Skip to main content

 ปัญหาทางเศรษฐกิจที่มีขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมเรียกร้องมาตลอด คือ การผูกขาด ซึ่งมีรากเหง้ามาจากการแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจของกลุ่มผลประโยชน์ที่ทรงอำนาจ แล้วนำไปสู่ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจอันเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่ขบวนการความเป็นธรรมทางสังคมเสนอให้แก้ไข   บทความนี้จะพยายามแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่าง ค่าเช่าทางเศรษฐกิจ กับ ความเหลื่อมล้ำ เพื่อชี้ให้เห็นว่าถ้าจะแก้ปัญหาให้ได้ จะต้องแก้ปัญหาเหล่านี้ไปด้วยกัน แยกแก้เพียงบางปัญหาไม่ได้

การแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจ (Economic rent seeking)
  ค่าเช่าทางเศรษฐกิจ (Economic rent) หมายถึง การแสวงหาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจขึ้นมาแบบไม่มีต้นทุน และไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ พูดให้ชัดก็เหมือนการมีทรัพย์สินและปล่อยให้เช่า ผู้ให้เช่าไม่ได้ลงทุนอะไรในมูลค่าที่เพิ่มขึ้นของทรัพย์สินของตน แต่ได้รับผลตอบแทนจากการเติบโตนั้น และลำพังการให้เช่านั้นไม่ก่อให้เกิดประโยชน์เพิ่มเติมอย่างไร (สิ่งที่ทำให้เกิดประโยชน์เพิ่มเติมขึ้น คือ กิจกรรมของผู้เช่า) โดยกิจกรรมทั่วไปก็ไม่มีปัญหา เพราะค่าเช่าเป็นเหมือนค่าตอบแทนในการให้ใช้ประโยชน์บางอย่าง แต่เรื่องการเช่าจะเป็นปัญหาทางเศรษฐกิจการเมืองก็ต่อเมื่อค่าเช่านั้นสูงเกินไป (High rent) กล่าวคือ ค่าเช่านั้นอาจสูงกว่าผลประกอบการที่เป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจจริง ๆ เมื่อนั้นเจ้าของปัจจัยการผลิตหรือทรงอิทธิพลอำนาจทางเศรษฐกิจจะมุ่งหน้าแสวงหาค่าเช่าเป็นหลัก เพราะได้ผลตอบแทนดี และง่ายกว่าการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่แท้จริง หรือที่เรียกกันว่า “เสือนอนกิน”


สิ่งที่เกิดขึ้นจากภาวะนี้ คือ เศรษฐกิจภาคการผลิตและบริการหรือสร้างสรรค์ไม่เกิดขึ้นจริง ปริมาณเงินเพิ่ม แต่สินค้าเท่าเดิม และคนกินเงินไม่ได้   และที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการเมืองโดยตรง คือ การแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจนั้นนำมาซึ่งต้นทุนในการดำรงชีวิตและประกอบกิจกรรมทั่วไปสูงขึ้นด้วย เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าเช่าแผง ราคาน้ำมันปาล์ม อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ฯลฯ


ภาวะค่าเช่าสูงนั้นเกิดจากการแข่งขันกันแสวงหาค่าเช่าจนกลายเป็นการเก็งกำไร เพราะแย่งกันหายิ่งได้มายาก ราคายิ่งสูง ดังนั้น ปัญหาแท้จริงจึงไม่ได้อยู่ค่าเช่าสูง แต่อยู่ที่ยังมี “ค่าเช่า” ให้แสวงหาอยู่ และแย่งกัน เพราะคนเริ่มมองเงินเป็นสิ่งสั่งสมและนำไปแปลงเป็นสิ่งปรารถนาได้ โดยไม่ต้องออกแรงมากเหมือนการทำงาน ผลิตินค้า ให้บริการ หรือรังสรรค์ผลงาน และมีระบบที่ทำให้เงินไหลเวียนมาโดยตนอาจไม่ต้องทำงานก็ได้


“ค่าเช่า” เกิดจากกฎหมายของและอำนาจรัฐเหนือตลาดในการแทรกแซง เพราะปกติไม่มีใครให้ประโยชน์กับคนที่ไม่ทำงาน นอกจากคนนั้นมีหรืออ้างอิงอำนาจที่เหนือกว่าการต่อรองอยู่ เช่น กรรมสิทธิ์ที่ดิน สัมปทาน พูดรวมๆ คือสิทธิในการผูกขาดทั้งหลาย ซึ่งหมายรวมถึงการฮั๊วกันเองของภาคเอกชนด้วย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นสังเกตได้ไม่ยากว่าพลังที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่สามารถแทรกแซงอำนาจตลาดได้ คือ อำนาจรัฐ   และก็เห็นได้ชัดอีกเช่นกันว่าอำนาจรัฐที่สร้าง “ค่าเช่า” นั้นนำมาซึ่งมหาเศรษฐีหลายคน เช่น เศรษฐีผูกขาดสัญญาณโทรศัพท์ ทีวี น้ำเมา ที่ดิน ยา ฯลฯ ความร่ำรวยอย่างยิ่งใหญ่เหล่านี้เกิดจากค่าเช่าทางเศรษฐกิจ เพราะได้ประโยชน์จากการไร้คู่แข่ง แนวโน้มของพวกนี้ คือ การเสพติดค่าเช่า เมื่อมีแล้วก็ไม่อยากเลิก เพราะเลิกแล้วตนจะเข้าสู่ภาวะแข่งขันต่อรองของตลาดอย่างหนักทันที และแน่นอนว่าเมื่อคู่แข่งมีอำนาจมากขึ้น ผู้ถือค่าเช่าเดิม ๆ ย่อมจนลงตามระเบียบ 

 
ปัญหาเชิงโครงสร้างของค่าเช่า คือ ค่าเช่าส่วนใหญ่นั้นเกิดจากรัฐ และเป็นสิ่งที่แย่งกันหามาเพื่อจะรวย ผลก็คือ คนที่มีฝันเป็นมหาเศรษฐีในไทยเกือบทั้งหมดต้องเข้าหาอำนาจรัฐทั้งสิ้น เพราะในสังคมไทยไม่มีทางรวยถ้าไม่มีค่าเช่า (พวกไม่มีค่าเช่าย่อมยากจะแข่งขันกับพวกมีค่าเช่า) การหยิบยื่นผลประโยชน์ให้แก่อำนาจรัฐจึงเป็นเรื่องที่เกล่อในวงการธุรกิจ และแน่นอนว่าพวกที่ได้ประโยชน์จากการแสวงหาค่าเช่านั้นไม่ใช่แค่นักธุรกิจเท่านั้น แต่รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องกับวงอำนาจรัฐที่มีบารมีพอจะกำหนดค่าเช่าด้วยเช่นกัน


หากพิเคราะห์ “ค่าเช่า” ที่แพร่หลายในสังคมไทย เนื่องมาจากนโยบายเศรษฐกิจที่สร้างค่าเช่าและกำกับตลาด เพื่อแสวงหากำไรนั้น นอกจากจะสร้างความเสียหายให้แก่ระบบเศรษฐกิจแล้ว ก็ทำให้ต้นทุนในการประกอบอาชีพโดยไม่มีค่าเช่าสูงขึ้นโดยไม่จำเป็น และสร้างปัญหาเสพติดค่าเช่าแก่ภาคธุรกิจและภาครัฐจนนำไปสู่การทุจริตคอรัปชั่นด้วย   จึงเป็นที่มาว่ากลุ่มผลประโยชน์ก็เข้าสู่งวงการเมืองเพื่อมาแสวงหาค่าเช่า แต่ปัญหาคือ มีเครือข่ายบารมีในวงการเมืองและวงราชการพอที่จะกำหนดค่าเช่าเหล่านั้นด้วยตัวเอง 


ข้อโจมตีที่โจมตีต่อรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งมากที่สุด คือ ปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อน ที่นักการเมืองกลายเป็นกลุ่มทุนและเจ้าหน้าที่ของรัฐไปพร้อมกัน ภายใต้เงื่อนไขนี้ผู้เข้าสู่อำนาจสำเร็จสามารถสร้างค่าเช่าขึ้นมาได้ไม่สิ้นสุด แต่ปัญหาคือค่าเช่านั้นไม่ค่อยถูกแบ่งให้คนอื่น หรือคนอื่นเสียหายจากการมีค่าเช่านี้มากขึ้น

 

ความเหลื่อมล้ำอย่างสูง


สังคมไทยมีความเลื่อมล้ำทางรายได้สูงมาก การกระจายรายได้ก็ต่ำมาหลายทศวรรษ สะท้อนผ่านการเขียนคำประกาศของคณะราษฎรที่ปรีดี พนมยงค์ ก็อ้างถึงนำการอภิวัฒน์ประเทศสู่ประชาธิปไตย แต่ก็ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างใดเชิงโครงสร้าง โดยเฉพาะความเหลื่อมล้ำในการถือครองที่ดิน เรายังพัฒนาเศรษฐกิจให้เน้าไปสร้างความมั่นคงมั่งคั่ง แก่คนที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน

อย่างไรก็ตามภาครัฐจะไม่ตอบสนองต่อภาคประชาชน หรือคนกลุ่มรายได้น้อย ไร้ที่ดินทำกินก็มิได้ไร้สิ้นหนทาง นโยบายต่อคนทำงานจึงไม่ทำให้คนส่วนใหญ่รวยขึ้น แต่เมื่อมวลชนผู้ถูกกดขี่ขูดรีก็ย่อมตื่นรู้แล้วประณามคนรวยได้ไม่ยาก ด้วยการซุบซิบนินทา เพลงลูกทุ่ง เข้าร่วมเป็น “สหาย” กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย รวมๆ เรียกว่า อาวุธของคนไร้อำนาจ (Weapon of the weak) สภาวะเช่นนี้ทำให้เกิดความเข้าใจว่าตวามรวยเป็นผลพวกของโครงสร้างอำนาจที่ไม่ปกติ ต้องทำอะไรไม่ชอบมาพากลแน่ เพราะคนทำงานอุตสาหะตรากตรำวันละ 10 ชั่วโมงก็ยังไม่รวย การประณามว่าคนรวยขี้โกงนั้นเกิดขึ้นง่ายๆ ในภาวะนี้ และเป็นการประณามบุคคลเป็น “กลุ่ม”

ความขัดแย้งในสังคมไทยในหลายครั้ง ก็เกี่ยวเนื่องกับความเลื่อมล้ำเรื่องรายได้ และการครองทรัพย์สิน เพราะเป็นเรื่องที่เห็นอยู่ชัดๆ มานานแล้วว่าสังคมไทยไม่มีความเป็นธรรมทางสังคม เมื่อฝ่ายที่รู้สึกถึงความไม่เป็นธรรมฉุกคิดเรื่องนี้ ก็จะอ้างอิงเรื่องนี้ มาวิเคราะห์ความอยุติธรรมที่ตนได้รับในสังคม แล้วเสนอทางออกที่ปรับเปลี่ยนโครงสร้างรัฐเสียใหม่

ดังที่เรา(ไม่)เห็นการชุมนุมหรือเดินขบวนเรียกร้องการปฏิรูปอยู่อย่างคับคั่งแต่ก็ต้องเผชิญกับการกดปราบจากรัฐบาลที่ปกป้องโครงสร้างอยุติธรรมนี้ให้ดำรงอยู่สืบไป

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
Nick Srnicek ได้สรุปภาพรวมของแพลตฟอร์มดิจิทัลที่แตกต่างกัน 5 ประเภท คือ1.แพลตฟอร์มโฆษณา, 2.แพลตฟอร์มจัดเก็ยข้อมูล, 3.แพลตฟอร์มอุตสาหกรรม, 4.แพลตฟอร์มผลิตภัณฑ์, และ 5.แพลตฟอร์มแบบลีน 
ทศพล ทรรศนพรรณ
ผู้ประกอบการแพลตฟอร์มดิจิทัลมีรายได้และผลกำไรจำนวนมหาศาลจากการประมวลผลข้อมูลการใช้งานของผู้บริโภคในระบบของตน แต่ยังไม่มีระบบการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม    เนื่องจากยังมีข้อถกเถียงเรื่องใครเป็นเจ้าของข้อมูลและมีสิทธิแสวงหาผลประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้นบ้าง    จึงจ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การบังคับใช้ พรบ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่ผลักดันออกมาในปี พ.ศ.
ทศพล ทรรศนพรรณ
แพลตฟอร์มมักเป็นระบบแบบเปิดให้ทุกคนมีส่วนร่วม ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่นำไปสู่ปัญหา จากการที่ทำให้การเข้าถึงข้ามเขตอํานาจ ในทางกลับกัน กลับมีการกําหนดให้หน่วยงานกํากับดูแลและผู้ออกกฎหมายต้องร่วมมือกันข้ามพรมแดนแห่งชาติเพื่อประสานระบอบกฎหมายและกฎระเบียบในขณะที่จัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นรวมถึงประเด็นกา
ทศพล ทรรศนพรรณ
การวิเคราะห์ปรับปรุงเกระบวนการระงับข้อพิพาทของบรรดาผู้บริโภคในแพลตฟอร์มต่าง ๆ ยืนยันว่าระบบสามารถใช้เพื่อทำการแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้บริโภคจํานวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน่วยงานระงับข้อพิพาททางเลือก (Alternative Dispute Resolution - ADR) ที่ได้รับการรับรองจากสาธารณะให้เป็นมากกว่ากลไกการระงับข้อพิพาทใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
การสร้างความเชื่อถือให้กับผู้บริโภคจึงเป็นผลดีต่อการเติบโตของธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ และการตัดสินใจของผู้บริโภคที่จะทำธุรกรรมออนไลน์กับผู้ขายต่อไป ทำให้ประเทศต่าง ๆ  รวมถึงประเทศไทยให้ความสนใจและมุ่งให้เกิดการคุ้มครองอย่างจริงจังต่อปัญหาการละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู
ทศพล ทรรศนพรรณ
ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันทันใดที่ผู้คนจำนวนมากขาดความรู้ความเข้าใจต่อเทคโนโลยีที่มีผลกระทบต่อชีวิตโดยตรง รัฐในฐานะผู้คุ้มครองสิทธิประชาชนและยังต้องทำหน้าที่กระตุ้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจด้วย จึงมีภาระหนักในการสถาปนาความ “เชื่อมั่น” ให้เกิดขึ้นในใจประชาชนที่ลังเลต่อการเข้าร่วมสังฆกรรมใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริงเป็นสื่อใหม่ในโลกยุคดิจิทัลที่แสดงด้วยภาพและเสียงสามมิติซึ่งผู้ใช้สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในโลกที่ถูกสร้างขึ้นเหล่านี้ ทำให้เกิดเป็นสังคม (Community) ภายในโลกเสมือนจริงที่ผู้คนสามารถติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันได้ แต่มิใช่เพียงการเข้าไปรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสเพียงเท่านั้น นอก
ทศพล ทรรศนพรรณ
การทำธุรกรรมบนอินเตอร์เน็ตมีแนวโน้มที่จะส่งเสริมการเข้าร่วมสัญญาอย่างรวดเร็วสะดวกลดอุปสรรค ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตก็ด้วยไม่ต้องการเดินทางหรือไม่ต้องมีตัวกลางในการประสานความร่วมมือหรือต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับผู้รับรองสถานะของสัญญาในลักษณะตัวกลางแบบที่ต้องทำในโลกจริง ที่อาจถูกกฎหมายบังคับให้ทำตามแบ
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริง (Virtual World) คือสภาพแวดล้อมเสมือนซึ่งสร้างและปฏิบัติการด้วยซอฟต์แวร์ (Software) ที่อยู่ในเซิร์ฟเวอร์ (Server) ของเจ้าของแพลตฟอร์ม (Platform) สิ่งแวดล้อมเสมือนเหล่านี้ออกแบบมาให้ผู้เล่นหรือผู้ใช้โลกเสมือนจริงสามารถใช้ตัวตนเสมือนหรืออวตาร (Avatar) ในการท่องไปในโลกนั้น โดยสามารถติดต
ทศพล ทรรศนพรรณ
เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ในยุคดิจิทัลตั้งอยู่บนพื้นฐานของเสรีภาพในการแสดงออกบนโลกออนไลน์ โดยมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับประเด็นกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเนื่องจากกฎหมายลิขสิทธิ์สามารถห้ามปรามการเผยแพร่ความคิดหรือการแสดงออกในงานสร้างสรรค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยอ้างเหตุแห่งการคุ้มครองสิทธิของปัจเจกชนอย
ทศพล ทรรศนพรรณ
ความเฟื่องฟูของเศรษฐกิจดิจิทัลที่สร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการจำนวนมหาศาลแต่นำมาซึ่งความกังขาว่า สังคมได้อะไรจากการเติบโตของบรรษัทขนาดใหญ่ผู้เป็นเจ้าของเทคโนโลยีและควบคุมแพลตฟอร์มเหล่านี้ อันเป็นที่มาของเรื่อง การจัดเก็บภาษีดิจิทัลได้กลายเป็นข้อกังวลที่สำคัญสำหรับหลาย ๆ รัฐบาล ในยุโรป เช่นใน เยอรมนี