Skip to main content

มาตรการรัดเข็มขัด (Austerity) หรือ นโยบายที่มีแนวโน้มปรับลดค่าใช้จ่ายภาครัฐหรือเพิ่มการจัดเก็บภาษีควบคู่ไปด้วย  แนวทางนี้เป็นสิ่งที่ถูกโจมตีโดยนักคิดนักวิเคราะห์สายส่งเสริมสวัสดิการสังคมและพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนมาอย่างต่อเนื่องเพราะการตัดลดงบประมาณหมายถึงการลดคุณภาพและปริมาณสวัสดิการสังคมที่แต่เดิมเคยมีให้กับประชาชน 

ในทางตรงกันข้ามกลับเป็นนโยบายที่องค์กรเศรษฐกิจข้ามชาติอย่าง IMF แนะนำให้ประเทศจำนวนมากปรับใช้ หรือบังคับเป็นเงื่อนไขแลกเปลี่ยนกับการขอกู้ยืมเงินเพื่อพยุงกองทุนสำรองระหว่างประเทศของตน พูดง่ายๆ คือ เงื่อนไขในการรับความช่วยเหลือเมื่อเศรษฐกิจประเทศกำลังล้มละลาย

หากเทียบให้เห็นคู่ตรงข้ามแบบที่คนไทยนึกภาพง่ายๆ ก็คือ เป็นนโยบายตรงกันข้ามกับ Populism หรือประชานิยมนั่นเอง แม้จะไม่ชัดเจนว่า นโยบายประชานิยมคืออะไร มีขอบเขตว่าแค่ไหนเป็นหรือไม่เป็นประชานิยม   แต่ที่รับรู้ร่วมกัน คือ นโยบายที่รัฐลงทุนไปกับการสร้างสวัสดิการ โครงการ ไปยังกลุ่มคนจำนวนหนึ่งเพื่อหวังคะแนนเสียง โดยเน้นการเอางบประมาณรัฐมาใช้จ่าย โดยบางกรณีถึงขั้นสุรุ่ยสุร่ายเรื่อยเปื่อยไร้จุดหมายว่า ทำไปแล้วจะได้อะไร
นั่นคือ เป็นการลงทุนที่ไม่อาจคาดหวังผลตอบแทนได้ชัด

ประเด็นที่ต้องขบให้แตก คือ จะลงทุนหรือใช้จ่ายภาครัฐอย่างไรให้เกิดผลตอบแทนกลับมา?

ไม่ว่าจะทำให้เกิดผลตอบแทนเป็นเงินรายได้ต่อรัฐทางตรง เช่น ลงทุนสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานจนมีการลงทุนหรือเกิดการบริโภคมากขึ้นจนจัดเก็บภาษีได้มากขึ้น   หรือการลงทุนไปกับสวัสดิการในคุณภาพชีวิตมนุษย์ทำให้พลเมืองอยู่อย่างสงบไม่ลักวิ่งชิงปล้น ก่อหวอด หรือมีสุขภาพดีจนไม่ต้องเข้าสถานพยาบาลบ่อยสิ้นเปลืองงบประมาณสาธารณสุข เป็นต้น

หากลองยกตัวอย่างประเทศที่มีลักษณะความเป็นอยู่ นิสัยใจคอ และเป็นต้นทางให้เกิดข้อถกเถียงเกี่ยวกับเรื่อง นโยบายรัดเข็มขัดและประชานิยม เห็นจะไม่พ้น ลาตินอเมริกา และเมื่อจะย้อนเกล็ดไปให้ถึงต้นตอ ก็ต้องพูดถึง อดีตเจ้าอาณานิคมสเปน นั่นเอง

ปีนี้สเปนจะมีการเลือกตั้งในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของอนาคตประเทศ นั่นคือ ดุลการเมืองกำลังจะเปลี่ยน โดยที่เศรษฐกิจของสเปนอยู่ในภาวะวิกฤตมาครึ่งศตวรรษแล้ว เมื่อปี 2011-12 เกิดการชุมนุมใหญ่ทั่วสเปนโดยกลุ่มคนรุ่นใหม่นักศึกษาที่ว่างงานสืบเนื่องมาจากนโยบายรัดเข็มขัด

จนนำไปสู่กระแสถกเถียงในสังคมว่า วิกฤตเศรษฐกิจของประเทศเกิดจากอะไรกันแน่ เกิดจากการใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือยไร้วินัย หรือความด้อยประโยชน์ของพรรคการเมืองของชนชั้นนำที่ไม่สร้างนโยบายมาแก้ปัญหาเอาแต่รักษาผลประโยชน์ของชนชั้นตนเอง  ซึ่งไปสอดคล้องกับกระแสต่อต้านการผูกขาดอำนาจของผู้มั่งคั่งเพียง 1% ในอเมริกา จนสร้างกระแส Occupy โดยเหล่านักสู้นิรนาม Annonymous ไปทั่วโลก

อย่างไรก็ดีการเลือกตั้งของชาติยุโรปในระยะหลังเริ่มเห็นความเสื่อมถอยของพรรคฝ่ายซ้ายที่เน้นนโยบายลงทุนกับคุณภาพชีวิตหรือส่งเสริมสวัสดิการต่างๆของประชาชน อย่างล่าสุดพรรคแรงงานอังกฤษก็พ่ายแพ้ไปเช่นกัน มีเพียงกรีซที่รับทราบกันดีว่าสถานการณ์ล่วงเลยจุดปกติไปแล้ว ประชาชนเริ่มทนไม่ไหวกับภาวะรัดเข็มขัดจนเกิดคนว่างงาน ไร้บ้าน เร่ร่อนจำนวนมาก จนเกิดกระแสหวนกลับทำให้พรรคซ้ายจัดกลับมามีชัยชนะและกำลังงัดข้อกับประเทศร่ำรวยของยุโรปอยู่ในขณะนี้ ว่าจะรับเงินพยุงเศรษฐกิจแลกกับเงื่อนไขรัดเข็มขัดและวินัยการเงินอีกหรือไม่

สเปนก็ไม่ต่างจากประเทศอื่นในยุโรปนัก คือ พรรคฝ่ายซ้ายอ่อนแรงและประชาชนเสื่อมศรัทธาในพรรคลงไปมาก  จนในขณะนี้เกิดพรรคใหม่ที่ชื่อว่า “เราทำได้” (Podemos) ของคนรุ่นใหม่และคนที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายรัดเข็มขัดขึ้นมา ด้วยเหตุที่พรรคการเมือง ทั้งขั้ว ซ้าย-ขวา ของสเปนวิกฤต กล่าวคือ แนวโน้มนโยบายพรรคทั้งสองขั้วแทบไม่ต่างกัน และนับวันพรรคกับประชาชนยิ่งห่างกัน มวลชนรู้สึกไม่ได้รับการตอบสนองจากพรรค คนสเปนทั่วไปรู้สึกว่า นักการเมืองทั้งสองขั้วมีลักษณะเป็นเจ้าขุนมูลนาย มีการสืบทอดทายาท ฯลฯ

ความล้มเหลวของ พรรคซ้ายและขวา ของสเปน ทำให้คนเบื่อหน่าย จึงถวิลหา "พรรคทางเลือกที่สาม"

อนึ่งต้องเข้าใจว่า คนยุโรปใต้นี่จะสนใจประเด็น ความเหลื่อมล้ำ นายทุน คนรวย ศักดินา ทุนผูกขาด ต่อต้านเผด็จการฟาสซิสต์มาก   พรรคที่เน้นตอบสนองมวลชนอย่าง Podemos เลยมาถูกที่ถูกเวลา

ย้อนกลับไปตอบคำถามข้างต้น คือ แล้วการใช้งบประมาณภาครัฐอย่างไรล่ะจึงจะเป็นที่พอใจของประชาชน และไม่ทำให้ประเทศล่มสลายไปด้วย

ประชาชนต้องการให้พรรคลดการใช้จ่ายที่ไม่มีประสิทธิภาพ เช่น การใช้เงินในการคงระบบราชการขนาดใหญ่ที่ประชาชนรู้สึกไร้ประสิทธิภาพ ล่าช้า แม้จะจ้างคนเยอะก็ตาม   การใช้จ่ายด้านการทหาร ฯลฯ

รวมไปถึงการสมยอมกันระหว่างนักการเมืองและแกนนำสหภาพแรงงานเรื่องขยายอายุเกษียณ อันเป็นเหตุให้คนรุ่นใหม่ยิ่งหางานทำยากขึ้นไปอีก

ในระดับท้องถิ่น ก็วิจารณ์ การนำเงินมาจัดงานเทศกาลต่างๆ ที่ทำให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยหรือดึงดูดนักท่องเที่ยวก็จริง แต่ก็ดูเหมือนไม่ได้ประโยชน์กับคนนอกภาคธุรกิจท่องเที่ยว  

สิ่งที่ประชาชนต้องการ คือ การลงทุนเพื่อสร้างงานใหม่ การคงหลักประกันสุขภาพ หรือสวัสดิการเมื่อว่างงานหรือพ้นวัยทำงาน นั่นก็คือ การลงทุนไปที่การขยายโอกาสทางการผลิต การบริการ มากกว่าอุดหนุนภาคราชการ

การใช้จ่ายภาครัฐไม่ผิด อยู่ที่ว่าจะลงทุนไปกับอะไร ให้ใคร แล้วจะได้ผลลัพธ์อย่างไรต่างหาก

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
อย่างที่เราเคยได้ยินกันว่า “คนที่ตายแล้วก็สบายไป ที่เหลือไว้คือลูกหลานที่แย่งชิงมรดก” หากไม่มีการวางแผนและจัดการปัญหาไว้ล่วงหน้า ก็อาจมีปัญหาในครอบครัวตามมาหากว่าความรักไม่อาจเอาชนะความโลภได้ แต่ในบางครั้งก็มิใช่เพียงกิเลสเท่านั้นที่ทำให้เกิดเรื่องเนื่องจากยังมีความยุ่งยากภายในครอบครัวตามมาอีกมาก
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัญหาบางเรื่องมิได้เกิดจากการเดินเข้าไปพบปัญหา แต่บางครั้งปัญหาก็บุกมาถึงตัวเราด้วยปฏิบัติการเป็นหมู่คณะของบริษัทห้างร้านที่ทำธุรกิจร่วมกันไขว้โปรโมชั่นไปมา แล้วเอาข้อมูลของเรามาหาประโยชน์ทางการค้า ด้วยการติดต่อมาหาแล้วพูดจาหว่านล้อมสารพัดจนเราพลัดตกลงไปในหลุมพรางหรือบ่วงล่อบางอย่างจนทำให้เกิดการ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เดี๋ยวทรัพย์สินไม่ใช่ของที่จับต้องได้อย่างข้าวของ เงินทองอย่างเดียวแล้ว มีทรัพย์สินทางปัญญาที่เขารณรงค์กันตลอดเวลาว่าอย่าละเมิด บางทีก็งงใช่ไหมครับ ว่าทำไมเราซื้อหนังสือหรือซีดีมาแต่ทว่า เขาบอกห้ามเผยแพร่ ทำซ้ำ เราก็กลัวว่าถ้าปั้มไปให้เพื่อนเยอะจะผิดไหม แต่ใครๆก็ทำกัน ไหนจะข่าวคนเก็บขยะเอาแผ่นซีด
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่ผมจะคอยเตือนให้ทุกคนจดจำไว้เสมอคือ “ไม่ควรไว้ใจเรื่องทรัพย์สินเงินทองกับคนรู้จัก” หากจะรักษาความสัมพันธ์ที่ดีอาจต้องกันเรื่องเงินๆทองๆไม่ให้มีภาระผูกพันกันไว้เป็นดี   หากจะเห็นใจกันก็ต้องทำใจไว้ล่วงหน้าว่า ถ้าช่วยอะไรกันไปแล้วอาจไม่ได้คืนมา  แต่ทว่ามีเรื่องหนึ่งในทางกฎหมาย
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัญหาที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับสังคมที่ใช้เงินทองเป็นตัวกลางแลกเปลี่ยนสินค้า ก็คือ การกู้ยืมเงิน มีตั้งแต่การกู้ยืมกันธรรมดาระหว่างญาติพี่น้องคนรู้จักและเพื่อนฝูง ไปจนถึงการกู้ยืมกับคนร่ำรวยในพื้นที่ ถึงขนาดมีผู้มีอิทธิพลปล่อยกู้นอกระบบจนกลายเป็นเรื่องราวใหญ่โตเมื่อเกิดการทวงหนี้แล้วมีปัญหาใช้ความรุนแ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องถัดมาก็เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมากกับคนที่ต้องย้ายตัวเข้ามาทำงานหรือมาเรียนต่างที่ ยิ่งเดี๋ยวนี้การเข้ามาอยู่ในเมืองเป็นเรื่องที่คนเจเนอร์เรชั่นวอล์ค (Generation Walk) อย่างเราๆท่านๆที่ไม่มีบ้านเป็นของตัวเอง ไม่ซื้อรถยนต์ขับ และยังไม่แต่งงานต้องคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี   เพราะบางคนย้ายที
ทศพล ทรรศนพรรณ
หากใครทำธุรกิจการค้าก็คงหวั่นเกรงจะเกิดปัญหาที่จะพูดถึงต่อไปนี้กับกิจการตนเองใช่ไหมล่ะครับ ใช่แล้วครับ เช็คเด้ง!
ทศพล ทรรศนพรรณ
เมื่อถึงเทศกาลสำคัญที่ทุกคนได้ปลดปล่อยกันสุดเหวี่ยงอย่างสงกรานต์   คนจำนวนมากก็เลยถือโอกาสเมาหัวทิ่มมันทุกวันเช้ายันเช้ามืดอีกวันหนึ่ง ตื่นมาก็กินต่อ   ไม่แค่นั้นความสุขทุกรูปแบบที่นึกได้ก็จะหามาปรนเปรอตัวเองให้สนุกสุดเหวี่ยง   ถ้าออกไปนอกบ้านก็จะเจอสงครามสาดน้ำและลู
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้เกิดขึ้นบ่อยครั้งกับคนไทยยุคหลังครับ เพราะห้างสรรพสินค้ากลายเป็นสถานที่สำคัญของการรวมผู้คนในยุคสมัยที่ชุมชนของเราเปลี่ยนไป จากที่แต่ก่อนอยากได้อะไรก็ซื้อของในร้านใกล้บ้าน อยากซื้อของกินของใช้ก็ไปร้านของชำ อยากได้เสื้อผ้ารองเท้าก็ไปสั่งตัดเอาจากร้านที่เชื่อมือกัน ร้านอาหารดังๆ ยี่ห้อใหญ่ๆ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เอาล่ะครับ พ่อแม่พี่น้อง เรื่องถัดไปนี่คงเป็นความสนใจของเพื่อนพ้องหลายๆพื้นที่นะครับ มีเรื่องจำนวนมากเกี่ยวกับ  เจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในบางพื้นที่เพิกเฉย ละเลย ดูแลปัญหาความเดือดร้อนของคนในพื้นที่ แถมยังมีเรื่องราวกินสินบาทคาดสินบนทำให้ชาวบ้านจนปัญญา
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องต่อไปนี้สะท้อนความเป็นไปในระบบการศึกษาไทยได้เป็นอย่างดีเลยครับ เพราะอย่างที่เรารู้กันว่าอนาคตของเราฝากไว้ที่การสอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่น้อยเลยทีเดียว   หากอยากเข้ามหาวิทยาลัยดีๆ คณะดังๆ เพื่อหวังว่าจบมาจะหางานทำง่ายๆ คงรู้กันว่าต้องเตรียมตัวสอบเข้าให้ได้ เลยเกิดโรงเรียนกวดวิชาขึ้นมาม
ทศพล ทรรศนพรรณ
ผมคิดว่าทุกคนคงเคยเจอปัญหาแบบนี้เข้ากับตัวเองบ่อยๆ เลยครับ ก็เรื่องข้าวของราคาแพง จะไปกิน ไปเที่ยวให้หายเปรี้ยวปากก็ลำบากขึ้น เพราะไม่รู้ว่าต้องรู้สึกผิดหลังจากรู้ราคาและควักเงินจ่ายออกไปรึเปล่า เพราะบางทีก็เจอร้านหรือบริการที่ไม่บอกราคาชัดเจน มีงุบงิบปิดบังราคาหลบซ่อน โฆษณาจนเราเข้าใจผิดว่าราคาถ