Skip to main content

  

3 กันยายน 2552 ปีนี้
นอกจากจะเป็นวันรำลึกครบรอบการจากไปของ จรัล มโนเพ็ชร ศิลปินผู้ยิ่งใหญ่แห่งล้านนาแล้ว วันนี้ยังมาตรงกับวันจัดงาน " แอ่วสันป่าตอง " ซึ่งเป็นงานของโครงการย้อนยุคอำเภอสันป่าตอง ที่มีเป้าหมายที่จะแนะนำอำเภอสันป่าตองเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยมีสภาวัฒนธรรมอำเภอเป็นตัวหลักในการจัดงาน ร่วมกับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนอีกมากมายหลายองค์กร ฯลฯ

\\/--break--\>

ปีนี้

โดยส่วนตัวผม นอกจากควรจะต้องไปงานรำลึกครบรอบการจากไปของคุณจรัลในตัวเมืองเชียงใหม่ เหมือนทุกปีแล้ว ผมยังจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องไปร่วมงาน " แอ่วสันป่าตอง " ซึ่งเป็นงานของอำเภอที่เป็นบ้านเกิดของผม ณ สวนหลวงเฉลิมพระเกียรติ ฯ โรงเรียนสันป่าตองวิทยาคม เนื่องจากปีนี้ ผมได้รับการคัดเลือก และยินยอมพร้อมใจ เป็นบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมของอำเภอ สาขาวรรณศิลป์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งใน Series ของงานนี้ ร่วมกับมาลา คำจันทร์ นักเขียนนวนิยายรางวัลซีไรท์ และคุณถนอม ปาจา ศิลปินพื้นบ้านผู้เชี่ยวชาญในการเขียนค่าว ( บทกวีพื้นบ้าน ) ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในสังคมวรรณกรรมท้องถิ่น ด้วยนามปากกาที่ชื่อว่า " รสสุคนธ์ รักษ์กวี "

 

งานนี้มี 2 วันครับ

นอกจากพิธีไหว้ครูและมอบโล่รางวัลประกาศเกียรติคุณแก่ผู้ที่ได้รับรางวัลสาขาต่างๆเกือบ 20 กว่าคนแล้ว ยังมีงานกิจกรรมตลอดวันทั้งสองวันที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ตั้งแต่เวลา 9.00 - 17.00 น. เช่น

  • - นิทรรศการแสดงผลงานของผู้ที่ได้รับรางวัลทุกๆสาขา
  • - กาดหมั้วครัวฮอมจากหมู่บ้านต่างๆ มาร่วมขายอาหารพื้นเมือง
  • - การแสดงซอพื้นเมือง ค่าว จากคณะต่างๆ เช่น จันทร์ทองบันเทิงศิลป์
  • - การแสดงผลิตภัณฑ์ชุมชน ผลงานของชาวบ้านกลุ่มต่างๆ เช่น บ้านร้องตีมีด กลุ่มจักสานบ้านป่าจู้ กลุ่มไทเขิน ฯลฯ
  • - การแสดงดนตรีของ คำ ปันเกย สะล้อ 2001 และศิลปินรับเชิญ
  • - ร้านมัจฉากาชาด ของเหล่ากาชาดอำเภอสันป่าตอง
  • - ร้านย้อนยุค ของ สโมสรโรตารี่สันป่าตอง
  • - กลุ่มภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่เลื่องชื่อร่วมแสดง เช่น พ่อครูเพชร วิริยะ บ้านจ๊างนัก สล่าแดง บ้านน้ำต้น พ่ออุ้ยใจ๋คำ โครงการอุ้ยสอนหลาน สล่านอง หอสมังคีช้าง สล่าสมานบ้านเปียง ฯลฯ


ส่วนงานรำลึกครบรอบการจากไป ของ คุณจรัล มโนเพ็ชร ปีนี้ ผมไม่ได้ข่าวว่าจัดกันกี่ที่กี่แห่ง นอกจากข่าวที่ผมได้รับจากคุณกฤตน ชัยแก้ว เพื่อนนักดนตรี ที่เคยเล่นกีตาร์และร้องเพลงตามห้องอาหารร่วมกันมาหลายแห่ง ชึ่งปัจจุบัน ควบตำแหน่ง ฝ่ายประสานงาน สมาคมดนตรีแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดเชียงใหม่ ได้ให้ข่าวแก่ผมมาว่า ปีนี้ โครงการศิลปวัฒนธรรม ในความร่วมมือเพื่อเมืองเชียงใหม่ ได้จัดงานรำลึกถึงคุณจรัล ชื่องานว่า "เรียงร้อยฮ้อยฝัน จรัล มโนเพ็ชร" ตั้งแต่เวลา 10.00-22.00 น. 3 กันยายน 2552 ณ สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มช. ( หลังหอศิลป์ มช. ) ซึ่งใบปลิวโฆษณาเขาให้รายละเอียดของงานมาว่า

 

ชมฟรี พร้อมรับซีดีผลงานประวัติศาสตร์ พบ สุนทรี เวชานนท์ ปฎิญญา ตั้งตระกูล ไม้เมือง ณัฐ กิตติสาร ณัฐฐา พรหมมินทร์ บฤงคพ วรอุไร วงซึงหลวง ฯลฯ และชาวศิลปินล้านนาอีกมากมาย และทายาท 2 รุ่นของจรัล มโนเพ็ชร เสนอเพลงใหม่ นิทรรศการประวัติผลงาน ละครเวทีที่หาชมที่อื่นไม่ได้ เช่น ศึกรักประกาศิต เปาบุ้นจิ้น บารมีศรีวิชัย และงานสุดท้าย มะเมี๊ยะ วงสนทนาของนักแสดงและทีมงาน กาดหมั้วครัวฮอม ตลาดศิลปะตลอดวัน ฯลฯ

 

ครับ ถือว่างานทั้งสองงานนี้ เป็นงานใหญ่ที่น่าสนใจด้วยกันทั้งสองงาน ถ้าคุณอยากเที่ยวชมงานทั้งสองให้อิ่มอกอิ่มใจครบทุกงานทุกวัน วันแรกควรจะขับรถไปเที่ยวงาน " แอ่วสันป่าตอง" ในช่วงตอนกลางวัน แล้วตอนเย็นไปต่องานรำลึกคุณจรัลที่จัดเพียงวันเดียว แต่จัดยาวนานไปจนถึงเวลา 22 - 00 น. แล้วอีกวันกลับไปเที่ยวงาน " แอ่วสันป่าตอง " อีกวัน ก็ครบทุกงานทุกวัน หรือจะเลือกไปงานสันป่าตองวันหนึ่ง งานรำลึกจรัลวันหนึ่งเพียงงานเดียว ก็ตามแต่สะดวกกันนะครับ...


ส่วนตัวผมนี่ หลังจากรับรางวัลแล้ว ค่อยว่ากันอีกที เพราะผมสังหรณ์ใจว่าตัวเอง คงจะถูกแวดล้อมและมะรุมมะตุ้มด้วยผู้สื่อข่าวที.วี.ทั้งวัน จนออกจากงานไม่ได้ ( ฮา ) เพราะสภาวัฒนธรรมเขาทำโปสเตอร์งานขนาดใหญ่มหึมา ติดตามแยกถนนยังกะงานเปิดตัวดารา เห็นรูปตัวเองแล้วตกใจ ว่าทำไมตัวเองถึงได้หล่อในยามสูงวัยได้ถึงเพียงนี้ - อ่ะจ๊าก !

 

ขอบคุณ พ่อหลวงศิลปิน รุ่งโรจน์ เปี่ยมยศศักดิ์ รองประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอสันป่าตอง คุณกฤตน ชัยแก้ว ฝ่ายประสานงาน สมาคมดนตรีแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดเชียงใหม่ ที่ส่งข่าวและรายละเอียดของงานมาให้ประชาสัมพันธ์

 


 

ท่านผู้ใดที่เดินทางแวะเวียนผ่านอำเภอสันป่าตอง ในช่วงวันเวลานี้ ถ้าสนใจของดีจากอำเภอสันป่าตอง ที่สภาวัฒนธรรมนำมาเสนอ เชิญแวะเข้าไปชมงานนี้ได้เลยนะครับ
 

31 สิงหาคม 2552
กระท่อมทุ่งเสี้ยว เชียงใหม่

 

 

บล็อกของ ถนอม ไชยวงษ์แก้ว

ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
    เมื่อยังมีชีวิต จงหายใจเข้าไว้ หายใจแรงๆ และหายใจอย่างสดชื่น เพราะภาระหน้าที่ของชีวิตคือการมีชีวิต ชีวิตที่กระปรี้กระเปร่า และถ้าเป็นไปได้ควรต้องรื่นรมย์กับชีวิต บาปอันยิ่งใหญ่ของมนุษย์ (บางทีสำหรับสิ่งมีชีวิตทั้งปวง) คือการปฏิเสธชีวิต   การมีชีวิต
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
    ฉันเป็นเท่าที่ฉันเป็น ฉันทำเท่าที่ฉันหวัง ฉันหวังเท่าที่ฉันเห็น ฉันง่ายฉันงามฉันแจ่มชัด ฉันเชื่อหนึ่งมากกว่าร้อย ฉันเชื่อคนมากกว่าลัทธิ ฉันเชื่อดินมากกว่าฟ้า ฉันเชื่อต้นหญ้ามากกว่าขุนเขา ฉันเชื่อสวนหลังบ้านมากกว่าป่าหิมพานต์ ฉันเชื่อวันนี้มากกว่าวันวาน ฉันง่ายฉันงามฉันแจ่มชัด ฉันไม่เชื่ออำนาจรัฐจากกระบอกปืน   ฉันเป็นเท่าที่ฉันเป็น.  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  อิสรภาพ   ฉันต้องการอิสรภาพ ที่จะได้เห็น ที่จะได้ยิน ในสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  เป็นที่ทราบกันดีว่า กฎหมายอาญามาตรา 112 เป็นกฎหมายที่สร้างความทุกข์สาหัสให้แก่ผู้ที่ถูกกล่าวหาว่า “หมิ่นสถาบัน” มามากมายหลายคน เพราะกฎหมายนี้ถูกตราขึ้นมาอย่างกว้างๆไม่ระบุขอบข่ายความผิดให้ชัดเจน รวมทั้งกระบวนการจับกุม สอบสวน ดำเนินคดี ก็มิได้เป็นไปตามปกติทั่วไป มิหนำซ้ำการตีความบังคับใช้มาตรานี้ ว่ากันว่า เจ้าหน้าที่สามารถตีความใช้ได้อย่างกว้างขวาง และนักการเมืองมักจะใช้เป็นเครื่องมือในการทำลายฝ่ายตรงกันข้ามอยู่เสมอ และผู้ต้องคดีนี้นอกจากจะติดคุกติดตะรางแล้ว ยังถูกซ้ำเติมจากสังคมที่จงรักภักดีต่อสถาบันอย่างรุนแรง    
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
    คือแม่น้ำและขุนเขาอันขรึมขลัง คือพลังคีตกานท์อันหวานไหว คือหนึ่งจิตวิญญาณล้านนาไทย คือดอกไม้สวยสะคราญบานนิรันดร์  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  ย้อนกลับไปทบทวนดู คำประกาศหลังจากรับพระราชทานโปรดเกล้าฯของคุณยิ่งลักษณ์ตอนหนึ่งที่กล่าวว่า “อุปสรรคข้างหน้ายังรอเราอยู่มาก ทั้งที่ควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ แต่ทั้งหมดมิใช่อุปสรรคขวางกั้นมิให้ทำงาน พร้อมที่จะอุทิศตัวด้วยความทุ่มเท เสียสละอดทน ทำงานแข่งกับเวลา ไม่เกรงต่อความลำบากใดๆ”
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
    แล้ว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย หมายเลข 1 ก็ได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 28 และ เป็นนายกหญิงคนแรกในประวัติศาสตร์การเมืองของเมืองไทย และเป็นคนที่ 52 ของโลก อย่างสมบูรณ์ โดยได้รับการโหวตเสียงจากที่ประชุมสภาฯ เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2554 ด้วยคะแนนเสียงเห็นด้วย 296 เสียง ไม่เห็นด้วย 3 เสียง และงดออกเสียง 197 เสียง ก่อนจะได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ในวันที่ 8 สิงหาคม 2554 เวลา 18.40 น. ณ บริเวณตึกชั้น 7 ที่ทำงานพรรคเพื่อไทย ท่ามกลางความยินดีของคนจำนวนมากมาย ที่สนับสนุนคุณยิ่งลักษณ์และพรรคเพื่อไทย  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
    คราวที่แล้ว ผมนำเรื่อง “คนดีของคนเมือง และ คนดีของชนบท” ที่แตกต่างกัน จากบทสัมภาษณ์ที่ชื่อว่า “ความคาดหวังและความจริงของประชาธิปไตยแบบไทยๆ” ของ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ซึ่งให้สัมภาษณ์ลงนิตยสารสารคดี ฉบับเดือนตุลาคม 2543 ผมคิดว่าจะหยุดเพียงแค่นั้น แต่ก็หยุดไม่ได้ เพราะพบว่ายังมีประเด็นที่ผมคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้อ่านอีกสองประเด็น ที่ยังเป็นเรื่องราวที่ยังดำรงอยู่ในปี 2544 และต่อไปอีกนานเท่าไหร่ ก็คงไม่มีใครรู้ เพราะมันเป็นรื่องของอนาคต  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
      ผมมักจะได้ยิน ผู้คนและสื่อต่างๆเกี่ยวกับการเมือง มักจะพูดกันให้ได้ยินอยู่เสมอว่า “คนชนบทเป็นคนเลือกตั้งรัฐบาล คนเมืองเป็นคนล้ม” ซึ่งดูเหมือนจะเป็นความจริงมาโดยตลอด แต่ก็ไม่มีใครให้คำอธิบายที่ฟังดู สมเหตุสมผลและชอบธรรม ให้ฟัง ว่าทำไมคนเมืองที่หมายถึงคนชั้นกลาง จึงไม่ชอบรัฐบาลที่ได้มาจากเสียงส่วนใหญ่ที่เป็นคนชนบทในประเทศ และช่วยกันล้มรัฐบาลที่เขาเลือกตามกติกา 
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
      ถึงแม้ คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะได้รับการรับรองจาก กกต. ให้หลุดพ้นจากข้อหาไปช่วยขบวนแห่ที่เชียงราย ให้พ้นจากข่ายความผิดด้วยมติ 5 ต่อ 0 ท่ามกลางความโล่งอกของใครต่อใครมากมายหลายคน ที่ว่ากันว่า เป็นเพราะโพลเสียงจากประชาชน 80 เปอร์เซ็นต์ ต้องการคุณยิ่งลักษณ์นายกฯ (รวมทั้ง นปช.) เป็นกระแสกดดัน กกต. หรือเพราะเหตุใดก็ช่างเถิด แต่เราก็สามารถฟันธงกันได้เลยว่า อีกไม่นาน เราจะต้องได้นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศอย่างแน่นอน 
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
      ผมไม่แน่ใจว่า ก่อนที่คุณยิ่งลักษณ์ ว่าที่นายกฯ ยิ่งลักษณ์ คนสวย และกลุ่มมันสมองของพรรคเพื่อไทยจะชูนโยบายประชานิยม เพิ่มค่าแรงงานขั้นต่ำให้กรรมกรผู้ใช้แรงงานจาก 221 บาท เป็น 300 บาท และเพิ่มเงินเดือนให้แก่ผู้จบปริญญาตรีที่เริ่มเข้าบรรจุงานจาก 11,028 บาท เป็น 15,000 บาท
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผมกำลังจะชวนใครต่อใคร เข้ามาคุยเรื่องปัญหาที่รัฐบาลใหม่จะต้องเข้ามาสะสางและแก้ไข จากข้อมูลของนักวิเคราะห์การเมืองท่านหนึ่งที่รวบรวมและชี้แนะเอาไว้ล่วงหน้าแก่รัฐบาลของคุณยิ่งลักษณ์เอาไว้