Skip to main content
แพลตฟอร์มมักเป็นระบบแบบเปิดให้ทุกคนมีส่วนร่วม ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่นำไปสู่ปัญหา จากการที่ทำให้การเข้าถึงข้ามเขตอํานาจ ในทางกลับกัน กลับมีการกําหนดให้หน่วยงานกํากับดูแลและผู้ออกกฎหมายต้องร่วมมือกันข้ามพรมแดนแห่งชาติเพื่อประสานระบอบกฎหมายและกฎระเบียบในขณะที่จัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นรวมถึงประเด็นการผูกขาดและการจัดการตลาด ทั้งนี้เนื่องจากกฎหมายมักจะอ้างถึงสถานที่เกิดความเสียหาย ประเด็นที่น่าสนใจอีกประการซึ่งอาจเป็นผลลัพธ์ในบั้นปลายของการขยายตัวของเศรษฐกิจดิจิทัลนั่น คือ ปัญหาความขาดแคลนทางดิจิทัล (Digital Scarcity) หมายความถึง ข้อจํากัด ที่ได้รับการดูแลจากซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศดิจิทัล รวมไปถึงข้อมูลดิจิทัลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ความขาดแคลนทางดิจิทัล สามารถสร้างแรงจูงใจที่จะสนับสนุนรูปแบบธุรกิจ ที่ทำกําไรจากความขาดแคลน (เช่น ธุรกิจให้เช่าภาพยนตร์ หนังสือ หรือเพลง) หรือความเป็นเอกลักษณ์ในอาณาจักรดิจิทัล เช่น การขายงานศิลปะที่มีความดั้งเดิมเพียงชิ้นเดียวในโลก เป็นต้น พัฒนาการทางเทคโนโลยีที่ก้าวกระโดดของโทรศัพท์มือถือ ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงมหาศาล และสร้างอุปทานให้แก่บรรดาผู้บริโภคที่ต้องการก้าวทันเทคโนโลยี ประกอบกันกับการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตที่เพิ่มมากขึ้น และมีการสร้างเนื้อหาแบบดิจิทัลเพิ่มขึ้น ได้เปลี่ยนแปลงความหมายของคำว่า ‘ความขาดแคลนทางดิจิทัล’ ให้หมายถึง การจํากัดและเงื่อนไขเกี่ยวกับความสามารถในการเข้าถึงเนื้อหาดิจิทัล ข้อมูลดิจิทัลสามารถคัดลอกได้ง่ายขึ้น และมีจำนวนมหาศาล โดยธรรมชาติแล้ว ข้อมูลดิจิทัลจึงไม่ขาดแคลน สามารถใช้ร่วมกันได้ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ทั้งยังไม่มีการลดทอนคุณภาพ ความขาดแคลนทางดิจิทัล จึงเป็นเรื่องที่อธิบายถึงข้อจํากัดในการเข้าถึงข้อมูลดิจิทัล เพื่อปกป้องรูปแบบธุรกิจ ที่ต้องอาศัยความความขาดแคลนในข้อมูลบางประเภท เช่นเดียวกับในการพัฒนาตลาดดิจิทัลและเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ ตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรมที่ใช้ลิขสิทธิ์ พยายามที่จะกําหนดความขาดแคลนทางดิจิทัลเพื่อป้องกันการคัดลอกข้อมูล จนทำให้เกิดการผูกขาดด้วยพลังอำนาจของความเป็นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาที่หวงกันการเข้าถึงความรู้ของสังคมโดยเฉพาะประชาชนผู้ยากจนในประเทศกำลังพัฒนา หรือไม่สามารถกระตุ้นให้เกิดผู้ประกอบการรายใหม่ขึ้นมาแข่งขันในตลาด เพราะไม่สามารถพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นมาต่อยอดได้เพราะติดข้อจำกัดด้านกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาตั้งแต่ต้น ในบริบทของบล็อกเชน Bitcoin ความขาดแคลนทางดิจิทัลหมายถึง ‘ข้อจํากัดในการจัดหา Bitcoin ทั้งหมด’ ซึ่งเป็นคนละทิศทางกับความหมายของความขาดแคลนทางดิจิทัล ก่อนหน้านี้ที่การเข้าถึงข้อมูลจะไม่ถูกจํากัด ในการเข้าใช้ระบบ Bitcoin เครือข่ายบล็อกเชนได้ให้อิสระสำหรับทุกคนที่จะคัดลอก เพื่อให้ทํางานได้อย่างปลอดภัย สิ่งที่กําหนดลักษณะเฉพาะของ Bitcoin จึงไม่ใช่เอกลักษณ์ในฐานะชิ้นส่วนของข้อมูล แต่มีไว้เพื่อการตรวจสอบ ในการแยกประเภทบัญชีการใช้งานแบบกระจาย จากการที่ Bitcoin ได้มีการจํากัดอุปทานการครอบครองไว้ หมายความว่าจำนวนของการธุรกรรมทั้งหมดได้มีการกำหนดขีดจำกัด เหล่านี้เป็นตัวอย่างของความขาดแคลนในการขุด (การจำกัดจำนวนการเข้าไปหาประโยชน์ในแพลตฟอร์ม) นอกเหนือจากความขาดแคลนของ Cryptocurrencies และ 'Tokens' ก็ยังมีการเกิดขึ้นใหม่ของ 'รายการดิจิทัลที่ไม่ซ้ำกัน' เช่น Non Fungible Tokens หรือ NFTs ที่ได้ก้าวข้ามข้อจำกัดในการครอบครองเป็นเจ้าของอย่างเป็นเหนือสินทรัพย์ในโลกแห่งความเป็นจริง (ออฟไลน์) ไปยังของสะสมดิจิทัล และได้รับการยอมรับและใช้งานจริง การเพิ่มขึ้นของ NFTs ได้นําไปสู่การทดลองกับคุณสมบัติดิจิทัลรูปแบบใหม่ที่มีความตั้งใจที่กว้างขึ้น โดยไม่ลดการไหลเวียนการนำมาผลิตซ้ำของงาน แต่แทนที่จะสร้างชื่อและอนุพันธ์จากการใช้งานและการไหลเวียน ตัวอย่างเช่น การครอบครอง 'ต้นฉบับ' งานอาร์ตในรูปแบบดิจิทัล ที่สามารถตรวจสอบแหล่งที่มา และพิสูจน์ได้ว่ามีความสำคัญเพียงพอที่จะวัดเป็นมูลค่าจากการเป็นวัตถุดิจิทัล 'ที่ไม่ซ้ำกันกับงานชิ้นอื่น' อ้างอิง Tom Lyons et al, “Legal and regulatory framework of blockchains and smart contracts,” Thematic Report of European Union Blockchain Observatory & Forum, (September 27, 2019). Jaya Klara Brekke and Aron Fischer, “Digital Scarcity,” Internet Policy Review 10, no. 2 (2021). *ค้นคว้าและเรียบเรียงร่วมกับ ภานุพงศ์ จือเหลียง ในงานวิจัยเรื่อง ทบทวนพรมแดนความรู้เพื่อเตรียมความพร้อมด้านนิติบัญญัติในการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล, 2565. สนับสนุนโดยสถาบันพระปกเกล้า

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
การนำ คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 205/2549 มาตราเป็นพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร  โดยแฝงนัยยะของการสร้าง “รัฐทหาร” ด้วยการขยับขยายขอบเขตอำนาจแก่เจ้าหน้าที่ กอ. รมน.
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังสิ้นสุดยุคสมัยสงครามเย็น หนึ่งในมรดกตกทอดจากยุคนั้น ได้แก่ หน่วยงานความมั่นคงของรัฐไทยที่มีอำนาจหน้าที่อย่างเข้มข้นในการเฝ้าระวัง สอดส่อง ควบคุมการสื่อสารและการกระทำต่าง ๆ ของประชาชนที่ผู้มีอำนาจเห็นว่าเป็นภัยต่อความมั่นคง และส่งผลเสียต่อการยืนหยัดสู้เพื่ออุดมการณ์ทางการเมืองช่วงนั้น อาทิ กอง
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านจัดเป็นกลุ่มที่เสี่ยงที่จะถูกละเมิดสิทธิและด้อยโอกาสในการเข้าถึงบริการสาธารณะ สวัสดิการ และหลักประกันด้านต่าง ๆ ด้วยเหตุที่เป็นกลุ่มซึ่งต้องปะทะโดยตรงกับการพัฒนาเมืองอย่างไม่ยั่งยืนทั้งที่สาเหตุของการออกมาอยู่ในพื้นที่สาธารณะนั้นเกี่ยวข้องกับความเหลื่อมล้ำทางสังคมอันเป็นผลลัพธ์ของนโยบายส
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านตกอยู่ในสถานะของกลุ่มเสี่ยงที่อาจต้องเผชิญจากการเหยียดหยามศักดิ์ความเป็นมนุษย์โดยตรงจากการละเมิด และยังอาจไม่ได้รับการดูและแก้ไขปัญหาเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ยุ่งยากต่าง ๆ เพราะถูกจัดให้อยู่ในสถานะต่ำต้อยเสี่ยงต่อการเลือกประติบัติจากรัฐ จนไปถึงการเพิกเฉย ละเลย ไม่ใส่จะแก้ปัญหาให้คนไร้บ้
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านเป็นเสียงที่ไม่ถูกนับ การใช้พลังในลักษณะกลุ่มก้อนทางการเมืองเพื่อเรียกร้องประโยชน์จากผู้มีอำนาจให้จัดสรรทรัพยากรให้จึงเป็นเรื่องยาก ด้วยสาเหตุหลัก 2 ประการ คือ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของคนไร้บ้านจำเป็นต้องยืนอยู่บนฐานของกฎหมายที่ประกันสิทธิของบุคคลโดยมิคำนึงถึงความแตกต่างหลากหลายทางสถานภาพใด ๆ แม้คนไร้บ้านจะเป็นปัจเจกชน หรือกลุ่มคนที่มีปริมาณน้อยเพียงไร รัฐก็มีพันธกรณีในการเคารพ ปกป้อง และส่งเสริมสิทธิให้กลุ่มเสี่ยงนี้โดยเหตุแห่งความเป็นสิทธิมนุษยชนที่ร
ทศพล ทรรศนพรรณ
หากต้องกำหนดยุทธศาสตร์ของประเทศไทยในการเข้าร่วมตลาดดิจิทัลที่มีเข้มข้นของกิจกรรมข้ามพรมแดนตลอดเวลา เพื่อแก้ไขปัญหาศักยภาพของรัฐในการบังคับใช้กฎหมายขยายไปเหนือหลักเขตอำนาจศาลเหนือดินแดนของตนแบบเก่า เมื่อต้องกำกับกิจกรรมของบรรษัทข้ามชาติที่อยู่ในการบังคับของกฎหมายรัฐอื่นซึ่งมีบรรทัดฐานในหลายประเด็น
ทศพล ทรรศนพรรณ
การวิเคราะห์กฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติกับรัฐ จะกระทำใน 3 ประเด็นหลัก คือ ใครเป็นเจ้าของข้อมูล ใครมีสิทธิใช้ประโยชน์จากข้อมูลมากน้อยอย่างไร หรือแบ่งปันกันอย่างไร อันเป็นการเตรียมความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูล
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทความนี้จะทำการรวบรวมข้อเสนอทางกฎหมายในระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติ กับรัฐและองค์การระหว่างประเทศ อันเป็นการเตรียมความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูลจากแพลตฟอร์มดิจิทัล ว่าสามารถบริหารจัดการให
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทความนี้จะทำการทบทวนข้อกฎหมายทั้งในระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติ เรื่อยมาจนถึงสำรวจความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูลจากแพลตฟอร์มดิจิทัล ว่าสามารถบริหารจัดการให้เกิดการแบ่งปันข้อมูลดิจิทัลระหว
ทศพล ทรรศนพรรณ
ประเด็นพื้นฐานที่รัฐต้องคิด คือ จะส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมทางเทคโนโลยีเพื่อสะสมความมั่งคั่งได้อย่างไร แล้วจึงจะไปสู่แนวทางในการแบ่งปันความมั่งคั่งให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการผลิตข้อมูลขึ้นมาในแพลตฟอร์ม
ทศพล ทรรศนพรรณ
Kean Birch นำเสนอปัญหาของข้อมูลส่วนบุคคลในฐานะสินค้าของตลาดนวัตกรรมเทคโนโลยีจำนวน 5 ประเด็น คือ1.ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของแพลตฟอร์มในฐานะเจ้าของข้อมูลทึ่ถูกรวบรวมโดยนวัตกรรม,