Skip to main content

การประกวดความงามในช่วงหลังได้กลายเป็นเวทีแสดงพลังของความงดงามที่หลากหลาย และใช้ประเด็นการสร้างความเข้มแข็งให้สตรีเป็นแกนหลักส่งเสริมความงาม “อย่างมีคุณค่า”

                การนำเสนอภาพลักษณ์ของนางงามแต่ละคนแต่ละชาติมิได้ยึดติดอยู่กับรูปร่างน่าตากริยาบุคลิกภาพเพียงอย่างเดียว แต่คำวิพากษ์วิจารณ์ของสังคมอย่างต่อเนื่องหลายสิบปีได้ขัดเกลาให้เวทีประกวดต้องสร้าง “แก่นสาร” ให้กับกิจกรรมนี้อย่างสอดคล้องกับบริบททางการเมืองทั้งในประเทศต้นทางของกองประกวด ไปจนถึงการเมืองระหว่างประเทศที่ประเทศมหาอำนาจต้องการส่ง “สาสน์” ไปยังผู้รับชมทั่วโลก

                การเปิดพื้นที่ให้สตรีส่งเสียงที่ก้าวข้ามขนบธรรมเนียมเดิมๆไปสู่การแสดงให้เห็นถึงศักยภาพนอกกรอบ “นางงาม” ที่สามารถแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันให้กับผู้คนถูกหยิบยกและตีแผ่แก่ผู้รับชมทั่วโลกเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนและสตรีทั่วโลกเห็น “ความเป็นไปได้” ที่จะพัฒนาตนเองไปมากกว่าแค่เป็น “นางงามเพื่อการกุศลสงเคราะห์”

                จุดตัดสำคัญน่าจะอยู่ที่การเปลี่ยนบทบาทของนางงาม จากเดิมเป็นเหมือนพรีเซนเตอร์เปลี่ยนสายตาที่จับจ้องความงามบนร่างกายตนให้หันไปสนใจปัญหาของสังคมแล้วตระหนักถึงปัญหาแบบที่เราคุ้นชินว่า “นางงามรักเด็ก รักษ์โลก” แบบเหมือนๆกันไปหมด ไปสู่การพูดด้วยตัวนางงามแต่ละคนว่า คนนี้สนใจประเด็นทางสังคมที่แตกต่างหลากหลายกันไปแล้วแต่ประสบการณ์ของแต่ละคนว่ามีความรู้สึกแรงกล้ากับเรื่องใด ก็จะหยิบเรื่องเหล่านั้นมานำเสนอสะท้อนให้เห็น “กึ๋น” ของแต่ละคน

                จากปีก่อนที่มีคำถามสำคัญทำให้คนทั้งประเทศตั้งข้อสงสัยว่า “Social Movement” (ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม” คืออะไร มาถึงคำถามที่เฉพาะเจาะจงลงไปถึงข้อถกเถียงเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนและค่านิยมประชาธิปไตยอย่างตรงไปตรงมา อาทิ เสรีภาพของสื่อมีความสำคัญ การรับรองให้ใช้กัญชาได้อย่างถูกกฎหมาย ขอบเขตของการเคลื่อนไหวให้สตรีลุกขึ้นมาเปิดเผยประสบการณ์ถูกคุกคาม นโยบายบริหารจัดการผู้ลี้ภัย และการตอบข้อวิจารณ์ของขบวนการสตรีนิยมที่บอกว่าการประกวดความงามขัดขวางการส่งเสริมสิทธิสตรี

                คำถามเหล่านี้ต้องการคำตอบที่เริ่มด้วยการเข้าใจความหมายที่เฉพาะเจาะจงของศัพท์เฉพาะและความรู้เท่าทันสถานการณ์ทางสังคมการเมืองที่พัฒนาขึ้นมาจากข้อถกเถียงในประเด็นเหล่านั้นไม่น้อย   การตอบคำถามเหล่านี้โดยอาศัยเพียง “สามัญสำนึก” ของผู้เข้าประกวดที่มิได้เตรียมตัวเชิงวิชาการ หรือไม่มีประสบการณ์ส่วนตัวที่เกี่ยวข้องกับการขบวนขับเคลื่อนทางสังคม ย่อมได้คำตอบที่ตื้นเขิน หรือในบางครั้งก็หลงประเด็นไป หรืออย่างดีที่สุดก็ทำได้เพียงน้ำตาเอ่อล้นพ่นเรื่องส่วนตัว แต่ไม่ตรงเป้าหมายของคำถาม

                หากเทียบกิจกรรมถามตอบในเวทีประกวดนางงามในยุคนี้เข้ากับขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมือง ก็จะเห็นว่าใกล้เคียงกับการ “เรียกร้องสิทธิ” ให้สังคมตระหนักรู้ถึงปัญหา แล้วเกิดความรู้สึกร่วมไปกับความทุกข์ทรมานของกลุ่มเสี่ยงเปราะบางเจ้าของปัญหา แล้วเกิดแรงบันดาลใจลุกขึ้นมาหาทางแก้ปัญหาร่วมกัน

                การพูดถึงปัญหาสิทธิมนุษยชนเหล่านี้มีมิติที่สำคัญอยู่ 2 ประการ คือ

  1. ควรให้ “เจ้าของปัญหา” นั้นพูดเรื่องของตัวเอง เสนอเองว่าต้องการอะไร อยากให้แก้ปัญหาอย่างไร โดยไม่ต้องรอให้ผู้มีอำนาจมาคิดแทน แล้วยัดเยียดวิธีการแก้ไขแบบ “สงเคราะห์” โดยไม่สนใจความต้องการและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเจ้าของปัญหา   แต่แนวทางแรกนี้มีปัญหาใหญ่ คือ สังคมมักไม่สนใจเสียงของคนเหล่านี้ เพราะมิได้มีเสน่ห์ดึงดูดให้มองหรือติดตามฟัง ต่างจากการพูดของคนดังอย่าง ดารา นักการเมือง หรือนางงาม
  2. การให้ “คนเสียงดัง” พูดเพื่อขยายเสียงของเจ้าของปัญหา ดึงดูดให้สังคมรับฟังปัญหาของคนที่ตกอยู่ในภาวะเสี่ยงภัย สนับสนุนให้สังคมเข้าไปร่วมแก้ไขปัญหาของคนอื่นในลักษณะคล้อยตามหรือเห็นดีเห็นงามไปกับ ไอดอลคนดังผู้สร้างแรงบันดาลใจให้สังคม  แต่แนวทางนี้ก็มีความเสี่ยงหากคนดังไม่เข้าใจปัญหาแล้วเสนอทางแก้ไขที่ไม่ตรงความต้องการเจ้าของปัญหา หรือทำให้เกิดการลดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เพิ่มเติม หรือทำให้ต้องรอคอยการบริจาคสงเคราะห์ไปตลอด

องค์การระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนทั้งหลายได้รับความร่วมมือจากคนดังเพื่อส่งเสียงไปยังสังคม เช่น คุณปูไปรยา แห่ง UNHCR ที่ทำให้เห็นความสำคัญของปัญหาผู้ลี้ภัยที่ต้องหนีการประหัตประหารเข้ามาหลบภัยและต้องการหลักประกันสิทธิขั้นพื้นฐานและการสนับสนุนงบประมาณจากคนทั่วโลกรวมถึงคนไทย

กลับมาที่เวทีประกวดก็จะพบว่ามีนางงามหลายท่านได้ลุกขึ้นมาพูดในฐานะ “เจ้าของปัญหา” เช่น นางงามสเปนที่ยืนหยัดเรื่องความงดงามตามอัตลักษณ์ และเพศสภาพของตนในฐานะผู้หญิงข้ามเพศคนแรกที่ได้ขึ้นเวทีประกวดมิสยูนิเวิร์ส   หรืออีกหลายท่านที่เคยเผชิญการล้อเลียน หมิ่นประมาท คุกคาม ก็ได้แสดงจุดยืนและเรียกร้องให้เพื่อนผู้หญิงทุกคนลุกขึ้นสู้  ก็นับเป็นอีกคุณค่าที่เกิดจากการลงทุนจัดประกวดยิ่งใหญ่และถ่ายทอดสดไปทั่วโลก

แต่เหนือสิ่งอื่นใด คือ การตอบคำถามที่อาจไม่เกี่ยวข้องกับปัญหาเฉพาะตัวของนางงามแต่ละคน  ยกตัวอย่างผู้ชนะในปีนี้อย่าง นางงามฟิลิปปินส์ ที่เหมือนจะเป็นเรื่องประสบการณ์ส่วนตัว แต่การแสดงออกของนางงามนั้นแสดงให้เห็น “กึ๋น” ที่มองทะลุเจตนารมณ์เบื้องหลังคำถามได้อย่างทะลุปรุโปร่ง

เธอตอบคำถามว่าประสบการณ์ใดในชีวิตที่สร้างบทเรียนให้กับเธอ โดยมองออกไปยังเพื่อนมนุษย์ที่อยู่ในภาวะยากจน แล้วเปลี่ยนเป็นความเห็นอกเห็นใจ พัฒนาให้กลายเป็นพลังอยากเปลี่ยนแปลงโลก

และมันจะเปลี่ยนได้มากขึ้นเมื่อเธอได้เป็นมิสยูนิเวิร์ส

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้มีน้องคนหนึ่งนำเรื่องแปลกมากเล่าให้ฟัง เหตุการณ์ก็มีดังนี้ครับ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องสุดท้ายของบริการด้านสื่อสารแล้วนะครับ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทุกบ้านแน่ๆ เพราะเดี๋ยวนี้เรามีอินเตอร์เน็ตใช้ที่บ้านกันแล้วแทบทุกหลังเพราะมันทำให้เราสามารถทำงานหรือพักผ่อนที่บ้านได้โดยไม่ต้องเดินทางออกไปนั่งทำงานที่อื่นหรือเสียเงินออกไปซื้อความบันเทิงนอกบ้าน   หนูก็ชอบดูซีรี่ส์แล
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องต่อมาผมคิดว่าหลายท่านคงเคยหงุดหงิดอารมณ์เสียกับรถที่ดันมาพังเอาตอนที่เรารีบเร่งจะต้องใช้งานใช่ไหมครับ ที่แย่ไปกว่านั้น คือ เราขับได้แต่ซ่อมไม่เป็นต้องเข็นไปเข้าอู่ซึ่งก็ไม่รู้ว่าที่ไหนดีไม่ดี มีฝีมือน่าเชื่อถือจริงรึเปล่า เพราะเราก็ไม่มีความรู้ด้านเครื่องยนต์กลไกและช่วงล่างใดๆทั้งสิ้น ผู้ชา
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้หลายท่านอาจจะเคยเจอปัญหาเดียวกัน หรือเคยได้ยินตามข่าวคราวที่ออกมาหลายครั้งนะครับ เพราะว่าปัจจุบันศูนย์ออกกำลังกายหรือฟิตเนสเซ็นเตอร์เป็นที่นิยมมาก ก็เพราะเราอยากมีร่างกายแข็งแรง รูปร่างสวยงาม เปล่งปลั่งมาจากภายในแต่ไม่มีเวลาไปออกกำลังกายในที่โล่งแจ้งเพราะไม่ตรงกับเวลาว่าง ก็มักจะเข้าฟิตเ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องยุ่งๆ เกิดจากการไม่ได้รับความเป็นธรรมตามเงื่อนไขการสมัครเป็นสมาชิกของบริษัทจำกัดแห่งหนึ่ง ซึ่งได้เข้ามาชักชวนคนในพื้นที่ให้เข้าร่วมทำสัญญาประกันชีวิตแต่ไม่ได้ทำตามเงื่อนไขของสัญญาที่มาเล่าปากเปล่าและมีการปิดบังซ่อนเร้น เพิ่มเติมเงื่อนไขบางอย่าง เมื่อผู้เอาประกันตาย ญาติ ลูกหลานไปร้องขอรับปร
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังเป็นกรณีที่เกี่ยวกับความเสียหายที่เกิดจากการกระทำของผู้อื่นที่อาจมาเคาะประตูบ้านเราได้ทั้งที่เราก็อยู่เฉยๆในบ้านไม่ได้ออกไปทำอะไรเสี่ยงภัย  แต่กลับประสบภัยจากความประมาทเลินเล่ออย่างรายแรงของผู้อื่น  ลองไปฟังเคราะห์หามยามซวยของน้องคนหนึ่งที่หวังจะใช้กฎหมายเป็น
ทศพล ทรรศนพรรณ
ป้าคนหนึ่งเข้ามาปรึกษาว่าไปโรงพยาบาลรัฐแถวบ้านซึ่งตนมีชื่อเป็นคนใช้สิทธิบัตรทองอยู่ที่นั่น แต่ด้วยความที่ป้าได้รับบัตรมานานมากแล้ว และเมื่อสองปีก่อนได้มีการก่อสร้างและซ่อมบ้านทำให้ต้องโยกย้ายข้าวของออกจากบ้านก่อนจะกลับเข้าไปอยู่อีกครั้งเมื่อซ่อมแซมเสร็จ ทำให้บัตรที่เก็บไว้สูญหายไปเมื่อไหร่ก็ไม่ทร
ทศพล ทรรศนพรรณ
สิ่งที่ขับเคลื่อนโลก คือ เทคโนโลยี การทหาร การค้า และการแพร่ความคิด ความเชื่อ ศาสนา
ทศพล ทรรศนพรรณ
กฎหมาย เขียนด้วยคน บังคับด้วยคน และก็เป็นการควบคุมพฤติกรรมของคน   จึงมีคนสงสัยว่า แล้วอย่างนี้จะมีกฎหมายสิ่งแวดล้อมไปทำไมในเมื่อไปบังคับ ดิน ฟ้า อากาศ หรือน้ำ ไม่ได้  
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตลอดหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา ผมได้ใช้เวลาวนเวียนอยู่กับการทำวิจัยเกี่ยวกับกฎหมายมาโดยตลอด ตั้งแต่ตอนเขียนวิทยานิพนธ์ปริญญาโท
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังจากคำทำนายในบทความ “รัฐเผด็จการ กับ การล้วงตับ” ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ (http://blogazine.in.th/blogs/streetlawyer/post/4833) จึงเป็นเวลาอันสมควรที่ประชาชนและสังคมไทยต้องร่วมกันต่อต้าน ชุดกฎหมายความมั่นคงโดยเฉพาะ พรบ.ความมั่นคงไซเบอร์ ที่มีเนื้อหาจำนวนมากขัดกับ หลักกฎหมายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ทศพล ทรรศนพรรณ
“ความซวยไม่เข้าใครออกใคร” รถหาย โดนเบี้ยวหนี้ ชนแล้วหนีไม่มีใครรับผิดชอบเด็กในท้อง ไปจนถึงเรื่องเงินๆ ทองๆ ที่ถ้าลองได้เกิดขึ้นในหมู่คนรู้จัก ก็มักจบลงด้วยการตัดญาติขาดมิตร ไม่เผาผีกัน คงเป็นสิ่งที่ได้ยินไม่เว้นแต่ละวันใช่ไหม