Skip to main content

 

มติคณะรัฐมนตรี 31 สิงหาคม 2553

 

เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม   เรื่อง กำหนดประเภท ขนาด และวิธีปฏิบัติสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพ สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพที่ส่วนราชการรัฐวิสาหกิจหรือเอกชน จะต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2553

         

             คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม   เรื่อง กำหนดประเภท ขนาด และวิธีปฏิบัติสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพ สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ที่ส่วนราชการ  รัฐวิสาหกิจหรือเอกชน จะต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2553 ตามมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 4/2553 (นัดพิเศษ) เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2553  ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ  และให้ดำเนินการต่อไปได้  และให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการับไปพิจารณาว่า จะสามารถออกประกาศในเรื่องการให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และคณะผู้ชำนาญการมีอำนาจกำหนดเขตพื้นที่ที่ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก อุทยานแห่งชาติ หรือสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ เป็นเขตพื้นที่ที่โครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งด้านคุณภาพ สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ ซึ่งดำเนินการในพื้นที่ดังกล่าวต้องจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมได้หรือไม่

 

           สาระสำคัญของร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  เรื่อง กำหนดประเภท ขนาด และวิธีปฏิบัติสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ที่ส่วนราชการรัฐวิสาหกิจหรือเอกชน จะต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2553  มีดังนี้

                        ข้อ  1  ในประกาศนี้

                        อุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นต้น (upstream petrochemical industry)” และอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นกลาง (intermediate petrochemical industry)” ให้ใช้ตามคำจำกัดความตามนิยามของสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย

สารก่อมะเร็งกลุ่ม 1  หมายความว่า  บัญชีรายชื่อสารก่อมะเร็งกลุ่ม 1 ตามประกาศของ International Agency for Research on Cancer (IARC)

                        สารก่อมะเร็งกลุ่ม 2 A” หมายความว่า บัญชีรายชื่อสารก่อมะเร็งกลุ่ม 2 A ตามประกาศของ International Agency for Research on Cancer  (IARC)

                        ข้อ 2  ให้กำหนดประเภท ขนาด และวิธีปฏิบัติสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน จะต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยมีรายละเอียดตามเอกสารแนบท้ายประกาศนี้

                        ข้อ 3  โครงการหรือกิจการตามข้อ 2 ให้หมายความรวมถึงโครงการของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือโครงการร่วมกับเอกชน ทั้งที่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี และโครงการหรือกิจการซึ่งต้องได้รับอนุญาตจากทางราชการตามกฎหมายด้วย

                        ข้อ 4  การจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการหรือกิจการตามข้อ 2 ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนด หลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติและแนวทางในการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ลงวันที่ 29 ธันวาคม 2552 ทั้งนี้การจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมดังกล่าวข้างต้น ต้องจัดทำโดยผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้มีสิทธิจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม                     

ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

 

เอกสารแนบท้ายประกาศ

                        1. กรณีโครงการหรือกิจการของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือโครงการร่วมกับเอกชน ซึ่งต้องเสนอขอรับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ให้เสนอรายงานในขั้นก่อนขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรี

                        2. กรณีโครงการหรือกิจการของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ซึ่งไม่ต้องเสนอขอรับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ให้เสนอรายงานในขั้นขออนุมัติโครงการ หรือขออนุมัติงบประมาณ หรือก่อนดำเนินการก่อสร้างแล้วแต่กรณี

                        3. กรณีโครงการหรือกิจการซึ่งจะต้องได้รับอนุญาตจากทางราชการตามกฎหมายให้เสนอรายงาน                 ตามท้ายตารางนี้

ลำดับ

ประเภทโครงการหรือกิจการ

ขนาด

หลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ

1

การถมทะเล หรือทะเลสาบ นอกแนวเขตชายฝั่งเดิม ยกเว้นการถมทะเลที่เป็นการฟื้นฟูสภาพชายหาด 

ตั้งแต่ 300  ไร่   ขึ้นไป

ให้เสนอในขั้นขออนุมัติหรือขออนุญาตโครงการ

2

การทำเหมืองแร่ตามกฎหมายว่าด้วยแร่      ดังต่อไปนี้

 

 

2.1  เหมืองแร่ใต้ดิน เฉพาะที่ออกแบบให้โครงสร้างมีการยุบตัวภายหลังการทำเหมืองโดยไม่มีค้ำยันและไม่มีการใส่คืนวัสดุทดแทน เพื่อป้องกันการยุบตัว

ทุกขนาด

ให้เสนอในขั้น

ขอประทานบัตร

2.2 เหมืองแร่ตะกั่ว เหมืองแร่สังกะสี หรือ เหมืองแร่โลหะอื่นที่ใช้ไซยาไนด์หรือปรอทหรือตะกั่วไนเตรต   ในกระบวนการผลิต หรือเหมืองแร่โลหะอื่นที่มีอาร์เซโนไพไรต์ (arsenopyrite) เป็นแร่ประกอบ (associated
mineral)

ทุกขนาด

ให้เสนอในขั้น

ขอประทานบัตร

2.3  เหมืองแร่ถ่านหิน  เฉพาะที่มีการลำเลียงแร่ถ่านหินออกนอกพื้นที่โครงการด้วยรถยนต์

ขนาดตั้งแต่  200,000 ตัน / เดือน หรือ ตั้งแต่ 2,400,000 ตัน /ปี ขึ้นไป

ให้เสนอในขั้น

ขอประทานบัตร

2.4  เหมืองแร่ในทะเล

ทุกขนาด

ให้เสนอในขั้น

ขอประทานบัตร

3

นิคมอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรม หรือโครงการที่มีลักษณะเช่นเดียวกับนิคมอุตสาหกรรม ดังต่อไปนี้

 

 

3.1 นิคมอุตสาหกรรม หรือโครงการที่มีลักษณะเช่นเดียวกับนิคมอุตสาหกรรม 

ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อรองรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีตาม 4 หรืออุตสาหกรรมถลุงแร่เหล็ก ตาม 5.1 หรือ 5.2 แล้วแต่กรณี มากกว่า 1 โรงงานขึ้นไป

ทุกขนาด

ให้เสนอในขั้นขออนุมัติหรือขออนุญาตโครงการ

3.2  นิคมอุตสาหกรรม หรือโครงการที่มีลักษณะเช่นเดียวกับนิคมอุตสาหกรรม ที่มีการขยายพื้นที่เพื่อรองรับอุตสาหกรรม  ปิโตรเคมีตาม 4  หรืออุตสาหกรรมถลุงแร่เหล็ก ตาม 5.1 หรือ 5.2

ทุกขนาด

ให้เสนอในขั้นขออนุมัติหรือขออนุญาตโครงการ

4

อุตสาหกรรมปิโตรเคมี ดังต่อไปนี้

 

 

4.1 อุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นต้น (upstream petrochemical industry)

ทุกขนาด หรือที่มีการขยายกำลังการผลิตตั้งแต่ร้อยละ 35 ของกำลังการผลิตเดิมขึ้นไป

 

ให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างเพื่อประกอบกิจการหรือขั้นขออนุญาตประกอบกิจการ  หรือใน

ขั้นขอขยายแล้วแต่กรณี

4.2 อุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นกลาง(intermediate petrochemical industry)  ดังต่อไปนี้

 

 

      4.2.1  อุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นกลาง(intermediate petrochemical industry) 

ที่ผลิตสารเคมี หรือใช้วัตถุดิบที่เป็นสารเคมี ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งกลุ่ม 1

ขนาดกำลังการผลิต 100 ตัน/วัน ขึ้นไป หรือที่มีการขยายขนาดกำลังการผลิตรวมกันแล้วมากกว่า 100 ตัน/วัน ขึ้นไป

ให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างเพื่อประกอบกิจการหรือขั้นขออนุญาตประกอบกิจการ หรือใน

ขั้นขอขยาย แล้วแต่กรณี

       4.2.2  อุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นกลาง(intermediate petrochemical industry) ที่ผลิตสารเคมี หรือใช้วัตถุดิบที่เป็นสารเคมี ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งกลุ่ม  2 A

ขนาดกำลังการผลิต
700 ตัน/วัน ขึ้นไป หรือที่มีการขยายขนาดกำลังการผลิตรวมกันแล้วมากกว่า 700 ตัน/วัน ขึ้นไป

ให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างเพื่อประกอบกิจการหรือขั้นขออนุญาตประกอบกิจการ หรือใน

ขั้นขอขยาย แล้วแต่กรณี

5

อุตสาหกรรมถลุงแร่ หรือหลอมโลหะ                ดังต่อไปนี้

 

 

5.1 อุตสาหกรรมถลุงแร่เหล็ก

ที่มีปริมาณแร่ป้อน (input) เข้าสู่กระบวนการผลิต  ตั้งแต่  5,000  ตัน / วัน ขึ้นไป หรือที่มีปริมาณแร่ป้อน (input)  เข้าสู่กระบวน การผลิตรวมกันตั้งแต่ 5,000 ตัน/วัน ขึ้นไป

ให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างเพื่อประกอบกิจการหรือขั้นขออนุญาตประกอบกิจการ หรือในขั้นขอขยาย แล้วแต่กรณี

5.2 อุตสาหกรรมถลุงแร่เหล็กที่มีการผลิตถ่าน coke หรือ ที่มีกระบวนการ sintering

ทุกขนาด

ให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างเพื่อประกอบกิจการหรือขั้นขออนุญาตประกอบกิจการ  แล้วแต่กรณี

5.3 อุตสาหกรรมถลุงแร่ ทองแดง ทองคำ หรือ สังกะสี

ที่มีปริมาณแร่ป้อน (input) เข้าสู่กระบวนการผลิต  ตั้งแต่ 1,000 ตัน / วัน  ขึ้นไป หรือที่มีปริมาณแร่ป้อน(input) เข้าสู่กระบวนการผลิตรวมกันตั้งแต่ 1,000   ตัน / วัน ขึ้นไป

ให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างเพื่อประกอบกิจการหรือขั้นขออนุญาตประกอบกิจการ หรือในขั้นขอขยาย  แล้วแต่กรณี

 

 

5.4  อุตสาหกรรมถลุงแร่ตะกั่ว

ทุกขนาด

ให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างเพื่อประกอบกิจการหรือขั้นขออนุญาตประกอบกิจการ  แล้วแต่กรณี

5.5  อุตสาหกรรมหลอมโลหะ

(ยกเว้นเหล็ก และอลูมิเนียม)

ขนาดกำลังการผลิต (output)  ตั้งแต่ 50 ตัน/วัน ขึ้นไป หรือมีกำลังการผลิตรวมกันตั้งแต่ 50 ตัน/วัน            ขึ้นไป

ให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างเพื่อประกอบกิจการหรือขั้นขออนุญาตประกอบกิจการ หรือในขั้นขอขยาย แล้วแต่กรณี

5.6 อุตสาหกรรมหลอมตะกั่ว

ขนาดกำลังการผลิต (output) ตั้งแต่ 10 ตัน/วัน ขึ้นไป  หรือมีกำลังการผลิต รวมกันตั้งแต่10  ตัน/วัน ขึ้นไป

ให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างเพื่อประกอบกิจการหรือขั้นขออนุญาตประกอบกิจการ  หรือในขั้นขอขยายแล้วแต่กรณี

6

การผลิต กำจัด หรือปรับแต่งสารกัมมันตรังสี

ทุกขนาด

ให้เสนอในขั้นขออนุญาตอนุญาตประกอบกิจการ

7

โรงงานปรับคุณภาพของเสียรวมหรือโรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการฝังกลบสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานที่มีการเผาหรือฝังกลบของเสียอันตราย ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน  ยกเว้นการเผาในหม้อเผาซิเมนต์ที่ใช้ของเสียอันตรายเป็นเชื้อเพลิงทดแทน หรือใช้เป็นเชื้อเพลิงเสริม

ทุกขนาด

ให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างเพื่อประกอบกิจการหรือขั้นขออนุญาตประกอบกิจการ   แล้วแต่กรณี

8

โครงการระบบขนส่งทางอากาศ

ที่มีการก่อสร้าง ขยาย หรือเพิ่มทางวิ่งของอากาศยานตั้งแต่ 3,000 เมตรขึ้นไป

 

ให้เสนอในขั้นขออนุมัติหรือขออนุญาตโครงการ

9

ท่าเทียบเรือ

1) ที่มีความยาวหน้าท่า (berth length) ตั้งแต่ 300 เมตรขึ้นไป หรือมีพื้นที่ท่าเทียบเรือตั้งแต่ 10,000 ตารางเมตรขึ้นไป ยกเว้น ท่าเทียบเรือโดยสารหรือ  ท่าเทียบเรือเรือสินค้าเพื่อการอุปโภคและบริโภคหรือท่าเทียบเรือสำราญและกีฬา

2) ที่มีการขุดลอกร่องน้ำ ตั้งแต่ 100,000 ตารางเมตรขึ้นไป  ยกเว้น         ท่าเทียบเรือโดยสารหรือ   ท่าเทียบเรือสินค้าเพื่อการอุปโภคและบริโภค หรือ   ท่าเทียบเรือสำราญและกีฬา

 

3) ที่มีการขนถ่ายวัตถุอันตรายหรือกากของเสียอันตรายซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งกลุ่ม 1 มีปริมาณรวมกันตั้งแต่ 25,000 ตัน/เดือนขึ้นไป หรือมีปริมาณรวมกันทั้งปีตั้งแต่ 250,000 ตัน/ปี ขึ้นไป

ให้เสนอในขั้นขออนุมัติหรือขออนุญาตโครงการ

 

 

 

 

 

 

 

ให้เสนอในขั้นขออนุมัติหรือขออนุญาตโครงการ

 

 

 

 

 

 

ให้เสนอในขั้นขออนุมัติหรือขออนุญาตโครงการ

 

 

 

 

10

เขื่อนเก็บกักน้ำ หรืออ่างเก็บน้ำ

1) ที่มีปริมาตรเก็บกักน้ำตั้งแต่ 100 ล้าน ลูกบาศก์เมตรขึ้นไป  หรือ

2) ที่มีพื้นที่เก็บกักน้ำ ตั้งแต่ 15 ตารางกิโลเมตรขึ้นไป

ให้เสนอในขั้นขออนุมัติหรือขออนุญาตโครงการ

 

ให้เสนอในขั้นขออนุมัติหรือขออนุญาตโครงการ

11

โรงไฟฟ้าพลังความร้อน ดังต่อไปนี้

 

 

11.1 โรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง 

ขนาดกำลังผลิตกระแสไฟฟ้ารวม ตั้งแต่ 100 เมกกะวัตต์ ขึ้นไป

ให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างเพื่อประกอบกิจการหรือขั้นขออนุญาตประกอบกิจการ แล้วแต่กรณี

 

11.2 โรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงชีวมวล

ขนาดกำลังผลิตกระแสไฟฟ้ารวม ตั้งแต่ 150 เมกกะวัตต์ ขึ้นไป

ให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างเพื่อประกอบกิจการหรือขั้นขออนุญาตประกอบกิจการ แล้วแต่กรณี

 

11.3  โรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง ซึ่งเป็นระบบพลังความร้อนร่วมชนิด combined cycle หรือ  cogeneration

ขนาดกำลังผลิตกระแสไฟฟ้ารวม ตั้งแต่ 3,000 เมกะวัตต์ขึ้นไป

ให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างเพื่อประกอบกิจการหรือขั้นขออนุญาตประกอบกิจการ  แล้วแต่กรณี

 

 

11.4 โรงไฟฟ้านิวเคลียร์

ทุกขนาด

ให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างเพื่อประกอบกิจการหรือขั้นขออนุญาตประกอบกิจการ  แล้วแต่กรณี

 

 

 

บล็อกของ คนไม่มีอะไร

คนไม่มีอะไร
  บ่อน้ำมันทำลายธรรมชาติ ทำลายเกาะสมุย พะงัน เต่า
คนไม่มีอะไร
คนกลาย พูดดังๆ ว่า ไม่เอา...เชฟรอน            วันที่  8 มีนาคม 2553 เวลา 08.30-12.00 น. ณ ลานหน้าองค์การบริหารส่วนตำบลกลาย ทางบริษัทเชฟรอนและบริษัทที่ปรึกษา ได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นชาวบ้านตำบลกลาย อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เรื่องการสร้างท่าเรือ และคลังเก็บวัสดุของบริษัทเชฟรอน เนื่องจากเชฟรอนต้องการย้ายฐานปฏิบัติการจาก จังหวัดชลบุรีและสงขลา มาอยู่ที่บ้านบางสาร ตำบลกลาย จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งทางบริษัทให้เหตุพลว่า ประหยัดค่าใช้จ่ายเพราะว่าสามารถลดต้นทุนในการขนส่งจากแท่นขุดเจาะมาบนฝั่ง…
คนไม่มีอะไร
ความเงียบได้กลับคืนสูบ้านท่าสูงบนอีกครั้งหลังจากงานสมัชชาประมงพื้นบ้านได้ผ่านไป ก็คงเหมือนลมทะเลที่พัดหอบเอาไอทะเลเข้าสู่ฝั่ง คงเหลือไว้แต่รูปภาพและความทรงจำที่ติดอยู่ในสมองของใครใครหลายคน ผมซึ่งมีโอกาสได้เข้าร่วมงานนี้ตั้งแต่วันที่เตรียมงานจนวันสุดท้าย           ภาพที่เห็นยังคงวนเวียนอยู่ในหัวกับคำถามมากมายที่ตามมาว่า งานนี้มีไว้เพื่อ.......?           มันเป็นคำถามที่ผมสงสัยเรื่อยมาจนคำตอบของคำถามเหล่านั้นค่อยๆ คลายออกมาทีละนิดทีละนิด เริ่มจากภาพของผู้คนที่เตรียมงานกันอย่างแข็งขัน…
คนไม่มีอะไร
  โครงการพัฒนาที่พยายามคืบคลาน…เข้ามา อีกนานมั้ย….??? ที่ประเทศไทยจะรอดพ้นจากโครงการพัฒนาที่ประชาชนต้องเป็นแพะรับบาป ชาวบ้านเป็นผู้รับกรรม เป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบ เป็นผู้ต้องสูญเสีย และเป็นผู้เสียสละ พื้นที่ สิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ ความหลากหลายทางวัฒนธรรม “เราไม่ต้องการโครงการพัฒนาขนาดใหญ่” “เราไม่ต้องการอุตสาหกรรมปิโตรเคมี” “เราไม่ต้องการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์” “เราไม่ต้องการท่าเรือน้ำลึก” “เราไม่ต้องโรงไฟฟ้าถ่านหิน” คำเหล่านี้ประมวลสรุปจากเวทีจังหวัดภาคใต้ที่เราได้ไปจัดมา (ชุมพร นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส พัทลุง สตูล ระนอง กระบี่ ภูเก็ต และพังงา)…
คนไม่มีอะไร
เก็บตกจากเวทีโลกร้อน เมื่อ 3-5 ตุลาคม 2552 บรรยากาศการเดินขบวนรณรงค์เวทีโลกร้อน มันน่าจะบอกอะไรบางอย่างให้กับประเทศที่กำลังจะทำสิ่งเหล่านี้ กำลังพลนับหมื่นคน ณ วันนั้น เพื่อเรียกร้องให้ประเทศต่างๆทบทวนนโยบายการพัฒนาที่ผิดทาง คนนครศรีธรรมราชก็มาด้วย เพราะว่ากำลังจะเจอกับแผนพัฒนาที่สวนทางกับวิถีชีวิตชาวบ้าน โรงไฟฟ้าถ่านหิน โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โรงถลุงเหล็ก อุตสาหกรรมปิโตรเคมี คนนครศรฯ ไม่เอา
คนไม่มีอะไร
  แผนอยู่เย็นเป็นสุข : ภาพรวมการจัดเวทีจังหวัด   วัตถุประสงค์         เพื่อรับฟังข้อเสนอและแนวทางการพัฒนาพื้นที่ภาคใต้เป็นรายจังหวัด เพื่อที่จะเปรียบเทียบกับแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ของ สศช. การพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรของการนิคมแห่งประเทศประเทศไทย และโครงการขนาดใหญ่ที่จะเกิดในพื้นที่ภาคใต้ รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นต่อเอกสารร่างมติข้อเสนอในแผนพัฒนาภาคใต้ที่ยั่งยืน   พื้นที่ดำเนินการ   13    จังหวัดภาคใต้ (ยกเว้นสุราษฎร์ธานี)   กระบวนการจัดเวทีจังหวัด          …
คนไม่มีอะไร
   ภาคใต้ : อุตสาหกรรมเหล็กครบวงจร   ในปัจจุบันปริมาณการใช้เหล็กในประเทศไทยมีแนวโน้มสูงขึ้น เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบป้อนให้กับอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ในแต่ละปีมีความต้องการใช้เหล็กในประเทศสูงถึงประมาณ 12.5 ล้านตัน/ปี และต้องนำเข้าเหล็กจากต่างประเทศโดยเฉพาะเหล็กคุณภาพสูงประมาณ 4.5 ล้านตัน/ปี   ทั้งนี้ เนื่องจากประเทศไทยยังไม่มีอุตสาหกรรมผลิตเหล็กแบบครบวงจร โดยขาดการผลิตเหล็กต้นน้ำซึ่งเป็นการผลิตเหล็กขั้นต้นเพื่อป้อนให้กับอุตสาหกรรมเหล็กขั้นต่อไป จึงไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการใช้เหล็กคุณภาพสูงในประเทศไทยได้…
คนไม่มีอะไร
 ผังเมืองกำลังจะเปลี่ยน "นครศรีธรรมราช"  ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ตอนนี้มีการลงมาจัดทำผังเมืองถึงครึ่งทางแล้ว ไปแอบได้ข้อมูลมา ตอนบริษัท นำเสนอ คณะกรรมการกำกับผังเมืองฯ  และตอนนี้ทางพื้นที่ต้องความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพข้างล่างนี้  ความเห็นจากแสนกล้า (นามสมมติ) นี่คือตัวอย่างหนึ่ง  ที่สะท้อนว่าถ้าเราเอาผังนโยบาย ระดับภาค ประเทศมาใช้บังคับตามกฎหมายตามที่กรมโยธาฯกำลังทำร่าง พรบ. ผังเมืองใหม่อยู่  จะเป็นอันตราย เป็นการมัดมือชกในการเอานโยบายมาใส่ในการจัดทำผังเมืองรวมตามกฎหมาย กรณีนี้ ยังเอามาใส่ทั้งๆ ที่ผัง หรือนโยบายระดับภาคยังไม่ใช้บังคับตามกฎหมาย…