Skip to main content

โลกเสมือนจริงเป็นสื่อใหม่ในโลกยุคดิจิทัลที่แสดงด้วยภาพและเสียงสามมิติซึ่งผู้ใช้สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในโลกที่ถูกสร้างขึ้นเหล่านี้ ทำให้เกิดเป็นสังคม (Community) ภายในโลกเสมือนจริงที่ผู้คนสามารถติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันได้ แต่มิใช่เพียงการเข้าไปรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสเพียงเท่านั้น นอกจากโลกเสมือนจริงจะเป็นพื้นที่ในการติดต่อสื่อสารระหว่างกันแล้ว ผู้ใช้ยังสามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนวัตถุเสมือนจริงระหว่างกันได้ ส่งผลให้เกิดเป็นพื้นที่ทางธุรกิจการค้า (Commerce) ทำให้เกิดการสร้างมูลค่าของสินค้าเสมือนจริงซึ่งมีคุณค่าทางเศรษฐกิจในโลกแห่งความเป็นจริง 

กฎหมายจะมีผลบังคับใช้ก็ต่อเมื่อมีความสามารถในการบังคับ ในการทำเช่นนั้นกฎหมายจะต้องสามารถระบุตัวผู้กระทำผิดได้ ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำบนแพลตฟอร์มบล็อกเชน ศักยภาพในนามแฝง และการปกปิดตัวตนบนบล็อกเชน ได้ก่อให้เกิดความยากลำบากในการบังคับใช้กฎหมาย ผู้ใช้สามารถใช้ช่องว่างนี้ เพื่อสร้างเขตที่ไร้กฎหมายเพื่อประโยชน์ของอาชญากร

ปัญหาของการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน เพื่อหลบเลี่ยงความรับผิดชอบทางกฎหมาย ไม่เกิดขึ้นในระบบบล็อกเชนส่วนตัว (Privacy Blockchain) เนื่องจากแพลตฟอร์มประเภทนี้มีการอนุญาตให้ระบบสามารถระบุตัวได้หากเกิดความรับผิดของผู้ใช้ ดังนั้นเมื่อผู้ใช้ละเมิดกฎหมายบนบล็อกเชน ระบบ จึงสามารถระบุตรวจสอบย้อนกลับไปหาบัญชีผู้ใช้จริงได้ นั่นเป็นเพราะรายการในบัญชีแยกประเภทไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ให้บันทึกการตรวจสอบและหลักฐานของการกระทําผิด แต่เพียงแค่ไม่สามารถระบุได้ตลอดเวลาในขณะที่ทําธุรกรรม  ทั้งนี้เครื่องมือระบุตัวตนแก่รัฐ (อาจอยู่ภายใต้การควบคุมของศาล หรือผ่านภาคเอกชนตามเกณฑ์การชําระเงิน) ควรเป็นเงื่อนไขขั้นต่ำที่จำเป็นสำหรับความสามารถของรัฐในการบังคับใช้ความรับผิดชอบและทำให้พื้นที่บล็อกเชนได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย 

หากพูดถึงสิ่งที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีบล็อกเชนมากที่สุด เห็นจะเป็น ระบบเงินเข้ารหัส หรือ คริปโตเคอร์เรนซี่ Cryptocurrency อันหมายความถึง ระบบที่มีไว้สำหรับการออกโทเค็น เพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนทั่วไปหรือแลกเปลี่ยนโดยจํากัดวัตถุประสงค์ ซึ่งเป็นการใช้บัญชีดิจิทัลที่สามารถดูแลร่วมกันได้ โดยใช้การเข้ารหัสเพื่อเป็นหลักประกันแทนที่ความไว้วางใจในสถาบันผู้ดูแลในระดับที่แตกต่างกัน เช่น ปรากฏธนาคารชาติ หรือกระทรวงทบวงกรมของรัฐที่รับรองสถานะของเงินให้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ระบบการเงินที่ทันสมัย จะต้องประกอบด้วยเครดิตทางกายภาพ และเครดิตดิจิทัล ที่ออกโดยธนาคารกลางของรัฐ, คลังของรัฐ, และธนาคารพาณิชย์เอกชน ซึ่งจะหมุนเวียนอยู่ภายใต้ระบบกฎหมายที่มีการรับประกันมูลค่าการไถ่ถอน

คําว่า Cryptocurrency ได้เกิดขึ้น และแพร่หลายต่อสาธารณะ จากการเพิ่มขึ้นของ Bitcoin ในปี 2008 ซึ่งเป็นโปรโตคอลที่มุ่งหมายจะเปิดการใช้งานเครือข่ายที่เชื่อมต่อกันระหว่างผู้คน ผ่านโครงสร้างพื้นฐานการสื่อสารดิจิทัลแบบ Peer-to-Peer เพื่อออกโทเค็นดิจิทัล และถ่ายโอนให้ระหว่างกัน โดยใช้ระบบรักษาความปลอดภัยผ่านการเข้ารหัส  ในช่วงเริ่มแรก ไม่ได้ใช้คําว่า Cryptocurrency แต่ผู้สร้างได้นำเสนอโครงการนี้ด้วยแนวคิดที่จะสร้าง สกุลเงิน ในเครือข่าย Peer-to-Peer  และระบบ Cryptography Mailing List  แต่อย่างไรก็ตาม คำว่า 'Cryptocurrency' ถูกใช้ในการสนทนาออนไลน์ และได้รับความนิยมในเวลาต่อมา

คำว่า Bitcoin มักจะมาคู่กับ Tokens ซึ่งแตกต่างกับบริบทของ bitcoin (สังเกตการใช้ตัวอักษรพิมพ์เล็ก) ที่มักใช้ระหว่างผู้ที่มีส่วนร่วมกับเครือข่าย (นักขุด) ผู้ซึ่งสามารถเปลี่ยนมูลค่าของสกุลเงินดิจิตัลนี้ได้จริง ๆ เพื่อหมายความไปถึงระบบ และความหมายที่มีอยู่จริง ๆ (Written Into Existence)

Crypto ในบริบทของ Cryptocurrency อาจมาจากบริบทของการเป็นตัวแทนสำหรับการเข้ารหัส (ในบทความใช้คำว่า Cryptography) แต่ยังมีส่วนมาจากการเคลื่อนไหวของ Cypherpunk ที่ให้ความหมายในเชิงของ “เงินสดที่ไม่ระบุชื่อและระบบการชําระเงินที่ไม่สามารถติดตามได้”  ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนกันระหว่าง Crypto-Anarchy  เนื่องด้วยภารกิจหลักของ Bitcoin คือการใช้ประโยชน์จาก ระบบรักษาความปลอดภัยแบบการเข้ารหัสแทนความไว้วางใจ ระบบสถาปัตยกรรมการเข้ารหัสเข้าสู่ในรูปแบบต่างๆ จึงแสดงให้เห็นถึง ความเป็นมาในการสร้างอำนาจ และความชอบธรรมให้กับตัวระบบ อันเป็นสิ่งที่ยืนยันอำนาจในการจัดเก็บ และแลกเปลี่ยน สำหรับการส่งโทเค็น

คริปโตเคอเรนซี่ยุคแรกมีเจตนาในการสร้าง 'เงินสดดิจิทัล' หรือสกุลเงิน แต่ผลลัพธ์ที่ได้กลับไม่มีเสียรภาพ จากการใช้ผิดวัตถุประสงค์แรกเริ่ม เช่น การซื้อเพื่อเก็งกำไร วัตถุประสงค์แรกเริ่มนี้ เรียกว่า ‘Limited Purpose’ การจำกัดจุดประสงค์ดังกล่าว สามารถเป็นจุดแข็งของ Cryptocurrencies ได้ หากสามารถทำให้มองเห็นได้ ระบบนี้คือบริการที่แท้จริง ที่สามารถเข้าถึงได้ผ่านการครอบครองโทเค็น ดังนั้น ระบบเศรษฐกิจจึงสามารถ'ยึด' โทเค็นเป็น 'เศรษฐกิจที่แท้จริง' ได้ แม้ว่าจะอยู่ในปริมณฑลไซเบอร์     โทเค็นที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อ ‘General Purpose’ จะมีการทําเครื่องหมายต่อการเปลี่ยนแปลง การตอบสนองต่อความไม่แน่นอนโดยธรรมชาติจากสถาปัตยกรรมสกุลเงินดิจิทัล ได้นำไปสู่การเกิดขึ้นของ ‘Stable Coins’ ซึ่งพยายามใช้เพื่อแก้ปัญหาความผันผวนสูงในกําลังซื้อของ Bitcoin ที่ถูกผูกติดอยู่กับมูลค่าตามสกุลเงินกายภาพ หรือ 'ได้รับการสนับสนุน' ในทางใดทางหนึ่งกับทรัพย์ที่มีราคาเทียบได้ในสกุลเงินกายภาพดังนั้น Stablecoins จึงไม่ใช่สัญลักษณ์ที่ว่างเปล่าอีกต่อไป และมีจุดอ้างอิงที่ง่ายต่อการประเมินมูลค่า

อย่างไรก็ดี สกุลเงินประจําชาติก็สามารถนำมาแปลงเป็นโทเค็นได้ (Tokenized)  โดยการออกสัญญาดิจิทัล ในระบบ Blockchain และกองทุน ซึ่งจะนำไปสู่รูปแบบใหม่ของเงินอิเล็กทรอนิกส์ ที่อยู่ภายใต้กฎระเบียบ ที่เกี่ยวข้องกับการเงินอิเล็กทรอนิกส์, การต่อต้านการฟอกเงิน, และการต่อต้านผู้ก่อการร้าย ซึ่งจะสร้างความมั่นใจทางกฎหมาย  ได้

อ้างอิง
Schlinsog, M, “Endermen, Creepers, and Copyright: The Bogeymen of User-Generated Content in Minecraft,” Tulane Journal of Technology and Intellectual Property, 16, (2013):185; Lastowka, F. G. “Virtual justice: The New Laws of Online Worlds,” Yale University Press, (2010): 173; Farley, R. M., “Making virtual copyright work,” Golden Gate University Law Review, 41(1) (2010); Marcus, D. T., “Fostering Creativity in Virtual Worlds,” Journal of the Copyright Society of the U.S.A, 55, (2008): 469; Kane, S. and Duranske, B. “Virtual Worlds,” Real World Issues. Landslide, 1, (2008): 9.
Tom Lyons et al, “Legal and regulatory framework of blockchains and smart contracts,” Thematic Report of European Union Blockchain Observatory & Forum, (September 27, 2019): 14-15.
Ingolf G. Pernice and Brett Scott, “Cryptocurrency,” Internet Policy Review 10, no.2 (May 20, 2021): 3.
Satoshi Nakamoto, “Bitcoin: A peer-to-peer electronic cash system,” [White Paper,. (2008). อ้างอิงใน Ingolf G. Pernice and Brett Scott, “Cryptocurrency,” Internet Policy Review 10, no. 2 (May 20, 2021).
Satoshi Nakamoto, “Bitcoin open source implementation of P2P currency,” [Forum post]. P2P Foundation Post. http://p2pfoundation.ning.com/forum/topics/bitcoin-open-source, (2009, February 11). อ้างอิงใน Ingolf G. Pernice and Brett Scott, “Cryptocurrency,” Internet Policy Review 10, no. 2 (May 20, 2021).
Primavera De Filippi and Aaron Wright, Blockchain and the Law: The Rule of Code (Cambridge, Massachusetts: Harvard University Press, 2018). https://doi.org/10.2307/j.ctv2867sp,

 

*ค้นคว้าและเรียบเรียงร่วมกับ ภานุพงศ์ จือเหลียง ในงานวิจัยเรื่อง ทบทวนพรมแดนความรู้เพื่อเตรียมความพร้อมด้านนิติบัญญัติในการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล, 2565. สนับสนุนโดยสถาบันพระปกเกล้า

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
Nick Srnicek ได้สรุปภาพรวมของแพลตฟอร์มดิจิทัลที่แตกต่างกัน 5 ประเภท คือ1.แพลตฟอร์มโฆษณา, 2.แพลตฟอร์มจัดเก็ยข้อมูล, 3.แพลตฟอร์มอุตสาหกรรม, 4.แพลตฟอร์มผลิตภัณฑ์, และ 5.แพลตฟอร์มแบบลีน 
ทศพล ทรรศนพรรณ
ผู้ประกอบการแพลตฟอร์มดิจิทัลมีรายได้และผลกำไรจำนวนมหาศาลจากการประมวลผลข้อมูลการใช้งานของผู้บริโภคในระบบของตน แต่ยังไม่มีระบบการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม    เนื่องจากยังมีข้อถกเถียงเรื่องใครเป็นเจ้าของข้อมูลและมีสิทธิแสวงหาผลประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้นบ้าง    จึงจ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การบังคับใช้ พรบ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่ผลักดันออกมาในปี พ.ศ.
ทศพล ทรรศนพรรณ
แพลตฟอร์มมักเป็นระบบแบบเปิดให้ทุกคนมีส่วนร่วม ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่นำไปสู่ปัญหา จากการที่ทำให้การเข้าถึงข้ามเขตอํานาจ ในทางกลับกัน กลับมีการกําหนดให้หน่วยงานกํากับดูแลและผู้ออกกฎหมายต้องร่วมมือกันข้ามพรมแดนแห่งชาติเพื่อประสานระบอบกฎหมายและกฎระเบียบในขณะที่จัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นรวมถึงประเด็นกา
ทศพล ทรรศนพรรณ
การวิเคราะห์ปรับปรุงเกระบวนการระงับข้อพิพาทของบรรดาผู้บริโภคในแพลตฟอร์มต่าง ๆ ยืนยันว่าระบบสามารถใช้เพื่อทำการแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้บริโภคจํานวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน่วยงานระงับข้อพิพาททางเลือก (Alternative Dispute Resolution - ADR) ที่ได้รับการรับรองจากสาธารณะให้เป็นมากกว่ากลไกการระงับข้อพิพาทใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
การสร้างความเชื่อถือให้กับผู้บริโภคจึงเป็นผลดีต่อการเติบโตของธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ และการตัดสินใจของผู้บริโภคที่จะทำธุรกรรมออนไลน์กับผู้ขายต่อไป ทำให้ประเทศต่าง ๆ  รวมถึงประเทศไทยให้ความสนใจและมุ่งให้เกิดการคุ้มครองอย่างจริงจังต่อปัญหาการละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู
ทศพล ทรรศนพรรณ
ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันทันใดที่ผู้คนจำนวนมากขาดความรู้ความเข้าใจต่อเทคโนโลยีที่มีผลกระทบต่อชีวิตโดยตรง รัฐในฐานะผู้คุ้มครองสิทธิประชาชนและยังต้องทำหน้าที่กระตุ้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจด้วย จึงมีภาระหนักในการสถาปนาความ “เชื่อมั่น” ให้เกิดขึ้นในใจประชาชนที่ลังเลต่อการเข้าร่วมสังฆกรรมใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริงเป็นสื่อใหม่ในโลกยุคดิจิทัลที่แสดงด้วยภาพและเสียงสามมิติซึ่งผู้ใช้สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในโลกที่ถูกสร้างขึ้นเหล่านี้ ทำให้เกิดเป็นสังคม (Community) ภายในโลกเสมือนจริงที่ผู้คนสามารถติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันได้ แต่มิใช่เพียงการเข้าไปรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสเพียงเท่านั้น นอก
ทศพล ทรรศนพรรณ
การทำธุรกรรมบนอินเตอร์เน็ตมีแนวโน้มที่จะส่งเสริมการเข้าร่วมสัญญาอย่างรวดเร็วสะดวกลดอุปสรรค ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตก็ด้วยไม่ต้องการเดินทางหรือไม่ต้องมีตัวกลางในการประสานความร่วมมือหรือต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับผู้รับรองสถานะของสัญญาในลักษณะตัวกลางแบบที่ต้องทำในโลกจริง ที่อาจถูกกฎหมายบังคับให้ทำตามแบ
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริง (Virtual World) คือสภาพแวดล้อมเสมือนซึ่งสร้างและปฏิบัติการด้วยซอฟต์แวร์ (Software) ที่อยู่ในเซิร์ฟเวอร์ (Server) ของเจ้าของแพลตฟอร์ม (Platform) สิ่งแวดล้อมเสมือนเหล่านี้ออกแบบมาให้ผู้เล่นหรือผู้ใช้โลกเสมือนจริงสามารถใช้ตัวตนเสมือนหรืออวตาร (Avatar) ในการท่องไปในโลกนั้น โดยสามารถติดต
ทศพล ทรรศนพรรณ
เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ในยุคดิจิทัลตั้งอยู่บนพื้นฐานของเสรีภาพในการแสดงออกบนโลกออนไลน์ โดยมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับประเด็นกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเนื่องจากกฎหมายลิขสิทธิ์สามารถห้ามปรามการเผยแพร่ความคิดหรือการแสดงออกในงานสร้างสรรค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยอ้างเหตุแห่งการคุ้มครองสิทธิของปัจเจกชนอย
ทศพล ทรรศนพรรณ
ความเฟื่องฟูของเศรษฐกิจดิจิทัลที่สร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการจำนวนมหาศาลแต่นำมาซึ่งความกังขาว่า สังคมได้อะไรจากการเติบโตของบรรษัทขนาดใหญ่ผู้เป็นเจ้าของเทคโนโลยีและควบคุมแพลตฟอร์มเหล่านี้ อันเป็นที่มาของเรื่อง การจัดเก็บภาษีดิจิทัลได้กลายเป็นข้อกังวลที่สำคัญสำหรับหลาย ๆ รัฐบาล ในยุโรป เช่นใน เยอรมนี