Skip to main content

การประกวดความงามในช่วงหลังได้กลายเป็นเวทีแสดงพลังของความงดงามที่หลากหลาย และใช้ประเด็นการสร้างความเข้มแข็งให้สตรีเป็นแกนหลักส่งเสริมความงาม “อย่างมีคุณค่า”

                การนำเสนอภาพลักษณ์ของนางงามแต่ละคนแต่ละชาติมิได้ยึดติดอยู่กับรูปร่างน่าตากริยาบุคลิกภาพเพียงอย่างเดียว แต่คำวิพากษ์วิจารณ์ของสังคมอย่างต่อเนื่องหลายสิบปีได้ขัดเกลาให้เวทีประกวดต้องสร้าง “แก่นสาร” ให้กับกิจกรรมนี้อย่างสอดคล้องกับบริบททางการเมืองทั้งในประเทศต้นทางของกองประกวด ไปจนถึงการเมืองระหว่างประเทศที่ประเทศมหาอำนาจต้องการส่ง “สาสน์” ไปยังผู้รับชมทั่วโลก

                การเปิดพื้นที่ให้สตรีส่งเสียงที่ก้าวข้ามขนบธรรมเนียมเดิมๆไปสู่การแสดงให้เห็นถึงศักยภาพนอกกรอบ “นางงาม” ที่สามารถแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันให้กับผู้คนถูกหยิบยกและตีแผ่แก่ผู้รับชมทั่วโลกเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนและสตรีทั่วโลกเห็น “ความเป็นไปได้” ที่จะพัฒนาตนเองไปมากกว่าแค่เป็น “นางงามเพื่อการกุศลสงเคราะห์”

                จุดตัดสำคัญน่าจะอยู่ที่การเปลี่ยนบทบาทของนางงาม จากเดิมเป็นเหมือนพรีเซนเตอร์เปลี่ยนสายตาที่จับจ้องความงามบนร่างกายตนให้หันไปสนใจปัญหาของสังคมแล้วตระหนักถึงปัญหาแบบที่เราคุ้นชินว่า “นางงามรักเด็ก รักษ์โลก” แบบเหมือนๆกันไปหมด ไปสู่การพูดด้วยตัวนางงามแต่ละคนว่า คนนี้สนใจประเด็นทางสังคมที่แตกต่างหลากหลายกันไปแล้วแต่ประสบการณ์ของแต่ละคนว่ามีความรู้สึกแรงกล้ากับเรื่องใด ก็จะหยิบเรื่องเหล่านั้นมานำเสนอสะท้อนให้เห็น “กึ๋น” ของแต่ละคน

                จากปีก่อนที่มีคำถามสำคัญทำให้คนทั้งประเทศตั้งข้อสงสัยว่า “Social Movement” (ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม” คืออะไร มาถึงคำถามที่เฉพาะเจาะจงลงไปถึงข้อถกเถียงเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนและค่านิยมประชาธิปไตยอย่างตรงไปตรงมา อาทิ เสรีภาพของสื่อมีความสำคัญ การรับรองให้ใช้กัญชาได้อย่างถูกกฎหมาย ขอบเขตของการเคลื่อนไหวให้สตรีลุกขึ้นมาเปิดเผยประสบการณ์ถูกคุกคาม นโยบายบริหารจัดการผู้ลี้ภัย และการตอบข้อวิจารณ์ของขบวนการสตรีนิยมที่บอกว่าการประกวดความงามขัดขวางการส่งเสริมสิทธิสตรี

                คำถามเหล่านี้ต้องการคำตอบที่เริ่มด้วยการเข้าใจความหมายที่เฉพาะเจาะจงของศัพท์เฉพาะและความรู้เท่าทันสถานการณ์ทางสังคมการเมืองที่พัฒนาขึ้นมาจากข้อถกเถียงในประเด็นเหล่านั้นไม่น้อย   การตอบคำถามเหล่านี้โดยอาศัยเพียง “สามัญสำนึก” ของผู้เข้าประกวดที่มิได้เตรียมตัวเชิงวิชาการ หรือไม่มีประสบการณ์ส่วนตัวที่เกี่ยวข้องกับการขบวนขับเคลื่อนทางสังคม ย่อมได้คำตอบที่ตื้นเขิน หรือในบางครั้งก็หลงประเด็นไป หรืออย่างดีที่สุดก็ทำได้เพียงน้ำตาเอ่อล้นพ่นเรื่องส่วนตัว แต่ไม่ตรงเป้าหมายของคำถาม

                หากเทียบกิจกรรมถามตอบในเวทีประกวดนางงามในยุคนี้เข้ากับขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมือง ก็จะเห็นว่าใกล้เคียงกับการ “เรียกร้องสิทธิ” ให้สังคมตระหนักรู้ถึงปัญหา แล้วเกิดความรู้สึกร่วมไปกับความทุกข์ทรมานของกลุ่มเสี่ยงเปราะบางเจ้าของปัญหา แล้วเกิดแรงบันดาลใจลุกขึ้นมาหาทางแก้ปัญหาร่วมกัน

                การพูดถึงปัญหาสิทธิมนุษยชนเหล่านี้มีมิติที่สำคัญอยู่ 2 ประการ คือ

  1. ควรให้ “เจ้าของปัญหา” นั้นพูดเรื่องของตัวเอง เสนอเองว่าต้องการอะไร อยากให้แก้ปัญหาอย่างไร โดยไม่ต้องรอให้ผู้มีอำนาจมาคิดแทน แล้วยัดเยียดวิธีการแก้ไขแบบ “สงเคราะห์” โดยไม่สนใจความต้องการและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเจ้าของปัญหา   แต่แนวทางแรกนี้มีปัญหาใหญ่ คือ สังคมมักไม่สนใจเสียงของคนเหล่านี้ เพราะมิได้มีเสน่ห์ดึงดูดให้มองหรือติดตามฟัง ต่างจากการพูดของคนดังอย่าง ดารา นักการเมือง หรือนางงาม
  2. การให้ “คนเสียงดัง” พูดเพื่อขยายเสียงของเจ้าของปัญหา ดึงดูดให้สังคมรับฟังปัญหาของคนที่ตกอยู่ในภาวะเสี่ยงภัย สนับสนุนให้สังคมเข้าไปร่วมแก้ไขปัญหาของคนอื่นในลักษณะคล้อยตามหรือเห็นดีเห็นงามไปกับ ไอดอลคนดังผู้สร้างแรงบันดาลใจให้สังคม  แต่แนวทางนี้ก็มีความเสี่ยงหากคนดังไม่เข้าใจปัญหาแล้วเสนอทางแก้ไขที่ไม่ตรงความต้องการเจ้าของปัญหา หรือทำให้เกิดการลดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เพิ่มเติม หรือทำให้ต้องรอคอยการบริจาคสงเคราะห์ไปตลอด

องค์การระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนทั้งหลายได้รับความร่วมมือจากคนดังเพื่อส่งเสียงไปยังสังคม เช่น คุณปูไปรยา แห่ง UNHCR ที่ทำให้เห็นความสำคัญของปัญหาผู้ลี้ภัยที่ต้องหนีการประหัตประหารเข้ามาหลบภัยและต้องการหลักประกันสิทธิขั้นพื้นฐานและการสนับสนุนงบประมาณจากคนทั่วโลกรวมถึงคนไทย

กลับมาที่เวทีประกวดก็จะพบว่ามีนางงามหลายท่านได้ลุกขึ้นมาพูดในฐานะ “เจ้าของปัญหา” เช่น นางงามสเปนที่ยืนหยัดเรื่องความงดงามตามอัตลักษณ์ และเพศสภาพของตนในฐานะผู้หญิงข้ามเพศคนแรกที่ได้ขึ้นเวทีประกวดมิสยูนิเวิร์ส   หรืออีกหลายท่านที่เคยเผชิญการล้อเลียน หมิ่นประมาท คุกคาม ก็ได้แสดงจุดยืนและเรียกร้องให้เพื่อนผู้หญิงทุกคนลุกขึ้นสู้  ก็นับเป็นอีกคุณค่าที่เกิดจากการลงทุนจัดประกวดยิ่งใหญ่และถ่ายทอดสดไปทั่วโลก

แต่เหนือสิ่งอื่นใด คือ การตอบคำถามที่อาจไม่เกี่ยวข้องกับปัญหาเฉพาะตัวของนางงามแต่ละคน  ยกตัวอย่างผู้ชนะในปีนี้อย่าง นางงามฟิลิปปินส์ ที่เหมือนจะเป็นเรื่องประสบการณ์ส่วนตัว แต่การแสดงออกของนางงามนั้นแสดงให้เห็น “กึ๋น” ที่มองทะลุเจตนารมณ์เบื้องหลังคำถามได้อย่างทะลุปรุโปร่ง

เธอตอบคำถามว่าประสบการณ์ใดในชีวิตที่สร้างบทเรียนให้กับเธอ โดยมองออกไปยังเพื่อนมนุษย์ที่อยู่ในภาวะยากจน แล้วเปลี่ยนเป็นความเห็นอกเห็นใจ พัฒนาให้กลายเป็นพลังอยากเปลี่ยนแปลงโลก

และมันจะเปลี่ยนได้มากขึ้นเมื่อเธอได้เป็นมิสยูนิเวิร์ส

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
คลินิกกฎหมาย ฉบับสมบูรณ์ 41 ตอน พร้อมเชิงอรรถอ้างอิงข้อกฎหมายเป๊ะๆ วางแผงแล้ว 
ทศพล ทรรศนพรรณ
วิกฤตการเมืองการปกครองไทยในหลากหลายสถานการณ์ที่เกิดขึ้นช่วง 4-5 ปีหลัง   ประเด็นทางกฎหมายที่อยู่ในความสนใจของสาธารณชนนั้นมุ่งตรงมาที่ “การใช้อำนาจอธิปไตยในการวินิจฉัยชี้ขาดของศาล”   เนื่องจากการทำหน้าที่ของศาลนับแต่ปี 2549 เป็นต้นมา ได้อยู่ในความสนใจของสังคมเป็นอย่างยิ่ง &nbsp
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องถัดมาเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับน้องวัยรุ่นคนหนึ่งซึ่งพึ่งมารู้จักกันด้วยเหตุแห่งความซวยครับ   ปัญหาจากการขับขี่มอเตอร์ไซค์นั่นเอง แต่ไม่ใช่การประสบอุบัติเหตุหรอกนะครับ แต่เป็นเรื่องของความซวยที่มากระแทกหน้าเสียมากกว่า   คงสงสัยกันแล้วว่าเป็นมาอย่างไร ไปติดตามเรื่องที่น้องเขา
ทศพล ทรรศนพรรณ
เนื่องจากมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับปรัชญากฎหมาย สำนักกฎหมายธรรมชาติ และสำนักกฎหมายบ้านเมือง ในการตอบโต้ทางการเมืองอยู่บ่อยครั้ง   และตำราด้านปรัชญากฎหมายไทยก็มีความเฉื่อยกว่าพัฒนาการด้านปรัชญากฎหมายที่ถกเถียงและพัฒนามาอย่างต่อเนื่องในระดับโลก   จึงขออธิบายให้เข้าใจดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องถัดมาเกี่ยวเนื่องกับการใช้โทรศัพท์มือถือนะครับ เพราะเดี๋ยวนี้จะเห็นแผงขายมือถือ บัตรเติมเงิน และการออกประกาศแจกซิมการ์ดโทรศัพท์ฟรีๆ กันตามสถานที่ทั่วไป ทั้งป้ายรถเมล์ ในห้าง วินมอเตอร์ไซค์ ท่าน้ำ ในตลาด และแหล่งชุมชนที่คนพลุกพล่าน   พอมารับเรื่องร้องทุกข์จึงได้รู้ว่ามีคนจำนวนมากที
ทศพล ทรรศนพรรณ
ค่าไฟ เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ใกล้ตัวเรามากในสมัยนี้ เพราะ ไฟฟ้าเป็นพลังงานที่ไม่ว่าบ้านไหนก็คงต้องใช้ขับเคลื่อนเครื่องใช้ไฟฟ้ากันใช่ไหมครับ แต่ผมก็เคยออกไปลงพื้นที่กับคลินิกกฎหมายในพื้นที่ห่างไกลไม่มีไฟฟ้าอยู่บ้างเหมือนกันครับ ซึ่งชีวิตของคนในพื้นที่นั้นจะต่างจากในเมืองหรือบ้านที่ไฟฟ้าเข้าถึงเลยครั
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องราวความสัมพันธ์ของชายหญิงคู่หนึ่งที่ได้อยู่กินกันฉันท์สามีภรรยาแต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันแต่ประการใด หลังจากนั้นมีปัญหาเรื่องมือที่สามเข้ามา ทำให้ครอบครัวฝ่ายชายมาปรึกษาเพราะกลัวว่าจะถูกหลอกและปอกลอกทรัพย์สินไปจนหมด
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้ผู้ที่มาปรึกษาเล่าว่า “บิดาข้าพเจ้าไปเซ็นค้ำประกันการซื้อรถยนต์ให้กับเพื่อนที่สนิทกันมานาน เนื่องจากเพื่อนไม่มีญาติเป็นข้าราชการ อีกทั้งสินทรัพย์ต่างๆก็ไม่มีจะเอาไปค้ำประกัน   แต่จำเป็นต้องซื้อรถเพื่อเอามาขนส่งของทำมาหากิน พ่อของข้าพเจ้าเห็นว่าควรช่วยให้เพื่อนมีช่องทางทำมาหากิน
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องของสัตว์ในบางครั้งก็สร้างความยุ่งยากให้กับคน ยิ่งสัตว์เลี้ยงไปสร้างความเสียหายให้กับคนอื่นก็ย่อมเป็นเรื่องปวดหัวให้เจ้าของต้องจัดการ ก่อนที่ปัญหาจะลุกลามกลายเป็นการทรมานหรือสังหารสัตว์อย่างที่เห็นสื่อนะครับ   ในทางกฎหมายเรื่องสัตว์เลี้ยงนี้เป็นข้อพิพาทในทางทรัพย์สิน จึงอยู่ที่การใช้การ
ทศพล ทรรศนพรรณ
สังคมที่ขับเคลื่อนโดยระบบตลาดทุนนิยมเสรีนั้น ฝากความหวังไว้กับผู้บริโภคในการคัดเลือกสิ่งที่ดีให้คงอยู่ในตลาด  ผ่านการจ่ายเงินซื้อและสนับสนุนสินค้าและบริการที่ผลิตอย่างมีคุณภาพ ราคาเหมาะสม หรือที่นักเศรษฐศาสตร์คาดหวังว่า จะมีเพียง “ผู้ใช้ทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด” เท่านั้นที่จะคงเหลืออยู
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องต่อไปนี้ขยายวงกว้างไปมากหลังจากบัตรเครดิต/เดบิต กลายเป็นเงินพลาสติกที่เราพกพาไปไหนได้ง่าย ไม่ต้องกลัวว่าแบบพกเงินสดว่าถ้าตกหายไปแล้วมันจะสูญเสียไปทันที  แถมยังมีข้อดีตรงที่เรามีวงเงินเพิ่มเติมได้หากต้องการใช้เงินฉุกเฉินหรือใช้เงินเกินกวาที่วางแผนล่วงหน้าไว้นิดหน่อย   แม้มีหลา
ทศพล ทรรศนพรรณ
คราวนี้เราจะกล่าวถึงเรื่องใด?