องทำคือการเก็บหลักฐานอย่างต่อเนื่องและชัดเจนเพื่อนำไปใช้เป็นพยานหลักฐาน &n
ทศพล ทรรศนพรรณ
การจัดชุมนุมสาธารณะย่อมเป็นที่สนใจของสังคมตามความประสงค์ของผู้จัด จึงมีสื่อมวลชนที่เข้าร่วมทำข่าวทั้งที่เป็นสื่อมวลชนอาชีพที่มีสังกัดประจำหรือสื่อพลเมืองที่ทำหน้าที่ติดตามสถานการณ์และรายงานข่าวตามภูมิทัศน์เทคโนโลยีสื่อสารที่ปรับตัวไป 
ทศพล ทรรศนพรรณ
การชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธมีข้อจำกัดที่อาจถูกรัฐเข้าระงับหรือแทรกแซงการใช้สิทธิได้ตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ข้อ 4 ในสภาวะฉุกเฉินสาธารณะที่คุกคามความอยู่รอดของชาติที่ถูกประกาศอย่างเป็นทางการ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักไทย พุทธศักราช 2560 กำหนดถึงเหตุที
ทศพล ทรรศนพรรณ
การชุมนุมโดยสงบเป็นเครื่องมือที่ทำให้บุคคลทั้งหลายสามารถแสดงออกร่วมกันและมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลง ให้ปัจเจกสามารถแสดงความเป็นตัวตนของตัวเองร่วมกับผู้อื่น   โดยการเลือกสถานที่การชุมนุมอยู่ภายใต้หลักมองเห็นและได้ยิน (sight and sound) ทั้งนี้ผู้ชุมนุมต้องอยู่ในที่ที่มองเห็นและสาธารณชนต้อ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ขบวนการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้น ในบริบทโครงสร้างทางอำนาจในสังคมที่ไม่เท่าเทียมกัน การรวมศูนย์อำนาจหรือการครอบงำทางวัฒนธรรมโดยใช้วัฒนธรรมเดียว สิทธิชุมชนจึงเป็นการต่อสู้เพื่อปรับสัมพันธภาพทางอำนาจ สร้างตำแหน่งแห่งที่ให้ชุมชนให้เกิดความเป็นธรรมและเคารพในความหลากหลาย โดยท้องถิ่นมีเสรีภาพในการกำหนดกติกา
ทศพล ทรรศนพรรณ
ข้อกล่าวอ้างสำคัญของรัฐบาลไทยในการเพิ่มศักยภาพในด้านข่าวกรองและออกกฎหมายที่ให้อำนาจสอดส่องการสื่อสารของประชาชน คือ “ถ้าประชาชนไม่ได้ทำผิดจะกลัวอะไร” โดยมิได้คำนึงหลักการพื้นฐานเบื้องต้นว่า แม้ประชาชนมิได้ทำผิดกฎหมายอันใดก็มีสิทธิความเป็นส่วนตัว ปลอดจากการแทรกแซงการสื่อสาร อันเป็นสิทธิพื้นฐานตามกฎ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การพัฒนารัฐที่ใช้กฎหมายเป็นหลักประกันสิทธิมนุษยชนของประชาชน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพลเมืองในประเด็นสาธารณะของผู้ตื่นตัวทางการเมืองในลักษณะ “นิติรัฐอย่างเป็นทางการ” แตกต่างจากความสัมพันธ์ทางอำนาจแบบ “ไม่เป็นทางการ” ที่รัฐอาจหลีกเลี่ยงการใช้อำนาจปกครองภายใต้กรอบของกฎหมายเพื่อประกันสิทธิเสรีภาพต