Skip to main content

แรงงานสร้างสรรค์ในบทความนี้ที่จะพูดถึง คือ ผู้คนที่ทำงานในอุตสาหกรรมภาคสร้างสรรค์ เช่น คนทำสื่อสาระ บันเทิง ละคร นักเขียน ไปจนถึง นักแปล ดารา นักแสดง ศิลปิน ที่กลายเป็นอาชีพที่ปัญญาชน หรือผู้มีการศึกษายึดเป็นวิถีทางในการประกอบสัมมาอาชีพ หารายได้เลี้ยงดูตนเองและครอบครัว กันเป็นจำนวนมาก

สาเหตุที่ต้องพูดถึงคนกลุ่มนี้ก็เพราะเป็นกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบอย่างมหาศาลจากการปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตในยุคดิจิทัล รวมไปถึงความสำเร็จของศาสตร์การบริหารธุรกิจและจัดการทรัพยากรมนุษย์ ที่คิดค้นระบบการจ้างงานชั่วคราว จ้างเหมาชิ้น รายบริการ รายงาน ไม่จ้างงานระยะยาวเป็นพนักงานประจำอีกต่อไป

บางท่านอาจจะแย้งว่าอาชีพศิลปิน ดารา นักแสดงเป็นเช่นนั้นอยู่แล้วก็จริง และยิ่งต้องพิเคราะห์ให้เห็นโศกนาฏกรรมของอดีตศิลปินผู้โด่งดังที่ในท้ายที่สุดมีข่าวว่าอดอยาก ตกอับ อาภัพ ไม่มีช่องทางในการประทังชีวิต   หากเราเหมารวมว่าเป็นความล้มเหลวจากความชั่ว หรือพฤติกรรมย่ำแย่ส่วนบุคคล เราจะไม่สามารถมองเห็นความเปลี่ยนแปลงของสังคมที่กำลังเกิดขึ้นได้เลย

ก่อนที่มนุษย์จะสูญเสียงานโดยการเข้ามาของปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์ มนุษย์โดยเฉพาะผู้มีการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปที่ใช้ความรู้ในการสร้างสรรค์งานที่ได้กล่าวไปข้างต้น เริ่มสูญเสียความมั่นคงทางเศรษฐกิจไปมากแล้ว ด้วยเหตุของความเปลี่ยนแปลงในระบบการจ้างงานยืดหยุ่น จ้างรายชิ้น หรือแม้กระทั่งจ้างเหมาช่วง สับแบ่งเป็นทอดๆ แบบที่เราเห็นได้ทั่วไปในปัจจุบัน

สิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศไทยนี้ได้เกิดขึ้นก่อนหน้าแล้วในประเทศที่ระดับการศึกษาของประชากรสูงและพัฒนาโครงสร้างทางเศรษฐกิจจากภาคเกษตรกรรมอุตสาหกรรม ภาคบริการและพาณิชย์ เข้าสู่ภาคสร้างสรรค์ คนจำนวนมากผลิตความรู้ งานศิลปะ การแสดง และข้อมูลจำนวนมาก เพื่อแลกเปลี่ยนกับรายได้  ซึ่งมีตัวกลางเป็นเจ้าของสำนักพิมพ์ บริษัทสื่อ โปรดักชั่นรายใหญ่ เป็นนายจ้าง

แต่ด้วยความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดศักยภาพการผลิตของผู้ผลิตเนื้อหารายย่อยอย่างมหาศาล แต่ในขณะเดียวกัน บรรษัทก็เริ่มเห็นช่องทางในการปรับรูปแบบบริหารจัดการให้เข้ากับเป้าหมายในการแสวงหาผลกำไรสูงสุด และลดความเสี่ยงให้น้อยที่สุดเช่นกัน นั่นคือ ระบบการจ้างงานยืดหยุ่น ไม่เป็นไปตามมาตรฐานของกฎหมายแรงงานทั้งหลาย

Greig de Peuter ได้นำเสนอวิธีการมองกลุ่มคนทำงานรับจ้างอิสระในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ผ่านบทความเรื่อง Beyond the Model Worker: Surveying a Creative Precariat โดยชี้ให้เห็นว่าภาวะ การพึ่งพิงตนเอง การแบกรับความเสี่ยงไว้ลำพัง ปราศจากการรวมกลุ่มเป็นสหภาพ และต้องขูดรีดตัวเอง มักปรากฏกอยู่ในสภาพการจ้างงานและดำรงชีพของแรงงานอิสระที่ถูกจ้างในระบบการจ้างงานยืดหยุ่นของภาคอุตสาหกรรมเสมอ และเขายังได้ย้ำว่าสภาวะเช่นว่าถือเป็นตัวแบบที่ชัดเจนของการจ้างงานในระบบทุนนิยมร่วมสมัย    

แม้จะมีนักวิชาการและนักเศรษฐศาสตร์การเมืองจำนวนมากเสนอว่ารูปแบบการจ้างงานยืดหยุ่น หรือการจ้างงานไร้มาตรฐาน (Nonstandard Employment) ที่เกิดขึ้นนี้เป็นปรากฏการณ์ของวิธีบริหารจัดการตนเองเพื่อลดความเสี่ยงของผู้ประกอบการในยุคหลังระบบการผลิตและจ้างงานในโรงงานแบบสายพานการผลิต (Post-Fordism)   แต่เขาโต้แย้งว่าแนวคิดดังกล่าวให้มุมมองที่ไม่เพียงพอในการวิเคราะห์ว่าอะไรเป็นเหตุขัดขวางศักยภาพของแรงงานรับจ้างอิสระในภาคสร้างสรรค์ที่จะประชันบทบาทและแสดงออกตนให้สังคมรับรู้สภาพปัญหา   

เขาได้ทบทวนงานวิจัยและกรณีศึกษาที่แรงงานรับจ้างอิสระในอุตสาหกรรมภาคสร้างสรรค์ เช่น ศิลปะ สื่อ และวัฒนธรรม ได้ต่อสู้เรียกร้องร่วมกันอันเนื่องมาจากสภาพปัญหาที่เกิดจากการจ้างงานไร้มาตรฐาน (Nonstandard Employment)  โดยบทความได้เน้นไปที่งานวิจัยหลัก 3 ประเด็น คือ

  1. ลักษณะสัญญาจ้างงาน และสถานะในการรับจ้างแต่ละแบบนำไปสู่ การริเริมและรูปแบบขบวนการการรวมกลุ่มและเรียกร้องสิทธิหรือไม่อย่างไร
  2. การต่อสู้เรื่องค่าตอบแทน โดยชี้ให้เห็นว่ามีแนวโน้มที่จะเกิดระบบให้แสดงหรือทำงานโดยไม่ได้รับค่าตอบแทนอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ จนกลายเป็นประเด็นเรียกร้องร้องร่วมกัน
  3. การยึดครองพื้นที่เพื่อแสดงออก แสดงตัวอย่างการรวมกลุ่มกันของเหล่าแรงงานรับจ้างอิสระในพื้นที่สาธารณะเพื่อส่งเสียงให้สังคมรับทราบถึงสภาพปัญหาความทุกข์ยากของชีวิต ในลักษณะขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม

โดยผู้เขียนพยายามหลีกเลี่ยงการถูกดูเบาความสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยการชี้ให้เห็นว่ามิใช่เพียงการจ้างงานในอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่งเท่านั้นที่เกิดปัญหานี้ แต่การจ้างงานทั้งหมดในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ได้สร้างปัญหาอันเนื่องมาจากการจ้างงานไร้มาตรฐาน

                ในท้ายที่สุดเขาได้เสนอให้เห็นว่าการต่อสู้ด้วยวิธีการรวมกลุ่มของแรงงานในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในกรณีต่างๆ ได้เสนอแนวทางแก้ปัญหาไว้ 3 ทิศทางหลัก คือ

  1. การค่อย ๆ ปรับตัวให้สามารถดำรงชีพอยู่กับความสัมพันธ์ในการจ้างงานแบบนี้ได้
  2. การพยายามเข้าไปปรับปรุงระบบความสัมพันธ์แรงงานให้ดีขึ้น
  3. การปฏิรูประบอบเศรษฐกิจและการผลิตอย่างถึงรากถึงโคน

คงถึงเวลาแล้วที่ทั้งนายจ้าง ผู้รับจ้างอิสระ หรือแม้กระทั่งภาครัฐ รวมไปถึงผู้ผลิตนโยบายการเมืองเพื่อแข่งขันแย่งคะแนนเสียงในสนามเลือกตั้ง ต้องมองให้เห็นปัญหานี้ คนกลุ่มเสี่ยงนี้ ไม่ว่าจะในแง่การสร้างนโยบายเพื่อชัยชนะทางการเมือง หรือวางมาตรการพัฒนาสังคมลดความเหลื่อมล้ำอันเป็นรากฐานของการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป

เขียนโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
มาตรการสำหรับการแก้ปัญหาความอดอยากหิวโหยที่เกิดจากภัยพิบัติธรรมชาตินั้นสามารถดำเนินการได้ใน 3 ช่วงเวลา ก็คือ การเตรียมตัวก่อนภัยพิบัติจะเกิด การบรรเทาและแก้ไขปัญหาในขณะเกิดภัยพิบัติ การเยียวยาและฟื้นฟูหลังภัยพิบัติผ่านไปแล้ว   ในบทความนี้จะนำเสนอมาตรการและกรณีศึกษาที่ใช้ในการขจัดความหิว
ทศพล ทรรศนพรรณ
มาตรการทั่วไปที่ใช้ในการประกันความอิ่มท้องของประชากรในประเทศตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติที่รัฐบาลไทยประกาศสมาทานยึดถือนั้น ตั้งอยู่บนหลักกฎหมายสิทธิมนุษยชนเรื่องสิทธิด้านอาหาร นั้นหมายถึงรัฐไทยต้องมีมาตรการเคารพ ปกป้อง และส่งเสริมสิทธิประกอบด้วย กรอบทางกฎหมาย   กรอบทางนโย
ทศพล ทรรศนพรรณ
อุดมการณ์ที่เป็นสาเหตุของปัญหาแรงงานที่เกิดขึ้นทั่วโลกอยู่นั้น มีจุดก่อตัวมาจากระบบเศรษฐกิจการเมืองแบบเสรีนิยมใหม่ที่เข้ามาพร้อม ๆ กับกระแสแห่งการพัฒนาของโลกยุคโลกาภิวัฒน์ ที่ทำให้เกิดเสรีทางการลงทุนจนนำมาซึ่งรูปแบบการจ้างงานรูปที่มีความยืดหยุ่นต่อการบริหารจัดการของบรรษัท และสามารถตอบโจทย์นักลงทุ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินจำเป็นต้องวางแผนในการดำเนินการด้วยความเข้าใจพื้นฐานที่ว่า ความขัดแย้งเป็นสิ่งธรรมดาสามัญที่เกิดขึ้นได้ หากต้องการผลักดันข้อบัญญัติท้องถิ่นให้สำเร็จจึงต้องสามารถทำความเข้าใจลักษณะของข้อพิพาทที่มักเกิดขึ้นในการจัดการที่ดิน   และมีแนวทางในการข
ทศพล ทรรศนพรรณ
 ลู่ทางส่งเสริมการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ปัญหามลพิษ มีดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัญหาสิ่งแวดล้อมมักสร้างผลกระทบในระยะยาว ไม่ได้เกิดการบาดเจ็บ เสียหาย ทันทีทันใด   ดังนั้นเราจึงต้องมีวิธีการพิสูจน์ว่าความเจ็บป่วย เสียหายที่เกิดขึ้นนั้นมีผลมาจากปัญหาสิ่งแวดล้อมจริง   สิ่งที่เราต้องทำคือการเก็บหลักฐานอย่างต่อเนื่องและชัดเจนเพื่อนำไปใช้เป็นพยานหลักฐาน &n
ทศพล ทรรศนพรรณ
การจัดชุมนุมสาธารณะย่อมเป็นที่สนใจของสังคมตามความประสงค์ของผู้จัด จึงมีสื่อมวลชนที่เข้าร่วมทำข่าวทั้งที่เป็นสื่อมวลชนอาชีพที่มีสังกัดประจำหรือสื่อพลเมืองที่ทำหน้าที่ติดตามสถานการณ์และรายงานข่าวตามภูมิทัศน์เทคโนโลยีสื่อสารที่ปรับตัวไป 
ทศพล ทรรศนพรรณ
การชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธมีข้อจำกัดที่อาจถูกรัฐเข้าระงับหรือแทรกแซงการใช้สิทธิได้ตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ข้อ 4 ในสภาวะฉุกเฉินสาธารณะที่คุกคามความอยู่รอดของชาติที่ถูกประกาศอย่างเป็นทางการ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักไทย พุทธศักราช 2560 กำหนดถึงเหตุที
ทศพล ทรรศนพรรณ
การชุมนุมโดยสงบเป็นเครื่องมือที่ทำให้บุคคลทั้งหลายสามารถแสดงออกร่วมกันและมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลง ให้ปัจเจกสามารถแสดงความเป็นตัวตนของตัวเองร่วมกับผู้อื่น   โดยการเลือกสถานที่การชุมนุมอยู่ภายใต้หลักมองเห็นและได้ยิน (sight and sound) ทั้งนี้ผู้ชุมนุมต้องอยู่ในที่ที่มองเห็นและสาธารณชนต้อ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ขบวนการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้น ในบริบทโครงสร้างทางอำนาจในสังคมที่ไม่เท่าเทียมกัน การรวมศูนย์อำนาจหรือการครอบงำทางวัฒนธรรมโดยใช้วัฒนธรรมเดียว สิทธิชุมชนจึงเป็นการต่อสู้เพื่อปรับสัมพันธภาพทางอำนาจ สร้างตำแหน่งแห่งที่ให้ชุมชนให้เกิดความเป็นธรรมและเคารพในความหลากหลาย โดยท้องถิ่นมีเสรีภาพในการกำหนดกติกา
ทศพล ทรรศนพรรณ
ข้อกล่าวอ้างสำคัญของรัฐบาลไทยในการเพิ่มศักยภาพในด้านข่าวกรองและออกกฎหมายที่ให้อำนาจสอดส่องการสื่อสารของประชาชน คือ “ถ้าประชาชนไม่ได้ทำผิดจะกลัวอะไร” โดยมิได้คำนึงหลักการพื้นฐานเบื้องต้นว่า แม้ประชาชนมิได้ทำผิดกฎหมายอันใดก็มีสิทธิความเป็นส่วนตัว ปลอดจากการแทรกแซงการสื่อสาร อันเป็นสิทธิพื้นฐานตามกฎ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การพัฒนารัฐที่ใช้กฎหมายเป็นหลักประกันสิทธิมนุษยชนของประชาชน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพลเมืองในประเด็นสาธารณะของผู้ตื่นตัวทางการเมืองในลักษณะ “นิติรัฐอย่างเป็นทางการ” แตกต่างจากความสัมพันธ์ทางอำนาจแบบ “ไม่เป็นทางการ” ที่รัฐอาจหลีกเลี่ยงการใช้อำนาจปกครองภายใต้กรอบของกฎหมายเพื่อประกันสิทธิเสรีภาพต