Skip to main content


เจ้านกเชื่องถูกขังอยู่ในกรง ส่วนเจ้านกอิสระนั้นเป็นนกป่า

ทั้งคู่มาพบกันเข้า เพราะบุพเพสันนิวาสชักนำ

เจ้านกอิสระร้องว่า "โอ้ ที่รักของข้า ขอให้เราบินไปสู่ไพรพนาด้วยกันเถิด"

นกซึ่งถูกขังในกรงกระซิบว่า "เข้ามาใกล้ๆข้าอีกสิ ขอให้เราได้อยู่ร่วมกันในกรงนี้เถิด"

นกป่าพูดว่า "เราจะมีที่กว้างพอเหยียดปีกได้อย่างไรเล่าในกรงขังนั้น"

"อนิจจา" นกที่ถูกขังพูด "ข้าก็ไม่รู้เหมือนกันว่าในท้องฟ้านั้น จะหาคอนเกาะได้ที่ไหน"

นกป่าร้องว่า "ที่รัก ไปเถิด เราจะได้ขับขานบทเพลงแห่งราวป่ากัน"

นกที่ถูกขังบอกว่า "มาเกาะข้างๆข้าสิ ข้าจะสอนบทเพลงของมนุษย์ผู้ทรงความรู้ให้เจ้าฟัง"

นกป่าร้องว่า "ไม่ได้ ไม่ได้หรอกเจ้า บทเพลงมิใช่สิ่งที่จะสอนกันได้"

นกที่ถูกขังก็พูดว่า "อนิจจา ข้าก็ไม่เคยรู้บทเพลงแห่งราวป่าเลย"

ความรักของทั้งคู่เร่าร้อนด้วยความปรารถนา แต่มันก็ไม่เคยมีโอกาสบินเคียงคู่กันได้เลย

มันต่างจ้องมองกันและกันผ่านซี่ลูกกรง แต่ความต้องการที่จะรู้จักกันให้มากกว่านั้นล้มเหลว

มันต่างกระพือปีกอย่างเร่าร้อน

และต่างร้องบทเพลงบอกแก่กันว่า

"เข้ามาใกล้ๆอีกสิ ที่รัก"

นกป่าร้องว่า "ข้าเข้าไปไม่ได้หรอก ข้ากลัวประตูกรงที่ปิดนั้น"

นกที่ถูกขังก็ร้องแผ่วเบาว่า "อนิจจา ปีกของข้าก็แข็งทื่อและไร้พลัง"

 

 

หมายเหตุ ; นี่เป็นงานเขียนที่วิเศษบทหนึ่ง จากรวมบทกวีที่ชื่อว่า คนสวน (THE GARDENER ) ของรพินทรนาถ ฐากูร นักเขียนอินเดีย เจ้าของรางวัลโนเบลคนแรกของเอเชีย ที่ได้รับรางวัลนี้เมื่อปี 1913 แปลโดย แดนอรัญ แสงทอง พิมพ์ครั้งที่สอง เดือนมิถุนายน 2532 โดยสำนักพิมพ์ สู่ฝัน ของ พิบูลศักดิ์ ละครพล

 

ที่หน้าปกเขาระบุว่า บทกวีรางวัลโนเบล ถ้าข้อมูลไม่ผิด ก็คือหนังสือเล็กๆเล่มนี้เองที่ได้รับรางวัล วรรณกรรมอันยิ่งใหญ่นี้ และผมก็ไม่นึกแปลกใจ เพราะโดยส่วนตัวผมแล้ว บทกวีทุกบทที่เรียงร้อยอยู่ในหนังสือเล่มนี้ มันเป็นงานที่วิเศษสำหรับผมทุกชิ้น ถึงแม้ผู้แปลจะถ่อมตัวว่า ตนเองไม่คู่ควร แต่เขาก็ชื่นชอบในความงดงามของคนสวน จนห้ามใจมิให้แปลมิได้ และผมก็ชอบที่เขาแปล

 

หนังสือเล่มนี้ เป็นหนังสืออีกเล่มหนึ่ง นอกเหนือจากเจ้าชายน้อย ของแซงเต็กซูเปรี เมตามอร์โฟซิส ของฟรันซ์ คาฟคา และอีกหลายเล่ม ฯลฯ ที่บอกแก่ผมว่า ความยิ่งใหญ่ของงานเขียนวรรณกรรม ไม่ได้อยู่ที่จำนวนถ้อยคำและขนาดหนาบางของหนังสือ แต่อยู่ที่คุณภาพอันยอดเยี่ยมทางศิลปะและเนื้อหาที่กินใจ และก่อให้เกิดความสะเทือนใจ แล้วนำเราสู่การคิดตระหนักใคร่ครวญอย่างลึกซึ้งประการใดประการหนึ่ง - เกี่ยวกับโลกและชีวิต โดยไม่จำเป็นต้องเอาหลักวิชาการอันแข็งทื่อใดๆมาข่มขู่สั่งสอนอธิบาย หรือโฆษณาชวนเชื่อ เพราะงานศิลปะที่บรรลุถึงพรมแดนแห่งศิลปะ มันจะทำหน้าที่อันทรงพลังของมันเอง บทกวี นกป่า ของผมที่นำมาเสนอเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว ถ้าจำได้ไม่ผิด ผมได้รับแรงบันดาลใจจากงานเขียนชิ้นนี้แหละครับ สวัสดี ฤดูฝนอันหม่นมัว.

 

9 มิถุนายน 2552

กระท่อมทุ่งเสี้ยว เชียงใหม่

 

บล็อกของ ถนอม ไชยวงษ์แก้ว

ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
    เมื่อยังมีชีวิต จงหายใจเข้าไว้ หายใจแรงๆ และหายใจอย่างสดชื่น เพราะภาระหน้าที่ของชีวิตคือการมีชีวิต ชีวิตที่กระปรี้กระเปร่า และถ้าเป็นไปได้ควรต้องรื่นรมย์กับชีวิต บาปอันยิ่งใหญ่ของมนุษย์ (บางทีสำหรับสิ่งมีชีวิตทั้งปวง) คือการปฏิเสธชีวิต   การมีชีวิต
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
    ฉันเป็นเท่าที่ฉันเป็น ฉันทำเท่าที่ฉันหวัง ฉันหวังเท่าที่ฉันเห็น ฉันง่ายฉันงามฉันแจ่มชัด ฉันเชื่อหนึ่งมากกว่าร้อย ฉันเชื่อคนมากกว่าลัทธิ ฉันเชื่อดินมากกว่าฟ้า ฉันเชื่อต้นหญ้ามากกว่าขุนเขา ฉันเชื่อสวนหลังบ้านมากกว่าป่าหิมพานต์ ฉันเชื่อวันนี้มากกว่าวันวาน ฉันง่ายฉันงามฉันแจ่มชัด ฉันไม่เชื่ออำนาจรัฐจากกระบอกปืน   ฉันเป็นเท่าที่ฉันเป็น.  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  อิสรภาพ   ฉันต้องการอิสรภาพ ที่จะได้เห็น ที่จะได้ยิน ในสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  เป็นที่ทราบกันดีว่า กฎหมายอาญามาตรา 112 เป็นกฎหมายที่สร้างความทุกข์สาหัสให้แก่ผู้ที่ถูกกล่าวหาว่า “หมิ่นสถาบัน” มามากมายหลายคน เพราะกฎหมายนี้ถูกตราขึ้นมาอย่างกว้างๆไม่ระบุขอบข่ายความผิดให้ชัดเจน รวมทั้งกระบวนการจับกุม สอบสวน ดำเนินคดี ก็มิได้เป็นไปตามปกติทั่วไป มิหนำซ้ำการตีความบังคับใช้มาตรานี้ ว่ากันว่า เจ้าหน้าที่สามารถตีความใช้ได้อย่างกว้างขวาง และนักการเมืองมักจะใช้เป็นเครื่องมือในการทำลายฝ่ายตรงกันข้ามอยู่เสมอ และผู้ต้องคดีนี้นอกจากจะติดคุกติดตะรางแล้ว ยังถูกซ้ำเติมจากสังคมที่จงรักภักดีต่อสถาบันอย่างรุนแรง    
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
    คือแม่น้ำและขุนเขาอันขรึมขลัง คือพลังคีตกานท์อันหวานไหว คือหนึ่งจิตวิญญาณล้านนาไทย คือดอกไม้สวยสะคราญบานนิรันดร์  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  ย้อนกลับไปทบทวนดู คำประกาศหลังจากรับพระราชทานโปรดเกล้าฯของคุณยิ่งลักษณ์ตอนหนึ่งที่กล่าวว่า “อุปสรรคข้างหน้ายังรอเราอยู่มาก ทั้งที่ควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ แต่ทั้งหมดมิใช่อุปสรรคขวางกั้นมิให้ทำงาน พร้อมที่จะอุทิศตัวด้วยความทุ่มเท เสียสละอดทน ทำงานแข่งกับเวลา ไม่เกรงต่อความลำบากใดๆ”
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
    แล้ว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย หมายเลข 1 ก็ได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 28 และ เป็นนายกหญิงคนแรกในประวัติศาสตร์การเมืองของเมืองไทย และเป็นคนที่ 52 ของโลก อย่างสมบูรณ์ โดยได้รับการโหวตเสียงจากที่ประชุมสภาฯ เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2554 ด้วยคะแนนเสียงเห็นด้วย 296 เสียง ไม่เห็นด้วย 3 เสียง และงดออกเสียง 197 เสียง ก่อนจะได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ในวันที่ 8 สิงหาคม 2554 เวลา 18.40 น. ณ บริเวณตึกชั้น 7 ที่ทำงานพรรคเพื่อไทย ท่ามกลางความยินดีของคนจำนวนมากมาย ที่สนับสนุนคุณยิ่งลักษณ์และพรรคเพื่อไทย  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
    คราวที่แล้ว ผมนำเรื่อง “คนดีของคนเมือง และ คนดีของชนบท” ที่แตกต่างกัน จากบทสัมภาษณ์ที่ชื่อว่า “ความคาดหวังและความจริงของประชาธิปไตยแบบไทยๆ” ของ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ซึ่งให้สัมภาษณ์ลงนิตยสารสารคดี ฉบับเดือนตุลาคม 2543 ผมคิดว่าจะหยุดเพียงแค่นั้น แต่ก็หยุดไม่ได้ เพราะพบว่ายังมีประเด็นที่ผมคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้อ่านอีกสองประเด็น ที่ยังเป็นเรื่องราวที่ยังดำรงอยู่ในปี 2544 และต่อไปอีกนานเท่าไหร่ ก็คงไม่มีใครรู้ เพราะมันเป็นรื่องของอนาคต  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
      ผมมักจะได้ยิน ผู้คนและสื่อต่างๆเกี่ยวกับการเมือง มักจะพูดกันให้ได้ยินอยู่เสมอว่า “คนชนบทเป็นคนเลือกตั้งรัฐบาล คนเมืองเป็นคนล้ม” ซึ่งดูเหมือนจะเป็นความจริงมาโดยตลอด แต่ก็ไม่มีใครให้คำอธิบายที่ฟังดู สมเหตุสมผลและชอบธรรม ให้ฟัง ว่าทำไมคนเมืองที่หมายถึงคนชั้นกลาง จึงไม่ชอบรัฐบาลที่ได้มาจากเสียงส่วนใหญ่ที่เป็นคนชนบทในประเทศ และช่วยกันล้มรัฐบาลที่เขาเลือกตามกติกา 
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
      ถึงแม้ คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะได้รับการรับรองจาก กกต. ให้หลุดพ้นจากข้อหาไปช่วยขบวนแห่ที่เชียงราย ให้พ้นจากข่ายความผิดด้วยมติ 5 ต่อ 0 ท่ามกลางความโล่งอกของใครต่อใครมากมายหลายคน ที่ว่ากันว่า เป็นเพราะโพลเสียงจากประชาชน 80 เปอร์เซ็นต์ ต้องการคุณยิ่งลักษณ์นายกฯ (รวมทั้ง นปช.) เป็นกระแสกดดัน กกต. หรือเพราะเหตุใดก็ช่างเถิด แต่เราก็สามารถฟันธงกันได้เลยว่า อีกไม่นาน เราจะต้องได้นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศอย่างแน่นอน 
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
      ผมไม่แน่ใจว่า ก่อนที่คุณยิ่งลักษณ์ ว่าที่นายกฯ ยิ่งลักษณ์ คนสวย และกลุ่มมันสมองของพรรคเพื่อไทยจะชูนโยบายประชานิยม เพิ่มค่าแรงงานขั้นต่ำให้กรรมกรผู้ใช้แรงงานจาก 221 บาท เป็น 300 บาท และเพิ่มเงินเดือนให้แก่ผู้จบปริญญาตรีที่เริ่มเข้าบรรจุงานจาก 11,028 บาท เป็น 15,000 บาท
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผมกำลังจะชวนใครต่อใคร เข้ามาคุยเรื่องปัญหาที่รัฐบาลใหม่จะต้องเข้ามาสะสางและแก้ไข จากข้อมูลของนักวิเคราะห์การเมืองท่านหนึ่งที่รวบรวมและชี้แนะเอาไว้ล่วงหน้าแก่รัฐบาลของคุณยิ่งลักษณ์เอาไว้