Skip to main content


ผมเกาะติดสถานการณ์
การชุมนุมเรียกร้องของมวลชนคนเสื้อแดง ที่พยายามกดดันเรียกร้องให้รัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยุบสภา ตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 53 เรื่อยมาจนถึงวันนี้ (24 มีนา 53) ซึ่งทีแรก หลังจากที่รัฐบาลถูกราดเลือดตอบโต้คำปฏิเสธแล้ว ต่างฝ่ายต่างมีทีท่าว่า จะหันหน้ามาเจรจาตกลงกันด้วยสันติ แต่พอเอาเข้าจริงๆก็ล้มเหลว เพราะต่างฝ่ายต่างก็ไม่สามารถจะยอมรับกันได้ ด้วยเหตุผลที่เป็นหลักใหญ่ที่ขัดแย้งอย่างสุดๆ


นั่นคือ
ทางฝ่าย เสื้อแดง พยายามเหลือเกินที่จะให้รัฐบาลนี้ ยุบสภา ให้จงได้ แม้ด้วยการเจรจากัน เพื่อผ่อนคลายวิกฤต ก็ต้องได้ด้วยเป้าหมายนี้เพียงประการเดียวเท่านั้น แถมยังตั้งเงื่อนไขเอาไว้ด้วยว่า จะยอมรับการเจรจานี้กับท่านนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เพียงคนเดียวเท่านั้น คนอื่นไม่เอา ในขณะเดียวกันทางฝ่าย รัฐบาล ก็พยายามบ่ายเบี่ยงด้วยเหตุผลต่างๆนาๆที่จะไม่ยุบสภาอย่างแข็งขันเช่นกัน และทำท่าว่าจะยืดเยื้อทรมานทรกรรมกันไปอีกนาน... (รวมทั้งคนกรุงเทพฯที่ได้รับผลกระทบโดยตรงด้วย)

ผ่านมาจนถึงวันนี้
ก็เลยไม่รู้ว่าความขัดแย้งทางการเมือง ที่มีคนเสื้อแดงแห่แหนทยอยกันกันเข้าไปกดดันรัฐบาลด้วยจำนวนตัวเลขนับเป็นแสน และด้วยยุทธวิธีที่รัฐบาลจะดูแคลน (เหมือนตอนแรก) ไม่ได้อย่างเด็ดขาด หลังจากพวกเขาทำท่าว่าจะเพลี่ยงพล้ำ - จากการใช้เลือดตัวเองที่เจาะรวมกันไปเทที่ประตูอาคารรัฐสภาและบ้านท่านนายกรัฐมนตรี

แล้วถูกฝ่ายรัฐบาลดิสเครดิสในทางจริยธรรมอย่างได้ผล...

ซึ่งก็ควรเป็นเช่นนั้น เพราะแม้แต่คนที่ไม่เลือกข้าง หรือแม้แต่คนที่เอาใจช่วยคนเสื้อแดง เขาก็ไม่เห็นด้วย เพราะคำว่าเลือด เมื่อถูกนำมาวางไว้ในบริบทของการต่อสู้ ไม่ว่าจะเป็นการต่อสู้ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ เทพกับเทพ หรือแม้กระทั่งระหว่างสัตว์กับสัตว์ คนทั่วไปย่อมเข้าใจว่า มันเป็นสัญลักษณ์ที่เป็นสากลของความรุนแรง ความน่าสะพรึงกลัว และความตาย นั่นเอง...

มาถึงตรงนี้
ผมไม่ค่อยสนใจเสียแล้ว ว่าความขัดแย้งนี้จะผ่อนคลายลงหรือรุนแรงขึ้นอย่างไร แต่ผมกลับมาสนใจประเด็นที่ว่า

ยุบสภาแล้วจะมีอะไรเกิดขึ้น
ทำไมคนเสื้อแดงจึงต้องการจะยุบสภาให้จงได้
และ
ทำไมรัฐบาลนี้จึงหวงแหนและหวาดกลัวเหลือเกินที่จะต้องยุบสภา
ทั้งๆที่ทันทีที่คุณ อภิสิทธ์ เวชชาชีวะ ประกาศยุบสภา
มวลชนคนเสื้อแดงก็จะพากันสลายตัวถอยทัพกลับบ้าน
ในทันทีทันใด...

ผมพยายามหาคำตอบ
นอกเหนือจากที่ตัวเองคิดเอาไว้ และก็ได้รับคำตอบที่น่าพอใจระดับหนึ่ง จากบทความในเชิงเคราะห์วิจารณ์ของ "เห่าดง" ในกรอบคอลัมน์ "กล้าได้กล้าเสีย" หน้า 6 ของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐฉบับวันที่ 23 มีนา 53 ที่ชื่อว่า "กติกาที่เป็นกลาง" ซึ่งนอกจากผู้เขียนจะให้คำตอบที่ผมสงสัย เขายังเสนอทางออกที่น่าสนใจเอาไว้ด้วย ผมจึงขอนำบทความนี้มาลงที่นี่ และขออนุญาต เห่าดง เจ้าของบทความด้วยคาราวะ ณ ที่นี้ ด้วยนะครับ เผื่อท่านที่ไม่รู้และอยากรู้เช่นผม ว่าการ "ยุบสภา" หรือ "ไม่ยุบสภา" มันสำคัญอะไรหนักหนา เขาถึงยอมกันไม่ได้ จะได้คลายความสงสัยกันลงบ้าง ดังนี้ :

กติกาที่เป็นกลาง
"เห่าดง"
เชื่อว่าตอนนี้
ทุกคนคงอยากรู้ว่า ถ้ารัฐบาลอภิสิทธิ์ยุบสภาแล้ว จะเป็นอย่างไรต่อไป สำหรับผมแล้ว มีความเชื่อมาตลอดว่า เหตุการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นแต่ละยุคแต่ละสมัยนั้น แม้โดยหลักแล้วจะคล้ายๆกัน ไม่มีอะไรแตกต่าง แต่องค์ประกอบและรายละเอียดส่วนใหญ่จะไม่เหมือนกันโดยเด็ดขาด ยกตัวอย่างเช่น การยุบสภา ซึ่งโดยหลักแล้วเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า บนเส้นทางของการพัฒนาประชาธิปไตยเมืองไทย แต่องค์ประกอบและเนื้อหาในการยุบสภาแต่ละครั้ง กลับแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

จำได้ว่า
สมัยที่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกฯล้วประกาศยุบสภา สถานการณ์ตอนนั้นก็ต่างจากตอนนี้ลิบลับ เพราะการยุบสภาของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป้าหมายก็เพื่อจะใช้การเลือกตั้งตัดสินปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง แต่ปรากฏว่าพรรคการเมืองบางพรรคในสภาฯ รวมถึงกลุ่มคนที่ชอบอวดอ้างประชาธิปไตยกลับไม่ยอมรับผลเลือกตั้ง เนื่องจากฝ่ายของตัวเองพ่ายแพ้ยับเยินนั่นเอง

หลังจากนั้น
ก็มีการยุบสภาตามวิถีทางประชาธิปไตย รวมถึงการโละสภาฯด้วยอำนาจปฏิวัติ แต่ปรากฏว่าผลเลือกตั้งก็ออกมาเหมือนเดิม พรรคการเมืองที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หนุนหลังมักได้รับชัยชนะมาตลอด แม้กระทั่งทุกวันนี้ หากมีการยุบสภา ผมก็เชื่อว่า พรรคเพื่อไทยที่ พ.ต.ท.ทักษิณหนุนหลัง ก็จะชนะเลือกตั้งอยู่ดี

และสิ่งแรก
ที่พรรคเพื่อไทยจะทำ หลังจากได้รับอำนาจจากประชาชนก็คือ นำ พ.ต.ท.ทักษิณกลับประเทศ ไม่ว่าจะต้องแก้กฎหมายกี่ฉบับ เพื่อนำไปสู่การนิรโทษกรรม ลบล้างคดีทุกคดี รวมไปถึงกรณียึดทรัพย์หลายหมื่นล้าน พรรคเพื่อไทยหรือรัฐบาลชุดใหม่ ก็จะทำโดยไม่ช้า

ถึงตอนนั้น ม็อบฝ่ายตรงกันข้ามกับรัฐบาลเพื่อไทย คงออกมาเต็มถนน
ถ้ารัฐบาลเพื่อไทย
สั่งให้ตำรวจปราบม็อบอย่างรุนแรงจนเกิดการนองเลือด ทหารก็จะปฏิวัติ เพื่อขับไล่รัฐบาลมือเปื้อนเลือด ขณะเดียวกันม็อบเสื้อแดงที่มีการจัดตั้งค่อนข้างแข็ง ก็จะออกมาสู้กับทหารอย่างรุนแรง ผมไม่รู้ว่าจะถึงขั้นนองเลือดหรือไม่ แต่เชื่อว่าคงต้องดุเดือดแน่นอน

นี่คือ

เหตุการณ์ตามความคาดการณ์ของผม ฉะนั้น คำถามก็คือ ก่อนที่เหตุการณ์เลวร้ายทั้งหมดจะเกิดขึ้น เราทุกคน ผมหมายถึงคนไทยทุกคนที่มีจิตใจรักบ้านเกิดเมืองนอนของตัวเอง ควรระดมสมองกัน เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาตั้งแต่วันนี้ได้หรือยัง

คิดอ่านกันเสียตั้งแต่วันนี้เถิดครับ ก่อนทุกอย่างจะสายไป
ตามความเห็นของผม ก่อนที่จะยุบสภา ซึ่งรัฐบาลอภิสิทธิ์คงหลีกเลี่ยงไม่ได้อย่างแน่นอน ควรทำอะไรสักอย่างก่อนที่จะเปิดเวทีหาเสียงให้มีการเลือกตั้งทั่วไป เช่น เงื่อนไขการออกกฎหมายเกี่ยวกับการนิรโทษกรรมให้ยากขึ้น หรือการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ต้องให้เริ่มจากการทำประชามติและจบลงด้วยการทำประชามติ

สรุปก็คือ
ท่ามกลางวิกฤตการณ์การแตกแยกทางการเมืองในปัจจุบัน ต้องกำหนดกติกาให้เป็นกลางมากที่สุด โดยเฉพาะฝ่ายบริหารในปัจจุบัน ต้องไม่สามารถใช้อำนาจอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเหมือนเมื่อก่อน เนื่องจากสถานการณ์บ้านเมืองได้เปลี่ยนไปจากเดิม หากปล่อยให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งใช้อำนาจอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด จะทำให้ความขัดแย้งลุกลามบานปลาย ขยายตัวไปสู่ความรุนแรง เนื่องจากอีกฝ่ายจะไม่พอใจ และจะทำทุกอย่างเพื่อหยุดยั้งฝ่ายตรงกันข้าม

ผมขอเตือนว่า
ฝ่ายการเมือง หรือฝ่ายรัฐสภาต้องรีบแก้กติกาให้เกิดความสมดุลโดยเร็วที่สุด ไม่เช่นนั้นอำนาจนอกระบบจะยื่นมือเข้ามาทำแน่นอน เพื่อรักษาบ้านเมืองเอาไว้ไม่ให้พินาศฉิบหายไป เพราะความแตกแยกที่อาจนำไปสู่ภาวะนองเลือดในแผ่นดินไทย.

หมายเหตุ ; ท่านผู้ใดมีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความนี้ เชิญแสดงความคิดเห็นกันมาเลยนะครับ เพื่อที่เราจะได้ข้อเท็จจริงที่แท้จริงชัดเจนยิ่งขึ้น รวมทั้งมุมมองที่เป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายร่วมกัน ขอได้รับความขอบคุณและความปลอดภัยด้วยกันทุกท่านนะครับ สวัสดี - ถนอม ไชยวงษ์แก้ว

24 มีนาคม 2553
กระท่อมทุ่งเสี้ยว เชียงใหม่

 

 

บล็อกของ ถนอม ไชยวงษ์แก้ว

ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ชีวิตเอย เหตุใดเล่า เจ้าจึงเศร้าโศกเสียใจร้องไห้คร่ำครวญ ให้กับบางสิ่งที่เจ้าได้สูญเสียมันไป เหมือนนมที่หกออกจากแก้วไปแล้ว...ตกลงบนพื้นดิน วันแล้ววันเล่า ไม่รู้จักจบสิ้น  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
12 เมษายน 2545 วันครบรอบวันเกิด...ที่แสนจะเจ็บปวด ขณะนั่งรถจักรยานยนต์ออกตรวจพื้นที่กับคู่หู ขับรถผ่านไปทางบ้านพ่อแม่ผู้พัน นายเก่าที่มาหยิบยืมเงินเราแล้วไม่ยอมใช้คืน เมื่อสองสามปีที่แล้ว พอเจอหน้า จอดรถจะเข้าไปถาม นายกลับรีบเดินหนี อนิจจา ! นายเอ๋ยนาย...ดอกไม่ต้องขอเพียงแค่ต้นคืนได้ไหม...
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  7   ครับ รายละเอียดเรื่องราวของเขา ที่ผมอยากรู้อยากเห็นเหลือเกิน เริ่มปรากฏอยู่ในบันทึกหน้านี้นี่เอง และเมื่อหยิบหน้าคอลัมน์ “ศาลาคลายร้อน” ที่เขาถ่ายสำเนาจากหนังสือนิตยสาร “ชีวิตรัก” มาให้ผม ซึ่งเป็นหน้า คอลัมน์ - ในช่วงที่เขาได้แบกเป้ออกไปตะลอนทัวร์ ช่วยคุณวนัสนันท์ ตามที่เขาตั้งปณิธานเอาไว้ออกมาอ่าน เพื่อทำความรู้จักทั้งคอลัมน์และตัวตนของคุณวนัสนันท์ ที่นำมือแห่งความเมตตาของคุณวรรณและคุณแขคนไทยในต่างประเทศ มาฉุดเขาขึ้นมาตจากขุมนรกอันลึกล้ำดำมืดแห่งหนี้สิน และมือแห่งความเมตตาอีกมากมายที่หลั่งไหลติดตามมา... ผมพบว่าคอลัมน์ “ศาลาคลายร้อน” ของคุณวนัสนันท์…
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
6 หลังจากงานศพของพ่อแล้ว เขาก็เริ่มตกเข้าไปอยู่ในวังวน - ของการหมกมุ่นครุ่นคิด...เป็นทุกข์อยู่กับหนี้สินอีก และพยายามต่อสู้กับตัวเองอย่างถึงที่สุด ระหว่างการคิดทำลายตัวเองตามพ่อไป เพื่อหนีความทุกข์ปัญหาอันหนักหนาสาหัส และการพยายามคิดหาเหตุผลต่างๆนานาที่จะมีชีวิตอยู่อีกต่อไป...
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
30 ตุลาคม 2539 วันนี้ นายเรียกข้าราชการตำรวจทั้งโรงพักมาประชุม เพื่อร่ำลาไปรับตำแหน่งใหม่ เห็นพวงมาลัย...ที่นายดาบหัวหน้าสายแต่ละสาย เตรียมมาให้นายแล้ว ได้แต่นึกเสียดาย... ท่านมากอบโกย...แล้วก็ไป
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  3. เขากลับกรุงเทพฯไปได้หนึ่งอาทิตย์กว่าๆ ผมก็ได้รับกล่องพัสดุขนาดใหญ่ หนักเกือบสองกิโลกรัมจากเขา เมื่อแกะกล่องออกมา ผมก็พบแฟ้มเก็บต้นฉบับที่เขาถ่ายสำเนามาจากหน้าคอลัมน์ “สะพานบุญ” ที่เขาเคยเขียนในนิตยสาร “ย้อนรอยกรรม”และ จากหน้าคอลัมน์ “ศาลาแรงบุญ” ในนิตยสาร “แรงบุญแรงกรรม” ที่เขาเขียนอยู่ในปัจจุบัน นับรวมกันได้ 60 กว่าเรื่อง หนาประมาณ 200 กว่าหน้ากระดาษ A4 รวมทั้งสำเนาต้นฉบับที่เขาถ่ายจากหน้าคอลัมน์ “ศาลาคลายร้อน” ของคุณวนัสนันท์ จากหนังสือ “ ชีวิตรัก” 15 แผ่น และจากกรอบหน้าคอลัมน์หนังสือพิมพ์รายวันที่เขียนยกย่องชื่นชมเขา 3 - 4 แผ่น
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
 1.  จินตวีร์ เกียงมี หรือที่มีชื่อเต็มยศว่า จ.ส.ต.จินตวีร์ เกียงมี ซึ่งปัจจุบันรับราชการตำรวจ ตำแหน่ง งานธุรการอำนวยการกองวิจัย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ  ที่ใครต่อใครต่างรู้จักกันทั่วไปทั้งประเทศ และเลื่องลือไปถึงเมืองนอกเมืองนาในวันนี้ ในฐานะ จ่าตำรวจใจบุญ ที่แบกเป้เที่ยวตะลอนๆ ไปช่วยเหลือคนที่กำลังตกทุกข์ได้ยาก แทบทุกหนทุกแห่งในประเทศ ที่ส่งเสียงร้องทุกข์โอดโอยมาให้เขาได้ยิน ซึ่งเราได้รับรู้เรื่องราวของเขาจากสื่อต่างๆ  ไม่ว่าจะเป็นสื่อทางวิทยุ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร อินเตอร์เน็ต ฯลฯ และที.วี.แทบทุกช่องที่นำเรื่องราวของเขา มาบอกเล่าแก่สาธารณะชน  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
 สมัยที่ผมยังทำงานเป็นนักดนตรีประจำร้าน สายหมอกกับดอกไม้ ของคุณอันยา โพธิวัฒน์ คู่ชีวิตของคุณจรัล มโนเพ็ชร ศิลปินผู้ยิ่งใหญ่แห่งล้านนา ผู้ล่วงลับไปแล้ว ก่อนจะออกมาทำงานเขียนและงานเกี่ยวกับหนังสืออย่างเต็มตัวในทุกวันนี้ ผมจำได้อย่างแม่นยำว่า ภายในร้านสายหมอกกับดอกไม้ นอกจากเฟอร์นิเจอร์และเครื่องประดับตกแต่งภายใน ที่ประกอบด้วย โต๊ะ เก้าอี้ ที่เป็นเครื่องไม้ ภาพเขียน รูปปั้น และ ข้าวของเครื่องใช้ ผลงานเพลงของคุณจรัลในตู้โชว์ ตลอดจนรูปภาพของคุณจรัลตามฝาผนังห้องในอิริยาบถต่างๆแล้ว ยังมีกระจกเงาเก่าแก่บานหนึ่ง กว้างประมาณ สองฟุต สูงท่วมหัว ประดับอยู่ตรงมุมห้องโถงด้านขวามือใกล้ๆกับเวทีเล่นดนตรี…
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  3 กันยายน 2552 ปีนี้ นอกจากจะเป็นวันรำลึกครบรอบการจากไปของ จรัล มโนเพ็ชร ศิลปินผู้ยิ่งใหญ่แห่งล้านนาแล้ว วันนี้ยังมาตรงกับวันจัดงาน " แอ่วสันป่าตอง " ซึ่งเป็นงานของโครงการย้อนยุคอำเภอสันป่าตอง ที่มีเป้าหมายที่จะแนะนำอำเภอสันป่าตองเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยมีสภาวัฒนธรรมอำเภอเป็นตัวหลักในการจัดงาน ร่วมกับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนอีกมากมายหลายองค์กร ฯลฯ
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  ก่อนอาทิตย์ตกในไร่ข้าวโพดสีส้มโชติโชนอยู่อีกครู่ใหญ่แผ่ร่มเงาความเวิ้งว้างกว้างออกไปอีกหนึ่งวันกลืนวันวัยในวันนี้
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  ฉันเอยฉันทลักษณ์ ยากยิ่งนักจะประดิษฐ์มาคิดเขียน เป็นบทกวีงามวิจิตรสนิทเนียน มิผิดเพี้ยนตามกำหนดแห่งกฎเกณฑ์
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
มิ่งมิตร เธอมีสิทธิ์ที่จะล่องแม่น้ำรื่น ที่จะบุกดงดำกลางค่ำคืน ที่จะชื่นใจหลายกับสายลม