Skip to main content

 

            ในยุคนี้คงไม่มีใครปฏิเสธหลักการที่เรียกว่า “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” เพราะไม่ว่าจะเป็นองค์กรในภาคส่วนไหนก็ได้นำหลักการนี้มาปรับใช้กับการทำงานและแสดงออกว่าเป็นภาพลักษณ์หลักขององค์กรตนเอง

            ภาครัฐนำหลักการนี้มาเป็นกรอบในการวางนโยบายและยุทธศาสตร์ทั้งหลายจนกลายมาเป็นแผนยุทธศาสตร์ 20 ปีที่วางอยู่บนรากฐานของการพัฒนาอย่างยั่งยืน

            บรรษัทเอกชนขนาดใหญ่ที่มุ่งหวังจะก้าวไปเป็นองค์กรระดับโลกก็สร้างความร่วมมือกับโครงการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (UNDP) เพื่อปรับภาพลักษณ์องค์กรตนเองที่โดนถาโถมจากหลายภาคส่วน โดยจัดวางองค์กรตนเองให้มุ่งไปสู่การเป็นบริษัทที่มีเป้าหมายและกระบวนการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน

            แต่คำถามที่ยังคาใจใครหลายๆ คน คือ การพัฒนาอย่างยั่งยืนทำอย่างไร และหลักการใดบ้างที่เป็นแก่นในการพิจารณาว่าการพัฒนานั้นยั่งยืนจริง

            หลักการที่จะหยิบมาพูดในบทความนี้ สอดคล้องกับสถานการณ์ในสังคมไทยที่คนรุ่นใหญ่เริ่มออกมาตักเตือน สั่งสอน คนรุ่นใหม่ ให้คิด วิเคราะห์แยกแยะ ว่า ให้ระวังอะไร เลือกอะไร ในลักษณะกึ่งชี้นำเมื่อองศาทางการเมืองเริ่มจะเดือดขึ้นเรื่อยๆ ตามระยะเวลาตัดสินใจที่ใกล้จะถึงวันหย่อนบัตร

            การปะทะกันทางความคิดและโวหารระหว่างคนต่างรุ่นจึงเกิดขึ้น วาทะประเภท “อาบน้ำร้อนมาก่อน” หรือ “ลำเลิกบุญคุณ” จึงกลายมาเป็นแนวทางหลักของคนรุ่นเก่าที่เริ่มเพลี่ยงพล้ำในเวทีการถกเถียงเชิงเหตุผล

            ส่วนคนรุ่นใหม่ไม่น้อยก็ตั้งข้อกังขาว่าคนรุ่นเก่าได้ทิ้งสมบัติทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมอะไรไว้ให้พวกเขา โดยเฉพาะเมื่อสังคมไทยได้ผ่านยุคสมัยแห่งความโกลาหลทางการเมืองมาเกินกว่าหนึ่งทศวรรษ

            หลักการที่นำมาวิเคราะห์เรื่องนี้ได้ดี คือ หลักความยุติธรรมระหว่างคนต่างยุค (Inter-Generation Justice)

            หลักการนี้ปรากฏอยู่เป็นส่วนหนึ่งของหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืนเคียงคู่กับหลักการอื่นๆ โดยหลักการที่เกี่ยวข้องและสร้างความเข้าใจต่อหลักการนี้อย่างเห็นได้ชัด คือ หลักการมีส่วนร่วม กล่าวคือ ในการตัดสินใจเรื่องใดๆที่จะมีผลกระทบในวงกว้าง จำเป็นต้องเปิดโอกาสให้มีส่วนได้ส่วนเสีย เข้ามารับรู้ข้อมูล แสดงออกถึงจุดยืนและความคิดเห็น ไปจนถึงการร่วมกำหนดอนาคตด้วยการตัดสินใจ ไม่ว่าจะเป็นการทำประชาพิจารณ์ ประชามติ หรือลงคะแนนเสียง

            หลักความยุติธรรมระหว่างคนต่างยุคได้สร้างพันธะข้ามกาลเวลาเพื่อกระตุ้นเตือนคนในยุคต่าง ๆ ด้วยว่า การตัดสินใจใด ๆ ก็ตาม ย่อมสร้างผลลัพธ์ตามมาสู่คนรุ่นหลักด้วย   ดังนั้นการเลือกทำหรือไม่ทำอะไรในช่วงเวลาหนึ่งซึ่งมีคนกลุ่มหนึ่งได้กลุ่มหนึ่งเสีย จะต้องตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดต่อคนในยุคหลังด้วย

            ไม่น่าแปลกใจที่คนรุ่นใหม่ในยุคปัจจุบันจึงได้ตั้งคำถามเอากับคนรุ่นใหญ่ว่า เหตุใดตนจึงต้องมาอยู่ท่ามกลางสภาวะความเสี่ยงภัยหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นความคับข้องทางการเมืองที่ตนไม่สามารถใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกได้ตามครรลองระบอบประชาธิปไตย แม้กฎหมายจะกำหนดไว้ว่าตนมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่จะร่วมกำหนดอนาคตของชาติได้ก็ตาม

            ยิ่งไปกว่านั้นความเสี่ยงทางเศรษฐกิจที่คนรุ่นใหม่ต้องเผชิญกับสภาวะการจ้างงานยืดหยุ่นไร้ความมั่นคง สืบเนื่องมาจากนโยบายทางเศรษฐกิจและกฎหมายแรงงานสวัสดิการสังคมมิได้รองรับความด้อยสิทธิของคนทำงานในรูปแบบการจ้างงานแบบใหม่ที่เป็นที่แพร่หลายอย่าง ฟรีแลนซ์ ช่างฝีมืออิสระ หรือผู้ประกอบการรายย่อย ย่อมเป็นตัวกระตุ้นให้คนรุ่นใหม่ ต้องการให้มีโครงการทางการเมืองหรือพรรคการเมืองของคนรุ่นใหม่ที่เข้าใจสถานการณ์ของพวกเขาเสนอนโยบายมารองรับปัญหาใหม่ ๆ เหล่านี้

            ในทางสังคมการอยู่ท่ามกลางความขัดแย้งมาเป็นระยะเกินกว่าสิบปีได้ทวีความเกลียดชังหรือไม่ไว้วางใจระหว่างกลุ่มคนให้กว้างขวาง หลายกรณีเกิดเป็นความรังเกียจเดียดฉันท์ถาวร ทำให้บั่นทอนภราดรภาพของผู้คนในสังคมจนผลักดันให้เกิดความเปลี่ยวเหงาโดดเดี่ยวท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงที่ถาโถมมาจากทั่วโลกอย่างมหาศาล การขาดไร้ซึ่งขบวนการทางสังคมที่สามารถรองรับคนรุ่นใหม่ที่มีอัตลักษณ์แตกต่างหลากหลาย มิใช่การบังคับให้รัก ชอบ ยึดมั่นถือมั่นสถาบันสังคมเพียงบางอย่าง จึงกลายเป็นการฝืนใจคนรุ่นใหม่จำนวนมาก

            สืบเนื่องไปถึงวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ที่มีลักษณะปลีกย่อยไปตามความสนใจและถนัดของแต่ละคนที่กระตุ้นเร้าไปด้วยความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีสื่อสาร  การบังคับให้เชื่อค่านิยมเดียว กระทำการร่วมกันแบบวัฒนธรรมเชิงเดี่ยว เช่นการไล่ให้ไปฟังเพลงๆเดียว ที่เปิดไว้ให้คนเกลียดชังกันเมื่อครั้งสงครามเย็น ย่อมแสดงให้เห็นถึงความรู้ไม่เท่าทันของคนรุ่นเก่า

            ความเปลี่ยนแปลงมาเร็วและแรง แต่ทุกคนมีหนึ่งเสียงเท่ากัน หากคนรุ่นใหญ่อยากจะเป็นที่ยอมรับจากสังคมโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ การรับฟังเสียงที่ต่างไปจากตนอย่างนอบน้อม และติดตามความหลากหลายที่คนรุ่นใหม่พยายามสะท้อนให้ได้ยินได้ฟังอย่างสุภาพ ย่อมเป็นขุมทรัพย์ทางข่าวกรองอันมีมูลค่ามหาศาลกว่าการจ้างหน่วยปฏิบัติการข่าวใดๆทั้งสิ้น

            บรรษัทขนาดใหญ่ทั้งหลายทยอยปรับตัวเพื่อก้าวให้ทันความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย เช่นเดียวกับประชาสังคมและองค์การระหว่างประเทศขนาดใหญ่ระดับโลก เพราะล้วนมองเห็นว่าอนาคตยังคงต้องส่งต่อไปยังคนรุ่นถัดไป อยู่ที่ว่าคนรุ่นเก่าจะส่งอะไรไปให้กับคนรุ่นถัดไป

            หากส่งของเสียเน่าพังไปให้ก็ไม่พ้นต้องได้รับคำประณามดุจคำปราศรัยของ  Greta Thunberg ในเวทีประชุมสิ่งแวดล้อมโลก

 

เขียนโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
มาตรการสำหรับการแก้ปัญหาความอดอยากหิวโหยที่เกิดจากภัยพิบัติธรรมชาตินั้นสามารถดำเนินการได้ใน 3 ช่วงเวลา ก็คือ การเตรียมตัวก่อนภัยพิบัติจะเกิด การบรรเทาและแก้ไขปัญหาในขณะเกิดภัยพิบัติ การเยียวยาและฟื้นฟูหลังภัยพิบัติผ่านไปแล้ว   ในบทความนี้จะนำเสนอมาตรการและกรณีศึกษาที่ใช้ในการขจัดความหิว
ทศพล ทรรศนพรรณ
มาตรการทั่วไปที่ใช้ในการประกันความอิ่มท้องของประชากรในประเทศตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติที่รัฐบาลไทยประกาศสมาทานยึดถือนั้น ตั้งอยู่บนหลักกฎหมายสิทธิมนุษยชนเรื่องสิทธิด้านอาหาร นั้นหมายถึงรัฐไทยต้องมีมาตรการเคารพ ปกป้อง และส่งเสริมสิทธิประกอบด้วย กรอบทางกฎหมาย   กรอบทางนโย
ทศพล ทรรศนพรรณ
อุดมการณ์ที่เป็นสาเหตุของปัญหาแรงงานที่เกิดขึ้นทั่วโลกอยู่นั้น มีจุดก่อตัวมาจากระบบเศรษฐกิจการเมืองแบบเสรีนิยมใหม่ที่เข้ามาพร้อม ๆ กับกระแสแห่งการพัฒนาของโลกยุคโลกาภิวัฒน์ ที่ทำให้เกิดเสรีทางการลงทุนจนนำมาซึ่งรูปแบบการจ้างงานรูปที่มีความยืดหยุ่นต่อการบริหารจัดการของบรรษัท และสามารถตอบโจทย์นักลงทุ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินจำเป็นต้องวางแผนในการดำเนินการด้วยความเข้าใจพื้นฐานที่ว่า ความขัดแย้งเป็นสิ่งธรรมดาสามัญที่เกิดขึ้นได้ หากต้องการผลักดันข้อบัญญัติท้องถิ่นให้สำเร็จจึงต้องสามารถทำความเข้าใจลักษณะของข้อพิพาทที่มักเกิดขึ้นในการจัดการที่ดิน   และมีแนวทางในการข
ทศพล ทรรศนพรรณ
 ลู่ทางส่งเสริมการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ปัญหามลพิษ มีดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัญหาสิ่งแวดล้อมมักสร้างผลกระทบในระยะยาว ไม่ได้เกิดการบาดเจ็บ เสียหาย ทันทีทันใด   ดังนั้นเราจึงต้องมีวิธีการพิสูจน์ว่าความเจ็บป่วย เสียหายที่เกิดขึ้นนั้นมีผลมาจากปัญหาสิ่งแวดล้อมจริง   สิ่งที่เราต้องทำคือการเก็บหลักฐานอย่างต่อเนื่องและชัดเจนเพื่อนำไปใช้เป็นพยานหลักฐาน &n
ทศพล ทรรศนพรรณ
การจัดชุมนุมสาธารณะย่อมเป็นที่สนใจของสังคมตามความประสงค์ของผู้จัด จึงมีสื่อมวลชนที่เข้าร่วมทำข่าวทั้งที่เป็นสื่อมวลชนอาชีพที่มีสังกัดประจำหรือสื่อพลเมืองที่ทำหน้าที่ติดตามสถานการณ์และรายงานข่าวตามภูมิทัศน์เทคโนโลยีสื่อสารที่ปรับตัวไป 
ทศพล ทรรศนพรรณ
การชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธมีข้อจำกัดที่อาจถูกรัฐเข้าระงับหรือแทรกแซงการใช้สิทธิได้ตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ข้อ 4 ในสภาวะฉุกเฉินสาธารณะที่คุกคามความอยู่รอดของชาติที่ถูกประกาศอย่างเป็นทางการ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักไทย พุทธศักราช 2560 กำหนดถึงเหตุที
ทศพล ทรรศนพรรณ
การชุมนุมโดยสงบเป็นเครื่องมือที่ทำให้บุคคลทั้งหลายสามารถแสดงออกร่วมกันและมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลง ให้ปัจเจกสามารถแสดงความเป็นตัวตนของตัวเองร่วมกับผู้อื่น   โดยการเลือกสถานที่การชุมนุมอยู่ภายใต้หลักมองเห็นและได้ยิน (sight and sound) ทั้งนี้ผู้ชุมนุมต้องอยู่ในที่ที่มองเห็นและสาธารณชนต้อ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ขบวนการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้น ในบริบทโครงสร้างทางอำนาจในสังคมที่ไม่เท่าเทียมกัน การรวมศูนย์อำนาจหรือการครอบงำทางวัฒนธรรมโดยใช้วัฒนธรรมเดียว สิทธิชุมชนจึงเป็นการต่อสู้เพื่อปรับสัมพันธภาพทางอำนาจ สร้างตำแหน่งแห่งที่ให้ชุมชนให้เกิดความเป็นธรรมและเคารพในความหลากหลาย โดยท้องถิ่นมีเสรีภาพในการกำหนดกติกา
ทศพล ทรรศนพรรณ
ข้อกล่าวอ้างสำคัญของรัฐบาลไทยในการเพิ่มศักยภาพในด้านข่าวกรองและออกกฎหมายที่ให้อำนาจสอดส่องการสื่อสารของประชาชน คือ “ถ้าประชาชนไม่ได้ทำผิดจะกลัวอะไร” โดยมิได้คำนึงหลักการพื้นฐานเบื้องต้นว่า แม้ประชาชนมิได้ทำผิดกฎหมายอันใดก็มีสิทธิความเป็นส่วนตัว ปลอดจากการแทรกแซงการสื่อสาร อันเป็นสิทธิพื้นฐานตามกฎ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การพัฒนารัฐที่ใช้กฎหมายเป็นหลักประกันสิทธิมนุษยชนของประชาชน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพลเมืองในประเด็นสาธารณะของผู้ตื่นตัวทางการเมืองในลักษณะ “นิติรัฐอย่างเป็นทางการ” แตกต่างจากความสัมพันธ์ทางอำนาจแบบ “ไม่เป็นทางการ” ที่รัฐอาจหลีกเลี่ยงการใช้อำนาจปกครองภายใต้กรอบของกฎหมายเพื่อประกันสิทธิเสรีภาพต