Skip to main content

 

สองสามวันก่อน

ผมได้รับเมลจาก ขจรฤทธิ์ รักษา บรรณาธิการสำนักพิมพ์บ้านหนังสือ แจ้งข่าวการจัดงาน “33 ปี นักเขียนเรื่องป่า 60 ปี วัธนา บุญยัง นักเขียนเรื่องป่าเชิงอนุรักษ์ที่โด่งดังที่สุดในยุคปัจจุบัน ณ บ้านเขาชะเมา เขาชะเมาชาเลต์ (เฮลรีสอร์ต) อ.แก่งหางแมว จ.จันทบุรี ระหว่างวันที่ 28 - 29 สิงหาคม 2553

โดยงานนี้ เขามิได้เชื้อเชิญและต้อนรับเฉพาะนักเขียน นักอ่าน นักเดินป่า เท่านั้น แต่ยังเปิดกว้างเชื้อเชิญให้คนภายนอกโดยเฉพาะผู้ที่รักธรรมชาติเข้าไปร่วมงานด้วย ผมจึงขอนำรายละเอียดกำหนดการของงานมาเผยแพร่ เผื่อท่านที่สนใจงานนี้อยากจะไปร่วมงาน ดังนี้

 

วันเสาร์ที่ 28 สิงหาคม

ภาคบ่าย

15.00 น.

- เซ็นสมุดอวยพร แสดงมุทิตาจิต

- แจกหนังสือ 33 ปี นักเขียนเรื่องป่า 60 ปี วัธนา บุญยัง

- ขจรฤทธิ์ รักษา บรรณาธิการสำนักพิมพ์บ้านหนังสือ กล่าวต้อนรับผู้ร่วมงาน นักอ่าน นักเขียน นักเดินป่า และแขกผู้มีเกียรติ

16.00 น.

- สถาพร ศรีสัจจัง ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พ.ศ. 2548 กล่าวถึงเส้นทางบนถนนวรรณกรรมของ วัธนา บุญยัง

- ยงค์ ยโสธร .ในนามนักเขียนภาคตะวันออก กล่าวถึงการทำงานวรรณกรรมของกล่มนักเขียนภาคตะวันออก

- พระครูปลัด วีรธัมโม เจ้าอาวาสวัดป่าธรรมสุข อ.นายายอาม กล่าวถึงงานของ วัธนา บุญยัง

- ศิษย์เก่าจากดัดดรุณี กล่าวถึงอาจารย์วัธนา บุญยัง

17.00 น.

เชิญแขก ประกอบด้วยเพื่อน นักเขียนรุ่นน้อง นักอ่าน และนักเดินป่า กล่าวอวยพร

17.30 น.

วัธนา บุญยัง กล่าวถึงเส้นทางชีวิตที่ผ่านมา ตั้งแต่ 26 สิงหาคม 2493 จนถึงปัจจุบัน พร้อมขอบคุณผู้มาร่วมงาน

18.00 น.

รับประทานอาหารร่วมกัน

 

วันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม

ภาคเช้า

7.30 น.

อาหารเช้า กาแฟและข้าวต้ม

8.30 น.

เดินป่าชมธาร และเล่นน้ำตก

11.30 น.

- รับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน ก่อนจะแยกย้ายจากกัน

 

หมายเหตุ ; งานนี้ เจ้าภาพมีอาหารบริการสามมื้อ มีบ้านสองหลัง เต็นท์ 10 หลัง และลานกางเต็นท์ขึงเปลนอนได้ตามอัธยาศัย หรือท่านใดต้องการนอนในห้องพักรีสอร์ตเชิญติดต่อได้ที่ สำนักพิมพ์บ้านหนังสือ 02 - 5802- 978, 08 - 1940 - 7806

ครับ ขอให้งานนี้จงลุล่วงไปด้วยความอบอุ่น และขออวยพรล่วงหน้าให้คุณวัธนา บุญยัง จงมีพลังในการทำงานเขียนเรื่องป่าดีๆและสนุกสนานอย่างสม่ำเสมออีกต่อไป ตราบนานเท่านาน.

 

ครับ ก่อนจากกันอาทิตย์นี้

ผมขอนำเรื่องจากหนังสือ นิทานปรัชญาเต๋า ของ เสถียรพงษ์ วรรณปก ราชบัณฑิต เรื่อง โรคอรหันต์ ซึ่งเป็นเรื่องที่ผมชอบมากอีกเรื่องหนึ่งนอกจากเรื่องรัฐ ที่ผมนำมาเสนอในคราวที่แล้ว เพราะคำว่า อรหันต์ หรือ พระอรหันต์ นี่ เป็นคำที่ผมหรือใครๆที่อยู่ภายใต้ร่มเงาของพุทธศาสนา ต่างก็ได้ยินกันมาตั้งแต่เล็กแต่น้อย ไม่ว่าจะเป็นพุทธแท้ พุทธเทียม พุทธผี พุทธพราห์ม ฯลฯ

 

แต่ก็ไม่เคยมีใคร มาชี้ให้เราเห็นเป็นรูปธรรมที่เข้าใจได้ง่ายว่าบุคลที่บรรลุอรหันต์นั้นมีลักษณะและคุณสมบัติเช่นไร ผมเองก็ไม่เคยติดใจสงสัย ใครเขาว่า ฆราวาสคนโน้นคนนี้ พระองค์โน้นองค์นี้เป็นอรหันต์ เห็นเขาปฏิบัติดูดี เทศนาธรรมน่าเลื่อมใส ก็มักจะเชื่อตามๆเขาไป เพราะวัฒนธรรมทางบ้านเรา ไม่เอื้ออำนวยให้เราไปพิสูจน์ว่าใครเป็นอรหันต์ จริงหรือไม่จริง

 

เพราะอะไรๆที่คนไทยเราได้ปักใจเชื่อไปแล้ว ขืนใครสุ่มสี่สุ่มหาเข้าไปแตะต้อง เป็นต้องถูกศิษยานุศิษย์ของท่านรุมกินโต๊ะเอาจนเละนั่นแหละครับท่าน (ฮา) เพราะสังคมไทย ว่ากันว่า ยังไงๆก็ยังเป็นสังคมของความเชื่อ มากกว่าข้อเท็จจริงและเหตุผล ไม่ว่าจะเจริญทางเทคโนโลยีขนาดไหน แถมยังเป็นความเชื่อที่ไม่ต้องการให้ใครมาพิสูจน์ และบางทีงมงายถึงขนาดพระบางองค์หิ้วสีกามานอน เอาเด็กไปข่มขืนไม่รู้กี่คน จนถูกจับเข้าคุก ก็ยังอุตส่าห์มีศิษยานุศิษย์ติดตามไปฟังท่านเทศน์ และบริจาคเงินเป็นล้านๆถึงในเรือนจำ ดังที่เคยเป็นข่าวกันมาแล้ว...

 

แต่เมื่อได้อ่านเรื่องนี้แล้ว โดยไม่สงสัย โดยไม่เคยคิดจะตั้งคำถามมาก่อน ผมก็ได้แต่บอกแก่ตัวเองว่า เออ คนที่เป็นอรหันต์ น่าจะเป็นอย่างนี้แหละว่ะ โดยเฉพาะเมื่อผ่านการกลั่นกรองจากท่านอาจารย์เสถียรพงษ์ ราชบัณฑิตย์ ผู้ที่รอบรู้เชี่ยวชาญทางพุทธศาสนาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ที่ถือกันว่า เป็นแหล่งความรู้ทางพุทธศาสนาที่ถูกต้องและดีที่สุดในโลก ย่อมเป็นเรื่องที่น่าเชื่อถือเป็นอย่างยิ่ง เชิญท่านอ่านเรื่องโรคอรหันต์ เพื่อเก็บไปเป็นข้อคิดดีๆให้แก่ชีวิตกันได้เลยนะครับ

 

โรคอรหันต์

เสถียรพงษ์ วรรณปก

 

หลุงชู พูดกับหมอ เหวินฉี ว่า

ผมรู้สึกไม่ค่อยสบาย คุณช่วยรักษาให้หน่อย

ได้ ไหนบอกมาซิมีอาการอย่างไร

ผมไม่รู้ว่าเป็นอะไร เวลาได้ยินคนอื่นเขาสรรเสริญเยิรยอ ไม่รู้สึกดีใจหรือเป็นเกียรติแต่อย่างใด เวลาได้ยินเขาติฉินนินทาก็ไม่รู้สึกเสียใจ ผมมองชีวิตเหมือนความตาย ความรวยเหมือนความจน คนเหมือนหมู มองตัวเองเหมือนคนอื่น รู้สึกว่าบ้านของผมเหมือนโรงเตี๊ยมที่เช่าเขาอยู่ มองออกไปข้างนอกบ้าน เห็นบ้านข้างเคียงแปลกหูแปลกตาไปหมด ยศเสื่อมยศ ลาภเสื่อมลาภ ความเจริญ ความเสื่อม คุณ โทษ สุข ทุกข์ ไม่มีอิทธิพลเหนือจิตใจผม ตั้งแต่ผมป่วยเป็นโรคประหลาดนี้ ผมไม่สามารถทำหน้าที่ทางโลกได้เหมือนคนอื่น ไม่ว่าจะเป็นงานราชการรับใช้เจ้านาย ปฏิบัติตนต่อเพื่อนและญาติพี่น้อง แม้กระทั่งลูกเมียและคนใช้ โรคของผมมีทางรักษาหายไหม

 

หมอเหวินฉี

บอกให้หลุงชีหันหลังให้แสงสว่าง เขาถอยหลังไปสองสามก้าว ยืนเพ่งอยู่พักหนึ่งแล้วกล่าวว่า

ผมมองเห็นหัวใจของคุณแล้ว เนื้อที่ประมาณตะรางนิ้วหนึ่งนี้ว่างเปล่า ในหัวใจของคุณมีรูอยู่ 6 รูทะลุถึงกัน แต่รูหนึ่งอุดตัน อาจเป็นเพราะอย่างนี้ก็ได้ คุณสมบัติของการเป็นอรหันต์ที่คุณมี คุณกลับเข้าใจว่าเป็นความป่วยไข้ วิชาแพทย์อันคับแคบของผมไม่สามรถรักษาได้หรอก

 

21 กรกฎาคม 2553

กระท่อมทุ่งเสี้ยว เชียงใหม่    

 

 

บล็อกของ ถนอม ไชยวงษ์แก้ว

ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
    เมื่อยังมีชีวิต จงหายใจเข้าไว้ หายใจแรงๆ และหายใจอย่างสดชื่น เพราะภาระหน้าที่ของชีวิตคือการมีชีวิต ชีวิตที่กระปรี้กระเปร่า และถ้าเป็นไปได้ควรต้องรื่นรมย์กับชีวิต บาปอันยิ่งใหญ่ของมนุษย์ (บางทีสำหรับสิ่งมีชีวิตทั้งปวง) คือการปฏิเสธชีวิต   การมีชีวิต
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
    ฉันเป็นเท่าที่ฉันเป็น ฉันทำเท่าที่ฉันหวัง ฉันหวังเท่าที่ฉันเห็น ฉันง่ายฉันงามฉันแจ่มชัด ฉันเชื่อหนึ่งมากกว่าร้อย ฉันเชื่อคนมากกว่าลัทธิ ฉันเชื่อดินมากกว่าฟ้า ฉันเชื่อต้นหญ้ามากกว่าขุนเขา ฉันเชื่อสวนหลังบ้านมากกว่าป่าหิมพานต์ ฉันเชื่อวันนี้มากกว่าวันวาน ฉันง่ายฉันงามฉันแจ่มชัด ฉันไม่เชื่ออำนาจรัฐจากกระบอกปืน   ฉันเป็นเท่าที่ฉันเป็น.  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  อิสรภาพ   ฉันต้องการอิสรภาพ ที่จะได้เห็น ที่จะได้ยิน ในสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  เป็นที่ทราบกันดีว่า กฎหมายอาญามาตรา 112 เป็นกฎหมายที่สร้างความทุกข์สาหัสให้แก่ผู้ที่ถูกกล่าวหาว่า “หมิ่นสถาบัน” มามากมายหลายคน เพราะกฎหมายนี้ถูกตราขึ้นมาอย่างกว้างๆไม่ระบุขอบข่ายความผิดให้ชัดเจน รวมทั้งกระบวนการจับกุม สอบสวน ดำเนินคดี ก็มิได้เป็นไปตามปกติทั่วไป มิหนำซ้ำการตีความบังคับใช้มาตรานี้ ว่ากันว่า เจ้าหน้าที่สามารถตีความใช้ได้อย่างกว้างขวาง และนักการเมืองมักจะใช้เป็นเครื่องมือในการทำลายฝ่ายตรงกันข้ามอยู่เสมอ และผู้ต้องคดีนี้นอกจากจะติดคุกติดตะรางแล้ว ยังถูกซ้ำเติมจากสังคมที่จงรักภักดีต่อสถาบันอย่างรุนแรง    
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
    คือแม่น้ำและขุนเขาอันขรึมขลัง คือพลังคีตกานท์อันหวานไหว คือหนึ่งจิตวิญญาณล้านนาไทย คือดอกไม้สวยสะคราญบานนิรันดร์  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  ย้อนกลับไปทบทวนดู คำประกาศหลังจากรับพระราชทานโปรดเกล้าฯของคุณยิ่งลักษณ์ตอนหนึ่งที่กล่าวว่า “อุปสรรคข้างหน้ายังรอเราอยู่มาก ทั้งที่ควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ แต่ทั้งหมดมิใช่อุปสรรคขวางกั้นมิให้ทำงาน พร้อมที่จะอุทิศตัวด้วยความทุ่มเท เสียสละอดทน ทำงานแข่งกับเวลา ไม่เกรงต่อความลำบากใดๆ”
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
    แล้ว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย หมายเลข 1 ก็ได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 28 และ เป็นนายกหญิงคนแรกในประวัติศาสตร์การเมืองของเมืองไทย และเป็นคนที่ 52 ของโลก อย่างสมบูรณ์ โดยได้รับการโหวตเสียงจากที่ประชุมสภาฯ เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2554 ด้วยคะแนนเสียงเห็นด้วย 296 เสียง ไม่เห็นด้วย 3 เสียง และงดออกเสียง 197 เสียง ก่อนจะได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ในวันที่ 8 สิงหาคม 2554 เวลา 18.40 น. ณ บริเวณตึกชั้น 7 ที่ทำงานพรรคเพื่อไทย ท่ามกลางความยินดีของคนจำนวนมากมาย ที่สนับสนุนคุณยิ่งลักษณ์และพรรคเพื่อไทย  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
    คราวที่แล้ว ผมนำเรื่อง “คนดีของคนเมือง และ คนดีของชนบท” ที่แตกต่างกัน จากบทสัมภาษณ์ที่ชื่อว่า “ความคาดหวังและความจริงของประชาธิปไตยแบบไทยๆ” ของ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ซึ่งให้สัมภาษณ์ลงนิตยสารสารคดี ฉบับเดือนตุลาคม 2543 ผมคิดว่าจะหยุดเพียงแค่นั้น แต่ก็หยุดไม่ได้ เพราะพบว่ายังมีประเด็นที่ผมคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้อ่านอีกสองประเด็น ที่ยังเป็นเรื่องราวที่ยังดำรงอยู่ในปี 2544 และต่อไปอีกนานเท่าไหร่ ก็คงไม่มีใครรู้ เพราะมันเป็นรื่องของอนาคต  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
      ผมมักจะได้ยิน ผู้คนและสื่อต่างๆเกี่ยวกับการเมือง มักจะพูดกันให้ได้ยินอยู่เสมอว่า “คนชนบทเป็นคนเลือกตั้งรัฐบาล คนเมืองเป็นคนล้ม” ซึ่งดูเหมือนจะเป็นความจริงมาโดยตลอด แต่ก็ไม่มีใครให้คำอธิบายที่ฟังดู สมเหตุสมผลและชอบธรรม ให้ฟัง ว่าทำไมคนเมืองที่หมายถึงคนชั้นกลาง จึงไม่ชอบรัฐบาลที่ได้มาจากเสียงส่วนใหญ่ที่เป็นคนชนบทในประเทศ และช่วยกันล้มรัฐบาลที่เขาเลือกตามกติกา 
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
      ถึงแม้ คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะได้รับการรับรองจาก กกต. ให้หลุดพ้นจากข้อหาไปช่วยขบวนแห่ที่เชียงราย ให้พ้นจากข่ายความผิดด้วยมติ 5 ต่อ 0 ท่ามกลางความโล่งอกของใครต่อใครมากมายหลายคน ที่ว่ากันว่า เป็นเพราะโพลเสียงจากประชาชน 80 เปอร์เซ็นต์ ต้องการคุณยิ่งลักษณ์นายกฯ (รวมทั้ง นปช.) เป็นกระแสกดดัน กกต. หรือเพราะเหตุใดก็ช่างเถิด แต่เราก็สามารถฟันธงกันได้เลยว่า อีกไม่นาน เราจะต้องได้นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศอย่างแน่นอน 
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
      ผมไม่แน่ใจว่า ก่อนที่คุณยิ่งลักษณ์ ว่าที่นายกฯ ยิ่งลักษณ์ คนสวย และกลุ่มมันสมองของพรรคเพื่อไทยจะชูนโยบายประชานิยม เพิ่มค่าแรงงานขั้นต่ำให้กรรมกรผู้ใช้แรงงานจาก 221 บาท เป็น 300 บาท และเพิ่มเงินเดือนให้แก่ผู้จบปริญญาตรีที่เริ่มเข้าบรรจุงานจาก 11,028 บาท เป็น 15,000 บาท
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผมกำลังจะชวนใครต่อใคร เข้ามาคุยเรื่องปัญหาที่รัฐบาลใหม่จะต้องเข้ามาสะสางและแก้ไข จากข้อมูลของนักวิเคราะห์การเมืองท่านหนึ่งที่รวบรวมและชี้แนะเอาไว้ล่วงหน้าแก่รัฐบาลของคุณยิ่งลักษณ์เอาไว้