Skip to main content

การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินจำเป็นต้องวางแผนในการดำเนินการด้วยความเข้าใจพื้นฐานที่ว่า ความขัดแย้งเป็นสิ่งธรรมดาสามัญที่เกิดขึ้นได้ หากต้องการผลักดันข้อบัญญัติท้องถิ่นให้สำเร็จจึงต้องสามารถทำความเข้าใจลักษณะของข้อพิพาทที่มักเกิดขึ้นในการจัดการที่ดิน   และมีแนวทางในการขับเคลื่อนนโยบายออกมาเป็นกฎหมายให้ได้แม้จะมีข้อพิพาทก็ตาม   ทั้งนี้เนื่องจากการออกข้อบัญญัติท้องถิ่นเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรย่อมต้องออกแบบอยู่บนพื้นฐานของข้อกฎหมายที่มีหน่วยงานต่าง ๆ เป็นผู้บังคับใช้ และมีแนวทางในการจัดการทรัพยากรตามวัตถุประสงค์ของหน่วยงานต่าง ๆ ที่อาจแตกต่างไปจากความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น   นอกจากกระบวนการในการออกข้อบัญญัติซึ่งต้องออกแบบระบบการระงับข้อพิพาทแล้ว   ข้อพิพาทในสิทธิเหนือที่ดินก็ยังมีลักษณะแตกต่างกันไปตามรูปแบบความสัมพันธ์ของผู้ทรงสิทธิต่าง ๆ ที่อ้างสิทธิเหนือที่ดิน หรือทรัพยากรนั้น ไม่ว่าจะเป็น ประชาชน ชุมชน รัฐ หรือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ฯลฯ


ข้อพิพาทด้านที่ดินส่วนใหญ่มักอยู่ในรูปแบบข้อพิพาททางมหาชน (ข้อพิพาทที่มีฝ่ายหนึ่งเป็นรัฐ รึ รัฐทั้งสองฝ่าย) โดยเฉพาะข้อพิพาททางปกครองในเรื่องการใช้ฐานทรัพยากร   การระงับข้อพิพาทจึงต้องนำเรื่องการใช้อำนาจของเจ้าพนักงานอย่างโปร่งใส มีเหตุผล และอยู่ในกรอบของกฎหมาย ห้ามใช้อำนาจตามอำเภอใจ   จึงต้องมีการออกข้อบัญญัติมาเป็นแนวทางในการจัดการปัญหาเกี่ยวกับฐานทรัพยากรที่ดินไว้ล่วงหน้า  โดยต้องคำนึงประสบการณ์ที่ผ่านมาในกรณีศึกษาต่าง ๆ ในประเด็นต่อไปนี้


การประกาศเขตป่าทับที่ดินทำกินของประชาชน   มีลักษณะเป็นการออกคำสั่งทางปกครองของกรมป่าไม้ที่กระทบกระเทือนต่อสิทธิของประชาชนและชุมชนในการใช้สอยและอนุรักษ์ฟื้นฟูฐานทรัพยากรของตนเอง   ดังนั้นการระงับข้อพิพาทจะต้องใช้แนวทางของกฎหมายปกครอง โดยต้องมีการโต้แย้งสิทธิและพิสูจน์สิทธิของชุมชน หรืออาจทำข้อตกลงระหว่างประชาชนกับหน่วยงานของรัฐในลักษณะสัญญาทางปกครองในการใช้สอย อนุรักษ์ ฟื้นฟู ฐานทรัพยากรธรรมชาติร่วมกัน


นโยบายส่งเสริมการปลูกป่ากระทบประชาชน มีลักษณะเป็นการกระทำทางปกครองของหน่วยงานด้านอุตสาหกรรมป่าไม้ที่กระทบกระเทือนต่อสิทธิของประชาชนและชุมชนในการใช้สอยและอนุรักษ์ฟื้นฟูฐานทรัพยากรของตนเอง   ดังนั้นการระงับข้อพิพาทจะต้องใช้แนวทางของกฎหมายปกครอง โดยต้องมีการโต้แย้งสิทธิและพิสูจน์สิทธิของชุมชน เพื่อยกเลิกโครงการที่มีผลกระทบต่อชุมชน หรือท้องถิ่น


นโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวกระทบประชาชน มีลักษณะเป็นการออกคำสั่งทางปกครองของหน่วยงานรัฐทั้งระดับชาติและภูมิภาคที่กระทบกระเทือนต่อสิทธิของประชาชนและชุมชนในการใช้สอยและอนุรักษ์ฟื้นฟูฐานทรัพยากรของตนเอง   ดังนั้นการระงับข้อพิพาทจะต้องใช้แนวทางของกฎหมายปกครอง โดยต้องมีการโต้แย้งสิทธิและพิสูจน์สิทธิของชุมชน เพื่อยกเลิกโครงการที่มีผลกระทบต่อชุมชน หรือท้องถิ่น


การให้สัมปทานเหมือง และโรงงานอุตสาหกรรม  มีลักษณะเป็นการออกคำสั่งทางปกครองของหน่วยงานรัฐทั้งระดับชาติและภูมิภาคที่กระทบกระเทือนต่อสิทธิของประชาชนและชุมชนในการใช้สอยและอนุรักษ์ฟื้นฟูฐานทรัพยากรของตนเอง   ไม่ว่าจะเป็นกรมโรงงาน กรมเหมืองแร่ หรือกรมควบคุมมลพิษ   ดังนั้นการระงับข้อพิพาทจะต้องใช้แนวทางของกฎหมายปกครอง โดยต้องมีการโต้แย้งสิทธิและการประเมินผลกระทบความเสี่ยงต่อสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัยในฐานะเป็นสิทธิของชุมชน เพื่อนำไปสู่กระบวนการรับฟังความคิดเห็น และยกเลิกโครงการที่มีผลกระทบต่อชุมชน หรือท้องถิ่นนั้น


การใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐแบบการจัดสรรเฉพาะ (นิคมอุตสาหกรรม)  มีลักษณะเป็นการออกคำสั่งทางปกครองของหน่วยงานรัฐทั้งระดับชาติที่กระทบกระเทือนต่อสิทธิของประชาชนและชุมชนในการใช้สอยและอนุรักษ์ฟื้นฟูฐานทรัพยากรของตนเอง   ไม่ว่าจะเป็นกรมโรงงาน กรมเหมืองแร่ หรือสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร   ดังนั้นการระงับข้อพิพาทจะต้องใช้แนวทางของกฎหมายปกครอง โดยต้องมีการโต้แย้งสิทธิและการประเมินผลกระทบความเสี่ยงต่อสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัยในฐานะเป็นสิทธิของชุมชน หรือผังการกำหนดประเภทการใช้ประโยชน์ในที่ดินเพื่อนำไปสู่กระบวนการรับฟังความคิดเห็น และยกเลิกโครงการที่มีผลกระทบต่อชุมชน หรือท้องถิ่นนั้น


การใช้ประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน มีลักษณะเป็นคำสั่งทางปกครองของหน่วยงานด้านการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรที่กระทบกระเทือนต่อสิทธิของประชาชนและชุมชนในการใช้สอยและอนุรักษ์ฟื้นฟูฐานทรัพยากรของตนเอง   ดังนั้นการระงับข้อพิพาทจะต้องใช้แนวทางของกฎหมายปกครอง โดยต้องมีการโต้แย้งสิทธิและพิสูจน์สิทธิของชุมชน เพื่อยกเลิกโครงการที่มีผลกระทบต่อชุมชน หรือท้องถิ่น


การใช้ประโยชน์ในที่ดินทหาร มีลักษณะเป็นการออกคำสั่งทางปกครองของกรมทหารที่กระทบกระเทือนต่อสิทธิของประชาชนและชุมชนในการใช้สอยและอนุรักษ์ฟื้นฟูฐานทรัพยากรของตนเอง   ดังนั้นการระงับข้อพิพาทจะต้องใช้แนวทางของกฎหมายปกครอง โดยต้องมีการโต้แย้งสิทธิและพิสูจน์สิทธิของชุมชน หรืออาจทำข้อตกลงระหว่างประชาชนกับหน่วยงานของรัฐในลักษณะสัญญาทางปกครองในการใช้สอย อนุรักษ์ ฟื้นฟู ฐานทรัพยากรธรรมชาติร่วมกัน
การใช้ประโยชน์ในที่ดินสาธารณะประโยชน์ มีลักษณะเป็นการออกคำสั่งทางปกครองของเจ้าของพื้นที่นั้น เช่น กรมธนารักษ์ ฯลฯ ที่กระทบกระเทือนต่อสิทธิของประชาชนและชุมชนในการใช้สอยและอนุรักษ์ฟื้นฟูฐานทรัพยากรของตนเอง   ดังนั้นการระงับข้อพิพาทจะต้องใช้แนวทางของกฎหมายปกครอง โดยต้องมีการโต้แย้งสิทธิและพิสูจน์สิทธิของชุมชน หรืออาจทำข้อตกลงระหว่างประชาชนกับหน่วยงานของรัฐในลักษณะสัญญาทางปกครองในการใช้สอย อนุรักษ์ ฟื้นฟู ฐานทรัพยากรธรรมชาติร่วมกัน


การใช้ที่ดินราชพัสดุ มีลักษณะเป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินโดยขัดกับผลประโยชน์ของเจ้าของพื้นที่นั้น เช่น สำนักงานทรัพย์สินฯ ฯลฯ ที่กระทบกระเทือนต่อสิทธิของประชาชนและชุมชนในการใช้สอยฐานทรัพยากรที่ดิน   ดังนั้นการระงับข้อพิพาทจะต้องใช้แนวทางของกฎหมายแพ่ง โดยต้องมีการโต้แย้งสิทธิและพิสูจน์สิทธิของชุมชน หรืออาจทำข้อตกลงระหว่างประชาชนกับหน่วยงานในลักษณะสัญญาทางแพ่งในการใช้ประโยชน์จาก ฐานทรัพยากรธรรมชาติร่วมกัน
การใช้ประโยชน์ในที่ดินของเอกชน มีลักษณะเป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินโดยขัดกับผลประโยชน์ของเจ้าของพื้นที่นั้น เช่น ประชาชน นิติบุคคล ฯลฯ ที่กระทบกระเทือนต่อสิทธิของประชาชนและชุมชนในการใช้สอยฐานทรัพยากรที่ดิน   ดังนั้นการระงับข้อพิพาทจะต้องใช้แนวทางของกฎหมายแพ่ง โดยต้องมีการโต้แย้งสิทธิและพิสูจน์สิทธิของชุมชน หรืออาจทำข้อตกลงระหว่างประชาชนกับเอกชนในลักษณะสัญญาทางแพ่งในการใช้ประโยชน์จาก ฐานทรัพยากรธรรมชาติร่วมกัน


การออกเอกสารสิทธิ์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีลักษณะเป็นการออกคำสั่งหรือการกระทำทางปกครองของ กรมที่ดิน  ที่กระทบกระเทือนต่อสิทธิของประชาชนและชุมชนในการใช้สอยและอนุรักษ์ฟื้นฟูฐานทรัพยากรของตนเอง   ดังนั้นการระงับข้อพิพาทจะต้องใช้แนวทางของกฎหมายปกครอง โดยต้องมีการโต้แย้งสิทธิและพิสูจน์สิทธิของชุมชน หรืออาจทำการโต้แย้งสิทธิในทางแพ่งเรื่องทรัพยสิทธิเหนือที่ดิน เพื่อยืนยันสิทธิในการใช้สอย อนุรักษ์ ฟื้นฟู ฐานทรัพยากรธรรมชาติร่วมกัน


การสูญเสียที่ดินด้วยการฉ้อโกง มีลักษณะเป็นการกระทำฉ้อฉลในทางแพ่งและฉ้อโกงในทางอาญา  ที่กระทบกระเทือนต่อสิทธิของประชาชนและชุมชนในการใช้สอยและอนุรักษ์ฟื้นฟูฐานทรัพยากรของตนเอง   ดังนั้นการระงับข้อพิพาทจะต้องใช้แนวทางของกฎหมายอาญา โดยต้องมีการเรียกร้องสิทธิและพิสูจน์ความผิดของผู้ฉ้อโกง หรืออาจทำการโต้แย้งสิทธิในทางแพ่งเรื่องทรัพยสิทธิเหนือที่ดิน เพื่อยืนยันสิทธิในการใช้สอย อนุรักษ์ ฟื้นฟู ฐานทรัพยากรธรรมชาติของประชาชนและชุมชน


กลุ่มนายทุน และอิทธิพล บุกรุกที่ดิน มีลักษณะเป็นการกระทำละเมิดในทางแพ่งและฉ้อโกงในทางอาญา  ที่กระทบกระเทือนต่อสิทธิของประชาชนและชุมชนในการใช้สอยและอนุรักษ์ฟื้นฟูฐานทรัพยากรของตนเอง   รวมถึงกระทบต่อสิทธิของสาธารณชนที่รัฐมีหน้าที่ในการปกป้องสาธารณประโยชน์เหล่านั้น   ดังนั้นการระงับข้อพิพาทจะต้องใช้แนวทางของกฎหมายอาญา โดยต้องมีการเรียกร้องสิทธิและพิสูจน์ความผิดของผู้บุกรุก หรืออาจทำการโต้แย้งสิทธิในทางแพ่งเรื่องทรัพยสิทธิเหนือที่ดิน เพื่อยืนยันสิทธิในการใช้สอย อนุรักษ์ ฟื้นฟู ฐานทรัพยากรธรรมชาติของประชาชน ชุมชน และสาธารณะ


การไม่ได้รับเอกสารสิทธิที่ดินของประชาชน มีลักษณะเป็นการออกคำสั่งหรือการกระทำทางปกครองของ กรมที่ดิน  ในรูปแบบการเพิกเฉย ละเลย ไม่ใส่ใจต่อประชาชน ที่กระทบกระเทือนต่อสิทธิของประชาชนและชุมชนในการใช้สอยและอนุรักษ์ฟื้นฟูฐานทรัพยากรของตนเอง   ดังนั้นการระงับข้อพิพาทจะต้องใช้แนวทางของกฎหมายปกครอง โดยต้องมีการโต้แย้งสิทธิและพิสูจน์สิทธิของชุมชน หรืออาจทำการโต้แย้งสิทธิในทางแพ่งเรื่องทรัพยสิทธิเหนือที่ดิน เพื่อยืนยันสิทธิในการใช้สอย อนุรักษ์ ฟื้นฟู ฐานทรัพยากรธรรมชาติร่วมกัน

แนวทางแก้ไขปัญหาในระยะยาว
• ทำฐานข้อมูลการใช้ทรัพยากรรอไว้ ทั้งเรื่อง ที่ดิน น้ำ ป่าไม้ และการใช้ประโยชน์ อนุรักษ์ ฟื้นฟู
• เมื่อมีสถานการณ์ทางการเมือง หรือนโยบายนำร่องเข้ามา ก็ให้ฉวยเอาแผนมาใช้ทันที
• การปรับปรุงฐานข้อมูลให้มีหลากหลายประโยชน์ เช่น การบริหารที่ดิน ระบบการอนุรักษ์ ฟื้นฟู กำหนดเขตชัดเจน การปรับปรุงสิทธิในที่ดิน การปรับปรุงระบบภาษีที่ดิน และระบบการประเมินจัดเก็บภาษี เตรียมไว้สำหรับการผลักดันเป็นวาระเข้าสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
• วางแผนรองรับปัญหาที่อาจเกิดในอนาคต เช่น ความสัมพันธ์กับพื้นที่ใกล้เคียง การรักษาผังและบังคับใช้กฎ การเปลี่ยนแปลงลักษณะการใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ  ระบบวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาในพื้นที่ โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทเป็นเวทีหรือคนกลางในการแก้ไขข้อขัดแย้ง


การผลักดันให้มีการออกกฎหมายเพื่อเป็นกรอบกติกาในการกำหนดความสัมพันธ์ของคนและการใช้ประโยชน์จากฐานทรัพยากร โดยวางแผนผังเขต รูปแบบการจัดการ และระบบการตัดสินใจในกรณีมีข้อพิพาท อันจะเป็นการรองรับสิทธิของประชาชนและชุมชนในการจัดการฐานทรัพยากร

*บทความนี้สกัดจาก ผลการศึกษาวิจัยโครงการ “แนวทางการออกข้อบัญญัติท้องถิ่นเพื่อสนับสนุนงานพัฒนาที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกิน” คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2554.

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
การนำ คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 205/2549 มาตราเป็นพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร  โดยแฝงนัยยะของการสร้าง “รัฐทหาร” ด้วยการขยับขยายขอบเขตอำนาจแก่เจ้าหน้าที่ กอ. รมน.
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังสิ้นสุดยุคสมัยสงครามเย็น หนึ่งในมรดกตกทอดจากยุคนั้น ได้แก่ หน่วยงานความมั่นคงของรัฐไทยที่มีอำนาจหน้าที่อย่างเข้มข้นในการเฝ้าระวัง สอดส่อง ควบคุมการสื่อสารและการกระทำต่าง ๆ ของประชาชนที่ผู้มีอำนาจเห็นว่าเป็นภัยต่อความมั่นคง และส่งผลเสียต่อการยืนหยัดสู้เพื่ออุดมการณ์ทางการเมืองช่วงนั้น อาทิ กอง
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านจัดเป็นกลุ่มที่เสี่ยงที่จะถูกละเมิดสิทธิและด้อยโอกาสในการเข้าถึงบริการสาธารณะ สวัสดิการ และหลักประกันด้านต่าง ๆ ด้วยเหตุที่เป็นกลุ่มซึ่งต้องปะทะโดยตรงกับการพัฒนาเมืองอย่างไม่ยั่งยืนทั้งที่สาเหตุของการออกมาอยู่ในพื้นที่สาธารณะนั้นเกี่ยวข้องกับความเหลื่อมล้ำทางสังคมอันเป็นผลลัพธ์ของนโยบายส
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านตกอยู่ในสถานะของกลุ่มเสี่ยงที่อาจต้องเผชิญจากการเหยียดหยามศักดิ์ความเป็นมนุษย์โดยตรงจากการละเมิด และยังอาจไม่ได้รับการดูและแก้ไขปัญหาเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ยุ่งยากต่าง ๆ เพราะถูกจัดให้อยู่ในสถานะต่ำต้อยเสี่ยงต่อการเลือกประติบัติจากรัฐ จนไปถึงการเพิกเฉย ละเลย ไม่ใส่จะแก้ปัญหาให้คนไร้บ้
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านเป็นเสียงที่ไม่ถูกนับ การใช้พลังในลักษณะกลุ่มก้อนทางการเมืองเพื่อเรียกร้องประโยชน์จากผู้มีอำนาจให้จัดสรรทรัพยากรให้จึงเป็นเรื่องยาก ด้วยสาเหตุหลัก 2 ประการ คือ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของคนไร้บ้านจำเป็นต้องยืนอยู่บนฐานของกฎหมายที่ประกันสิทธิของบุคคลโดยมิคำนึงถึงความแตกต่างหลากหลายทางสถานภาพใด ๆ แม้คนไร้บ้านจะเป็นปัจเจกชน หรือกลุ่มคนที่มีปริมาณน้อยเพียงไร รัฐก็มีพันธกรณีในการเคารพ ปกป้อง และส่งเสริมสิทธิให้กลุ่มเสี่ยงนี้โดยเหตุแห่งความเป็นสิทธิมนุษยชนที่ร
ทศพล ทรรศนพรรณ
หากต้องกำหนดยุทธศาสตร์ของประเทศไทยในการเข้าร่วมตลาดดิจิทัลที่มีเข้มข้นของกิจกรรมข้ามพรมแดนตลอดเวลา เพื่อแก้ไขปัญหาศักยภาพของรัฐในการบังคับใช้กฎหมายขยายไปเหนือหลักเขตอำนาจศาลเหนือดินแดนของตนแบบเก่า เมื่อต้องกำกับกิจกรรมของบรรษัทข้ามชาติที่อยู่ในการบังคับของกฎหมายรัฐอื่นซึ่งมีบรรทัดฐานในหลายประเด็น
ทศพล ทรรศนพรรณ
การวิเคราะห์กฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติกับรัฐ จะกระทำใน 3 ประเด็นหลัก คือ ใครเป็นเจ้าของข้อมูล ใครมีสิทธิใช้ประโยชน์จากข้อมูลมากน้อยอย่างไร หรือแบ่งปันกันอย่างไร อันเป็นการเตรียมความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูล
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทความนี้จะทำการรวบรวมข้อเสนอทางกฎหมายในระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติ กับรัฐและองค์การระหว่างประเทศ อันเป็นการเตรียมความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูลจากแพลตฟอร์มดิจิทัล ว่าสามารถบริหารจัดการให
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทความนี้จะทำการทบทวนข้อกฎหมายทั้งในระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติ เรื่อยมาจนถึงสำรวจความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูลจากแพลตฟอร์มดิจิทัล ว่าสามารถบริหารจัดการให้เกิดการแบ่งปันข้อมูลดิจิทัลระหว
ทศพล ทรรศนพรรณ
ประเด็นพื้นฐานที่รัฐต้องคิด คือ จะส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมทางเทคโนโลยีเพื่อสะสมความมั่งคั่งได้อย่างไร แล้วจึงจะไปสู่แนวทางในการแบ่งปันความมั่งคั่งให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการผลิตข้อมูลขึ้นมาในแพลตฟอร์ม
ทศพล ทรรศนพรรณ
Kean Birch นำเสนอปัญหาของข้อมูลส่วนบุคคลในฐานะสินค้าของตลาดนวัตกรรมเทคโนโลยีจำนวน 5 ประเด็น คือ1.ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของแพลตฟอร์มในฐานะเจ้าของข้อมูลทึ่ถูกรวบรวมโดยนวัตกรรม,