Skip to main content

การวิเคราะห์ปรับปรุงเกระบวนการระงับข้อพิพาทของบรรดาผู้บริโภคในแพลตฟอร์มต่าง ๆ ยืนยันว่าระบบสามารถใช้เพื่อทำการแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้บริโภคจํานวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน่วยงานระงับข้อพิพาททางเลือก (Alternative Dispute Resolution - ADR) ที่ได้รับการรับรองจากสาธารณะให้เป็นมากกว่ากลไกการระงับข้อพิพาทในบั้นปลาย เนื่องจากสามารถรองรับผู้บริโภคได้อย่างเต็มที่กระทั่งสามารถบริหารจัดการความขัดแย้งในตลาดดิจิทัลแทนที่บทบาทของศาล   การเพิ่มประสิทธิภาพของหน่วยงาน ADR ในฐานะตัวกลางผู้ทำหน้าที่ประสานงานระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ผ่านวิธีการทางเทคโนโลยี ทั้งยังกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงด้านกฎระเบียบในบริบทของการพัฒนาตลาดดิจิทัลที่เกิดขึ้นในสหภาพยุโรปและที่อื่น ๆ เพื่อค้นหาแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด ที่สามารถนำไปสร้างกฎระเบียบและการออกแบบนโยบายและกระบวนการแก้ไขผู้บริโภค

เมื่อเกิดข้อพิพาทระหว่างผู้บริโภคและผู้ค้าขึ้น มักเกิดความลังเลที่จะใช้กระบวนการพิจารณาคดีอย่างเป็นทางการเพื่อแก้ไขข้อพิพาท เนื่องจากราคาค่าเสียหายมักมีขนาดเล็กน้อย เมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีที่มีต้นทุนสูง ทั้งใช้เวลานาน รวมไปถึงความตึงเครียดของกลไกศาล จากความซับซ้อนของกระบวนการศาลและคําแนะนําทางกฎหมายที่ไม่ชัดเจนเนื่องจากตัวแทนทางกฎหมายไม่สามารถรับรองผู้บริโภคเกี่ยวกับผลลัพธ์ของการตัดสินซึ่งต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่จะต้องจ่ายค่าใช้จ่ายทางกฎหมายโดยไม่รับประกันว่าจะได้รับการแก้ไข เป็นผลให้หลายองค์กรรวมถึงสหภาพยุโรปและรัฐบาลแห่งชาติ ได้ตัดสินใจที่จะลงทุนและส่งเสริมตัวเลือกการแก้ไขนอกศาล การระงับข้อพิพาททางเลือก (ADR) มักเป็นตัวเลือกที่ต้องการสำหรับข้อพิพาทส่วนใหญ่ เนื่องจากสามารถแก้ไขปัญหาที่ไม่เป็นทางการในลักษณะที่เป็นอิสระ รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ นี่คือเหตุผลที่ข้อพิพาทของผู้บริโภคจํานวนมากได้รับการจัดการโดยตรงจากโครงการระงับข้อพิพาททางเลือก (ADR) ซึ่งสามารถแทนที่บริบทของศาล ในฐานะผู้ให้บริการในการแก้ไขหลักในด้านต่าง ๆ เช่นในเรื่องการเงินและสาธารณูปโภค  

ระบบการระงับข้อพิพาททางเลือกสำหรับผู้บริโภค Consumer ADR (CADR)  มีความแตกต่างจากกระบวนการระงับข้อพิพาทนอกศาลแบบดั้งเดิมที่ใช้ระหว่างฝ่ายการค้าเช่นกระบวนการอนุญาโตตุลาการและการไกล่เกลี่ยเชิงพาณิชย์ ที่มักจะนําเสนอตัวเองเป็นทางเลือกเดียวสำหรับผู้บริโภคในการค้นหาการแก้ไขในลักษณะที่คุ้มค่าและสมส่วน โดยไม่ต้องใช้การบังคับโดยอำนาจศาล  ในระบบ Consumer ADR (CADR) ผู้บริโภคส่วนใหญ่ไม่ได้รับคําแนะนําทางกฎหมายก่อนที่จะติดต่อเพื่อรับบริการระงับข้อพิพาท แต่ใช้วิธีการกรองกรณีตามเกณฑ์การมีสิทธิ์ (Diagnosis Stage that Filters Cases Based on Eligibility Criteria) กระบวนการระงับข้อพิพาทนอกศาลแบบดั้งเดิม (ADR) เชิงพาณิชย์มักจะดําเนินการโดยเอกชน และการตัดสินใจส่วนใหญ่เป็นความลับ แต่ Consumer ADR (CADR) มักจะดําเนินการโดยหน่วยงานกํากับดูแลสาธารณะ หรือมีลักษณะใกล้เคียง  เช่น องค์กรกึ่งตุลาการ (Quasi-Judicial Body) หรือองค์กรอิสระภายใต้การกำกับของรัฐ (Regulator)

ปัจจุบันประมาณครึ่งหนึ่งของผู้บริโภคในสหภาพยุโรป ซื้อสินค้าออนไลน์ แต่ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากการซื้อออนไลน์ กลับไม่ค่อยได้รับการแก้ไขในศาล เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการเข้าสู่กระบวนการ มีราสูงกว่ามูลค่าของทรัพย์ที่เป็นมูลเหตุของข้อพิพาท โดยเฉพาะเมื่อคู่กรณีอยู่ในเขตอํานาจศาลที่แตกต่างกัน ดังนั้นการใช้วิธีการระงับข้อพิพาทแบบเผชิญหน้าเพื่อแก้ไขข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในยุคดิจิทัลนี้ไม้ได้รับความนิยม เนื่องจากใช้เวลานาน และมีราคาแพง เมื่อต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายในการเดินทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการขัดแย้งข้ามพรมแดน โดยเฉพาะเมื่อเกิดจากการซื้อสินค้าราคาต่ำ 

อินเทอร์เน็ตได้ทำให้ผู้บริโภคด้วยรู้เท่าทันถึงสิทธิ และข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิ์ของพวกเขา  ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านี้ ข้อมูลเหล่านี้ มักมีให้เฉพาะพวกเขาผ่านผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ความคาดหวังของผู้บริโภคถูกโอนย้ายมายังช่องทางออนไลน์ คือ การแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของผู้บริโภคส่วนใหญ่ถูกทำผ่านสื่อสารทางไกลบางอย่าง บนพื้นฐานเช่นเดียวกับอีเมลและการสื่อสารทางโทรศัพท์ เพื่อจัดการกับข้อสงสัยของผู้บริโภค และเป็นช่องทางในการร้องเรียน กระบวนการระงับข้อพิพาทที่อนุญาตให้สื่อสารทางไกลนี้เรียกว่า Online Dispute Resolution (ODR) ซี่งหมายถึง กลไกการแก้ไขผู้บริโภคส่วนใหญ่ใช้วิธีการสื่อสารทางไกลบางอย่าง  สิ่งเหล่านี้อาจเป็นพื้นฐานเช่นเดียวกับอีเมลและการสื่อสารทางโทรศัพท์เพื่อจัดการกับข้อสงสัยของผู้บริโภคและแง่มุมต่าง ๆ ของการร้องเรียน เทคโนโลยี ODR นี้ได้เปลี่ยนกระบวนทัศน์ของขั้นตอนการแก้ไขระงับข้อพิพาทแบบดั้งเดิม ให้สามารถรองรับ หรือเปลี่ยนบทบาทของบุคคลที่สามในฐานะคนกลาง เช่นการเจรจากับผู้ซื้อและผู้ขายโดยตรงผ่านซอฟต์แวร์ที่ ซึ่งเป็นบทบาทที่สำคัญในฐานะผู้อํานวยความสะดวกในการจัดการและแลกเปลี่ยนข้อมูล

การแก้ไขระงับข้อพิพาทของผู้บริโภคจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นหากเสริมด้วยแรงจูงใจ ที่กระตุ้นให้ฝ่ายต่าง ๆ มีส่วนร่วมในกระบวนการระงับข้อพิพาทนอกศาลโดยจะทำให้สามารถตกลงชําระตามข้อเรียกร้องของแต่ละฝ่ายตั้งแต่เนิ่น ๆ  และสร้างมาตรฐานการรับประกันถึงผลของการบังคับใช้ผลสุดท้าย (Final Outcomes)  ทั้งยังเรียกร้องให้มีแนวทางการจัดการ ในรูปแบบองค์รวมเพิ่มมากขึ้นในการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทของผู้บริโภค ผ่านเทคนิค CADR โดยการใช้เทคโนโลยีและตัวเลือกอื่น ๆ รวมไปถึง ศาล, หน่วยงานกำกับดูแล, และหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายสาธารณะ เพื่อป้องกันข้อพิพาทและสร้างคุ้มครองแก่ผู้บริโภค

การระงับข้อพิพาทางเลือกออนไลน์ (ODR) นี้แตกหน่อมาจากการระงับข้อพิพาทนอกชั้นศาลโดยทั่วไป โดยใช้ประโยชน์จากความเร็วและความสะดวกสบายของอินเทอร์เน็ต ทําให้ ODR กลายมาเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด (และอาจจะเป็นตัวเลือกเดียวสำหรับข้อพิพาทข้ามเขตอำนาจศาลของสองรัฐขึ้นไป) สำหรับการให้บริการแก้ไขข้อข้องใจของผู้บริโภคเพื่อเสริมสร้างความไว้วางใจในอีคอมเมิร์ซที่เชื่อถือได้มากขึ้น เนื่องจากตัวกลางที่เป็นแพลตฟอร์มอยู่ในสถานะที่สืบสาวหาหลักฐานและบังคับเอากับผู้ซื้อผู้ขายได้จริงมากกว่ารัฐที่อยู่ภายนอกระบบตลาดออนไลน์

อ้างอิง
Cortés Pablo, The Law of Consumer Redress in an Evolving Digital Market: Upgrading from Alternative to Online Dispute Resolution (Cambridge, New York: Cambridge University Press, 2017): 10.


*ค้นคว้าและเรียบเรียงร่วมกับ ภานุพงศ์ จือเหลียง, กฤษดนัย เทพณรงค์. ในงานวิจัยเรื่อง ทบทวนพรมแดนความรู้เพื่อเตรียมความพร้อมด้านนิติบัญญัติในการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล, 2565. สนับสนุนโดยสถาบันพระปกเกล้า

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
Nick Srnicek ได้สรุปภาพรวมของแพลตฟอร์มดิจิทัลที่แตกต่างกัน 5 ประเภท คือ1.แพลตฟอร์มโฆษณา, 2.แพลตฟอร์มจัดเก็ยข้อมูล, 3.แพลตฟอร์มอุตสาหกรรม, 4.แพลตฟอร์มผลิตภัณฑ์, และ 5.แพลตฟอร์มแบบลีน 
ทศพล ทรรศนพรรณ
ผู้ประกอบการแพลตฟอร์มดิจิทัลมีรายได้และผลกำไรจำนวนมหาศาลจากการประมวลผลข้อมูลการใช้งานของผู้บริโภคในระบบของตน แต่ยังไม่มีระบบการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม    เนื่องจากยังมีข้อถกเถียงเรื่องใครเป็นเจ้าของข้อมูลและมีสิทธิแสวงหาผลประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้นบ้าง    จึงจ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การบังคับใช้ พรบ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่ผลักดันออกมาในปี พ.ศ.
ทศพล ทรรศนพรรณ
แพลตฟอร์มมักเป็นระบบแบบเปิดให้ทุกคนมีส่วนร่วม ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่นำไปสู่ปัญหา จากการที่ทำให้การเข้าถึงข้ามเขตอํานาจ ในทางกลับกัน กลับมีการกําหนดให้หน่วยงานกํากับดูแลและผู้ออกกฎหมายต้องร่วมมือกันข้ามพรมแดนแห่งชาติเพื่อประสานระบอบกฎหมายและกฎระเบียบในขณะที่จัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นรวมถึงประเด็นกา
ทศพล ทรรศนพรรณ
การวิเคราะห์ปรับปรุงเกระบวนการระงับข้อพิพาทของบรรดาผู้บริโภคในแพลตฟอร์มต่าง ๆ ยืนยันว่าระบบสามารถใช้เพื่อทำการแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้บริโภคจํานวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน่วยงานระงับข้อพิพาททางเลือก (Alternative Dispute Resolution - ADR) ที่ได้รับการรับรองจากสาธารณะให้เป็นมากกว่ากลไกการระงับข้อพิพาทใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
การสร้างความเชื่อถือให้กับผู้บริโภคจึงเป็นผลดีต่อการเติบโตของธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ และการตัดสินใจของผู้บริโภคที่จะทำธุรกรรมออนไลน์กับผู้ขายต่อไป ทำให้ประเทศต่าง ๆ  รวมถึงประเทศไทยให้ความสนใจและมุ่งให้เกิดการคุ้มครองอย่างจริงจังต่อปัญหาการละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู
ทศพล ทรรศนพรรณ
ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันทันใดที่ผู้คนจำนวนมากขาดความรู้ความเข้าใจต่อเทคโนโลยีที่มีผลกระทบต่อชีวิตโดยตรง รัฐในฐานะผู้คุ้มครองสิทธิประชาชนและยังต้องทำหน้าที่กระตุ้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจด้วย จึงมีภาระหนักในการสถาปนาความ “เชื่อมั่น” ให้เกิดขึ้นในใจประชาชนที่ลังเลต่อการเข้าร่วมสังฆกรรมใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริงเป็นสื่อใหม่ในโลกยุคดิจิทัลที่แสดงด้วยภาพและเสียงสามมิติซึ่งผู้ใช้สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในโลกที่ถูกสร้างขึ้นเหล่านี้ ทำให้เกิดเป็นสังคม (Community) ภายในโลกเสมือนจริงที่ผู้คนสามารถติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันได้ แต่มิใช่เพียงการเข้าไปรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสเพียงเท่านั้น นอก
ทศพล ทรรศนพรรณ
การทำธุรกรรมบนอินเตอร์เน็ตมีแนวโน้มที่จะส่งเสริมการเข้าร่วมสัญญาอย่างรวดเร็วสะดวกลดอุปสรรค ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตก็ด้วยไม่ต้องการเดินทางหรือไม่ต้องมีตัวกลางในการประสานความร่วมมือหรือต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับผู้รับรองสถานะของสัญญาในลักษณะตัวกลางแบบที่ต้องทำในโลกจริง ที่อาจถูกกฎหมายบังคับให้ทำตามแบ
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริง (Virtual World) คือสภาพแวดล้อมเสมือนซึ่งสร้างและปฏิบัติการด้วยซอฟต์แวร์ (Software) ที่อยู่ในเซิร์ฟเวอร์ (Server) ของเจ้าของแพลตฟอร์ม (Platform) สิ่งแวดล้อมเสมือนเหล่านี้ออกแบบมาให้ผู้เล่นหรือผู้ใช้โลกเสมือนจริงสามารถใช้ตัวตนเสมือนหรืออวตาร (Avatar) ในการท่องไปในโลกนั้น โดยสามารถติดต
ทศพล ทรรศนพรรณ
เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ในยุคดิจิทัลตั้งอยู่บนพื้นฐานของเสรีภาพในการแสดงออกบนโลกออนไลน์ โดยมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับประเด็นกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเนื่องจากกฎหมายลิขสิทธิ์สามารถห้ามปรามการเผยแพร่ความคิดหรือการแสดงออกในงานสร้างสรรค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยอ้างเหตุแห่งการคุ้มครองสิทธิของปัจเจกชนอย
ทศพล ทรรศนพรรณ
ความเฟื่องฟูของเศรษฐกิจดิจิทัลที่สร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการจำนวนมหาศาลแต่นำมาซึ่งความกังขาว่า สังคมได้อะไรจากการเติบโตของบรรษัทขนาดใหญ่ผู้เป็นเจ้าของเทคโนโลยีและควบคุมแพลตฟอร์มเหล่านี้ อันเป็นที่มาของเรื่อง การจัดเก็บภาษีดิจิทัลได้กลายเป็นข้อกังวลที่สำคัญสำหรับหลาย ๆ รัฐบาล ในยุโรป เช่นใน เยอรมนี