Skip to main content
 

หยุดสร้างภาพด้วยวาทะ "การมีส่วนร่วมของประชาชน"

 

ศยามล  ไกยูรวงศ์

โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา

 

          ในยุคสมัยนี้ไม่ว่าภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชนใช้ วาทะ "การมีส่วนร่วมของประชาชน" ทุกวงการ โดยกำหนดตัวชี้วัดของการบริหารงานแบบธรรมาภิบาลให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ  นับเป็นนิมิตรหมายอันดีสำหรับสังคมไทย ที่ทุกภาคส่วนตระหนักชัดในหลักการนี้    แต่ในความเป็นจริงการใช้วาทะกรรมดังกล่าว   ได้ถูกบิดเบือนเพื่อสร้างภาพพจน์ของการแสวงหาผลประโยชน์ของระบบ และตนเอง  

               เหตุการณ์ล่าสุดที่เกิดขึ้นในการจัดเวทีของนิคมอุตสาหกรรมที่จะดำเนินการในพื้นที่ตำบลทุ่งปรัง อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช   เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2552  เมื่อประชาชนในพื้นที่จำนวน 300 กว่าคนเข้าร่วมเวทีโดยไม่ได้ถูกเชิญ  มีความเห็นยกมือพร้อมกันว่าไม่ต้องการนิคมอุตสาหกรรม   จึงเป็นสาเหตุให้การจัดเวทีโดยบริษัทที่ปรึกษา ในการประชุมรับฟังความเห็น บนหลักการของการมีส่วนร่วมของประชาชนต้องหยุดลง 

              สิ่งที่น่าคิดก็คือ ผู้แทน กนอ. ได้กล่าวในที่ประชุมร่วมกับชาวบ้านในพื้นที่เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2551 ที่มหาวิทยาลัยลักษณ์ ว่าได้ว่าจ้างองค์กรเอกชน (NGO) องค์กรหนึ่งซึ่งมีประสบการณ์ในการจัดกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน  จึงไม่ต้องห่วงว่าจะไม่มีส่วนร่วม   

               สาเหตุที่ประชาชนไม่ร่วมในเวที   อยู่ที่ว่ากระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนเริ่มต้นจากเจ้าของโครงการว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาฯ   ความเชื่อถือว่าบริษัทที่ปรึกษาจะเป็นกลางจึงเป็นไปไม่ได้   การจัดเวทีและทำเอกสารเผยแพร่ของบริษัทที่ปรึกษาก็เพื่อมาชักชวนโน้มน้าวให้  ชาวบ้านเห็นด้วยกับการสร้างนิคมอุตสาหกรรม  เมื่อพิจารณาจากคู่มือที่บริษัทที่ปรึกษาทำ  ก็เห็นได้ชัดว่าทำเพื่อโน้มน้าวให้ชาวบ้านทราบแต่ผลดีของโครงการ  แต่ในความเป็นจริงนิคมอุตสาหกรรมย่อมมีทั้งผลกระทบด้านบวกและด้านลบทั้งสิ้น

              กรณีนี้สะท้อนให้เห็นว่าระบบของการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)  ยังเป็นปัญหา และต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วนเพื่อมิให้โครงการของรัฐและเอกชน ต้องสูญเสียงบประมาณว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาในราคาแพง  แต่ยังสร้างปัญหาความขัดแย้งให้กับชุมชนและเจ้าของโครงการ   การมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างแท้จริงไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลย หากรัฐบาลไม่เริ่มต้นด้วยการนำเสนอข้อมูลทั้งหมดว่าแผนพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้จะพัฒนาภาคใต้ในทิศทางใด คนใต้และคนในพื้นที่เห็นด้วยกับแผนพัฒนาหรือไม่  

              ประเด็นจึงอยู่ที่ว่าการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตัดสินใจต่อทิศทางการพัฒนาประเทศ การพัฒนาภูมิภาค การพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาตำบลและชุมชนมีหรือไม่  ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญในมาตรา 57  สิทธิในการได้รับข้อมูล คำชี้แจง และเหตุผลของหน่วยงานของรัฐ ก่อนการอนุญาตหรือการดำเนินการโครงการ หรือกิจกรรม  ทั้งบุคคลและชุมชนท้องถิ่นผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิแสดงความคิดเห็นของตนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อไปประกอบการพิจารณา  และมาตรา 87  รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน  (1) ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น  (2) ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตัดสินใจทางการเมือง การวางแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจ และสังคม รวมทั้งการจัดทำบริการสาธารณะ

              โครงการนิคมอุตสาหกรรมเป็นเพียงโครงการหนึ่งในอีกหลายโครงการตามแผนพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้   การที่เจ้าของโครงการแต่ละโครงการดำเนินการไปก่อน  โดยใช้งบประมาณของภาษีประชาชนว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาจัดทำรายงาน EIA  ไปก่อน  ขณะเดียวกันสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ผลักดันให้รัฐบาลเร่งอนุมัติแผนพัฒนาฯไปด้วย   โดยประชาชนในพื้นที่ก็ยังไม่ทราบว่าบ้านตัวเอง จังหวัดตัวเอง จะพัฒนาอย่างไร   จึงเป็นกระบวนการตัดสินใจแบบบนลงล่างเหมือนเดิม   จึงไม่ต้องแปลกใจว่าประชาชนในหลายพื้นที่คัดค้านโครงการต่างๆที่จะเกิดขึ้น หรือถ้าต้องเห็นด้วย ก็เห็นด้วยแบบยอมจำนนต่อการกดดันจากจังหวัด เจ้าของโครงการ และรัฐบาล ด้วยการรับค่าชดเชยที่ไม่เป็นธรรม  

               วาทะ "การมีส่วนร่วมของประชาชน"  จึงถูกสร้างขึ้นจากกลยุทธ์ที่ทำอย่างไรก็ได้ให้โครงการเกิด เช่น กรณีนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด หากรัฐบาลไม่แก้ไขปัญหาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากนิคมอุตสาหกรรม ให้พวกเขามีชีวิตที่ดีได้   ไม่ว่าแผนพัฒนาอุตสาหกรรมในรูปแบบใด โครงการใด  ประชาชนในพื้นที่ก็ยังไม่ไว้วางใจรัฐบาล บริษัทที่ปรึกษา และเจ้าของโครงการ   ที่พวกเขามีคำถามและเรียกร้องความเป็นธรรมจากการพัฒนาที่ไร้ความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม     

              รัฐบาลและภาคประชาชนจึงจำเป็นต้องผลักดันให้มีการปรับปรุงกลไกในการพิจารณาและตรวจสอบ EIA ที่มีการตรวจสอบอย่างโปร่งใส ตลอดจนการตรวจสอบและติดตามผลการดำเนินการโครงการ    มิฉะนั้นภาษีของประชาชนต้องละลายไปกับการศึกษาโครงการซ้ำแล้วซ้ำเล่า และตามแก้ไขปัญหาปลายเหตุอย่างไม่สิ้นสุด ขณะที่สังคมไทยมีความขัดแย้งตลอดเวลา

 

บล็อกของ คนไม่มีอะไร

คนไม่มีอะไร
  ประมวลภาพวันที่ 30 มีนาคม 2552 ณ สีแยกจองม่องไปจนถึงหน้าสถานีตำรวจภูธรสิชลวันที่ 30 มีนาคม 2552 เวลาประมาณ 08 : 30 น.  ณ สีแยกจองม่อง (อำเภอสิชล) ชาวบ้านประมาณ 300 คน ได้จัดขบวนรถยนต์ยาวประมาณ 30-40 คัน เพื่อไปมอบตัวพี่ด้วงตามหมายเรียก ที่ถูกนายอำเภอสิชลแจ้งความว่า "ดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการหน้าที่ หรือเพราะได้กระทำการหน้าที่" ชาวบ้าน เพือนพ้อง และมิตรสหายต่างพร้อมใจไปให้กำลังใจพี่ด้วงที่สถานีตำรวจภูธรสิชล ตามที่หมายเรียกผู้ต้องหา และพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับตำรวจขั้นต่อไป และค่อยไปว่ากันบนชั้นศาลกันต่อไป หมายเรียกผู้ต้องหา ของพี่ด้วงชาวบ้านเตรียมขบวนรถ…
คนไม่มีอะไร
  หยุดสร้างภาพด้วยวาทะ "การมีส่วนร่วมของประชาชน" ศยามล  ไกยูรวงศ์โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา           ในยุคสมัยนี้ไม่ว่าภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชนใช้ วาทะ "การมีส่วนร่วมของประชาชน" ทุกวงการ โดยกำหนดตัวชี้วัดของการบริหารงานแบบธรรมาภิบาลให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ  นับเป็นนิมิตรหมายอันดีสำหรับสังคมไทย ที่ทุกภาคส่วนตระหนักชัดในหลักการนี้    แต่ในความเป็นจริงการใช้วาทะกรรมดังกล่าว   ได้ถูกบิดเบือนเพื่อสร้างภาพพจน์ของการแสวงหาผลประโยชน์ของระบบ และตนเอง       …
คนไม่มีอะไร
  เอนก  นาคะบุตร ขอยุติการประชุมเวทีรับฝังความคิดเห็นชาวบ้าน                 วันที่ 19 มกราคม 2552 เวลา 13.00 น. ณ ห้องประชุมศาลาประชาคมอำเภอสิชล การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นชาวบ้าน ตำบลทุ่งปรัง อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช เรื่องการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมีนครศรีธรรมราช  (ชาวบ้านกว่า 90%  ที่มาประชุมวันนี้ไม่ได้ถูกเชิญจากบริษัททีม และกนอ. )                …
คนไม่มีอะไร
 ถ้ามันเกิดขึ้นจริงๆ คนใด้เดือดร้อนแน่นอนทางเข้าท่าเรือน้ำลึกปากบาราจังหวัดสตูล เป็นโครงการเชื่อมสงขลา - สตูล (สะพานเศรษฐกิจ)แบบก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบาราระยะแรกผังโครงอาหารฮาลาลจังหวัดปัตตานีสิ่งที่จะเกิดในสตูล มองภาพสวยมาก แต่แปลกรูปทั้งหมดที่ผ่านเจ้าของโครงการไม่พูดถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น พูดแต่ตัวเลข    
คนไม่มีอะไร
  พืชน้ำมันในผืนป่า พื้นที่ชุ่มน้ำ และนาข้าว ศยามล   ไกยูรวงศ์โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา            กระแสการส่งเสริมปลูกพืชน้ำมันทดแทนการนำเข้าเริ่มจางหายไป เมื่อราคาน้ำมันตกต่ำลงเรื่อยๆ   ในขณะที่การส่งเสริมการปลูกพืชน้ำมันโดยภาครัฐยังดำเนินการต่อไป มันสำปะหลัง อ้อย และปาล์มน้ำมัน   เป็นพืชเศรษฐกิจที่ถูกส่งเสริมให้เพิ่มผลผลิตเพื่อเป็นพืชน้ำมันตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกับกระทรวงพลังงาน  ในแผน ๕ ปี ของกระทรวงเกษตรฯ (พ.ศ.๒๕๕๑-๒๕๕๔) กำหนดให้ขยายพื้นที่ปลูกปาล์ม ๖ ล้านไร่…
คนไม่มีอะไร
   แผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ต้องถูกกำหนดโดยคนใต้   ศยามล  ไกยูรวงศ์โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา               การโฆษณาประชาสัมพันธ์กระตุ้นเศรษฐกิจให้เกิดการลงทุนดำเนินการโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งภาคใต้มีอย่างต่อเนื่อง จากรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานคณะกรรมการการลงทุน (BOI) และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)  ยิ่งไปกว่านั้นยังได้รับการขานรับจากนักเศรษฐศาสตร์กันถ้วนหน้า เช่น ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล  …
คนไม่มีอะไร
  ทางออกของชาวสวนยางเมื่อราคายางพาราตกต่ำ ศยามล  ไกยูรวงศ์โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา               ยางพาราถือเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนใต้ที่ผูกพันทั้งทางวัฒนธรรมและทางเศรษฐกิจมานานถึง ๑๐๘ ปี  ระบบการผลิตแบบพืชเชิงเดี่ยวได้เข้ามาแทนที่ป่ายางที่เติบโตพร้อมกับสวนผลไม้และป่าธรรมชาติซึ่งเป็นระบบการผลิตแบบสวนสมรม  หรือสวนพ่อเฒ่า   เงื่อนไขส่งเสริมการปลูกสวนยางโดยใช้กลยุทธ์ของเงินกองทุนสงเคราะห์สวนยางจากสำนักงานกองทุนสงเคราะห์สวนยาง (สกย.) การส่งเสริมการขยายพื้นที่ปลูก …
คนไม่มีอะไร
    แผนที่โครงการที่ตั้งโรงงานงานของเดิม และพื้นที่ถูกเพิกถอนแล้ว แผนที่ทางอากาศ ที่ตั้งของโครงการ และที่เห็นเส้นสีแดงเป็นสายพานลำเลียงจากโครงการถึงท่าเรือ มี 3 เส้น พื้นที่ป่าชายเลนที่หลืออยู่ป่ายชายเลนทางทิศโรงงานป่ายเลนอีกฟากถนนเส้นทางสาธารณของชาวบ้านใช้สัญจรเมื่อก่อนเป็น สวนมะพร้าว แต่ตอนนี้มันหายไปไหนก็ไม่รู้รองรอยบ้านชาวบ้านเดิม ที่เคยอาศัยแล้วใครมากั้นรั้วในพื้นที่สาธารณนี้ คิดอะไรหรือเปล่า? เนี้ยอย่าคิดว่าเรามาเที่ยวทะเลหมอก เพราะว่าฟ้าครึมๆ ที่เห็นอยู่นี้มันมีที่มา แต่ไม่มีที่ไปต้นมะพร้าวที่ถูกตัดไปแล้ว  
คนไม่มีอะไร
  แลนด์บริดจ์ ทางลัดสู่เศรษฐกิจ หรือทางตันสำหรับชาวปากบารา                  ตามที่เราทราบโดยทั่วกัน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่10 (พ.ศ.2550-2554) จะเน้นพื้นที่การพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้ ทางสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ฯน ได้จัดทำแผนพัฒนาภาคใต้ต่างๆ                 1. การพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งภาคใต้              …
คนไม่มีอะไร
    ชาวปัตตานีไม่คิดต่อต้าน  "ฮาลาล"  แต่...เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2551 ได้ลงไปสัมผัสพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในสภาวะความขัดแย้งของพื้นที่สามจังหวัด ณ วันนี้ เชื่อว่าหลายๆ คนอาจไม่รู้ว่า "ปัตตานีกำลังจะกลายเป็นครัวอาหารฮาลาลสู่ระดับโลก" ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่10 (พ.ศ.2550-2554) และภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาล จังหวัดชายแดนภาตใต้ ปี 2552-2555 ครัวฮาลาลแห่งนี้จะกินพื้นที่บริเวณอำเภอสายบุหรี่ และพื้นที่อำเภอปะนะเระ พื้นที่ที่จะใช้ก่อสร้างโดยประมาณทั้งหมด 933 ไร่ และจะกลายเป็นนิคมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล  รูปที่1…
คนไม่มีอะไร
เคยส่งสัยไหมว่าทำไมหิ่งห้อยชอบอยู่แถวบริเวณต้นลำพู แล้วข้างๆ ต้นลำพูต้องมีต้นโกงกาง มีเรื่องเล่ามายาวนานว่า ต้นลำพูเคยเป็นผู้ชายมาก่อน แล้วไปลงรักนางหิ่งห้อยชวนหนีไปด้วยกัน แต่นางโกงกางก็มีใจให้นายลำพู จึงไม่ยอมให้หนีเลยเอารากตัวเองยึดนายลำพูไว้ นางหิ่งห้อยเลยจำเป็นบินเฝ้าต้นลำพูในยามค่ำคืน       เมื่อวันที่ 22-25 กรกฎาคม 2551 ที่ผ่านมาทางสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.) ได้จัดประชุมเชิงปฎิบัติการครั้งที่2 การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพระดับชุมชน (CHIA) ณ บ้านทิพย์ สวนทอง จังหวัดสมุทรสงคราม ในการประชุมครั้งนี้ทางสช.…