Skip to main content

การรวมกลุ่มประเทศในระดับภูมิภาคเพื่อสร้างนโยบาย หรือกฎหมายร่วมกันของรัฐสมาชิก ตั้งอยู่บนหลักความสมัครใจเข้าร่วมของรัฐ โดยส่วนใหญ่ยึดถือเจตจำนงของรัฐเป็นสำคัญเหนือสิ่งอื่นใด   เนื่องจากรัฐทั้งหลายที่เข้ารวมกลุ่มนั้นย่อมีความหวังที่จะบรรลุเป้าหมายความเจริญก้าวหน้า และประโยชน์ของรัฐตนเป็นที่ตั้ง  หลักการสำคัญที่สะท้อนให้เห็นในบางภูมิภาค คือ กิจกรรมใดที่จะผูกพันหรือบีบบังคับให้รัฐต้องยอมตามมติ หรือความเห็นของ ภูมิภาค จะกระทำไม่ได้ถ้าปราศจากความเห็นชอบของรัฐเสียก่อน

            การรวมกลุ่มประเทศในภูมิภาคอาเซียนได้ยึด “หลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในรัฐ” นี้เป็นที่ตั้งเสมอมานับตั้งแต่วันแรกที่เริ่มตกลงเข้าสร้างความสัมพันธ์กัน   นักกฎหมายระหว่างประเทศและนักการทูตทั้งหลายจึงมักมองภูมิภาคอาเซียนว่าเป็น การรวมกลุ่มทางการทูต เสียมากกว่าการรวมกลุ่มประเทศในระดับภูมิภาคที่มีกฎหมายผูกพันให้รัฐต้องปฏิบัติตามข้อผูกพันและหลักการสำคัญบางประการ แม้รัฐหรือรัฐบาลของรัฐนั้นไม่ยินยอมก็ตาม

            หากลองเทียบเคียงกับภูมิภาคยุโรปซึ่งเป็นต้นแบบสำคัญในการยกระดับการรวมกลุ่มของรัฐเป็นภูมิภาค(การรวมกลุ่มในทุกภูมิภาคล้วนได้รับอิทธิพลมาจาการรวมกลุ่มของภูมิภาคยุโรปนับจากหลังสงครามโลกครั้งที่ 2) ก็จะเห็นความแตกต่างที่สำคัญอยู่สองประการ คือ 1. การสร้างความสำพันธ์ระหว่างรัฐโดยใช้กฎหมายเป็นกรอบความสัมพันธ์หลัก 2. พัฒนาการทางวัฒนธรรมที่มุ่งสร้างภราดรภาพระหว่างประชาชนในภูมิภาคมากกว่ายึดติดเกียรติยศศักดิ์ศรีแบบ “ชาตินิยมเหนือสิ่งอื่นใด” (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน บทความของผู้เขียนที่เคยตีพิมพ์ใน นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 4 ก.พ. 2553 หน้า 11 เรื่องการจัดการความขัดแย้งระดับภูมิภาค: จากผลประโยชน์รัฐ สู่ ผลประโยชน์ร่วม)

  1. นโยบายของภูมิภาคยุโรปตั้งอยู่บนฐานจิตสำนึกที่สำคัญประการหนึ่ง คือ   “การยึดถือกฎหมายเป็นใหญ่”   หรือนิติรัฐ(นิติภูมิภาค) นั่นเอง   หากมีข้อพิพาทเกิดขึ้นระหว่างรัฐสมาชิกจำต้องมีการแสวงหาข้อยุติโดยกระบวนการทางกฎหมาย   อาทิ   การเริ่มต้นด้วยการสร้างพันธะระหว่างรัฐด้วยสนธิสัญญา   การสร้างสภายุโรปเพื่อออกกฎหมายระดับภูมิภาค   การสร้างคณะกรรมการบริหารงานเพื่อบังคับใช้กฎหมายของสหภาพยุโรป   รวมถึงการมีองค์กรชี้ขาดข้อพิพาทต่างๆ   ทั้งนี้ยังมีการบังคับให้ทุกประเทศที่เข้าร่วมต้องรับเอาปฏิญญาสิทธิมนุษยชนยุโรปและรับเขตอำนาจศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปด้วย   ทำให้ข้อพิพาทใดที่เกิดขึ้นมีแนวทางในการแสวงหาจุดร่วมสงวนจุดต่าง โดยอาศัยกติกาที่ประเทศต่างๆมีส่วนร่วมกำหนดมาบังคับใช้ หรือเป็นแนวทางปฏิบัติต่อไป   รวมถึงกรณีที่ภูมิภาคและรัฐต่างๆเห็นว่า รัฐใดละเมิดสิทธิของประชาชนมีลักษณะฝ่าฝืนกฎหมายของภูมิภาค เช่น กฎบัตรสิทธิมนุษยชน   ภูมิภาคก็จะมีบทบาทเข้าแก้ไข หรือเยียวยาความเสียหายให้กับประชาชนด้วย
  2. วัฒนธรรมการระงับข้อพิพาทโดยอ้างอิงกฎหมายถือเป็นการตกผลึกของอารยธรรมตะวันตกที่ผ่านการต่อสู้ช่วงชิงตลอดระยะเวลานับพันปี ไม่ว่าจะเป็นการทำสงครามระหว่างรัฐ สงครามกลางเมือง สงครามปลดแอกหรือสงครามปฏิวัติ   การทำสงครามเป็นจำนวนมากและมีผลกระทบมหาศาลนี้เองได้สร้างบทเรียนคอยย้ำเตือนให้ประชาชนชาวยุโรปตระหนักถึงคุณค่าของสันติภาพ จนอาจจะมากเสียกว่าความภาคภูมิใจในชาติหรือรัฐของตนแบบสุดลิ่มทิ่มประตู   ยิ่งไปกว่านั้นชนชั้นปกครองของยุโรปก็ต้องควบคุมการใช้อำนาจของตนให้มุ่งไปสู่ความร่วมมือ มากกว่าการทำลาย เนื่องจนประชาชนของตนตระหนักรู้และเพรียกหาความมั่นคงในสิทธิเสรีภาพ จนสามารถตรวจสอบควบคุมตัวแทนของตนได้อย่างเข้มแข็ง   หากมีกรณีที่ภูมิภาคและรัฐต่างๆเห็นว่า รัฐใดละเมิดสิทธิของประชาชนจนมีลักษณะกระทบต่อสันติภาพของภูมิภาค เช่น การละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง   ภูมิภาคก็จะมีบทบาทเข้าแก้ไข หรือเยียวยาความเสียหายให้กับประชาชนด้วย

อย่างไรก็ดีสิ่งสำคัญที่ประชาชนในภูมิภาคอาเซียนอย่างเราๆท่านๆจะต้องร่วมกันตัดสินใจต่อไป คือ เราจะยังคงมีการคงนโยบายไม่แทรกแซงกิจการภายในรัฐสมาชิกประชาคมอาเซียนต่อไป หรือลดความเข้มข้นของหลักการนี้เพื่อนำไปสู่การรวมกลุ่มอย่างเป็นเอกภาพและมีสภาพบังคับในทางกฎหมายให้เกิดการดำเนินการเพื่อผลประโยชน์ร่วมของภูมิภาค   เพราะหากเราเลือกที่จะมุ่งสู่การรวมกลุ่มอย่างจริงจังประเด็นสำคัญๆในการรวมกลุ่มจะต้องมีสภาพบังคับทางกฎหมายมากขึ้น อาทิ เศรษฐกิจเสรีและเป็นธรรมมากขึ้น การแก้ไขปัญหาสิทธิมนุษยชนร้ายแรงมิให้กระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของสังคม เป็นต้น

            ความซับซ้อนซ่อนเงื่อน จึงอยู่ที่ว่า   เรามองผลประโยชน์ร่วมของใครเป็นสำคัญ ระหว่าง ผลประโยชน์ของประชาชน(ชนชั้นกลางไปจนถึงชนชั้นล่าง) หรือ ผลประโยชน์ของผู้ปกครองหรือกลุ่มผลประโยชน์ที่มีอิทธิพลต่อผู้ปกครอง (ชนชั้นนำทางการเมืองและเศรษฐกิจ)

            หากมองประเด็นสำคัญที่มุ่งผลักดัน และไม่ผลักดันในภูมิภาคอาเซียนจะเห็นถึง นโยบายที่มุ่งผลักดันอย่างชัดเจนของ ผู้ปกครองหรือกลุ่มผลประโยชน์ที่มีอิทธิพลต่อผู้ปกครอง   อาทิ   การเปิดตลาดการค้าเสรีที่มากขึ้นโดยไม่พูดถึงเรื่องความเป็นธรรมในการแข่งขันของธุรกิจท้องถิ่นและผู้ประกอบการรายย่อยมากนัก   การปิดประตูประเทศไม่ให้ก้าวก่ายเรื่องการเมืองเมื่อมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนภายในรัฐโดยหยิบหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในเป็นข้ออ้าง

            กฎบัตรอาเซียน แม้เป็นเอกสารทางกฎหมายที่สำคัญของภูมิภาคอาเซียน และได้กล่าวถึงความเป็นธรรมในการพัฒนา และส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในภูมิภาค   แต่ก็ไม่สามารถก้าวข้ามอุปสรรคเรื่องการห้ามแทรกแซงกิจการภายในโดยเฉพาะเรื่องการเมือง แม้ให้มีคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนอาเซียน แต่ก็ไม่สามารถบีบบังคับรัฐให้ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด  ดังปรากฏในเหตุการณ์ความรุนแรงภายในรัฐไทย

            ประชาชนชาวไทยในฐานะ พลเมืองอาเซียน จะได้ประโยชน์อย่างไร หากผู้นำยังคงหลักไม่แทรกแซงกิจการภายในสืบไปเช่นนี้   หรือคนที่จะได้ประโยชน์จริงๆเป็นเพียง ผู้ปกครอง/กลุ่มผลประโยชน์

เขียนโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
ผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน (Human Rights Defender – “นักปกป้องสิทธิมนุษยชน” คือ คำแปลทางการของรัฐไทย) ที่องค์การสหประชาชาติได้ให้นิยามไว้นั้นหมายถึง "บุคคลผู้ดำเนินการโดยลำพังหรือร่วมกับบุคคลอื่น กระทำการเพื่อส่งเสริมหรือคุ้ครองสิทธิมนุษยชน"
ทศพล ทรรศนพรรณ
เกษตรกรรมถือเป็นวิถีการผลิตที่อยู่ควบคู่กับชีวิตคนไทยจำนวนไม่น้อยมาเป็นเวลานาน   แต่ในปัจจุบันนี้การผลิตในวิถีทางเดิมได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างที่คนในสังคมไทยมิได้ตระหนักรู้    ความคิดและจินตนาการเดิมเกี่ยวกับเกษตรกรรมที่มีทุ่งนาสีเขียว ชาวนารวมตัวกันลงแขกเกี่ยวข้าว หรือทำการผ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การใช้กำลังเข้าประหัตประหารกันของมนุษย์ปรากฏอยู่อย่างต่อเนื่องยาวนานควบคู่กับทุกสังคม   แต่ก็มีหลายอารยธรรมพยายามสร้างขอบเขตและแนวทางในการควบคุมความเสียหายของการใช้กำลังมิให้กระทบกระเทือนชีวิตผู้คน ทรัพย์สิน และสังคม มากเกินกว่าจะธำรงเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ไว้ได้
ทศพล ทรรศนพรรณ
การรวมกลุ่มประเทศในระดับภูมิภาคเพื่อสร้างนโยบาย หรือกฎหมายร่วมกันของรัฐสมาชิก ตั้งอยู่บนหลักความสมัครใจเข้าร่วมของรัฐ โดยส่วนใหญ่ยึดถือเจตจำนงของรัฐเป็นสำคัญเหนือสิ่งอื่นใด   เนื่องจากรัฐทั้งหลายที่เข้ารวมกลุ่มนั้นย่อมีความหวังที่จะบรรลุเป้าหมายความเจริญก้าวหน้า และประโยชน์ของรัฐตนเป็นท
ทศพล ทรรศนพรรณ
7.เสรีภาพในการแสดงออก การสอดส่องของรัฐ และการควบคุมเนื้อหา  
ทศพล ทรรศนพรรณ
แรงงานสร้างสรรค์ในบทความนี้ที่จะพูดถึง คือ ผู้คนที่ทำงานในอุตสาหกรรมภาคสร้างสรรค์ เช่น คนทำสื่อสาระ บันเทิง ละคร นักเขียน ไปจนถึง นักแปล ดารา นักแสดง ศิลปิน ที่กลายเป็นอาชีพที่ปัญญาชน หรือผู้มีการศึกษายึดเป็นวิถีทางในการประกอบสัมมาอาชีพ หารายได้เลี้ยงดูตนเองและครอบครัว กันเป็นจำนวนมาก
ทศพล ทรรศนพรรณ
การประกวดความงามในช่วงหลังได้กลายเป็นเวทีแสดงพลังของความงดงามที่หลากหลาย และใช้ประเด็นการสร้างความเข้มแข็งให้สตรีเป็นแกนหลักส่งเสริมความงาม “อย่างมีคุณค่า”
ทศพล ทรรศนพรรณ
ระบอบการกำกับโลกไซเบอร์และตัวแบบในการกำกับดูแลพื้นที่ไซเบอร์
ทศพล ทรรศนพรรณ
4.ความเป็นส่วนตัวในการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล       
ทศพล ทรรศนพรรณ
Internet Communication            ปัจจุบันเทคโนโลยีถือเป็นตัวกำหนดภูมิทัศน์ทางสังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรม ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ถือเป็นความท้าทายในสังคมยุดิจิทัลซึ่งผู้ให้บริการในโลกธุรกิจต้องเผชิญ เ
ทศพล ทรรศนพรรณ
มาตรการรัดเข็มขัด (Austerity) หรือ นโยบายที่มีแนวโน้มปรับลดค่าใช้จ่ายภาครัฐหรือเพิ่มการจัดเก็บภาษีควบคู่ไปด้วย  แนวทางนี้เป็นสิ่งที่ถูกโจมตีโดยนักคิดนักวิเคราะห์สายส่งเสริมสวัสดิการสังคมและพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนมาอย่างต่อเนื่องเพราะการตัดลดงบประมาณหมายถึงการลดคุณภาพและปริมาณสวัสดิการสังคมที