Skip to main content

มาตรการรัดเข็มขัด (Austerity) หรือ นโยบายที่มีแนวโน้มปรับลดค่าใช้จ่ายภาครัฐหรือเพิ่มการจัดเก็บภาษีควบคู่ไปด้วย  แนวทางนี้เป็นสิ่งที่ถูกโจมตีโดยนักคิดนักวิเคราะห์สายส่งเสริมสวัสดิการสังคมและพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนมาอย่างต่อเนื่องเพราะการตัดลดงบประมาณหมายถึงการลดคุณภาพและปริมาณสวัสดิการสังคมที่แต่เดิมเคยมีให้กับประชาชน 

ในทางตรงกันข้ามกลับเป็นนโยบายที่องค์กรเศรษฐกิจข้ามชาติอย่าง IMF แนะนำให้ประเทศจำนวนมากปรับใช้ หรือบังคับเป็นเงื่อนไขแลกเปลี่ยนกับการขอกู้ยืมเงินเพื่อพยุงกองทุนสำรองระหว่างประเทศของตน พูดง่ายๆ คือ เงื่อนไขในการรับความช่วยเหลือเมื่อเศรษฐกิจประเทศกำลังล้มละลาย

หากเทียบให้เห็นคู่ตรงข้ามแบบที่คนไทยนึกภาพง่ายๆ ก็คือ เป็นนโยบายตรงกันข้ามกับ Populism หรือประชานิยมนั่นเอง แม้จะไม่ชัดเจนว่า นโยบายประชานิยมคืออะไร มีขอบเขตว่าแค่ไหนเป็นหรือไม่เป็นประชานิยม   แต่ที่รับรู้ร่วมกัน คือ นโยบายที่รัฐลงทุนไปกับการสร้างสวัสดิการ โครงการ ไปยังกลุ่มคนจำนวนหนึ่งเพื่อหวังคะแนนเสียง โดยเน้นการเอางบประมาณรัฐมาใช้จ่าย โดยบางกรณีถึงขั้นสุรุ่ยสุร่ายเรื่อยเปื่อยไร้จุดหมายว่า ทำไปแล้วจะได้อะไร
นั่นคือ เป็นการลงทุนที่ไม่อาจคาดหวังผลตอบแทนได้ชัด

ประเด็นที่ต้องขบให้แตก คือ จะลงทุนหรือใช้จ่ายภาครัฐอย่างไรให้เกิดผลตอบแทนกลับมา?

ไม่ว่าจะทำให้เกิดผลตอบแทนเป็นเงินรายได้ต่อรัฐทางตรง เช่น ลงทุนสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานจนมีการลงทุนหรือเกิดการบริโภคมากขึ้นจนจัดเก็บภาษีได้มากขึ้น   หรือการลงทุนไปกับสวัสดิการในคุณภาพชีวิตมนุษย์ทำให้พลเมืองอยู่อย่างสงบไม่ลักวิ่งชิงปล้น ก่อหวอด หรือมีสุขภาพดีจนไม่ต้องเข้าสถานพยาบาลบ่อยสิ้นเปลืองงบประมาณสาธารณสุข เป็นต้น

หากลองยกตัวอย่างประเทศที่มีลักษณะความเป็นอยู่ นิสัยใจคอ และเป็นต้นทางให้เกิดข้อถกเถียงเกี่ยวกับเรื่อง นโยบายรัดเข็มขัดและประชานิยม เห็นจะไม่พ้น ลาตินอเมริกา และเมื่อจะย้อนเกล็ดไปให้ถึงต้นตอ ก็ต้องพูดถึง อดีตเจ้าอาณานิคมสเปน นั่นเอง

ปีนี้สเปนจะมีการเลือกตั้งในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของอนาคตประเทศ นั่นคือ ดุลการเมืองกำลังจะเปลี่ยน โดยที่เศรษฐกิจของสเปนอยู่ในภาวะวิกฤตมาครึ่งศตวรรษแล้ว เมื่อปี 2011-12 เกิดการชุมนุมใหญ่ทั่วสเปนโดยกลุ่มคนรุ่นใหม่นักศึกษาที่ว่างงานสืบเนื่องมาจากนโยบายรัดเข็มขัด

จนนำไปสู่กระแสถกเถียงในสังคมว่า วิกฤตเศรษฐกิจของประเทศเกิดจากอะไรกันแน่ เกิดจากการใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือยไร้วินัย หรือความด้อยประโยชน์ของพรรคการเมืองของชนชั้นนำที่ไม่สร้างนโยบายมาแก้ปัญหาเอาแต่รักษาผลประโยชน์ของชนชั้นตนเอง  ซึ่งไปสอดคล้องกับกระแสต่อต้านการผูกขาดอำนาจของผู้มั่งคั่งเพียง 1% ในอเมริกา จนสร้างกระแส Occupy โดยเหล่านักสู้นิรนาม Annonymous ไปทั่วโลก

อย่างไรก็ดีการเลือกตั้งของชาติยุโรปในระยะหลังเริ่มเห็นความเสื่อมถอยของพรรคฝ่ายซ้ายที่เน้นนโยบายลงทุนกับคุณภาพชีวิตหรือส่งเสริมสวัสดิการต่างๆของประชาชน อย่างล่าสุดพรรคแรงงานอังกฤษก็พ่ายแพ้ไปเช่นกัน มีเพียงกรีซที่รับทราบกันดีว่าสถานการณ์ล่วงเลยจุดปกติไปแล้ว ประชาชนเริ่มทนไม่ไหวกับภาวะรัดเข็มขัดจนเกิดคนว่างงาน ไร้บ้าน เร่ร่อนจำนวนมาก จนเกิดกระแสหวนกลับทำให้พรรคซ้ายจัดกลับมามีชัยชนะและกำลังงัดข้อกับประเทศร่ำรวยของยุโรปอยู่ในขณะนี้ ว่าจะรับเงินพยุงเศรษฐกิจแลกกับเงื่อนไขรัดเข็มขัดและวินัยการเงินอีกหรือไม่

สเปนก็ไม่ต่างจากประเทศอื่นในยุโรปนัก คือ พรรคฝ่ายซ้ายอ่อนแรงและประชาชนเสื่อมศรัทธาในพรรคลงไปมาก  จนในขณะนี้เกิดพรรคใหม่ที่ชื่อว่า “เราทำได้” (Podemos) ของคนรุ่นใหม่และคนที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายรัดเข็มขัดขึ้นมา ด้วยเหตุที่พรรคการเมือง ทั้งขั้ว ซ้าย-ขวา ของสเปนวิกฤต กล่าวคือ แนวโน้มนโยบายพรรคทั้งสองขั้วแทบไม่ต่างกัน และนับวันพรรคกับประชาชนยิ่งห่างกัน มวลชนรู้สึกไม่ได้รับการตอบสนองจากพรรค คนสเปนทั่วไปรู้สึกว่า นักการเมืองทั้งสองขั้วมีลักษณะเป็นเจ้าขุนมูลนาย มีการสืบทอดทายาท ฯลฯ

ความล้มเหลวของ พรรคซ้ายและขวา ของสเปน ทำให้คนเบื่อหน่าย จึงถวิลหา "พรรคทางเลือกที่สาม"

อนึ่งต้องเข้าใจว่า คนยุโรปใต้นี่จะสนใจประเด็น ความเหลื่อมล้ำ นายทุน คนรวย ศักดินา ทุนผูกขาด ต่อต้านเผด็จการฟาสซิสต์มาก   พรรคที่เน้นตอบสนองมวลชนอย่าง Podemos เลยมาถูกที่ถูกเวลา

ย้อนกลับไปตอบคำถามข้างต้น คือ แล้วการใช้งบประมาณภาครัฐอย่างไรล่ะจึงจะเป็นที่พอใจของประชาชน และไม่ทำให้ประเทศล่มสลายไปด้วย

ประชาชนต้องการให้พรรคลดการใช้จ่ายที่ไม่มีประสิทธิภาพ เช่น การใช้เงินในการคงระบบราชการขนาดใหญ่ที่ประชาชนรู้สึกไร้ประสิทธิภาพ ล่าช้า แม้จะจ้างคนเยอะก็ตาม   การใช้จ่ายด้านการทหาร ฯลฯ

รวมไปถึงการสมยอมกันระหว่างนักการเมืองและแกนนำสหภาพแรงงานเรื่องขยายอายุเกษียณ อันเป็นเหตุให้คนรุ่นใหม่ยิ่งหางานทำยากขึ้นไปอีก

ในระดับท้องถิ่น ก็วิจารณ์ การนำเงินมาจัดงานเทศกาลต่างๆ ที่ทำให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยหรือดึงดูดนักท่องเที่ยวก็จริง แต่ก็ดูเหมือนไม่ได้ประโยชน์กับคนนอกภาคธุรกิจท่องเที่ยว  

สิ่งที่ประชาชนต้องการ คือ การลงทุนเพื่อสร้างงานใหม่ การคงหลักประกันสุขภาพ หรือสวัสดิการเมื่อว่างงานหรือพ้นวัยทำงาน นั่นก็คือ การลงทุนไปที่การขยายโอกาสทางการผลิต การบริการ มากกว่าอุดหนุนภาคราชการ

การใช้จ่ายภาครัฐไม่ผิด อยู่ที่ว่าจะลงทุนไปกับอะไร ให้ใคร แล้วจะได้ผลลัพธ์อย่างไรต่างหาก

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้มีน้องคนหนึ่งนำเรื่องแปลกมากเล่าให้ฟัง เหตุการณ์ก็มีดังนี้ครับ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องสุดท้ายของบริการด้านสื่อสารแล้วนะครับ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทุกบ้านแน่ๆ เพราะเดี๋ยวนี้เรามีอินเตอร์เน็ตใช้ที่บ้านกันแล้วแทบทุกหลังเพราะมันทำให้เราสามารถทำงานหรือพักผ่อนที่บ้านได้โดยไม่ต้องเดินทางออกไปนั่งทำงานที่อื่นหรือเสียเงินออกไปซื้อความบันเทิงนอกบ้าน   หนูก็ชอบดูซีรี่ส์แล
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องต่อมาผมคิดว่าหลายท่านคงเคยหงุดหงิดอารมณ์เสียกับรถที่ดันมาพังเอาตอนที่เรารีบเร่งจะต้องใช้งานใช่ไหมครับ ที่แย่ไปกว่านั้น คือ เราขับได้แต่ซ่อมไม่เป็นต้องเข็นไปเข้าอู่ซึ่งก็ไม่รู้ว่าที่ไหนดีไม่ดี มีฝีมือน่าเชื่อถือจริงรึเปล่า เพราะเราก็ไม่มีความรู้ด้านเครื่องยนต์กลไกและช่วงล่างใดๆทั้งสิ้น ผู้ชา
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้หลายท่านอาจจะเคยเจอปัญหาเดียวกัน หรือเคยได้ยินตามข่าวคราวที่ออกมาหลายครั้งนะครับ เพราะว่าปัจจุบันศูนย์ออกกำลังกายหรือฟิตเนสเซ็นเตอร์เป็นที่นิยมมาก ก็เพราะเราอยากมีร่างกายแข็งแรง รูปร่างสวยงาม เปล่งปลั่งมาจากภายในแต่ไม่มีเวลาไปออกกำลังกายในที่โล่งแจ้งเพราะไม่ตรงกับเวลาว่าง ก็มักจะเข้าฟิตเ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องยุ่งๆ เกิดจากการไม่ได้รับความเป็นธรรมตามเงื่อนไขการสมัครเป็นสมาชิกของบริษัทจำกัดแห่งหนึ่ง ซึ่งได้เข้ามาชักชวนคนในพื้นที่ให้เข้าร่วมทำสัญญาประกันชีวิตแต่ไม่ได้ทำตามเงื่อนไขของสัญญาที่มาเล่าปากเปล่าและมีการปิดบังซ่อนเร้น เพิ่มเติมเงื่อนไขบางอย่าง เมื่อผู้เอาประกันตาย ญาติ ลูกหลานไปร้องขอรับปร
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังเป็นกรณีที่เกี่ยวกับความเสียหายที่เกิดจากการกระทำของผู้อื่นที่อาจมาเคาะประตูบ้านเราได้ทั้งที่เราก็อยู่เฉยๆในบ้านไม่ได้ออกไปทำอะไรเสี่ยงภัย  แต่กลับประสบภัยจากความประมาทเลินเล่ออย่างรายแรงของผู้อื่น  ลองไปฟังเคราะห์หามยามซวยของน้องคนหนึ่งที่หวังจะใช้กฎหมายเป็น
ทศพล ทรรศนพรรณ
ป้าคนหนึ่งเข้ามาปรึกษาว่าไปโรงพยาบาลรัฐแถวบ้านซึ่งตนมีชื่อเป็นคนใช้สิทธิบัตรทองอยู่ที่นั่น แต่ด้วยความที่ป้าได้รับบัตรมานานมากแล้ว และเมื่อสองปีก่อนได้มีการก่อสร้างและซ่อมบ้านทำให้ต้องโยกย้ายข้าวของออกจากบ้านก่อนจะกลับเข้าไปอยู่อีกครั้งเมื่อซ่อมแซมเสร็จ ทำให้บัตรที่เก็บไว้สูญหายไปเมื่อไหร่ก็ไม่ทร
ทศพล ทรรศนพรรณ
สิ่งที่ขับเคลื่อนโลก คือ เทคโนโลยี การทหาร การค้า และการแพร่ความคิด ความเชื่อ ศาสนา
ทศพล ทรรศนพรรณ
กฎหมาย เขียนด้วยคน บังคับด้วยคน และก็เป็นการควบคุมพฤติกรรมของคน   จึงมีคนสงสัยว่า แล้วอย่างนี้จะมีกฎหมายสิ่งแวดล้อมไปทำไมในเมื่อไปบังคับ ดิน ฟ้า อากาศ หรือน้ำ ไม่ได้  
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตลอดหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา ผมได้ใช้เวลาวนเวียนอยู่กับการทำวิจัยเกี่ยวกับกฎหมายมาโดยตลอด ตั้งแต่ตอนเขียนวิทยานิพนธ์ปริญญาโท
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังจากคำทำนายในบทความ “รัฐเผด็จการ กับ การล้วงตับ” ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ (http://blogazine.in.th/blogs/streetlawyer/post/4833) จึงเป็นเวลาอันสมควรที่ประชาชนและสังคมไทยต้องร่วมกันต่อต้าน ชุดกฎหมายความมั่นคงโดยเฉพาะ พรบ.ความมั่นคงไซเบอร์ ที่มีเนื้อหาจำนวนมากขัดกับ หลักกฎหมายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ทศพล ทรรศนพรรณ
“ความซวยไม่เข้าใครออกใคร” รถหาย โดนเบี้ยวหนี้ ชนแล้วหนีไม่มีใครรับผิดชอบเด็กในท้อง ไปจนถึงเรื่องเงินๆ ทองๆ ที่ถ้าลองได้เกิดขึ้นในหมู่คนรู้จัก ก็มักจบลงด้วยการตัดญาติขาดมิตร ไม่เผาผีกัน คงเป็นสิ่งที่ได้ยินไม่เว้นแต่ละวันใช่ไหม