Skip to main content

โลกเสมือนจริงเป็นสื่อใหม่ในโลกยุคดิจิทัลที่แสดงด้วยภาพและเสียงสามมิติซึ่งผู้ใช้สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในโลกที่ถูกสร้างขึ้นเหล่านี้ ทำให้เกิดเป็นสังคม (Community) ภายในโลกเสมือนจริงที่ผู้คนสามารถติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันได้ แต่มิใช่เพียงการเข้าไปรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสเพียงเท่านั้น นอกจากโลกเสมือนจริงจะเป็นพื้นที่ในการติดต่อสื่อสารระหว่างกันแล้ว ผู้ใช้ยังสามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนวัตถุเสมือนจริงระหว่างกันได้ ส่งผลให้เกิดเป็นพื้นที่ทางธุรกิจการค้า (Commerce) ทำให้เกิดการสร้างมูลค่าของสินค้าเสมือนจริงซึ่งมีคุณค่าทางเศรษฐกิจในโลกแห่งความเป็นจริง 

กฎหมายจะมีผลบังคับใช้ก็ต่อเมื่อมีความสามารถในการบังคับ ในการทำเช่นนั้นกฎหมายจะต้องสามารถระบุตัวผู้กระทำผิดได้ ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำบนแพลตฟอร์มบล็อกเชน ศักยภาพในนามแฝง และการปกปิดตัวตนบนบล็อกเชน ได้ก่อให้เกิดความยากลำบากในการบังคับใช้กฎหมาย ผู้ใช้สามารถใช้ช่องว่างนี้ เพื่อสร้างเขตที่ไร้กฎหมายเพื่อประโยชน์ของอาชญากร

ปัญหาของการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน เพื่อหลบเลี่ยงความรับผิดชอบทางกฎหมาย ไม่เกิดขึ้นในระบบบล็อกเชนส่วนตัว (Privacy Blockchain) เนื่องจากแพลตฟอร์มประเภทนี้มีการอนุญาตให้ระบบสามารถระบุตัวได้หากเกิดความรับผิดของผู้ใช้ ดังนั้นเมื่อผู้ใช้ละเมิดกฎหมายบนบล็อกเชน ระบบ จึงสามารถระบุตรวจสอบย้อนกลับไปหาบัญชีผู้ใช้จริงได้ นั่นเป็นเพราะรายการในบัญชีแยกประเภทไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ให้บันทึกการตรวจสอบและหลักฐานของการกระทําผิด แต่เพียงแค่ไม่สามารถระบุได้ตลอดเวลาในขณะที่ทําธุรกรรม  ทั้งนี้เครื่องมือระบุตัวตนแก่รัฐ (อาจอยู่ภายใต้การควบคุมของศาล หรือผ่านภาคเอกชนตามเกณฑ์การชําระเงิน) ควรเป็นเงื่อนไขขั้นต่ำที่จำเป็นสำหรับความสามารถของรัฐในการบังคับใช้ความรับผิดชอบและทำให้พื้นที่บล็อกเชนได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย 

หากพูดถึงสิ่งที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีบล็อกเชนมากที่สุด เห็นจะเป็น ระบบเงินเข้ารหัส หรือ คริปโตเคอร์เรนซี่ Cryptocurrency อันหมายความถึง ระบบที่มีไว้สำหรับการออกโทเค็น เพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนทั่วไปหรือแลกเปลี่ยนโดยจํากัดวัตถุประสงค์ ซึ่งเป็นการใช้บัญชีดิจิทัลที่สามารถดูแลร่วมกันได้ โดยใช้การเข้ารหัสเพื่อเป็นหลักประกันแทนที่ความไว้วางใจในสถาบันผู้ดูแลในระดับที่แตกต่างกัน เช่น ปรากฏธนาคารชาติ หรือกระทรวงทบวงกรมของรัฐที่รับรองสถานะของเงินให้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ระบบการเงินที่ทันสมัย จะต้องประกอบด้วยเครดิตทางกายภาพ และเครดิตดิจิทัล ที่ออกโดยธนาคารกลางของรัฐ, คลังของรัฐ, และธนาคารพาณิชย์เอกชน ซึ่งจะหมุนเวียนอยู่ภายใต้ระบบกฎหมายที่มีการรับประกันมูลค่าการไถ่ถอน

คําว่า Cryptocurrency ได้เกิดขึ้น และแพร่หลายต่อสาธารณะ จากการเพิ่มขึ้นของ Bitcoin ในปี 2008 ซึ่งเป็นโปรโตคอลที่มุ่งหมายจะเปิดการใช้งานเครือข่ายที่เชื่อมต่อกันระหว่างผู้คน ผ่านโครงสร้างพื้นฐานการสื่อสารดิจิทัลแบบ Peer-to-Peer เพื่อออกโทเค็นดิจิทัล และถ่ายโอนให้ระหว่างกัน โดยใช้ระบบรักษาความปลอดภัยผ่านการเข้ารหัส  ในช่วงเริ่มแรก ไม่ได้ใช้คําว่า Cryptocurrency แต่ผู้สร้างได้นำเสนอโครงการนี้ด้วยแนวคิดที่จะสร้าง สกุลเงิน ในเครือข่าย Peer-to-Peer  และระบบ Cryptography Mailing List  แต่อย่างไรก็ตาม คำว่า 'Cryptocurrency' ถูกใช้ในการสนทนาออนไลน์ และได้รับความนิยมในเวลาต่อมา

คำว่า Bitcoin มักจะมาคู่กับ Tokens ซึ่งแตกต่างกับบริบทของ bitcoin (สังเกตการใช้ตัวอักษรพิมพ์เล็ก) ที่มักใช้ระหว่างผู้ที่มีส่วนร่วมกับเครือข่าย (นักขุด) ผู้ซึ่งสามารถเปลี่ยนมูลค่าของสกุลเงินดิจิตัลนี้ได้จริง ๆ เพื่อหมายความไปถึงระบบ และความหมายที่มีอยู่จริง ๆ (Written Into Existence)

Crypto ในบริบทของ Cryptocurrency อาจมาจากบริบทของการเป็นตัวแทนสำหรับการเข้ารหัส (ในบทความใช้คำว่า Cryptography) แต่ยังมีส่วนมาจากการเคลื่อนไหวของ Cypherpunk ที่ให้ความหมายในเชิงของ “เงินสดที่ไม่ระบุชื่อและระบบการชําระเงินที่ไม่สามารถติดตามได้”  ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนกันระหว่าง Crypto-Anarchy  เนื่องด้วยภารกิจหลักของ Bitcoin คือการใช้ประโยชน์จาก ระบบรักษาความปลอดภัยแบบการเข้ารหัสแทนความไว้วางใจ ระบบสถาปัตยกรรมการเข้ารหัสเข้าสู่ในรูปแบบต่างๆ จึงแสดงให้เห็นถึง ความเป็นมาในการสร้างอำนาจ และความชอบธรรมให้กับตัวระบบ อันเป็นสิ่งที่ยืนยันอำนาจในการจัดเก็บ และแลกเปลี่ยน สำหรับการส่งโทเค็น

คริปโตเคอเรนซี่ยุคแรกมีเจตนาในการสร้าง 'เงินสดดิจิทัล' หรือสกุลเงิน แต่ผลลัพธ์ที่ได้กลับไม่มีเสียรภาพ จากการใช้ผิดวัตถุประสงค์แรกเริ่ม เช่น การซื้อเพื่อเก็งกำไร วัตถุประสงค์แรกเริ่มนี้ เรียกว่า ‘Limited Purpose’ การจำกัดจุดประสงค์ดังกล่าว สามารถเป็นจุดแข็งของ Cryptocurrencies ได้ หากสามารถทำให้มองเห็นได้ ระบบนี้คือบริการที่แท้จริง ที่สามารถเข้าถึงได้ผ่านการครอบครองโทเค็น ดังนั้น ระบบเศรษฐกิจจึงสามารถ'ยึด' โทเค็นเป็น 'เศรษฐกิจที่แท้จริง' ได้ แม้ว่าจะอยู่ในปริมณฑลไซเบอร์     โทเค็นที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อ ‘General Purpose’ จะมีการทําเครื่องหมายต่อการเปลี่ยนแปลง การตอบสนองต่อความไม่แน่นอนโดยธรรมชาติจากสถาปัตยกรรมสกุลเงินดิจิทัล ได้นำไปสู่การเกิดขึ้นของ ‘Stable Coins’ ซึ่งพยายามใช้เพื่อแก้ปัญหาความผันผวนสูงในกําลังซื้อของ Bitcoin ที่ถูกผูกติดอยู่กับมูลค่าตามสกุลเงินกายภาพ หรือ 'ได้รับการสนับสนุน' ในทางใดทางหนึ่งกับทรัพย์ที่มีราคาเทียบได้ในสกุลเงินกายภาพดังนั้น Stablecoins จึงไม่ใช่สัญลักษณ์ที่ว่างเปล่าอีกต่อไป และมีจุดอ้างอิงที่ง่ายต่อการประเมินมูลค่า

อย่างไรก็ดี สกุลเงินประจําชาติก็สามารถนำมาแปลงเป็นโทเค็นได้ (Tokenized)  โดยการออกสัญญาดิจิทัล ในระบบ Blockchain และกองทุน ซึ่งจะนำไปสู่รูปแบบใหม่ของเงินอิเล็กทรอนิกส์ ที่อยู่ภายใต้กฎระเบียบ ที่เกี่ยวข้องกับการเงินอิเล็กทรอนิกส์, การต่อต้านการฟอกเงิน, และการต่อต้านผู้ก่อการร้าย ซึ่งจะสร้างความมั่นใจทางกฎหมาย  ได้

อ้างอิง
Schlinsog, M, “Endermen, Creepers, and Copyright: The Bogeymen of User-Generated Content in Minecraft,” Tulane Journal of Technology and Intellectual Property, 16, (2013):185; Lastowka, F. G. “Virtual justice: The New Laws of Online Worlds,” Yale University Press, (2010): 173; Farley, R. M., “Making virtual copyright work,” Golden Gate University Law Review, 41(1) (2010); Marcus, D. T., “Fostering Creativity in Virtual Worlds,” Journal of the Copyright Society of the U.S.A, 55, (2008): 469; Kane, S. and Duranske, B. “Virtual Worlds,” Real World Issues. Landslide, 1, (2008): 9.
Tom Lyons et al, “Legal and regulatory framework of blockchains and smart contracts,” Thematic Report of European Union Blockchain Observatory & Forum, (September 27, 2019): 14-15.
Ingolf G. Pernice and Brett Scott, “Cryptocurrency,” Internet Policy Review 10, no.2 (May 20, 2021): 3.
Satoshi Nakamoto, “Bitcoin: A peer-to-peer electronic cash system,” [White Paper,. (2008). อ้างอิงใน Ingolf G. Pernice and Brett Scott, “Cryptocurrency,” Internet Policy Review 10, no. 2 (May 20, 2021).
Satoshi Nakamoto, “Bitcoin open source implementation of P2P currency,” [Forum post]. P2P Foundation Post. http://p2pfoundation.ning.com/forum/topics/bitcoin-open-source, (2009, February 11). อ้างอิงใน Ingolf G. Pernice and Brett Scott, “Cryptocurrency,” Internet Policy Review 10, no. 2 (May 20, 2021).
Primavera De Filippi and Aaron Wright, Blockchain and the Law: The Rule of Code (Cambridge, Massachusetts: Harvard University Press, 2018). https://doi.org/10.2307/j.ctv2867sp,

 

*ค้นคว้าและเรียบเรียงร่วมกับ ภานุพงศ์ จือเหลียง ในงานวิจัยเรื่อง ทบทวนพรมแดนความรู้เพื่อเตรียมความพร้อมด้านนิติบัญญัติในการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล, 2565. สนับสนุนโดยสถาบันพระปกเกล้า

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
การพัฒนาสิทธิแรงงานรับจ้างอิสระ (Freelancer) ต้องยึดโยงกับหลักกฎหมายสำคัญเรื่องการประกันสิทธิของแรงงานอันมีสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐาน (Human Rights-Based Approach – HRBA) ไว้ เพื่อเป็นรากฐานทางกฎหมายในการอ้างสิทธิและเสนอให้ภาครัฐสร้างมาตรการบังคับตามสิทธิอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่การประกันรายได้รูปแบบ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของปัจเจกชนจากการเก็บข้อมูลและประมวลผลโดยบรรษัทเอกชนจำต้องปกป้องคุ้มครองสิทธิของเจ้าของข้อมูลตามมาตรฐานที่กำหนดหน้าที่ของผู้ควบคุมระบบตามกฎหมายด้วย เนื่องจากบุคคลหรือกลุ่มองค์กรเหล่านี้ทำหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิเจ้าของข้อมูลในหลายรูปแบบ อาทิ การให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพปั
ทศพล ทรรศนพรรณ
บุคคลแต่ละคนย่อมมีทุนที่แตกต่างกันไปทั้ง ทุนความรู้ ทุนทางเศรษฐกิจ ทำให้การตัดสินใจนั้นตั้งอยู่บนข้อจำกัดของแต่ละคนไม่ว่าจะเป็นการไม่รู้เท่าทันเทคโนโลยี ขาดความรู้ทางการเงิน ไปจนถึงขาดการตระหนักรู้ถึงผลกระทบต่อสุขภาพตนเองและผู้อื่นในระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้นรัฐไทยยังมีนโยบายที่มิได้วางอยู่บนพื้นฐานข
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทบัญญัติกฎหมายที่ใช้เป็นรากฐานในการอ้างสิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น จะพบว่ารัฐไทยได้วางบรรทัดฐานทางกฎหมายที่รับสิทธิของประชาชนในการรวมกลุ่มกันเพื่อแสดงออกในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มต้นจากหลักการพื้นฐานสำคัญที่เชื่อมโยงเรื่องสิทธิม
ทศพล ทรรศนพรรณ
เทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่เข้ามามีอิทธิพลแทบจะทุกมิติของชีวิต ส่งผลให้พฤติกรรมด้านการปฏิสัมพันธ์ของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี มีประชาชนจำนวนมากที่ใช้เทคโนโลยีในการหา “คู่” หรือแสวง “รัก” ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการกระทำความผิดที่เรียกว่า Romance Scam หรือ “พิศวาสอาชญากรรม”&
ทศพล ทรรศนพรรณ
เมื่อถามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนว่าอยากเห็นสังคมไทยเป็นเช่นไรในประเด็นการมีส่วนร่วมต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ หรือมีความคาดหวังให้รัฐไทยปรับปรุงอะไรเพื่อส่งเสริมการพิทักษ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเสี่ยง   นักปกป้องสิทธิมนุษยชนในไทยได้ฉายภาพความฝัน ออกมาดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
นักปกป้องสิทธิมนุษยชนผู้คร่ำหวอดอยู่ในสนามมายาวนานได้วิเคราะห์สถานการณ์การคุกคามผ่านประสบการณ์ของตนและเครือข่ายแล้วแสดงทัศนะออกมาในหลากหลายมุมมอง ดังนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
สถานการณ์ในด้านสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศนั้น มีความสัมพันธ์กับหลายปัจจัยที่อาจเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการละเมิดต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนภายในประเทศที่เกิดจากข้อค้นพบจากกรณีศึกษา มีปัจจัยดังต่อไปนี้1. สถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับบริบทภายในประเทศ
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทวิเคราะห์ที่ได้จากการถอดบทสัมภาษณ์นักปกป้องสิทธิมนุษยชนมากประสบการณ์ ในหลากหลายภูมิภาคไปจนถึงความแตกต่างของการทำงานกับกลุ่มเสี่ยงที่มีปัญหาสิทธิแตกต่างกันไป   เป็นที่ชัดเจนว่าเขาเหล่านั้นมีชีวิตและอยู่ในวัฒนธรรมแตกต่างไปจากมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนและนิติรัฐที่ปรากฏในสังคมตะวันตก ซึ่งสะ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้ถูกรับรองไว้โดยพันธกรณีระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ให้ความสำคัญประกอบจนก่อให้เกิดอนุสัญญาเฉพาะสำหรับกลุ่มเสี่ยงนั้น ๆ ประกอบไปด้วย สตรี, เด็ก, เชื้อชาติ และ แรงงานอพยพ รวมถึง ผู้พิการ โดยกลุ่มเสี่ยงมีสิทธิที่ถูกระบุไว้ในปฏิญญาว่าด้วย
ทศพล ทรรศนพรรณ
แนวทางในการสร้างนโยบาย กฎหมาย และกลไกเพื่อคุ้มครองสิทธิประชาชนจากการสอดส่องโดยรัฐมาจาการทบทวนมาตรฐานและแนวทางตามมาตรฐานสากลเพื่อสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายครอบคลุม 2 ประเด็นหลัก คือ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ต้นปี 2563 หลังจากการอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคอนาคตใหม่ บรรยากาศความขัดแย้งทางการเมืองไทยที่ถูกกดไว้มาตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 2557 ก็ปะทุขึ้นอีกครั้ง เกิดการเคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านรัฐบาลกระจายไปทั่วทุกจังหวัดในรัฐไทย จุดสำคัญและเป็นเรื่องที่ไม่ปรากฏขึ้นมาก่อนในหน้าประว