Skip to main content

การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินจำเป็นต้องวางแผนในการดำเนินการด้วยความเข้าใจพื้นฐานที่ว่า ความขัดแย้งเป็นสิ่งธรรมดาสามัญที่เกิดขึ้นได้ หากต้องการผลักดันข้อบัญญัติท้องถิ่นให้สำเร็จจึงต้องสามารถทำความเข้าใจลักษณะของข้อพิพาทที่มักเกิดขึ้นในการจัดการที่ดิน   และมีแนวทางในการขับเคลื่อนนโยบายออกมาเป็นกฎหมายให้ได้แม้จะมีข้อพิพาทก็ตาม   ทั้งนี้เนื่องจากการออกข้อบัญญัติท้องถิ่นเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรย่อมต้องออกแบบอยู่บนพื้นฐานของข้อกฎหมายที่มีหน่วยงานต่าง ๆ เป็นผู้บังคับใช้ และมีแนวทางในการจัดการทรัพยากรตามวัตถุประสงค์ของหน่วยงานต่าง ๆ ที่อาจแตกต่างไปจากความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น   นอกจากกระบวนการในการออกข้อบัญญัติซึ่งต้องออกแบบระบบการระงับข้อพิพาทแล้ว   ข้อพิพาทในสิทธิเหนือที่ดินก็ยังมีลักษณะแตกต่างกันไปตามรูปแบบความสัมพันธ์ของผู้ทรงสิทธิต่าง ๆ ที่อ้างสิทธิเหนือที่ดิน หรือทรัพยากรนั้น ไม่ว่าจะเป็น ประชาชน ชุมชน รัฐ หรือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ฯลฯ


ข้อพิพาทด้านที่ดินส่วนใหญ่มักอยู่ในรูปแบบข้อพิพาททางมหาชน (ข้อพิพาทที่มีฝ่ายหนึ่งเป็นรัฐ รึ รัฐทั้งสองฝ่าย) โดยเฉพาะข้อพิพาททางปกครองในเรื่องการใช้ฐานทรัพยากร   การระงับข้อพิพาทจึงต้องนำเรื่องการใช้อำนาจของเจ้าพนักงานอย่างโปร่งใส มีเหตุผล และอยู่ในกรอบของกฎหมาย ห้ามใช้อำนาจตามอำเภอใจ   จึงต้องมีการออกข้อบัญญัติมาเป็นแนวทางในการจัดการปัญหาเกี่ยวกับฐานทรัพยากรที่ดินไว้ล่วงหน้า  โดยต้องคำนึงประสบการณ์ที่ผ่านมาในกรณีศึกษาต่าง ๆ ในประเด็นต่อไปนี้


การประกาศเขตป่าทับที่ดินทำกินของประชาชน   มีลักษณะเป็นการออกคำสั่งทางปกครองของกรมป่าไม้ที่กระทบกระเทือนต่อสิทธิของประชาชนและชุมชนในการใช้สอยและอนุรักษ์ฟื้นฟูฐานทรัพยากรของตนเอง   ดังนั้นการระงับข้อพิพาทจะต้องใช้แนวทางของกฎหมายปกครอง โดยต้องมีการโต้แย้งสิทธิและพิสูจน์สิทธิของชุมชน หรืออาจทำข้อตกลงระหว่างประชาชนกับหน่วยงานของรัฐในลักษณะสัญญาทางปกครองในการใช้สอย อนุรักษ์ ฟื้นฟู ฐานทรัพยากรธรรมชาติร่วมกัน


นโยบายส่งเสริมการปลูกป่ากระทบประชาชน มีลักษณะเป็นการกระทำทางปกครองของหน่วยงานด้านอุตสาหกรรมป่าไม้ที่กระทบกระเทือนต่อสิทธิของประชาชนและชุมชนในการใช้สอยและอนุรักษ์ฟื้นฟูฐานทรัพยากรของตนเอง   ดังนั้นการระงับข้อพิพาทจะต้องใช้แนวทางของกฎหมายปกครอง โดยต้องมีการโต้แย้งสิทธิและพิสูจน์สิทธิของชุมชน เพื่อยกเลิกโครงการที่มีผลกระทบต่อชุมชน หรือท้องถิ่น


นโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวกระทบประชาชน มีลักษณะเป็นการออกคำสั่งทางปกครองของหน่วยงานรัฐทั้งระดับชาติและภูมิภาคที่กระทบกระเทือนต่อสิทธิของประชาชนและชุมชนในการใช้สอยและอนุรักษ์ฟื้นฟูฐานทรัพยากรของตนเอง   ดังนั้นการระงับข้อพิพาทจะต้องใช้แนวทางของกฎหมายปกครอง โดยต้องมีการโต้แย้งสิทธิและพิสูจน์สิทธิของชุมชน เพื่อยกเลิกโครงการที่มีผลกระทบต่อชุมชน หรือท้องถิ่น


การให้สัมปทานเหมือง และโรงงานอุตสาหกรรม  มีลักษณะเป็นการออกคำสั่งทางปกครองของหน่วยงานรัฐทั้งระดับชาติและภูมิภาคที่กระทบกระเทือนต่อสิทธิของประชาชนและชุมชนในการใช้สอยและอนุรักษ์ฟื้นฟูฐานทรัพยากรของตนเอง   ไม่ว่าจะเป็นกรมโรงงาน กรมเหมืองแร่ หรือกรมควบคุมมลพิษ   ดังนั้นการระงับข้อพิพาทจะต้องใช้แนวทางของกฎหมายปกครอง โดยต้องมีการโต้แย้งสิทธิและการประเมินผลกระทบความเสี่ยงต่อสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัยในฐานะเป็นสิทธิของชุมชน เพื่อนำไปสู่กระบวนการรับฟังความคิดเห็น และยกเลิกโครงการที่มีผลกระทบต่อชุมชน หรือท้องถิ่นนั้น


การใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐแบบการจัดสรรเฉพาะ (นิคมอุตสาหกรรม)  มีลักษณะเป็นการออกคำสั่งทางปกครองของหน่วยงานรัฐทั้งระดับชาติที่กระทบกระเทือนต่อสิทธิของประชาชนและชุมชนในการใช้สอยและอนุรักษ์ฟื้นฟูฐานทรัพยากรของตนเอง   ไม่ว่าจะเป็นกรมโรงงาน กรมเหมืองแร่ หรือสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร   ดังนั้นการระงับข้อพิพาทจะต้องใช้แนวทางของกฎหมายปกครอง โดยต้องมีการโต้แย้งสิทธิและการประเมินผลกระทบความเสี่ยงต่อสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัยในฐานะเป็นสิทธิของชุมชน หรือผังการกำหนดประเภทการใช้ประโยชน์ในที่ดินเพื่อนำไปสู่กระบวนการรับฟังความคิดเห็น และยกเลิกโครงการที่มีผลกระทบต่อชุมชน หรือท้องถิ่นนั้น


การใช้ประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน มีลักษณะเป็นคำสั่งทางปกครองของหน่วยงานด้านการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรที่กระทบกระเทือนต่อสิทธิของประชาชนและชุมชนในการใช้สอยและอนุรักษ์ฟื้นฟูฐานทรัพยากรของตนเอง   ดังนั้นการระงับข้อพิพาทจะต้องใช้แนวทางของกฎหมายปกครอง โดยต้องมีการโต้แย้งสิทธิและพิสูจน์สิทธิของชุมชน เพื่อยกเลิกโครงการที่มีผลกระทบต่อชุมชน หรือท้องถิ่น


การใช้ประโยชน์ในที่ดินทหาร มีลักษณะเป็นการออกคำสั่งทางปกครองของกรมทหารที่กระทบกระเทือนต่อสิทธิของประชาชนและชุมชนในการใช้สอยและอนุรักษ์ฟื้นฟูฐานทรัพยากรของตนเอง   ดังนั้นการระงับข้อพิพาทจะต้องใช้แนวทางของกฎหมายปกครอง โดยต้องมีการโต้แย้งสิทธิและพิสูจน์สิทธิของชุมชน หรืออาจทำข้อตกลงระหว่างประชาชนกับหน่วยงานของรัฐในลักษณะสัญญาทางปกครองในการใช้สอย อนุรักษ์ ฟื้นฟู ฐานทรัพยากรธรรมชาติร่วมกัน
การใช้ประโยชน์ในที่ดินสาธารณะประโยชน์ มีลักษณะเป็นการออกคำสั่งทางปกครองของเจ้าของพื้นที่นั้น เช่น กรมธนารักษ์ ฯลฯ ที่กระทบกระเทือนต่อสิทธิของประชาชนและชุมชนในการใช้สอยและอนุรักษ์ฟื้นฟูฐานทรัพยากรของตนเอง   ดังนั้นการระงับข้อพิพาทจะต้องใช้แนวทางของกฎหมายปกครอง โดยต้องมีการโต้แย้งสิทธิและพิสูจน์สิทธิของชุมชน หรืออาจทำข้อตกลงระหว่างประชาชนกับหน่วยงานของรัฐในลักษณะสัญญาทางปกครองในการใช้สอย อนุรักษ์ ฟื้นฟู ฐานทรัพยากรธรรมชาติร่วมกัน


การใช้ที่ดินราชพัสดุ มีลักษณะเป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินโดยขัดกับผลประโยชน์ของเจ้าของพื้นที่นั้น เช่น สำนักงานทรัพย์สินฯ ฯลฯ ที่กระทบกระเทือนต่อสิทธิของประชาชนและชุมชนในการใช้สอยฐานทรัพยากรที่ดิน   ดังนั้นการระงับข้อพิพาทจะต้องใช้แนวทางของกฎหมายแพ่ง โดยต้องมีการโต้แย้งสิทธิและพิสูจน์สิทธิของชุมชน หรืออาจทำข้อตกลงระหว่างประชาชนกับหน่วยงานในลักษณะสัญญาทางแพ่งในการใช้ประโยชน์จาก ฐานทรัพยากรธรรมชาติร่วมกัน
การใช้ประโยชน์ในที่ดินของเอกชน มีลักษณะเป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินโดยขัดกับผลประโยชน์ของเจ้าของพื้นที่นั้น เช่น ประชาชน นิติบุคคล ฯลฯ ที่กระทบกระเทือนต่อสิทธิของประชาชนและชุมชนในการใช้สอยฐานทรัพยากรที่ดิน   ดังนั้นการระงับข้อพิพาทจะต้องใช้แนวทางของกฎหมายแพ่ง โดยต้องมีการโต้แย้งสิทธิและพิสูจน์สิทธิของชุมชน หรืออาจทำข้อตกลงระหว่างประชาชนกับเอกชนในลักษณะสัญญาทางแพ่งในการใช้ประโยชน์จาก ฐานทรัพยากรธรรมชาติร่วมกัน


การออกเอกสารสิทธิ์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีลักษณะเป็นการออกคำสั่งหรือการกระทำทางปกครองของ กรมที่ดิน  ที่กระทบกระเทือนต่อสิทธิของประชาชนและชุมชนในการใช้สอยและอนุรักษ์ฟื้นฟูฐานทรัพยากรของตนเอง   ดังนั้นการระงับข้อพิพาทจะต้องใช้แนวทางของกฎหมายปกครอง โดยต้องมีการโต้แย้งสิทธิและพิสูจน์สิทธิของชุมชน หรืออาจทำการโต้แย้งสิทธิในทางแพ่งเรื่องทรัพยสิทธิเหนือที่ดิน เพื่อยืนยันสิทธิในการใช้สอย อนุรักษ์ ฟื้นฟู ฐานทรัพยากรธรรมชาติร่วมกัน


การสูญเสียที่ดินด้วยการฉ้อโกง มีลักษณะเป็นการกระทำฉ้อฉลในทางแพ่งและฉ้อโกงในทางอาญา  ที่กระทบกระเทือนต่อสิทธิของประชาชนและชุมชนในการใช้สอยและอนุรักษ์ฟื้นฟูฐานทรัพยากรของตนเอง   ดังนั้นการระงับข้อพิพาทจะต้องใช้แนวทางของกฎหมายอาญา โดยต้องมีการเรียกร้องสิทธิและพิสูจน์ความผิดของผู้ฉ้อโกง หรืออาจทำการโต้แย้งสิทธิในทางแพ่งเรื่องทรัพยสิทธิเหนือที่ดิน เพื่อยืนยันสิทธิในการใช้สอย อนุรักษ์ ฟื้นฟู ฐานทรัพยากรธรรมชาติของประชาชนและชุมชน


กลุ่มนายทุน และอิทธิพล บุกรุกที่ดิน มีลักษณะเป็นการกระทำละเมิดในทางแพ่งและฉ้อโกงในทางอาญา  ที่กระทบกระเทือนต่อสิทธิของประชาชนและชุมชนในการใช้สอยและอนุรักษ์ฟื้นฟูฐานทรัพยากรของตนเอง   รวมถึงกระทบต่อสิทธิของสาธารณชนที่รัฐมีหน้าที่ในการปกป้องสาธารณประโยชน์เหล่านั้น   ดังนั้นการระงับข้อพิพาทจะต้องใช้แนวทางของกฎหมายอาญา โดยต้องมีการเรียกร้องสิทธิและพิสูจน์ความผิดของผู้บุกรุก หรืออาจทำการโต้แย้งสิทธิในทางแพ่งเรื่องทรัพยสิทธิเหนือที่ดิน เพื่อยืนยันสิทธิในการใช้สอย อนุรักษ์ ฟื้นฟู ฐานทรัพยากรธรรมชาติของประชาชน ชุมชน และสาธารณะ


การไม่ได้รับเอกสารสิทธิที่ดินของประชาชน มีลักษณะเป็นการออกคำสั่งหรือการกระทำทางปกครองของ กรมที่ดิน  ในรูปแบบการเพิกเฉย ละเลย ไม่ใส่ใจต่อประชาชน ที่กระทบกระเทือนต่อสิทธิของประชาชนและชุมชนในการใช้สอยและอนุรักษ์ฟื้นฟูฐานทรัพยากรของตนเอง   ดังนั้นการระงับข้อพิพาทจะต้องใช้แนวทางของกฎหมายปกครอง โดยต้องมีการโต้แย้งสิทธิและพิสูจน์สิทธิของชุมชน หรืออาจทำการโต้แย้งสิทธิในทางแพ่งเรื่องทรัพยสิทธิเหนือที่ดิน เพื่อยืนยันสิทธิในการใช้สอย อนุรักษ์ ฟื้นฟู ฐานทรัพยากรธรรมชาติร่วมกัน

แนวทางแก้ไขปัญหาในระยะยาว
• ทำฐานข้อมูลการใช้ทรัพยากรรอไว้ ทั้งเรื่อง ที่ดิน น้ำ ป่าไม้ และการใช้ประโยชน์ อนุรักษ์ ฟื้นฟู
• เมื่อมีสถานการณ์ทางการเมือง หรือนโยบายนำร่องเข้ามา ก็ให้ฉวยเอาแผนมาใช้ทันที
• การปรับปรุงฐานข้อมูลให้มีหลากหลายประโยชน์ เช่น การบริหารที่ดิน ระบบการอนุรักษ์ ฟื้นฟู กำหนดเขตชัดเจน การปรับปรุงสิทธิในที่ดิน การปรับปรุงระบบภาษีที่ดิน และระบบการประเมินจัดเก็บภาษี เตรียมไว้สำหรับการผลักดันเป็นวาระเข้าสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
• วางแผนรองรับปัญหาที่อาจเกิดในอนาคต เช่น ความสัมพันธ์กับพื้นที่ใกล้เคียง การรักษาผังและบังคับใช้กฎ การเปลี่ยนแปลงลักษณะการใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ  ระบบวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาในพื้นที่ โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทเป็นเวทีหรือคนกลางในการแก้ไขข้อขัดแย้ง


การผลักดันให้มีการออกกฎหมายเพื่อเป็นกรอบกติกาในการกำหนดความสัมพันธ์ของคนและการใช้ประโยชน์จากฐานทรัพยากร โดยวางแผนผังเขต รูปแบบการจัดการ และระบบการตัดสินใจในกรณีมีข้อพิพาท อันจะเป็นการรองรับสิทธิของประชาชนและชุมชนในการจัดการฐานทรัพยากร

*บทความนี้สกัดจาก ผลการศึกษาวิจัยโครงการ “แนวทางการออกข้อบัญญัติท้องถิ่นเพื่อสนับสนุนงานพัฒนาที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกิน” คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2554.

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
Nick Srnicek ได้สรุปภาพรวมของแพลตฟอร์มดิจิทัลที่แตกต่างกัน 5 ประเภท คือ1.แพลตฟอร์มโฆษณา, 2.แพลตฟอร์มจัดเก็ยข้อมูล, 3.แพลตฟอร์มอุตสาหกรรม, 4.แพลตฟอร์มผลิตภัณฑ์, และ 5.แพลตฟอร์มแบบลีน 
ทศพล ทรรศนพรรณ
ผู้ประกอบการแพลตฟอร์มดิจิทัลมีรายได้และผลกำไรจำนวนมหาศาลจากการประมวลผลข้อมูลการใช้งานของผู้บริโภคในระบบของตน แต่ยังไม่มีระบบการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม    เนื่องจากยังมีข้อถกเถียงเรื่องใครเป็นเจ้าของข้อมูลและมีสิทธิแสวงหาผลประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้นบ้าง    จึงจ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การบังคับใช้ พรบ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่ผลักดันออกมาในปี พ.ศ.
ทศพล ทรรศนพรรณ
แพลตฟอร์มมักเป็นระบบแบบเปิดให้ทุกคนมีส่วนร่วม ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่นำไปสู่ปัญหา จากการที่ทำให้การเข้าถึงข้ามเขตอํานาจ ในทางกลับกัน กลับมีการกําหนดให้หน่วยงานกํากับดูแลและผู้ออกกฎหมายต้องร่วมมือกันข้ามพรมแดนแห่งชาติเพื่อประสานระบอบกฎหมายและกฎระเบียบในขณะที่จัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นรวมถึงประเด็นกา
ทศพล ทรรศนพรรณ
การวิเคราะห์ปรับปรุงเกระบวนการระงับข้อพิพาทของบรรดาผู้บริโภคในแพลตฟอร์มต่าง ๆ ยืนยันว่าระบบสามารถใช้เพื่อทำการแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้บริโภคจํานวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน่วยงานระงับข้อพิพาททางเลือก (Alternative Dispute Resolution - ADR) ที่ได้รับการรับรองจากสาธารณะให้เป็นมากกว่ากลไกการระงับข้อพิพาทใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
การสร้างความเชื่อถือให้กับผู้บริโภคจึงเป็นผลดีต่อการเติบโตของธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ และการตัดสินใจของผู้บริโภคที่จะทำธุรกรรมออนไลน์กับผู้ขายต่อไป ทำให้ประเทศต่าง ๆ  รวมถึงประเทศไทยให้ความสนใจและมุ่งให้เกิดการคุ้มครองอย่างจริงจังต่อปัญหาการละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู
ทศพล ทรรศนพรรณ
ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันทันใดที่ผู้คนจำนวนมากขาดความรู้ความเข้าใจต่อเทคโนโลยีที่มีผลกระทบต่อชีวิตโดยตรง รัฐในฐานะผู้คุ้มครองสิทธิประชาชนและยังต้องทำหน้าที่กระตุ้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจด้วย จึงมีภาระหนักในการสถาปนาความ “เชื่อมั่น” ให้เกิดขึ้นในใจประชาชนที่ลังเลต่อการเข้าร่วมสังฆกรรมใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริงเป็นสื่อใหม่ในโลกยุคดิจิทัลที่แสดงด้วยภาพและเสียงสามมิติซึ่งผู้ใช้สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในโลกที่ถูกสร้างขึ้นเหล่านี้ ทำให้เกิดเป็นสังคม (Community) ภายในโลกเสมือนจริงที่ผู้คนสามารถติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันได้ แต่มิใช่เพียงการเข้าไปรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสเพียงเท่านั้น นอก
ทศพล ทรรศนพรรณ
การทำธุรกรรมบนอินเตอร์เน็ตมีแนวโน้มที่จะส่งเสริมการเข้าร่วมสัญญาอย่างรวดเร็วสะดวกลดอุปสรรค ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตก็ด้วยไม่ต้องการเดินทางหรือไม่ต้องมีตัวกลางในการประสานความร่วมมือหรือต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับผู้รับรองสถานะของสัญญาในลักษณะตัวกลางแบบที่ต้องทำในโลกจริง ที่อาจถูกกฎหมายบังคับให้ทำตามแบ
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริง (Virtual World) คือสภาพแวดล้อมเสมือนซึ่งสร้างและปฏิบัติการด้วยซอฟต์แวร์ (Software) ที่อยู่ในเซิร์ฟเวอร์ (Server) ของเจ้าของแพลตฟอร์ม (Platform) สิ่งแวดล้อมเสมือนเหล่านี้ออกแบบมาให้ผู้เล่นหรือผู้ใช้โลกเสมือนจริงสามารถใช้ตัวตนเสมือนหรืออวตาร (Avatar) ในการท่องไปในโลกนั้น โดยสามารถติดต
ทศพล ทรรศนพรรณ
เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ในยุคดิจิทัลตั้งอยู่บนพื้นฐานของเสรีภาพในการแสดงออกบนโลกออนไลน์ โดยมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับประเด็นกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเนื่องจากกฎหมายลิขสิทธิ์สามารถห้ามปรามการเผยแพร่ความคิดหรือการแสดงออกในงานสร้างสรรค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยอ้างเหตุแห่งการคุ้มครองสิทธิของปัจเจกชนอย
ทศพล ทรรศนพรรณ
ความเฟื่องฟูของเศรษฐกิจดิจิทัลที่สร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการจำนวนมหาศาลแต่นำมาซึ่งความกังขาว่า สังคมได้อะไรจากการเติบโตของบรรษัทขนาดใหญ่ผู้เป็นเจ้าของเทคโนโลยีและควบคุมแพลตฟอร์มเหล่านี้ อันเป็นที่มาของเรื่อง การจัดเก็บภาษีดิจิทัลได้กลายเป็นข้อกังวลที่สำคัญสำหรับหลาย ๆ รัฐบาล ในยุโรป เช่นใน เยอรมนี