Skip to main content
แพลตฟอร์มมักเป็นระบบแบบเปิดให้ทุกคนมีส่วนร่วม ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่นำไปสู่ปัญหา จากการที่ทำให้การเข้าถึงข้ามเขตอํานาจ ในทางกลับกัน กลับมีการกําหนดให้หน่วยงานกํากับดูแลและผู้ออกกฎหมายต้องร่วมมือกันข้ามพรมแดนแห่งชาติเพื่อประสานระบอบกฎหมายและกฎระเบียบในขณะที่จัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นรวมถึงประเด็นการผูกขาดและการจัดการตลาด ทั้งนี้เนื่องจากกฎหมายมักจะอ้างถึงสถานที่เกิดความเสียหาย ประเด็นที่น่าสนใจอีกประการซึ่งอาจเป็นผลลัพธ์ในบั้นปลายของการขยายตัวของเศรษฐกิจดิจิทัลนั่น คือ ปัญหาความขาดแคลนทางดิจิทัล (Digital Scarcity) หมายความถึง ข้อจํากัด ที่ได้รับการดูแลจากซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศดิจิทัล รวมไปถึงข้อมูลดิจิทัลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ความขาดแคลนทางดิจิทัล สามารถสร้างแรงจูงใจที่จะสนับสนุนรูปแบบธุรกิจ ที่ทำกําไรจากความขาดแคลน (เช่น ธุรกิจให้เช่าภาพยนตร์ หนังสือ หรือเพลง) หรือความเป็นเอกลักษณ์ในอาณาจักรดิจิทัล เช่น การขายงานศิลปะที่มีความดั้งเดิมเพียงชิ้นเดียวในโลก เป็นต้น พัฒนาการทางเทคโนโลยีที่ก้าวกระโดดของโทรศัพท์มือถือ ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงมหาศาล และสร้างอุปทานให้แก่บรรดาผู้บริโภคที่ต้องการก้าวทันเทคโนโลยี ประกอบกันกับการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตที่เพิ่มมากขึ้น และมีการสร้างเนื้อหาแบบดิจิทัลเพิ่มขึ้น ได้เปลี่ยนแปลงความหมายของคำว่า ‘ความขาดแคลนทางดิจิทัล’ ให้หมายถึง การจํากัดและเงื่อนไขเกี่ยวกับความสามารถในการเข้าถึงเนื้อหาดิจิทัล ข้อมูลดิจิทัลสามารถคัดลอกได้ง่ายขึ้น และมีจำนวนมหาศาล โดยธรรมชาติแล้ว ข้อมูลดิจิทัลจึงไม่ขาดแคลน สามารถใช้ร่วมกันได้ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ทั้งยังไม่มีการลดทอนคุณภาพ ความขาดแคลนทางดิจิทัล จึงเป็นเรื่องที่อธิบายถึงข้อจํากัดในการเข้าถึงข้อมูลดิจิทัล เพื่อปกป้องรูปแบบธุรกิจ ที่ต้องอาศัยความความขาดแคลนในข้อมูลบางประเภท เช่นเดียวกับในการพัฒนาตลาดดิจิทัลและเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ ตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรมที่ใช้ลิขสิทธิ์ พยายามที่จะกําหนดความขาดแคลนทางดิจิทัลเพื่อป้องกันการคัดลอกข้อมูล จนทำให้เกิดการผูกขาดด้วยพลังอำนาจของความเป็นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาที่หวงกันการเข้าถึงความรู้ของสังคมโดยเฉพาะประชาชนผู้ยากจนในประเทศกำลังพัฒนา หรือไม่สามารถกระตุ้นให้เกิดผู้ประกอบการรายใหม่ขึ้นมาแข่งขันในตลาด เพราะไม่สามารถพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นมาต่อยอดได้เพราะติดข้อจำกัดด้านกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาตั้งแต่ต้น ในบริบทของบล็อกเชน Bitcoin ความขาดแคลนทางดิจิทัลหมายถึง ‘ข้อจํากัดในการจัดหา Bitcoin ทั้งหมด’ ซึ่งเป็นคนละทิศทางกับความหมายของความขาดแคลนทางดิจิทัล ก่อนหน้านี้ที่การเข้าถึงข้อมูลจะไม่ถูกจํากัด ในการเข้าใช้ระบบ Bitcoin เครือข่ายบล็อกเชนได้ให้อิสระสำหรับทุกคนที่จะคัดลอก เพื่อให้ทํางานได้อย่างปลอดภัย สิ่งที่กําหนดลักษณะเฉพาะของ Bitcoin จึงไม่ใช่เอกลักษณ์ในฐานะชิ้นส่วนของข้อมูล แต่มีไว้เพื่อการตรวจสอบ ในการแยกประเภทบัญชีการใช้งานแบบกระจาย จากการที่ Bitcoin ได้มีการจํากัดอุปทานการครอบครองไว้ หมายความว่าจำนวนของการธุรกรรมทั้งหมดได้มีการกำหนดขีดจำกัด เหล่านี้เป็นตัวอย่างของความขาดแคลนในการขุด (การจำกัดจำนวนการเข้าไปหาประโยชน์ในแพลตฟอร์ม) นอกเหนือจากความขาดแคลนของ Cryptocurrencies และ 'Tokens' ก็ยังมีการเกิดขึ้นใหม่ของ 'รายการดิจิทัลที่ไม่ซ้ำกัน' เช่น Non Fungible Tokens หรือ NFTs ที่ได้ก้าวข้ามข้อจำกัดในการครอบครองเป็นเจ้าของอย่างเป็นเหนือสินทรัพย์ในโลกแห่งความเป็นจริง (ออฟไลน์) ไปยังของสะสมดิจิทัล และได้รับการยอมรับและใช้งานจริง การเพิ่มขึ้นของ NFTs ได้นําไปสู่การทดลองกับคุณสมบัติดิจิทัลรูปแบบใหม่ที่มีความตั้งใจที่กว้างขึ้น โดยไม่ลดการไหลเวียนการนำมาผลิตซ้ำของงาน แต่แทนที่จะสร้างชื่อและอนุพันธ์จากการใช้งานและการไหลเวียน ตัวอย่างเช่น การครอบครอง 'ต้นฉบับ' งานอาร์ตในรูปแบบดิจิทัล ที่สามารถตรวจสอบแหล่งที่มา และพิสูจน์ได้ว่ามีความสำคัญเพียงพอที่จะวัดเป็นมูลค่าจากการเป็นวัตถุดิจิทัล 'ที่ไม่ซ้ำกันกับงานชิ้นอื่น' อ้างอิง Tom Lyons et al, “Legal and regulatory framework of blockchains and smart contracts,” Thematic Report of European Union Blockchain Observatory & Forum, (September 27, 2019). Jaya Klara Brekke and Aron Fischer, “Digital Scarcity,” Internet Policy Review 10, no. 2 (2021). *ค้นคว้าและเรียบเรียงร่วมกับ ภานุพงศ์ จือเหลียง ในงานวิจัยเรื่อง ทบทวนพรมแดนความรู้เพื่อเตรียมความพร้อมด้านนิติบัญญัติในการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล, 2565. สนับสนุนโดยสถาบันพระปกเกล้า

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
มาตรการสำหรับการแก้ปัญหาความอดอยากหิวโหยที่เกิดจากภัยพิบัติธรรมชาตินั้นสามารถดำเนินการได้ใน 3 ช่วงเวลา ก็คือ การเตรียมตัวก่อนภัยพิบัติจะเกิด การบรรเทาและแก้ไขปัญหาในขณะเกิดภัยพิบัติ การเยียวยาและฟื้นฟูหลังภัยพิบัติผ่านไปแล้ว   ในบทความนี้จะนำเสนอมาตรการและกรณีศึกษาที่ใช้ในการขจัดความหิว
ทศพล ทรรศนพรรณ
มาตรการทั่วไปที่ใช้ในการประกันความอิ่มท้องของประชากรในประเทศตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติที่รัฐบาลไทยประกาศสมาทานยึดถือนั้น ตั้งอยู่บนหลักกฎหมายสิทธิมนุษยชนเรื่องสิทธิด้านอาหาร นั้นหมายถึงรัฐไทยต้องมีมาตรการเคารพ ปกป้อง และส่งเสริมสิทธิประกอบด้วย กรอบทางกฎหมาย   กรอบทางนโย
ทศพล ทรรศนพรรณ
อุดมการณ์ที่เป็นสาเหตุของปัญหาแรงงานที่เกิดขึ้นทั่วโลกอยู่นั้น มีจุดก่อตัวมาจากระบบเศรษฐกิจการเมืองแบบเสรีนิยมใหม่ที่เข้ามาพร้อม ๆ กับกระแสแห่งการพัฒนาของโลกยุคโลกาภิวัฒน์ ที่ทำให้เกิดเสรีทางการลงทุนจนนำมาซึ่งรูปแบบการจ้างงานรูปที่มีความยืดหยุ่นต่อการบริหารจัดการของบรรษัท และสามารถตอบโจทย์นักลงทุ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินจำเป็นต้องวางแผนในการดำเนินการด้วยความเข้าใจพื้นฐานที่ว่า ความขัดแย้งเป็นสิ่งธรรมดาสามัญที่เกิดขึ้นได้ หากต้องการผลักดันข้อบัญญัติท้องถิ่นให้สำเร็จจึงต้องสามารถทำความเข้าใจลักษณะของข้อพิพาทที่มักเกิดขึ้นในการจัดการที่ดิน   และมีแนวทางในการข
ทศพล ทรรศนพรรณ
 ลู่ทางส่งเสริมการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ปัญหามลพิษ มีดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัญหาสิ่งแวดล้อมมักสร้างผลกระทบในระยะยาว ไม่ได้เกิดการบาดเจ็บ เสียหาย ทันทีทันใด   ดังนั้นเราจึงต้องมีวิธีการพิสูจน์ว่าความเจ็บป่วย เสียหายที่เกิดขึ้นนั้นมีผลมาจากปัญหาสิ่งแวดล้อมจริง   สิ่งที่เราต้องทำคือการเก็บหลักฐานอย่างต่อเนื่องและชัดเจนเพื่อนำไปใช้เป็นพยานหลักฐาน &n
ทศพล ทรรศนพรรณ
การจัดชุมนุมสาธารณะย่อมเป็นที่สนใจของสังคมตามความประสงค์ของผู้จัด จึงมีสื่อมวลชนที่เข้าร่วมทำข่าวทั้งที่เป็นสื่อมวลชนอาชีพที่มีสังกัดประจำหรือสื่อพลเมืองที่ทำหน้าที่ติดตามสถานการณ์และรายงานข่าวตามภูมิทัศน์เทคโนโลยีสื่อสารที่ปรับตัวไป 
ทศพล ทรรศนพรรณ
การชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธมีข้อจำกัดที่อาจถูกรัฐเข้าระงับหรือแทรกแซงการใช้สิทธิได้ตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ข้อ 4 ในสภาวะฉุกเฉินสาธารณะที่คุกคามความอยู่รอดของชาติที่ถูกประกาศอย่างเป็นทางการ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักไทย พุทธศักราช 2560 กำหนดถึงเหตุที
ทศพล ทรรศนพรรณ
การชุมนุมโดยสงบเป็นเครื่องมือที่ทำให้บุคคลทั้งหลายสามารถแสดงออกร่วมกันและมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลง ให้ปัจเจกสามารถแสดงความเป็นตัวตนของตัวเองร่วมกับผู้อื่น   โดยการเลือกสถานที่การชุมนุมอยู่ภายใต้หลักมองเห็นและได้ยิน (sight and sound) ทั้งนี้ผู้ชุมนุมต้องอยู่ในที่ที่มองเห็นและสาธารณชนต้อ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ขบวนการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้น ในบริบทโครงสร้างทางอำนาจในสังคมที่ไม่เท่าเทียมกัน การรวมศูนย์อำนาจหรือการครอบงำทางวัฒนธรรมโดยใช้วัฒนธรรมเดียว สิทธิชุมชนจึงเป็นการต่อสู้เพื่อปรับสัมพันธภาพทางอำนาจ สร้างตำแหน่งแห่งที่ให้ชุมชนให้เกิดความเป็นธรรมและเคารพในความหลากหลาย โดยท้องถิ่นมีเสรีภาพในการกำหนดกติกา
ทศพล ทรรศนพรรณ
ข้อกล่าวอ้างสำคัญของรัฐบาลไทยในการเพิ่มศักยภาพในด้านข่าวกรองและออกกฎหมายที่ให้อำนาจสอดส่องการสื่อสารของประชาชน คือ “ถ้าประชาชนไม่ได้ทำผิดจะกลัวอะไร” โดยมิได้คำนึงหลักการพื้นฐานเบื้องต้นว่า แม้ประชาชนมิได้ทำผิดกฎหมายอันใดก็มีสิทธิความเป็นส่วนตัว ปลอดจากการแทรกแซงการสื่อสาร อันเป็นสิทธิพื้นฐานตามกฎ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การพัฒนารัฐที่ใช้กฎหมายเป็นหลักประกันสิทธิมนุษยชนของประชาชน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพลเมืองในประเด็นสาธารณะของผู้ตื่นตัวทางการเมืองในลักษณะ “นิติรัฐอย่างเป็นทางการ” แตกต่างจากความสัมพันธ์ทางอำนาจแบบ “ไม่เป็นทางการ” ที่รัฐอาจหลีกเลี่ยงการใช้อำนาจปกครองภายใต้กรอบของกฎหมายเพื่อประกันสิทธิเสรีภาพต