Skip to main content

 

มติคณะรัฐมนตรี 31 สิงหาคม 2553

 

เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม   เรื่อง กำหนดประเภท ขนาด และวิธีปฏิบัติสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพ สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพที่ส่วนราชการรัฐวิสาหกิจหรือเอกชน จะต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2553

         

             คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม   เรื่อง กำหนดประเภท ขนาด และวิธีปฏิบัติสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพ สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ที่ส่วนราชการ  รัฐวิสาหกิจหรือเอกชน จะต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2553 ตามมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 4/2553 (นัดพิเศษ) เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2553  ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ  และให้ดำเนินการต่อไปได้  และให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการับไปพิจารณาว่า จะสามารถออกประกาศในเรื่องการให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และคณะผู้ชำนาญการมีอำนาจกำหนดเขตพื้นที่ที่ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก อุทยานแห่งชาติ หรือสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ เป็นเขตพื้นที่ที่โครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งด้านคุณภาพ สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ ซึ่งดำเนินการในพื้นที่ดังกล่าวต้องจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมได้หรือไม่

 

           สาระสำคัญของร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  เรื่อง กำหนดประเภท ขนาด และวิธีปฏิบัติสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ที่ส่วนราชการรัฐวิสาหกิจหรือเอกชน จะต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2553  มีดังนี้

                        ข้อ  1  ในประกาศนี้

                        อุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นต้น (upstream petrochemical industry)” และอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นกลาง (intermediate petrochemical industry)” ให้ใช้ตามคำจำกัดความตามนิยามของสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย

สารก่อมะเร็งกลุ่ม 1  หมายความว่า  บัญชีรายชื่อสารก่อมะเร็งกลุ่ม 1 ตามประกาศของ International Agency for Research on Cancer (IARC)

                        สารก่อมะเร็งกลุ่ม 2 A” หมายความว่า บัญชีรายชื่อสารก่อมะเร็งกลุ่ม 2 A ตามประกาศของ International Agency for Research on Cancer  (IARC)

                        ข้อ 2  ให้กำหนดประเภท ขนาด และวิธีปฏิบัติสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน จะต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยมีรายละเอียดตามเอกสารแนบท้ายประกาศนี้

                        ข้อ 3  โครงการหรือกิจการตามข้อ 2 ให้หมายความรวมถึงโครงการของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือโครงการร่วมกับเอกชน ทั้งที่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี และโครงการหรือกิจการซึ่งต้องได้รับอนุญาตจากทางราชการตามกฎหมายด้วย

                        ข้อ 4  การจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการหรือกิจการตามข้อ 2 ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนด หลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติและแนวทางในการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ลงวันที่ 29 ธันวาคม 2552 ทั้งนี้การจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมดังกล่าวข้างต้น ต้องจัดทำโดยผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้มีสิทธิจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม                     

ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

 

เอกสารแนบท้ายประกาศ

                        1. กรณีโครงการหรือกิจการของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือโครงการร่วมกับเอกชน ซึ่งต้องเสนอขอรับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ให้เสนอรายงานในขั้นก่อนขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรี

                        2. กรณีโครงการหรือกิจการของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ซึ่งไม่ต้องเสนอขอรับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ให้เสนอรายงานในขั้นขออนุมัติโครงการ หรือขออนุมัติงบประมาณ หรือก่อนดำเนินการก่อสร้างแล้วแต่กรณี

                        3. กรณีโครงการหรือกิจการซึ่งจะต้องได้รับอนุญาตจากทางราชการตามกฎหมายให้เสนอรายงาน                 ตามท้ายตารางนี้

ลำดับ

ประเภทโครงการหรือกิจการ

ขนาด

หลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ

1

การถมทะเล หรือทะเลสาบ นอกแนวเขตชายฝั่งเดิม ยกเว้นการถมทะเลที่เป็นการฟื้นฟูสภาพชายหาด 

ตั้งแต่ 300  ไร่   ขึ้นไป

ให้เสนอในขั้นขออนุมัติหรือขออนุญาตโครงการ

2

การทำเหมืองแร่ตามกฎหมายว่าด้วยแร่      ดังต่อไปนี้

 

 

2.1  เหมืองแร่ใต้ดิน เฉพาะที่ออกแบบให้โครงสร้างมีการยุบตัวภายหลังการทำเหมืองโดยไม่มีค้ำยันและไม่มีการใส่คืนวัสดุทดแทน เพื่อป้องกันการยุบตัว

ทุกขนาด

ให้เสนอในขั้น

ขอประทานบัตร

2.2 เหมืองแร่ตะกั่ว เหมืองแร่สังกะสี หรือ เหมืองแร่โลหะอื่นที่ใช้ไซยาไนด์หรือปรอทหรือตะกั่วไนเตรต   ในกระบวนการผลิต หรือเหมืองแร่โลหะอื่นที่มีอาร์เซโนไพไรต์ (arsenopyrite) เป็นแร่ประกอบ (associated
mineral)

ทุกขนาด

ให้เสนอในขั้น

ขอประทานบัตร

2.3  เหมืองแร่ถ่านหิน  เฉพาะที่มีการลำเลียงแร่ถ่านหินออกนอกพื้นที่โครงการด้วยรถยนต์

ขนาดตั้งแต่  200,000 ตัน / เดือน หรือ ตั้งแต่ 2,400,000 ตัน /ปี ขึ้นไป

ให้เสนอในขั้น

ขอประทานบัตร

2.4  เหมืองแร่ในทะเล

ทุกขนาด

ให้เสนอในขั้น

ขอประทานบัตร

3

นิคมอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรม หรือโครงการที่มีลักษณะเช่นเดียวกับนิคมอุตสาหกรรม ดังต่อไปนี้

 

 

3.1 นิคมอุตสาหกรรม หรือโครงการที่มีลักษณะเช่นเดียวกับนิคมอุตสาหกรรม 

ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อรองรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีตาม 4 หรืออุตสาหกรรมถลุงแร่เหล็ก ตาม 5.1 หรือ 5.2 แล้วแต่กรณี มากกว่า 1 โรงงานขึ้นไป

ทุกขนาด

ให้เสนอในขั้นขออนุมัติหรือขออนุญาตโครงการ

3.2  นิคมอุตสาหกรรม หรือโครงการที่มีลักษณะเช่นเดียวกับนิคมอุตสาหกรรม ที่มีการขยายพื้นที่เพื่อรองรับอุตสาหกรรม  ปิโตรเคมีตาม 4  หรืออุตสาหกรรมถลุงแร่เหล็ก ตาม 5.1 หรือ 5.2

ทุกขนาด

ให้เสนอในขั้นขออนุมัติหรือขออนุญาตโครงการ

4

อุตสาหกรรมปิโตรเคมี ดังต่อไปนี้

 

 

4.1 อุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นต้น (upstream petrochemical industry)

ทุกขนาด หรือที่มีการขยายกำลังการผลิตตั้งแต่ร้อยละ 35 ของกำลังการผลิตเดิมขึ้นไป

 

ให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างเพื่อประกอบกิจการหรือขั้นขออนุญาตประกอบกิจการ  หรือใน

ขั้นขอขยายแล้วแต่กรณี

4.2 อุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นกลาง(intermediate petrochemical industry)  ดังต่อไปนี้

 

 

      4.2.1  อุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นกลาง(intermediate petrochemical industry) 

ที่ผลิตสารเคมี หรือใช้วัตถุดิบที่เป็นสารเคมี ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งกลุ่ม 1

ขนาดกำลังการผลิต 100 ตัน/วัน ขึ้นไป หรือที่มีการขยายขนาดกำลังการผลิตรวมกันแล้วมากกว่า 100 ตัน/วัน ขึ้นไป

ให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างเพื่อประกอบกิจการหรือขั้นขออนุญาตประกอบกิจการ หรือใน

ขั้นขอขยาย แล้วแต่กรณี

       4.2.2  อุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นกลาง(intermediate petrochemical industry) ที่ผลิตสารเคมี หรือใช้วัตถุดิบที่เป็นสารเคมี ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งกลุ่ม  2 A

ขนาดกำลังการผลิต
700 ตัน/วัน ขึ้นไป หรือที่มีการขยายขนาดกำลังการผลิตรวมกันแล้วมากกว่า 700 ตัน/วัน ขึ้นไป

ให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างเพื่อประกอบกิจการหรือขั้นขออนุญาตประกอบกิจการ หรือใน

ขั้นขอขยาย แล้วแต่กรณี

5

อุตสาหกรรมถลุงแร่ หรือหลอมโลหะ                ดังต่อไปนี้

 

 

5.1 อุตสาหกรรมถลุงแร่เหล็ก

ที่มีปริมาณแร่ป้อน (input) เข้าสู่กระบวนการผลิต  ตั้งแต่  5,000  ตัน / วัน ขึ้นไป หรือที่มีปริมาณแร่ป้อน (input)  เข้าสู่กระบวน การผลิตรวมกันตั้งแต่ 5,000 ตัน/วัน ขึ้นไป

ให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างเพื่อประกอบกิจการหรือขั้นขออนุญาตประกอบกิจการ หรือในขั้นขอขยาย แล้วแต่กรณี

5.2 อุตสาหกรรมถลุงแร่เหล็กที่มีการผลิตถ่าน coke หรือ ที่มีกระบวนการ sintering

ทุกขนาด

ให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างเพื่อประกอบกิจการหรือขั้นขออนุญาตประกอบกิจการ  แล้วแต่กรณี

5.3 อุตสาหกรรมถลุงแร่ ทองแดง ทองคำ หรือ สังกะสี

ที่มีปริมาณแร่ป้อน (input) เข้าสู่กระบวนการผลิต  ตั้งแต่ 1,000 ตัน / วัน  ขึ้นไป หรือที่มีปริมาณแร่ป้อน(input) เข้าสู่กระบวนการผลิตรวมกันตั้งแต่ 1,000   ตัน / วัน ขึ้นไป

ให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างเพื่อประกอบกิจการหรือขั้นขออนุญาตประกอบกิจการ หรือในขั้นขอขยาย  แล้วแต่กรณี

 

 

5.4  อุตสาหกรรมถลุงแร่ตะกั่ว

ทุกขนาด

ให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างเพื่อประกอบกิจการหรือขั้นขออนุญาตประกอบกิจการ  แล้วแต่กรณี

5.5  อุตสาหกรรมหลอมโลหะ

(ยกเว้นเหล็ก และอลูมิเนียม)

ขนาดกำลังการผลิต (output)  ตั้งแต่ 50 ตัน/วัน ขึ้นไป หรือมีกำลังการผลิตรวมกันตั้งแต่ 50 ตัน/วัน            ขึ้นไป

ให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างเพื่อประกอบกิจการหรือขั้นขออนุญาตประกอบกิจการ หรือในขั้นขอขยาย แล้วแต่กรณี

5.6 อุตสาหกรรมหลอมตะกั่ว

ขนาดกำลังการผลิต (output) ตั้งแต่ 10 ตัน/วัน ขึ้นไป  หรือมีกำลังการผลิต รวมกันตั้งแต่10  ตัน/วัน ขึ้นไป

ให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างเพื่อประกอบกิจการหรือขั้นขออนุญาตประกอบกิจการ  หรือในขั้นขอขยายแล้วแต่กรณี

6

การผลิต กำจัด หรือปรับแต่งสารกัมมันตรังสี

ทุกขนาด

ให้เสนอในขั้นขออนุญาตอนุญาตประกอบกิจการ

7

โรงงานปรับคุณภาพของเสียรวมหรือโรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการฝังกลบสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานที่มีการเผาหรือฝังกลบของเสียอันตราย ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน  ยกเว้นการเผาในหม้อเผาซิเมนต์ที่ใช้ของเสียอันตรายเป็นเชื้อเพลิงทดแทน หรือใช้เป็นเชื้อเพลิงเสริม

ทุกขนาด

ให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างเพื่อประกอบกิจการหรือขั้นขออนุญาตประกอบกิจการ   แล้วแต่กรณี

8

โครงการระบบขนส่งทางอากาศ

ที่มีการก่อสร้าง ขยาย หรือเพิ่มทางวิ่งของอากาศยานตั้งแต่ 3,000 เมตรขึ้นไป

 

ให้เสนอในขั้นขออนุมัติหรือขออนุญาตโครงการ

9

ท่าเทียบเรือ

1) ที่มีความยาวหน้าท่า (berth length) ตั้งแต่ 300 เมตรขึ้นไป หรือมีพื้นที่ท่าเทียบเรือตั้งแต่ 10,000 ตารางเมตรขึ้นไป ยกเว้น ท่าเทียบเรือโดยสารหรือ  ท่าเทียบเรือเรือสินค้าเพื่อการอุปโภคและบริโภคหรือท่าเทียบเรือสำราญและกีฬา

2) ที่มีการขุดลอกร่องน้ำ ตั้งแต่ 100,000 ตารางเมตรขึ้นไป  ยกเว้น         ท่าเทียบเรือโดยสารหรือ   ท่าเทียบเรือสินค้าเพื่อการอุปโภคและบริโภค หรือ   ท่าเทียบเรือสำราญและกีฬา

 

3) ที่มีการขนถ่ายวัตถุอันตรายหรือกากของเสียอันตรายซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งกลุ่ม 1 มีปริมาณรวมกันตั้งแต่ 25,000 ตัน/เดือนขึ้นไป หรือมีปริมาณรวมกันทั้งปีตั้งแต่ 250,000 ตัน/ปี ขึ้นไป

ให้เสนอในขั้นขออนุมัติหรือขออนุญาตโครงการ

 

 

 

 

 

 

 

ให้เสนอในขั้นขออนุมัติหรือขออนุญาตโครงการ

 

 

 

 

 

 

ให้เสนอในขั้นขออนุมัติหรือขออนุญาตโครงการ

 

 

 

 

10

เขื่อนเก็บกักน้ำ หรืออ่างเก็บน้ำ

1) ที่มีปริมาตรเก็บกักน้ำตั้งแต่ 100 ล้าน ลูกบาศก์เมตรขึ้นไป  หรือ

2) ที่มีพื้นที่เก็บกักน้ำ ตั้งแต่ 15 ตารางกิโลเมตรขึ้นไป

ให้เสนอในขั้นขออนุมัติหรือขออนุญาตโครงการ

 

ให้เสนอในขั้นขออนุมัติหรือขออนุญาตโครงการ

11

โรงไฟฟ้าพลังความร้อน ดังต่อไปนี้

 

 

11.1 โรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง 

ขนาดกำลังผลิตกระแสไฟฟ้ารวม ตั้งแต่ 100 เมกกะวัตต์ ขึ้นไป

ให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างเพื่อประกอบกิจการหรือขั้นขออนุญาตประกอบกิจการ แล้วแต่กรณี

 

11.2 โรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงชีวมวล

ขนาดกำลังผลิตกระแสไฟฟ้ารวม ตั้งแต่ 150 เมกกะวัตต์ ขึ้นไป

ให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างเพื่อประกอบกิจการหรือขั้นขออนุญาตประกอบกิจการ แล้วแต่กรณี

 

11.3  โรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง ซึ่งเป็นระบบพลังความร้อนร่วมชนิด combined cycle หรือ  cogeneration

ขนาดกำลังผลิตกระแสไฟฟ้ารวม ตั้งแต่ 3,000 เมกะวัตต์ขึ้นไป

ให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างเพื่อประกอบกิจการหรือขั้นขออนุญาตประกอบกิจการ  แล้วแต่กรณี

 

 

11.4 โรงไฟฟ้านิวเคลียร์

ทุกขนาด

ให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างเพื่อประกอบกิจการหรือขั้นขออนุญาตประกอบกิจการ  แล้วแต่กรณี

 

 

 

บล็อกของ คนไม่มีอะไร

คนไม่มีอะไร
  ประมวลภาพวันที่ 30 มีนาคม 2552 ณ สีแยกจองม่องไปจนถึงหน้าสถานีตำรวจภูธรสิชลวันที่ 30 มีนาคม 2552 เวลาประมาณ 08 : 30 น.  ณ สีแยกจองม่อง (อำเภอสิชล) ชาวบ้านประมาณ 300 คน ได้จัดขบวนรถยนต์ยาวประมาณ 30-40 คัน เพื่อไปมอบตัวพี่ด้วงตามหมายเรียก ที่ถูกนายอำเภอสิชลแจ้งความว่า "ดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการหน้าที่ หรือเพราะได้กระทำการหน้าที่" ชาวบ้าน เพือนพ้อง และมิตรสหายต่างพร้อมใจไปให้กำลังใจพี่ด้วงที่สถานีตำรวจภูธรสิชล ตามที่หมายเรียกผู้ต้องหา และพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับตำรวจขั้นต่อไป และค่อยไปว่ากันบนชั้นศาลกันต่อไป หมายเรียกผู้ต้องหา ของพี่ด้วงชาวบ้านเตรียมขบวนรถ…
คนไม่มีอะไร
  หยุดสร้างภาพด้วยวาทะ "การมีส่วนร่วมของประชาชน" ศยามล  ไกยูรวงศ์โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา           ในยุคสมัยนี้ไม่ว่าภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชนใช้ วาทะ "การมีส่วนร่วมของประชาชน" ทุกวงการ โดยกำหนดตัวชี้วัดของการบริหารงานแบบธรรมาภิบาลให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ  นับเป็นนิมิตรหมายอันดีสำหรับสังคมไทย ที่ทุกภาคส่วนตระหนักชัดในหลักการนี้    แต่ในความเป็นจริงการใช้วาทะกรรมดังกล่าว   ได้ถูกบิดเบือนเพื่อสร้างภาพพจน์ของการแสวงหาผลประโยชน์ของระบบ และตนเอง       …
คนไม่มีอะไร
  เอนก  นาคะบุตร ขอยุติการประชุมเวทีรับฝังความคิดเห็นชาวบ้าน                 วันที่ 19 มกราคม 2552 เวลา 13.00 น. ณ ห้องประชุมศาลาประชาคมอำเภอสิชล การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นชาวบ้าน ตำบลทุ่งปรัง อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช เรื่องการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมีนครศรีธรรมราช  (ชาวบ้านกว่า 90%  ที่มาประชุมวันนี้ไม่ได้ถูกเชิญจากบริษัททีม และกนอ. )                …
คนไม่มีอะไร
 ถ้ามันเกิดขึ้นจริงๆ คนใด้เดือดร้อนแน่นอนทางเข้าท่าเรือน้ำลึกปากบาราจังหวัดสตูล เป็นโครงการเชื่อมสงขลา - สตูล (สะพานเศรษฐกิจ)แบบก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบาราระยะแรกผังโครงอาหารฮาลาลจังหวัดปัตตานีสิ่งที่จะเกิดในสตูล มองภาพสวยมาก แต่แปลกรูปทั้งหมดที่ผ่านเจ้าของโครงการไม่พูดถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น พูดแต่ตัวเลข    
คนไม่มีอะไร
  พืชน้ำมันในผืนป่า พื้นที่ชุ่มน้ำ และนาข้าว ศยามล   ไกยูรวงศ์โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา            กระแสการส่งเสริมปลูกพืชน้ำมันทดแทนการนำเข้าเริ่มจางหายไป เมื่อราคาน้ำมันตกต่ำลงเรื่อยๆ   ในขณะที่การส่งเสริมการปลูกพืชน้ำมันโดยภาครัฐยังดำเนินการต่อไป มันสำปะหลัง อ้อย และปาล์มน้ำมัน   เป็นพืชเศรษฐกิจที่ถูกส่งเสริมให้เพิ่มผลผลิตเพื่อเป็นพืชน้ำมันตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกับกระทรวงพลังงาน  ในแผน ๕ ปี ของกระทรวงเกษตรฯ (พ.ศ.๒๕๕๑-๒๕๕๔) กำหนดให้ขยายพื้นที่ปลูกปาล์ม ๖ ล้านไร่…
คนไม่มีอะไร
   แผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ต้องถูกกำหนดโดยคนใต้   ศยามล  ไกยูรวงศ์โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา               การโฆษณาประชาสัมพันธ์กระตุ้นเศรษฐกิจให้เกิดการลงทุนดำเนินการโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งภาคใต้มีอย่างต่อเนื่อง จากรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานคณะกรรมการการลงทุน (BOI) และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)  ยิ่งไปกว่านั้นยังได้รับการขานรับจากนักเศรษฐศาสตร์กันถ้วนหน้า เช่น ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล  …
คนไม่มีอะไร
  ทางออกของชาวสวนยางเมื่อราคายางพาราตกต่ำ ศยามล  ไกยูรวงศ์โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา               ยางพาราถือเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนใต้ที่ผูกพันทั้งทางวัฒนธรรมและทางเศรษฐกิจมานานถึง ๑๐๘ ปี  ระบบการผลิตแบบพืชเชิงเดี่ยวได้เข้ามาแทนที่ป่ายางที่เติบโตพร้อมกับสวนผลไม้และป่าธรรมชาติซึ่งเป็นระบบการผลิตแบบสวนสมรม  หรือสวนพ่อเฒ่า   เงื่อนไขส่งเสริมการปลูกสวนยางโดยใช้กลยุทธ์ของเงินกองทุนสงเคราะห์สวนยางจากสำนักงานกองทุนสงเคราะห์สวนยาง (สกย.) การส่งเสริมการขยายพื้นที่ปลูก …
คนไม่มีอะไร
    แผนที่โครงการที่ตั้งโรงงานงานของเดิม และพื้นที่ถูกเพิกถอนแล้ว แผนที่ทางอากาศ ที่ตั้งของโครงการ และที่เห็นเส้นสีแดงเป็นสายพานลำเลียงจากโครงการถึงท่าเรือ มี 3 เส้น พื้นที่ป่าชายเลนที่หลืออยู่ป่ายชายเลนทางทิศโรงงานป่ายเลนอีกฟากถนนเส้นทางสาธารณของชาวบ้านใช้สัญจรเมื่อก่อนเป็น สวนมะพร้าว แต่ตอนนี้มันหายไปไหนก็ไม่รู้รองรอยบ้านชาวบ้านเดิม ที่เคยอาศัยแล้วใครมากั้นรั้วในพื้นที่สาธารณนี้ คิดอะไรหรือเปล่า? เนี้ยอย่าคิดว่าเรามาเที่ยวทะเลหมอก เพราะว่าฟ้าครึมๆ ที่เห็นอยู่นี้มันมีที่มา แต่ไม่มีที่ไปต้นมะพร้าวที่ถูกตัดไปแล้ว  
คนไม่มีอะไร
  แลนด์บริดจ์ ทางลัดสู่เศรษฐกิจ หรือทางตันสำหรับชาวปากบารา                  ตามที่เราทราบโดยทั่วกัน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่10 (พ.ศ.2550-2554) จะเน้นพื้นที่การพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้ ทางสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ฯน ได้จัดทำแผนพัฒนาภาคใต้ต่างๆ                 1. การพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งภาคใต้              …
คนไม่มีอะไร
    ชาวปัตตานีไม่คิดต่อต้าน  "ฮาลาล"  แต่...เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2551 ได้ลงไปสัมผัสพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในสภาวะความขัดแย้งของพื้นที่สามจังหวัด ณ วันนี้ เชื่อว่าหลายๆ คนอาจไม่รู้ว่า "ปัตตานีกำลังจะกลายเป็นครัวอาหารฮาลาลสู่ระดับโลก" ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่10 (พ.ศ.2550-2554) และภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาล จังหวัดชายแดนภาตใต้ ปี 2552-2555 ครัวฮาลาลแห่งนี้จะกินพื้นที่บริเวณอำเภอสายบุหรี่ และพื้นที่อำเภอปะนะเระ พื้นที่ที่จะใช้ก่อสร้างโดยประมาณทั้งหมด 933 ไร่ และจะกลายเป็นนิคมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล  รูปที่1…
คนไม่มีอะไร
เคยส่งสัยไหมว่าทำไมหิ่งห้อยชอบอยู่แถวบริเวณต้นลำพู แล้วข้างๆ ต้นลำพูต้องมีต้นโกงกาง มีเรื่องเล่ามายาวนานว่า ต้นลำพูเคยเป็นผู้ชายมาก่อน แล้วไปลงรักนางหิ่งห้อยชวนหนีไปด้วยกัน แต่นางโกงกางก็มีใจให้นายลำพู จึงไม่ยอมให้หนีเลยเอารากตัวเองยึดนายลำพูไว้ นางหิ่งห้อยเลยจำเป็นบินเฝ้าต้นลำพูในยามค่ำคืน       เมื่อวันที่ 22-25 กรกฎาคม 2551 ที่ผ่านมาทางสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.) ได้จัดประชุมเชิงปฎิบัติการครั้งที่2 การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพระดับชุมชน (CHIA) ณ บ้านทิพย์ สวนทอง จังหวัดสมุทรสงคราม ในการประชุมครั้งนี้ทางสช.…