Skip to main content

การประกวดความงามในช่วงหลังได้กลายเป็นเวทีแสดงพลังของความงดงามที่หลากหลาย และใช้ประเด็นการสร้างความเข้มแข็งให้สตรีเป็นแกนหลักส่งเสริมความงาม “อย่างมีคุณค่า”

                การนำเสนอภาพลักษณ์ของนางงามแต่ละคนแต่ละชาติมิได้ยึดติดอยู่กับรูปร่างน่าตากริยาบุคลิกภาพเพียงอย่างเดียว แต่คำวิพากษ์วิจารณ์ของสังคมอย่างต่อเนื่องหลายสิบปีได้ขัดเกลาให้เวทีประกวดต้องสร้าง “แก่นสาร” ให้กับกิจกรรมนี้อย่างสอดคล้องกับบริบททางการเมืองทั้งในประเทศต้นทางของกองประกวด ไปจนถึงการเมืองระหว่างประเทศที่ประเทศมหาอำนาจต้องการส่ง “สาสน์” ไปยังผู้รับชมทั่วโลก

                การเปิดพื้นที่ให้สตรีส่งเสียงที่ก้าวข้ามขนบธรรมเนียมเดิมๆไปสู่การแสดงให้เห็นถึงศักยภาพนอกกรอบ “นางงาม” ที่สามารถแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันให้กับผู้คนถูกหยิบยกและตีแผ่แก่ผู้รับชมทั่วโลกเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนและสตรีทั่วโลกเห็น “ความเป็นไปได้” ที่จะพัฒนาตนเองไปมากกว่าแค่เป็น “นางงามเพื่อการกุศลสงเคราะห์”

                จุดตัดสำคัญน่าจะอยู่ที่การเปลี่ยนบทบาทของนางงาม จากเดิมเป็นเหมือนพรีเซนเตอร์เปลี่ยนสายตาที่จับจ้องความงามบนร่างกายตนให้หันไปสนใจปัญหาของสังคมแล้วตระหนักถึงปัญหาแบบที่เราคุ้นชินว่า “นางงามรักเด็ก รักษ์โลก” แบบเหมือนๆกันไปหมด ไปสู่การพูดด้วยตัวนางงามแต่ละคนว่า คนนี้สนใจประเด็นทางสังคมที่แตกต่างหลากหลายกันไปแล้วแต่ประสบการณ์ของแต่ละคนว่ามีความรู้สึกแรงกล้ากับเรื่องใด ก็จะหยิบเรื่องเหล่านั้นมานำเสนอสะท้อนให้เห็น “กึ๋น” ของแต่ละคน

                จากปีก่อนที่มีคำถามสำคัญทำให้คนทั้งประเทศตั้งข้อสงสัยว่า “Social Movement” (ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม” คืออะไร มาถึงคำถามที่เฉพาะเจาะจงลงไปถึงข้อถกเถียงเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนและค่านิยมประชาธิปไตยอย่างตรงไปตรงมา อาทิ เสรีภาพของสื่อมีความสำคัญ การรับรองให้ใช้กัญชาได้อย่างถูกกฎหมาย ขอบเขตของการเคลื่อนไหวให้สตรีลุกขึ้นมาเปิดเผยประสบการณ์ถูกคุกคาม นโยบายบริหารจัดการผู้ลี้ภัย และการตอบข้อวิจารณ์ของขบวนการสตรีนิยมที่บอกว่าการประกวดความงามขัดขวางการส่งเสริมสิทธิสตรี

                คำถามเหล่านี้ต้องการคำตอบที่เริ่มด้วยการเข้าใจความหมายที่เฉพาะเจาะจงของศัพท์เฉพาะและความรู้เท่าทันสถานการณ์ทางสังคมการเมืองที่พัฒนาขึ้นมาจากข้อถกเถียงในประเด็นเหล่านั้นไม่น้อย   การตอบคำถามเหล่านี้โดยอาศัยเพียง “สามัญสำนึก” ของผู้เข้าประกวดที่มิได้เตรียมตัวเชิงวิชาการ หรือไม่มีประสบการณ์ส่วนตัวที่เกี่ยวข้องกับการขบวนขับเคลื่อนทางสังคม ย่อมได้คำตอบที่ตื้นเขิน หรือในบางครั้งก็หลงประเด็นไป หรืออย่างดีที่สุดก็ทำได้เพียงน้ำตาเอ่อล้นพ่นเรื่องส่วนตัว แต่ไม่ตรงเป้าหมายของคำถาม

                หากเทียบกิจกรรมถามตอบในเวทีประกวดนางงามในยุคนี้เข้ากับขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมือง ก็จะเห็นว่าใกล้เคียงกับการ “เรียกร้องสิทธิ” ให้สังคมตระหนักรู้ถึงปัญหา แล้วเกิดความรู้สึกร่วมไปกับความทุกข์ทรมานของกลุ่มเสี่ยงเปราะบางเจ้าของปัญหา แล้วเกิดแรงบันดาลใจลุกขึ้นมาหาทางแก้ปัญหาร่วมกัน

                การพูดถึงปัญหาสิทธิมนุษยชนเหล่านี้มีมิติที่สำคัญอยู่ 2 ประการ คือ

  1. ควรให้ “เจ้าของปัญหา” นั้นพูดเรื่องของตัวเอง เสนอเองว่าต้องการอะไร อยากให้แก้ปัญหาอย่างไร โดยไม่ต้องรอให้ผู้มีอำนาจมาคิดแทน แล้วยัดเยียดวิธีการแก้ไขแบบ “สงเคราะห์” โดยไม่สนใจความต้องการและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเจ้าของปัญหา   แต่แนวทางแรกนี้มีปัญหาใหญ่ คือ สังคมมักไม่สนใจเสียงของคนเหล่านี้ เพราะมิได้มีเสน่ห์ดึงดูดให้มองหรือติดตามฟัง ต่างจากการพูดของคนดังอย่าง ดารา นักการเมือง หรือนางงาม
  2. การให้ “คนเสียงดัง” พูดเพื่อขยายเสียงของเจ้าของปัญหา ดึงดูดให้สังคมรับฟังปัญหาของคนที่ตกอยู่ในภาวะเสี่ยงภัย สนับสนุนให้สังคมเข้าไปร่วมแก้ไขปัญหาของคนอื่นในลักษณะคล้อยตามหรือเห็นดีเห็นงามไปกับ ไอดอลคนดังผู้สร้างแรงบันดาลใจให้สังคม  แต่แนวทางนี้ก็มีความเสี่ยงหากคนดังไม่เข้าใจปัญหาแล้วเสนอทางแก้ไขที่ไม่ตรงความต้องการเจ้าของปัญหา หรือทำให้เกิดการลดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เพิ่มเติม หรือทำให้ต้องรอคอยการบริจาคสงเคราะห์ไปตลอด

องค์การระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนทั้งหลายได้รับความร่วมมือจากคนดังเพื่อส่งเสียงไปยังสังคม เช่น คุณปูไปรยา แห่ง UNHCR ที่ทำให้เห็นความสำคัญของปัญหาผู้ลี้ภัยที่ต้องหนีการประหัตประหารเข้ามาหลบภัยและต้องการหลักประกันสิทธิขั้นพื้นฐานและการสนับสนุนงบประมาณจากคนทั่วโลกรวมถึงคนไทย

กลับมาที่เวทีประกวดก็จะพบว่ามีนางงามหลายท่านได้ลุกขึ้นมาพูดในฐานะ “เจ้าของปัญหา” เช่น นางงามสเปนที่ยืนหยัดเรื่องความงดงามตามอัตลักษณ์ และเพศสภาพของตนในฐานะผู้หญิงข้ามเพศคนแรกที่ได้ขึ้นเวทีประกวดมิสยูนิเวิร์ส   หรืออีกหลายท่านที่เคยเผชิญการล้อเลียน หมิ่นประมาท คุกคาม ก็ได้แสดงจุดยืนและเรียกร้องให้เพื่อนผู้หญิงทุกคนลุกขึ้นสู้  ก็นับเป็นอีกคุณค่าที่เกิดจากการลงทุนจัดประกวดยิ่งใหญ่และถ่ายทอดสดไปทั่วโลก

แต่เหนือสิ่งอื่นใด คือ การตอบคำถามที่อาจไม่เกี่ยวข้องกับปัญหาเฉพาะตัวของนางงามแต่ละคน  ยกตัวอย่างผู้ชนะในปีนี้อย่าง นางงามฟิลิปปินส์ ที่เหมือนจะเป็นเรื่องประสบการณ์ส่วนตัว แต่การแสดงออกของนางงามนั้นแสดงให้เห็น “กึ๋น” ที่มองทะลุเจตนารมณ์เบื้องหลังคำถามได้อย่างทะลุปรุโปร่ง

เธอตอบคำถามว่าประสบการณ์ใดในชีวิตที่สร้างบทเรียนให้กับเธอ โดยมองออกไปยังเพื่อนมนุษย์ที่อยู่ในภาวะยากจน แล้วเปลี่ยนเป็นความเห็นอกเห็นใจ พัฒนาให้กลายเป็นพลังอยากเปลี่ยนแปลงโลก

และมันจะเปลี่ยนได้มากขึ้นเมื่อเธอได้เป็นมิสยูนิเวิร์ส

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องล่าสุดที่ใครอาจคิดว่าไกลตัว แต่มันเข้ามาใกล้ตัวเรากว่าที่หลายคนคิด ใช่แล้วครับ แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย และจะมีจำนวนมากขึ้นอย่างแน่นอนในอนาคตตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทย และความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจกับประเทศรอบด้าน   บางคนอาจคิดไปว่าคนต่างด้าวเข้ามาแย่งงานคนไทย แต่คน
ทศพล ทรรศนพรรณ
การบังคับใช้กฎหมายของรัฐเหนือดินแดนหลังหมดยุคอาณานิคมนั้น ก็มีความชัดเจนว่าบังคับกับทุกคนที่อยู่ในดินแดนนั้น  ไม่ว่าคนไทย จีน อาหรับ ฝรั่ง ขแมร์ พม่า เวียต หากเข้ามาอยู่ในดินแดนไทยแล้วก็ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายไทย ดุจเดียวกับ “คนชาติ” ไทย   แต่ความยากลำบากเกิดขึ้นเมื่อปัจจุบันการข้ามพรมแดนย
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้จะทำให้ทุกท่านเข้าใจแจ่มแจ้งเลยนะครับว่า “เงินทองมันไม่เข้าใครออกใคร” จริงๆ ให้รักกันแทบตาย ไว้ใจเชื่อใจกันแค่ไหนก็หักหลังกันได้ และบางทีก็ต้องคิดให้หนักว่าที่เขามาสร้างความสัมพันธ์กับเรานั้น เขารักสมัครสัมพันธ์ฉันคู่รัก มิตรสหาย หรืออยากได้ทรัพย์สินเงินผลประโยชน์จากเรากันแน่  
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังจาก คสช. ได้เรียกคนไทยในต่างแดนมารายงานตัว และมีความพยายามนำคนเหล่านั้นกลับมาดำเนินคดีในประเทศทำให้เกิดคำถามว่า กฎหมายใช้ไปได้ถึงที่ไหนบ้าง?  ขอบเขตของกฎหมายก็เชื่อมโยงกับองค์ประกอบของ รัฐยังจำกันได้ไหมครับ ว่า รัฐประกอบไปด้วยอะไรบ้าง?
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องต่อมาคงเคยผ่านหูผ่านตาหลายท่านกันมามากแล้วนะครับ นั่นคือ การออกโปรโมชั่นต่างๆของบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือสองสามเจ้าที่แข่งกันออกมายั่วยวนพวกเราให้หลงตามอยู่เรื่อยๆ   ผมเองก็เกือบหลงกลไปกับภาษากำกวมชวนให้เข้าใจผิดของบริษัทเหล่านี้อยู่หลายครั้งเหมือนกันนะครับ ต้องยอมรับเลยว่าคนที่
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังจากที่เครือข่ายเฟซบุคล่มในประเทศไทยเป็นเวลาเกือบชั่วโมงจนเพื่อนพ้องน้องพี่เดือดดาลกัน    ตามมาด้วยข่าวลือว่า "คสช. จะตัดสัญญาณอินเตอร์เน็ต และไล่ปิดโซเชียลเน็ตเวิร์ค" นั้น  สามารถอธิบายได้ 2 แนว คือ1. เป็นวิธีการที่จะเอาชนะทางการเมืองหรือไม่ และ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เวลาคนทะเลาะกัน จะหาทางออกอย่างไร ? 
ทศพล ทรรศนพรรณ
กฎหมายมีผลตั้งแต่วันที่ประกาศใช้ กฎหมายที่มีผลร้ายห้ามมีผลย้อนหลัง  การออกกฎหมายมาลงโทษการกระทำที่เกิดขึ้นในอดีตจะทำไม่ได้ กฎหมายสิ้นผลเมื่อประกาศยกเลิก 
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรามักได้ยินคนพูดว่า ดูละครแล้วย้อนมองตน เพราะชีวิตของคนในละครมักสะท้อนให้เห็นแง่มุมต่างๆในชีวิตได้ใช่ไหมครับ แต่มีคนจำนวนมากบอกว่าชีวิตใครมันจะโชคร้ายหรือลำบากยากเย็นซ้ำซ้อนแบบตัวเอกในละครชีวิตบ้างเล่า  แต่เรื่องที่จะเล่าต่อไปนี้ทำให้ผมมั่นใจว่าเรื่องราวในชีวิตจริงยิ่งกว่านิยาย หากมันจะทำให
ทศพล ทรรศนพรรณ
ภัยใกล้ตัวอีกเรื่องที่ไม่ว่าผู้หญิงคนไหนก็ไม่อยากเจอคงเป็นเรื่องลึกๆ ที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ส่วนตัวซึ่งเป็นความในไม่อยากให้ใครหยิบออกมาไขในที่แจ้ง แม้ความคิดของคนในสังคมเกี่ยวกับเรื่องเพศสัมพันธ์และความบริสุทธิ์จะเปลี่ยนไปแล้ว คือ เปิดกว้างยอมรับกับความหลังครั้งเก่าของกันและกันมากขึ้น &nbsp
ทศพล ทรรศนพรรณ
                ประเทศไทยประกาศต่อประชาชนในประเทศว่าจะรับประกันสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ และประกาศต่อโลกว่าเป็น รัฐประชาธิปไตย มีกฎหมายใช้จัดการความขัดแย้งอย่างยุติธรรม รวมไปถึงป้องกันการใช้อำนาจตามอำเภอใจของรัฐ   แต่การประกาศใช้กฎอัยการศึกได้ทำลายสิทธ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้เป็นวิกฤตครั้งใหญ่ของน้องคนหนึ่ง ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตได้ทำให้ครอบครัวเค้าสูญเสียทุกอย่างไป   น้องได้ลำดับเรื่องราวให้ฟังว่า