Skip to main content

คำถามที่สำคัญในเศรษฐกิจการเมืองยุคดิจิทัล ก็คือ บทบาทหน้าที่ของภาครัฐรัฐท่ามกลางการเติบโตของตลาดดิจิทัลที่ภาคเอกชนเป็นผู้ผลักดันและก่อร่างสร้างระบบมาตั้งแต่ต้น  ซึ่งสร้างผลกระทบต่อชีวิตผู้คนในรัฐให้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางและลึกซึ้ง   อย่างไรก็ดีความเจริญก้าวหน้าของตลาดย่อมเกิดบนพื้นฐานของความเชื่อมั่นต่อระบบที่เป็นศูนย์กลางในการเข้าทำธุรกรรมและช่องทางในการกระจายสินค้า บริการและข้อมูลที่เชื่อถือได้ หรือ    ยิ่งไปกว่านั้นการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน (Economic Sustainable Development) ย่อมต้องอยู่บนพื้นฐานของการคำนึงถึงผู้คนทั้งหลายที่เกี่ยวข้องให้ได้รับการคุ้มครองสิทธิอย่างทั่วถึง (Inclusive Growth)


บทบาทของรัฐจึงต้องอยู่ในลักษณะการประกันสิทธิให้ผู้คนที่เกี่ยวข้องได้รับการคุ้มครองสิทธิในการแสวงหาประโยชน์ร่วมกันอย่างมั่นคงผ่านการสถาปนาสถาบันทางเศรษฐกิจที่ให้การปกป้องสิทธิทางเศรษฐกิจและสังคมแก่บุคคล (Inclusive Institution) ลดความเหลื่อมล้ำระหว่างผู้ทรงอิทธิพลทางเศรษฐกิจ อาทิ เจ้าของแพลตฟอร์ม ผู้ประกอบการรายใหญ่ หรือผู้รับขนส่ง กับ ผู้ด้อยอำนาจต่อรอง เช่น ผู้ประกอบการรายย่อย สมาชิกแพลตฟอร์ม ผู้บริโภค ให้หลุดจากกับดักเศรษฐกิจแบบกาฝาก (Parasite Economy) ที่ผู้บริโภคและผู้ประกอบการรายย่อยต้องพึ่งพิงเจ้าของเทคโนโลยีแพลตฟอร์มที่ผูกขาดตลาดและขูดรีดส่วนเกินทางเศรษฐกิจไปในรูปแบบผลประกอบการ แต่ยังมิได้มีกระบวนการจัดเก็บภาษีของรัฐเพื่อนำมาเป็นงบประมาณกระจายย้อนกลับมายังประชาชนในรูปแบบของสวัสดิการ


ยิ่งไปกว่านั้นตลาดดิจิทัลยังเพิ่มความเข้มข้นของกิจกรรมข้ามพรมแดนให้เกิดขึ้นตลอดเวลาทำให้ความคิดพื้นฐานที่สุดของกฎหมายแบบรัฐสมัยใหม่ถูกสั่นคลอน นั่นคือ การใช้เขตอำนาจศาลในการบังคับใช้กฎหมายเหนือดินแดนของตนอย่างเด็ดขาด เมื่อต้องใช้กฎหมายบังคับต่อบรรษัทข้ามชาติที่อยู่ในการบังคับของกฎหมายรัฐมหาอำนาจหรือเขตเศรษฐกิจเฉพาะที่มีบรรทัดฐานทางกฎหมายในหลายประเด็นแตกต่างไปจากประเทศไทย ทำให้เกิดความยากลำบากในการแสวงหาจุดเกาะเกี่ยวในการระงับข้อพิพาทระหว่างคู่กรณีเมื่อมีประเด็นต่างชาติเข้ามาเกี่ยวข้อง


แรงกดดันทางเทคโนโลยี เศรษฐกิจ และกฎหมายเหล่านี้ ล้วนกระตุ้นเร้าให้ประเทศไทยต้องปรับตัวให้พร้อมกับการเลือกยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมกับตนเองในบริบทของการแข่งขันระดับโลก ว่าประเทศไทยจะสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ผลิต ผู้บริโภค ตัวกลางผู้ให้บริการกระจายสินค้าและบริการ โดยใช้สื่อกลางและตลาดแบบใด ให้เป็นประโยชน์ต่อปวงชนชาวไทยมากที่สุด  เนื่องจากการทุ่มเททรัพยากรของรัฐลงไปสร้างความมั่นคงให้กับตลาดดิจิทัลย่อมต้องตอบคำถามให้ได้ว่า งบประมาณที่ได้จัดสรรไปจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนอย่างไร

 

ตลาดดิจิทัลเป็นพื้นที่ในการหลอมรวมกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ประกอบไปด้วยการผลิต การบริโภค โดยมีการแลกเปลี่ยนเชื่อมโยงเข้าหากันผ่านช่องทางกระจายสินค้าและบริการนั้น อาศัยแพลตฟอร์มดิจิทัลในโลกไซเบอร์เป็นช่องทางรสื่อสารแลกเปลี่ยนโดยอาศัยข้อมูลที่ไหลเวียนในช่องทางที่ผู้คนติดต่อสัมพันธ์กันระหว่างผู้บริโภคผู้ผลิตโดยมีผู้ค้าขายและให้บริการโลจิสติกส์จำนวนมากบนตลาดเชื่อมโยงกันผ่านตัวกลางเป็นผู้ควบคุมระบบ ในลักษณะของการผูกขาดใต้อิทธิพลทางเทคโนโลยีของบรรษัทข้ามชาติ


แม้จะมีการกล่าวอ้างความคิดแบบเศรษฐกิจแบ่งปัน (Sharing Economy) แต่ข้อมูลข่าวสารและระบบกลับมีลักษณะปิดบัง อำพราง ล่อลวง ในหลายกรณีจนมีความเสี่ยงเกี่ยวกับการฉ้อโกงหลอกลวงอันกระทบกระเทือนสิทธิผู้บริโภคและทำลายความเชื่อมั่นต่อตลาดอิเล็กทรอนิกส์และเศรษฐกิจดิจิทัล (Trust Economy) ในระยะยาว


บทบาทของรัฐในการส่งเสริมความเจริญของตลาดดิจิทัลแม้อำนาจส่วนใหญ่อยู่ในมือภาคเอกชน  ก็คือการให้หลักประกันสร้างความเชื่อมั่นต่อระบบที่เป็นศูนย์กลางในการเข้าทำธุรกรรมและช่องทางในการกระจายสินค้า บริการและข้อมูลที่เชื่อถือได้ เพิ่มการคุ้มครองสิทธิในการแสวงหาประโยชน์ร่วมกันระหว่างผู้ทรงอิทธิพลทางเศรษฐกิจ กับ ผู้ด้อยอำนาจต่อรอง ผ่านการสถาปนาสถาบันทางเศรษฐกิจที่ให้การปกป้องสิทธิทางเศรษฐกิจและสังคมแก่บุคคล (Inclusive Institution) เช่น การยืนยันตัวบุคคล การรับรองระบบกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์ดิจิทัล สร้างความมั่นคงในการทำธุรกรรมในโลกดิจิทัล มีสื่อกลางและพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนที่เชื่อถือได้ และมีกลไกระงับข้อพิพาทที่สะดวก สร้างความเป็นธรรมให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์และแข่งขันให้ประชาชนก้าวข้ามกับดักเศรษฐกิจแบบกาฝาก (Parasite Economy)


นอกจากนี้ยังต้องกำหนดยุทธศาสตร์ของประเทศไทยในการเข้าร่วมตลาดดิจิทัลที่มีความเข้มข้นของกิจกรรมข้ามพรมแดนตลอดเวลา เพื่อแก้ไขปัญหาศักยภาพของรัฐในการบังคับใช้กฎหมายขยายไปเหนือหลักเขตอำนาจศาลเหนือดินแดนของตนแบบเก่า เมื่อต้องกำกับกิจกรรมของบรรษัทข้ามชาติที่อยู่ในการบังคับของกฎหมายรัฐอื่นซึ่งมีบรรทัดฐานในหลายประเด็นแตกต่างไป ไม่ว่าจะอยู่ในลักษณะการสถาปนาความสัมพันธ์แบบทวิภาคี พหุภาคี หลายฝ่าย หรือแบบการร่วมกลุ่มเศรษฐกิจ เพื่อแสวหาจุดเกาะเกี่ยวในการระงับข้อพิพาทระหว่างคู่กรณีเมื่อมีประเด็นข้ามชาติเข้ามาเกี่ยวข้อง


เมื่อบรรษัทข้ามชาติเจ้าของแพลตฟอร์มคือผู้ได้ประโยชน์จากการเป็นตัวกลางให้บริการกระจายสินค้าและบริการ จึงต้องกำหนดกลยุทธ์ที่เหมาะสมในการแบ่งปันผลประโยชน์ย้อนกลับมาคืนแก่ผู้ประกอบการและผู้บริโภคในระบบเศรษฐกิจดิจิทัลไทย แนวทางสร้างฐานภาษีจากตลาดดิจิทัลเข้าสู่ระบบงบประมาณแผ่นดินของรัฐเพื่อนำมาจัดทำบริการสาธารณะและสวัสดิการของประชาชน จึงเป็นข้อท้าทายอีกประการที่ต้องสังเคราะห์ความรู้ทางกฎหมายมาเสนอเป็นนโยบายแก่ประเทศไทย


การปรับปรุงโครงสร้างประเทศไทยให้มีระบบเศรษฐกิจที่เกื้อกูลกับปวงชนทั้งหลายบนพื้นฐานของภราดรภาพ (Solidarity Economy) จึงเป็นแนวทางที่น่าสนใจเพื่อมาปรับใช้กับการสนับสนับความเชื่อมั่นต่อตลาดดิจิทัลให้มีการพัฒนาอย่างยังยืน

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
ผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน (Human Rights Defender – “นักปกป้องสิทธิมนุษยชน” คือ คำแปลทางการของรัฐไทย) ที่องค์การสหประชาชาติได้ให้นิยามไว้นั้นหมายถึง "บุคคลผู้ดำเนินการโดยลำพังหรือร่วมกับบุคคลอื่น กระทำการเพื่อส่งเสริมหรือคุ้ครองสิทธิมนุษยชน"
ทศพล ทรรศนพรรณ
เกษตรกรรมถือเป็นวิถีการผลิตที่อยู่ควบคู่กับชีวิตคนไทยจำนวนไม่น้อยมาเป็นเวลานาน   แต่ในปัจจุบันนี้การผลิตในวิถีทางเดิมได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างที่คนในสังคมไทยมิได้ตระหนักรู้    ความคิดและจินตนาการเดิมเกี่ยวกับเกษตรกรรมที่มีทุ่งนาสีเขียว ชาวนารวมตัวกันลงแขกเกี่ยวข้าว หรือทำการผ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การใช้กำลังเข้าประหัตประหารกันของมนุษย์ปรากฏอยู่อย่างต่อเนื่องยาวนานควบคู่กับทุกสังคม   แต่ก็มีหลายอารยธรรมพยายามสร้างขอบเขตและแนวทางในการควบคุมความเสียหายของการใช้กำลังมิให้กระทบกระเทือนชีวิตผู้คน ทรัพย์สิน และสังคม มากเกินกว่าจะธำรงเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ไว้ได้
ทศพล ทรรศนพรรณ
การรวมกลุ่มประเทศในระดับภูมิภาคเพื่อสร้างนโยบาย หรือกฎหมายร่วมกันของรัฐสมาชิก ตั้งอยู่บนหลักความสมัครใจเข้าร่วมของรัฐ โดยส่วนใหญ่ยึดถือเจตจำนงของรัฐเป็นสำคัญเหนือสิ่งอื่นใด   เนื่องจากรัฐทั้งหลายที่เข้ารวมกลุ่มนั้นย่อมีความหวังที่จะบรรลุเป้าหมายความเจริญก้าวหน้า และประโยชน์ของรัฐตนเป็นท
ทศพล ทรรศนพรรณ
7.เสรีภาพในการแสดงออก การสอดส่องของรัฐ และการควบคุมเนื้อหา  
ทศพล ทรรศนพรรณ
แรงงานสร้างสรรค์ในบทความนี้ที่จะพูดถึง คือ ผู้คนที่ทำงานในอุตสาหกรรมภาคสร้างสรรค์ เช่น คนทำสื่อสาระ บันเทิง ละคร นักเขียน ไปจนถึง นักแปล ดารา นักแสดง ศิลปิน ที่กลายเป็นอาชีพที่ปัญญาชน หรือผู้มีการศึกษายึดเป็นวิถีทางในการประกอบสัมมาอาชีพ หารายได้เลี้ยงดูตนเองและครอบครัว กันเป็นจำนวนมาก
ทศพล ทรรศนพรรณ
การประกวดความงามในช่วงหลังได้กลายเป็นเวทีแสดงพลังของความงดงามที่หลากหลาย และใช้ประเด็นการสร้างความเข้มแข็งให้สตรีเป็นแกนหลักส่งเสริมความงาม “อย่างมีคุณค่า”
ทศพล ทรรศนพรรณ
ระบอบการกำกับโลกไซเบอร์และตัวแบบในการกำกับดูแลพื้นที่ไซเบอร์
ทศพล ทรรศนพรรณ
4.ความเป็นส่วนตัวในการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล       
ทศพล ทรรศนพรรณ
Internet Communication            ปัจจุบันเทคโนโลยีถือเป็นตัวกำหนดภูมิทัศน์ทางสังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรม ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ถือเป็นความท้าทายในสังคมยุดิจิทัลซึ่งผู้ให้บริการในโลกธุรกิจต้องเผชิญ เ
ทศพล ทรรศนพรรณ
มาตรการรัดเข็มขัด (Austerity) หรือ นโยบายที่มีแนวโน้มปรับลดค่าใช้จ่ายภาครัฐหรือเพิ่มการจัดเก็บภาษีควบคู่ไปด้วย  แนวทางนี้เป็นสิ่งที่ถูกโจมตีโดยนักคิดนักวิเคราะห์สายส่งเสริมสวัสดิการสังคมและพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนมาอย่างต่อเนื่องเพราะการตัดลดงบประมาณหมายถึงการลดคุณภาพและปริมาณสวัสดิการสังคมที