Skip to main content

ผู้ประกอบการแพลตฟอร์มดิจิทัลมีรายได้และผลกำไรจำนวนมหาศาลจากการประมวลผลข้อมูลการใช้งานของผู้บริโภคในระบบของตน แต่ยังไม่มีระบบการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม    เนื่องจากยังมีข้อถกเถียงเรื่องใครเป็นเจ้าของข้อมูลและมีสิทธิแสวงหาผลประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้นบ้าง    จึงจำเป็นต้องมีการแสวงหาทางออกโดยปรับปรุงกฎหมายให้สอดรับกับการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในเรื่องความเป็นเจ้าของข้อมูล


ประเด็นพิพาทภายในกลุ่มประเทศที่อยู่ในระบอบประชาธิปไตยและใช้ระบบตลาดเสรีโลกาภิวัฒน์ซ่อนเร้น ก็คือ การแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่าง รัฐเจ้าของสัญชาติบรรษัทเทคโนโลยีแพลตฟอร์ม กับ รัฐเจ้าของสัญชาติผู้ใช้งานแพลตฟอร์ม ซึ่งถ้ามองอย่างหยาบๆ ก็คือ ระหว่างสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นฐานของบริษัทแม่เจ้าของเทคโนโลยี กับ ประเทศอื่น ๆ ซึ่งผู้ใช้งานใช้ชีวิตมีภูมิลำเนาอยู่


ข้อพิพาทนี้เริ่มปรากฏชัดขึ้นหลังจากสหภาพยุโรปได้ประกาศกฎคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (General Data Protection Regulation) อันมีผลบังคับใช้ในทุกประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2561 ยังผลให้ประเทศคู่ค้ากับสหภาพยุโรปต้องปรับกฎหมายตามเพื่อให้สอดคล้องและสามารถเสนอขายบริการต่าง ๆ ให้กับพลเมืองของรัฐในสหภาพยุโรปและเข้าสู่ตลาดสหภาพยุโรปได้ ซึ่งคลาดยุโรปถือเป็นตลาดพรีเมี่ยมที่บรรษัททั้งหลายต้องการเข้าไปเจาะแล้วดูดข้อมูลมาประมวลผล


ประเทศไทยก็ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ออกมาเช่นกัน โดยให้องค์กรทั้งหลายที่ควบคุมและประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลต้องปรับมาตรการทั้งหลายให้สอดคล้องกับกฎหมายภายในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2563  กฎหมายดังกล่าวเกี่ยวพันกับการใช้ประโยชน์จากข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งเป็นสิ่งที่ได้รับคุ้มครองในฐานะสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคล อย่างไรก็ดีกฎหมายได้เปิดโอกาสให้มีการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัยและสถิติได้ แต่ก็กำหนดเงื่อนไขในการป้องกันมิให้ข้อมูลรั่วไหล ทั้งผู้ควบคุมระบบต้องจัดมาตรการประกันสิทธิเจ้าของข้อมูลให้ได้มาตรฐานเดียวกันเมื่อส่งข้อมูลต่อให้บุคคลภายนอกหรือส่งไปนอกราชอาณาจักร 


หากเจ้าของแพลตฟอร์มได้จัดเก็บและประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อใช้ประโยชน์จำต้องวางข้อกำหนดและมาตรการทั้งหลายให้สอดคล้องกับกฎหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเจ้าของข้อมูล และแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรมกับประชาชนเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเหล่านั้น  คำถามตามมาคือ รัฐไทยจะเลือกยุทธศาสตร์อย่างไร จะเป็นรัฐเจ้าของเทคโนโลยี หรือ รัฐเจ้าของตลาด เพื่อวางมาตรการในการใช้ แบ่งปัน ผลประโยชน์จากข้อมูลที่อยู่ในแพลตฟอร์ม

หากรัฐไทยต้องการวางยุทธศาสตร์ และเดินเกมส์เพื่อรักษาผลประโยชน์ของคนทั้งชาติ ต้องพยายามปรับระบอบกฎหมายและปรับปรุงแก้ไขบทบัญญัติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ให้บรรลุผล โดยการสร้างยุทธศาสตร์และกำหนดยุทธวิธีอย่างน้อยต้องมีประเด็นการศึกษาวิจัย ดังต่อไปนี้
1) การศึกษาความคิดทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องอยู่ในขอบเขตของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในแพลตฟอร์มดิจิทัล 4 ประการ คือ การผลิต การบริโภค การแลกเปลี่ยน และการกระจาย ที่สร้างฐานข้อมูลขึ้นพร้อมให้นำไปแสวงหาผลประโยชน์
2) ประเด็นธุรกรรมทางเศรษฐกิจดิจิทัลที่เกี่ยวข้องกับผลทางกฎหมายจะเน้นไปที่การทบทวนนิยามของ “ทรัพย์” และ “ทรัพย์สิน” เพื่อการรับรองสิทธิในข้อมูลดิจิทัลของประชาชน สร้างความโปร่งใสในการทำธุรกรรมในโลกดิจิทัล และมีกลไกแบ่งปันผลประโยชน์ ไปจนถึงการระงับข้อพิพาทที่เป็นธรรม
3) การศึกษาเพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้มีขอบเขตเกี่ยวข้องกับ กฎหมายไทยจำนวนหนึ่ง คือ รัฐธรรมนูญ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลกฎหมายอาญา พระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้อง เช่น พระราชบัญญัติข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมฯ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และกฎหมายสากลที่อยู่ในระบบส่งเสริมกฎหมายทางการค้าของสหประชาชาติ และหลักการที่น่าสนใจในกฎหมายต่างประเทศของกลุ่มประเทศที่มีความก้าวหน้าในฟากผู้ผลิต และฟากผู้บริโภค ไปจนถึงกลุ่มประเทศที่ต้องการพัฒนาสวัสดิการของประชาชนและคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค
4) ขอบเขตเวลาที่จะสืบย้อนค้นหาความรู้จะเริ่มต้นในทศวรรษที่ 1990 มาจนถึงปัจจุบัน

เมื่อได้ศึกษาใน 4 ประเด็นข้างต้นแล้ว ก็จะได้องค์ความรู้ที่ได้ไปผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลงด้วยการกำหนดนโยบายด้านเศรษฐกิจดิจิทัลโดยเชื่อมกับการปฏิรูประบอบกฎหมายและแก้ไขบทบัญญัติที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1) องค์ความรู้เกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในยุคดิจิทัลที่มีผลกระทบต่อโครงสร้างในการกำกับดูแลกิจกรรมทางเศรษฐกิจของรัฐโดยเฉพาะประเด็นความเป็นเจ้าของในข้อมูลที่ต้องการนำไปใช้ประโยชน์
2) ชุดความคิดทางกฎหมายที่จำเป็นในการรองรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการใช้ประโยชน์จากข้อมูลของผู้ใช้งาน โดยนำหลักการ “อวัตถุทรัพย์” มาทบทวนนิยามของ “ทรัพย์” และ “ทรัพย์สิน” ในกฎหมายไทย
3) ประเด็นใหม่เกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิที่เกี่ยวกับ “ทรัพย์” และ “ทรัพย์สิน” ที่ระบอบกฎหมายทางเศรษฐกิจของรัฐไทยต้องปรับตัวเพื่อรักษาผลประโยชน์ให้ประชาชนเจ้าของข้อมูล
4) อุปสรรคทางกฎหมายจากบทบัญญัติกฎหมายปัจจุบันที่เกี่ยวข้อง อาทิ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในเรื่องทรัพย์สิน และนิติกรรมสัญญา ประมวลกฎหมายอาญาลักษณะความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ พระราชบัญญัติข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม และพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

หลังจากนั้นต้องผลักดันให้ความรู้กลายเป็นอาวุธด้วยการทำงานร่วมกับเครือข่ายผู้ผลิต ผู้บริโภค ผู้ประกอบการ และคนทำงานเกี่ยวข้องกับแพลตฟอร์ม เพื่อสร้างความเปลี่ยนทางนโยบาย เปลี่ยนแปลงกฎหมาย และสร้างแนวทางปฏิบัติใหม่ให้เป็นประโยชน์กับทั้ง ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่พยายามจะใช้ไทยเป็นสปริงบอร์ดผงาดขึ้นเป็นม้ามีปีกเขาเดี่ยว และผู้ที่ใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มทั้งหลาย ซึ่งเกาะเกี่ยวกับรัฐไทยอยู่ โดยต้องขับเคลื่อนสิ่งเหล่านี้
1)  ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการปรับปรุงระบบกฎหมายเพื่อรับรองสิทธิในข้อมูลของผู้บริโภคและการแบ่งปันผลประโยชน์จากการใช้ข้อมูลโดยเจ้าของแพลตฟอร์ม
2)  หลักการประกอบร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1 หลักทั่วไป ลักษณะ 3 ทรัพย์ และ บรรพ 4 ทรัพย์สิน นำไปสู่การทบทวนนิยามของ “ทรัพย์” และ “ทรัพย์สิน” เพื่อการคุ้มครองสิทธิเจ้าของข้อมูล
3)  หลักการประกอบร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาลักษณะความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ นำไปสู่การทบทวนนิยามของ “ทรัพย์” เพื่อการคุ้มครองสิทธิเจ้าของข้อมูล
4)  แนวทางการนำพระราชบัญญัติข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม และพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มาเสริมสร้างการแบ่งปันผลประโยชน์จากการใช้ข้อมูลอย่างเป็นธรรม

หากต้องการสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นจริงต้องสร้างการตื่นตัวของพลเมืองทั้งโลกออนไลน์และโลกจริงให้เห็นถึง “ช่องทางทำกินจากการเล่นเน็ต” ประกอบไปกับการขับเคลื่อนอย่างเป็นทางการการด้วย  เนื่องจาก เวทีนิติบัญญัติของรัฐเป็นเพียงช่องทางหนึ่งในการยิงนโยบาย แต่พื้นที่อื่นยังมีพลังของประชาชนเจ้าของประเด็นแวดล้อมอยู่อีกมากมายเพื่อให้เกิดการรับรู้และวิพากษ์วิจารณ์จากผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับประเด็น กฎหมายทรัพย์สิน กฎหมายสัญญา กฎหมายอาญา และกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล


เมื่อได้ร่างหลักการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องก็พร้อมผลักดันสู่ คณะอนุกรรมาธิการศึกษาวิเคราะห์ทบทวนกฎหมาย กฎระเบียบ เพื่อลดอุปสรรคและส่งเสริมโอกาสในการพัฒนาของภาคธุรกิจในประเทศไทย ภายใต้คณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ แห่งรัฐสภา ให้เกิดการสร้างยุทธศาสตร์ในการแข่งขันด้านเศรษฐกิจการเมืองดิจิทัลระหว่างประเทศบนฐานข้อมูลงานวิจัย


*ปรับปรุงจากบทนำ วิจัย โครงการสังเคราะห์องค์ความรู้ทางกฎหมายเพื่อสนับสนุนการแบ่งปันผลประโยชน์จากข้อมูลดิจิทัลอย่างเป็นธรรม, 2565. โดย สถาบันพระปกเกล้า.

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
การนำ คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 205/2549 มาตราเป็นพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร  โดยแฝงนัยยะของการสร้าง “รัฐทหาร” ด้วยการขยับขยายขอบเขตอำนาจแก่เจ้าหน้าที่ กอ. รมน.
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังสิ้นสุดยุคสมัยสงครามเย็น หนึ่งในมรดกตกทอดจากยุคนั้น ได้แก่ หน่วยงานความมั่นคงของรัฐไทยที่มีอำนาจหน้าที่อย่างเข้มข้นในการเฝ้าระวัง สอดส่อง ควบคุมการสื่อสารและการกระทำต่าง ๆ ของประชาชนที่ผู้มีอำนาจเห็นว่าเป็นภัยต่อความมั่นคง และส่งผลเสียต่อการยืนหยัดสู้เพื่ออุดมการณ์ทางการเมืองช่วงนั้น อาทิ กอง
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านจัดเป็นกลุ่มที่เสี่ยงที่จะถูกละเมิดสิทธิและด้อยโอกาสในการเข้าถึงบริการสาธารณะ สวัสดิการ และหลักประกันด้านต่าง ๆ ด้วยเหตุที่เป็นกลุ่มซึ่งต้องปะทะโดยตรงกับการพัฒนาเมืองอย่างไม่ยั่งยืนทั้งที่สาเหตุของการออกมาอยู่ในพื้นที่สาธารณะนั้นเกี่ยวข้องกับความเหลื่อมล้ำทางสังคมอันเป็นผลลัพธ์ของนโยบายส
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านตกอยู่ในสถานะของกลุ่มเสี่ยงที่อาจต้องเผชิญจากการเหยียดหยามศักดิ์ความเป็นมนุษย์โดยตรงจากการละเมิด และยังอาจไม่ได้รับการดูและแก้ไขปัญหาเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ยุ่งยากต่าง ๆ เพราะถูกจัดให้อยู่ในสถานะต่ำต้อยเสี่ยงต่อการเลือกประติบัติจากรัฐ จนไปถึงการเพิกเฉย ละเลย ไม่ใส่จะแก้ปัญหาให้คนไร้บ้
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านเป็นเสียงที่ไม่ถูกนับ การใช้พลังในลักษณะกลุ่มก้อนทางการเมืองเพื่อเรียกร้องประโยชน์จากผู้มีอำนาจให้จัดสรรทรัพยากรให้จึงเป็นเรื่องยาก ด้วยสาเหตุหลัก 2 ประการ คือ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของคนไร้บ้านจำเป็นต้องยืนอยู่บนฐานของกฎหมายที่ประกันสิทธิของบุคคลโดยมิคำนึงถึงความแตกต่างหลากหลายทางสถานภาพใด ๆ แม้คนไร้บ้านจะเป็นปัจเจกชน หรือกลุ่มคนที่มีปริมาณน้อยเพียงไร รัฐก็มีพันธกรณีในการเคารพ ปกป้อง และส่งเสริมสิทธิให้กลุ่มเสี่ยงนี้โดยเหตุแห่งความเป็นสิทธิมนุษยชนที่ร
ทศพล ทรรศนพรรณ
หากต้องกำหนดยุทธศาสตร์ของประเทศไทยในการเข้าร่วมตลาดดิจิทัลที่มีเข้มข้นของกิจกรรมข้ามพรมแดนตลอดเวลา เพื่อแก้ไขปัญหาศักยภาพของรัฐในการบังคับใช้กฎหมายขยายไปเหนือหลักเขตอำนาจศาลเหนือดินแดนของตนแบบเก่า เมื่อต้องกำกับกิจกรรมของบรรษัทข้ามชาติที่อยู่ในการบังคับของกฎหมายรัฐอื่นซึ่งมีบรรทัดฐานในหลายประเด็น
ทศพล ทรรศนพรรณ
การวิเคราะห์กฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติกับรัฐ จะกระทำใน 3 ประเด็นหลัก คือ ใครเป็นเจ้าของข้อมูล ใครมีสิทธิใช้ประโยชน์จากข้อมูลมากน้อยอย่างไร หรือแบ่งปันกันอย่างไร อันเป็นการเตรียมความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูล
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทความนี้จะทำการรวบรวมข้อเสนอทางกฎหมายในระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติ กับรัฐและองค์การระหว่างประเทศ อันเป็นการเตรียมความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูลจากแพลตฟอร์มดิจิทัล ว่าสามารถบริหารจัดการให
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทความนี้จะทำการทบทวนข้อกฎหมายทั้งในระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติ เรื่อยมาจนถึงสำรวจความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูลจากแพลตฟอร์มดิจิทัล ว่าสามารถบริหารจัดการให้เกิดการแบ่งปันข้อมูลดิจิทัลระหว
ทศพล ทรรศนพรรณ
ประเด็นพื้นฐานที่รัฐต้องคิด คือ จะส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมทางเทคโนโลยีเพื่อสะสมความมั่งคั่งได้อย่างไร แล้วจึงจะไปสู่แนวทางในการแบ่งปันความมั่งคั่งให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการผลิตข้อมูลขึ้นมาในแพลตฟอร์ม
ทศพล ทรรศนพรรณ
Kean Birch นำเสนอปัญหาของข้อมูลส่วนบุคคลในฐานะสินค้าของตลาดนวัตกรรมเทคโนโลยีจำนวน 5 ประเด็น คือ1.ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของแพลตฟอร์มในฐานะเจ้าของข้อมูลทึ่ถูกรวบรวมโดยนวัตกรรม,