เมื่อพูดถึงคำว่า“เสรีภาพ”
คำ คำนี้ช่างมีพลังอย่างแปลกประหลาด ทำให้รู้สึกดึงดูดเย้ายวนใจสำหรับคนบางคน พอๆกับที่ก่อให้เกิดความรู้สึกหวาดกลัวกับคนบางคน ยิ่งไปกว่านั้นบางคนปรารถนาเสรีภาพ ในขณะเดียวกันก็รู้สึกหวาดหวั่นอยู่ลึกๆ เรียกร้องอยากจะได้มา และก็กลัวที่จะได้มันมาจริงๆ
ความรู้สึกนานาประการนี้
ย่อม เกิดจากการเข้าถึงเสรีภาพ จากแง่มุมและความหมายต่างๆกัน ผู้ที่ไม่เคยมีย่อมหวาดกลัว ผู้มีแล้วแต่ไม่เข้าใจยิ่งหวาดกลัวกว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมา มนุษย์เคยชินกับการถูกบังคับให้ทำตามกฎเกณฑ์ต่างๆ และมักมองเสรีภาพไปในความหมายด้านตรงกันข้ามกับกฎเกณฑ์เหล่านั้น คนส่วนมากมักจะมองหาขอบเขตของมันไม่พบ และคิดเอาเองว่า เสรีภาพน่าจะเป็นอย่างโน้นอย่างนี้ ในขณะที่ตัวเองก็ไม่กล้าที่จะออกจากกฎเกณฑ์เก่าๆที่เคยชิน
เรากลัวเกินไป
ที่ จะเริ่มต้นทดลองสิ่งใหม่ๆ ดูเหมือนว่าการได้ยึดอะไรบางอย่างเป็นหลักไว้ ย่อมให้ความรู้สึกที่ปลอดภัยกว่า พวกเรายังติดอยู่กับความคิดชนิดที่ว่า
“อยู่กับสิ่งที่เลวน้อยที่สุด ดีกว่าเสี่ยงกับสิ่งที่ไม่รู้ว่า จะดีหรือเลว”
ความคิดเช่นนี้ ทำให้กระบวนการวิวัฒน์ทางสังคมและตัวเองหยุดนิ่ง เป็นพลังที่เฉื่อยชาและจำยอม
ชีวิตมนุษย์
น่า จะมีโอกาสได้ค้นหาและทดลองสิ่งใหม่ๆหรือไม่ หรือว่ากฎเกณฑ์แบบแผนข้อบังคับ และคำตอบสำเร็จรูป ได้ทดแทนให้รู้สึกอิ่มอกอิ่มใจพอแล้ว และถ้าเลือกเอาอย่างแรก ก็หมายความว่าเราได้เริ่มเรียนรู้สิ่งที่เรียกว่าเสรีภาพนี้ ต่างกันไกลจากความหมายเดิมๆที่เราเคยเข้าใจ จากบทเรียนบทต่อๆไป คงจะทำให้เข้าใจความหมายอันแท้จริงมากขึ้น
มีผู้สงสัยว่า
หาก มนุษย์มีอิสระในตัวเอง และเต็มไปด้วยเสรีภาพแล้ว หากปราศจากแบบแผนกฎเกณฑ์แล้ว สังคมจะอยู่ร่วมกันได้อย่างไร จะมิวุ่นวายไปหมดหรือ ต่อคำถามนี้ ตอบได้ง่ายๆว่า เสรีภาพมิได้หมายถึง การทำตามใจตัวเองอย่างสุดโต่ง และไม่ใช่การไร้แบบแผน เพราะเสรีภาพนั่นเองหมายถึงการมีวินัยอย่างสูงสุด ไม่ใช่จากกฎหมายของรัฐหรือกฎเกณฑ์ที่บังคับใช้ในสังคม...
หากเป็นวินัยในตัวเอง
ที่เกิดจากการพิจารณาไตร่ตรองด้วยวิจารญาณและจิตสำนึก กลายเป็นความรู้สึกรับผิดชอบโดยส่วนรวม และสำหรับคนที่มีสำนึกต่อส่วนรวม ย่อมรู้ว่าขอบเขตของการกระทำอยู่ตรงไหน ในกรณีนี้ แม้จะไม่มีกฎหมายบังคับ และไม่มีตำรวจเฝ้าดู... เขาก็ย่อมเลือก ที่จะทำและไม่ทำ อย่างมีเหตุผล และเต็มเปี่ยมไปด้วยจิตสำนึกเช่นนี้ การณ์ก็กลับเป็นตรงกันข้ามว่า เสรีภาพหมายถึงกฎเกณฑ์อันสูงสุด ที่มนุษย์ยินยอมรับอย่างมีศักดิ์ศรี ด้วยการใช้สติปัญญาและวิจารณญาณด้วยตนเอง
จะเห็นว่าความหมายในที่นี้
แตกต่างจากความหมายเก่าๆโดยสิ้นเชิง ความคิดและการกระทำของคนในสังคมอารยะนั้น เข้าถึงแง่มุมความเป็นจริงมากกว่าสังคมทาส ในสังคมใดๆจะเข้าถึงการอยู่ร่วมกันโดยสันติ และความดีงามโดยส่วนรวมไม่ได้เลย หากประชาชนปราศจากเสรีภาพ...
เราพบว่าเสรีภาพ
กับ ความรับผิดชอบต่อส่วนรวมเป็นสิ่งเดียวกัน ความเป็นตัวของตัวเองก็เช่นกัน ไม่ได้มีความหมายต่างไปจากนี้ คนเป็นอันมากกลัวที่จะเป็นตัวของตัวเอง และไม่กล้าพอที่จะอนุญาตให้คนอื่นเป็นด้วย ที่จริงไม่น่ากลัวเลย เพราะการเป็นตัวของตัวเองอย่างแท้จริงนั้น ย่อมหมายถึงการพัฒนาภายในของมนุษย์ในระดับสูงสุด คุณภาพภายในของปัจเจกชนนั่นเอง ที่จะเกื้อหนุนให้ส่วนรวมดำรงอยู่ได้ หากปราศจากสิ่งนี้
เชื่อแน่ว่าสังคมแบบแผนอันเส็งเคร็งนี้
จะต้องพังทลายลงสักวันหนึ่ง.
หมายเหตุ ; พจนา จันทรสันติ เป็นนักเขียนและนักแปล ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันมานานจากงานเขียนบทกวีอิสระที่ชื่อว่า “ขลุ่ยไม้ไผ่” และงานแปลของ กฤษณะ มูรติ ที่ชื่อว่า “แด่หนุ่มสาว” ที่ผมเข้าใจว่าคุณพจนาเป็นคนแรกที่นำงานของ กฤษณะมาเผยแพร่ และมีผู้แปลติดตามมาอีกมากมายหลายท่าน...
ภาพรวม ผลงาน ของ คุณพจนา ไม่ว่าจะเป็นงานเขียนเพียวๆของเขาหรือว่างานแปล เป็นงานเชิงศาสนา ปรัชญา และจิตวิทยา ซึ่งเขาก็ได้ยืนหยัดทำงานในแนวนี้มาโดยตลอด และผมเชื่อว่า นี่เป็นเป็นการยืนยันถึงการค้นพบตัวเองของเขาอย่างแน่ชัด...
โดยส่วนตัวผม ผมถือว่าคุณพจนาเป็นนักคิดทางจิตวิญญาณที่สำคัญคนหนึ่งของยุคสมัย งานของเขาเป็นงานที่อบอุ่นเช่นเดียวกับบุคลิกภาพของเขา ที่ใครเห็นแล้วก็รู้สึกปลอดภัย และอยากเข้าใกล้ เป็นงานที่อ่านแล้วก่อให้เราเกิดความรู้สึก...อยากจะพัฒนาความคิดจิตใจของ ตัวเอง โดยไม่ต้องมีใครมาบีบบังคับ และสามารถหยิบมาอ่านได้ทุกยุคทุกสมัย เพราะเป็นงานที่ขุดค้นเข้าไป ข้างในอันละเอียดอ่อนซับซ้อนของมนุษย์ ที่เขายังแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆในชีวิตจริงของคนเราด้วย ไม่ว่าจะเป็นงานเขียนหรืองานแปล ที่คุณพจนาทำออกมาอย่างประณีต มีเป้าหมายที่ชัดเจน และมีคุณูปการต่อผู้อ่านเป็นอย่างยิ่ง...
น่าแปลกใจ
ที่ องค์กรบางองค์กรของรัฐ ที่มอบรางวัลให้ผู้ทำงานดีเด่นเกี่ยวศาสนาทุกปี มักจะให้รางวัลแก่ผู้ที่ทำบุญทางวัตถุอย่างออกหน้าออกตาเป็นหลัก แต่ไม่ได้เหลียวแลคนที่ทำบุญทาง จิตวิญญาณ อย่างอย่างเงียบๆด้วยผลงานที่เป็น มวลอันมหึมา เช่นคุณพจนา คงเป็นเพราะว่าสังคมปัจจุบันของเราเป็นสังคมที่เน้นหนักไปทางวัตถุนิยม การให้คุณค่าสิ่งต่างๆจึงพลอยเน้นหนักไปในเรื่องวัตถุ ตามค่านิยมของสังคมไปจนหมด...
แม้แต่เรื่องศาสนา
ที่เป็นเรื่องของความคิดจิตใจ ที่ทางพุทธศาสนาของเราถือว่าเป็นเรื่องสำคัญถึงขนาดมีคำกล่าวว่า “จิตเป็นนายกายเป็นบ่าว” ก็ พากันหลงทางไปเน้นหนักในการเรื่องสร้างวัตถุ คนที่ทำงานถูกที่ถูกทาง และยืนหยัดอย่างยาวนานมาโดยตลอด เช่นคุณพจนา - จึงถูกมองไม่เห็น เพราะพวกเราต่างพากันหน้ามืดตามัวอยู่ในโลกของวัตถุนิยมที่ครอบงำพวกเราเอา ไว้อย่างแน่นหนา ถึงแม้โดยส่วนตัว ผมสามารถจะหยั่งรู้ด้วยว่า... คนแบบคุณพจนา ไม่ได้สนใจไยดีอะไรกับเรื่องพวกนี้ก็ตาม
แต่สังคมที่พอจะมีสติปัญญา
ก็น่าจะปักป้ายไว้ให้แก่คุณค่าที่แท้จริง
เพื่อผู้ที่สนใจแสวงหาแนวทางนี้
จะไม่ได้เสียเวลาไปกับของปลอมและฉาบฉวย...
ความเรียงเชิงบันทึกชื่อ “เสรีภาพกับความเป็นตัวของตัวเอง” ของคุณพจนา ที่ผมคัดเลือกมาจากหนังสือ “ชัยชนะ” พิมพ์ครั้งที่ 3 โดยสำนักพิมพ์ เคล็ดไทย 2533 ที่ ผมนำมาเสนอชิ้นนี้ ผมเชื่อมั่นว่า ใครๆได้อ่านแล้ว คงยากจะปฏิเสธได้ว่า ทัศนะในเรื่องเสรีภาพและความเป็นตัวของตัวเองของมนุษย์ จากทัศนะของเขา เรายากที่จะไม่ยอมรับว่า
ทัศนะที่ถูกต้องที่สุดในเรื่องนี้
มันควรจะเป็นเช่นนี้
ใช่หรือมิใช่.
***ขอขอบคุณภาพประกอบจาก โอเคเนชั่น.com
2 สิงหาคม 2553
กระท่อมทุ่งเสี้ยว เชียงใหม่
บล็อกของ ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
หล่อนเป็นผู้หญิง
พาร์ทเน่อร์หรือบุตรีนักปราชญ์
หล่อนก็เป็นผู้หญิง
รายละเอียดของชีวิตเท่านั้นที่อาจแตกต่างกัน
แต่หล่อนก็เป็นผู้หญิง
ผู้หญิงในยุครุ่งเรืองของพาราณศรี
ผู้หญิงนุ่งบิกินีแถวริเวียร่า
หรือผู้หญิงนั่งอยู่ในซ่องราคายี่สิบบาท
หล่อนเป็นผู้หญิง
มันเป็นความผิดหรือ
ถ้าคุณจะรักผู้หญิงสักคน.
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
มาดามสนิทใจมีความสุขมาก เมื่อวันที่พ้องกลับจากทำงานพร้อมด้วยข่าวดี
“คณะกรรมการบริษัทเห็นต้องกัน เลือกบทละครเรื่องยาวของผม” เขาบอกหล่อน “เห็นไหมหนิท นี่เช็คเงินสดห้าพันบาท ค่าล่วงหน้ายี่สิบห้าเปอร์เซ็น”
พ้องชูแผ่นกระดาษที่มีความหมายนั้นขึ้นให้หล่อนดู กวัดแกว่งมันอย่างร่าเริง และส่งให้เมีย
“ดิฉันดีใจด้วยค่ะ เงินจำนวนนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับเรามากทีเดียว”
“นั่นแล้วแต่หนิทจะจัดการอย่างไร”
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ครับ
หัวชื่อเรื่องข้างบนนี่ มิใช่เรื่องที่ผมจะเขียน แต่เป็นชื่องานแสดงภาพถ่ายขาวดำและประวัติผลงาน ’รงค์ วงษ์สวรรค์ นักเขียนผู้ยิ่งใหญ่ ที่เป็นแรงบันดาลใจ ทำให้คนหนุ่มสาวมากมายหลายคน และหลายรุ่น เดินเข้ามาสู่ถนนสายวรรณกรรม ซึ่งล่วงลับไปเมื่อต้นปีที่แล้ว และผมเลือกให้ฉายาแก่เขาว่า “พ่อมดแห่งภาษากวีมาดวิไลจากบ้านสวนทูนอิน”
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
สวัสดีปีใหม่ 2553
ถึงโลกยังทรามสังคมยังบัดสี
ไม่เป็นไร เรายังพอ...มีความดี
ณ วัน เดือน ปีใหม่...มอบให้กัน
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
พระองค์ทรงตรัสกับสาวกของพระองค์ว่า
อย่ากระวนกระวายถึงชีวิตของตน
ว่าจะเอาอะไรกิน
และอย่ากระวนกระวายถึงร่างกายของตน
ว่าจะเอาอะไรมานุ่งห่ม
เพราะว่าชีวิตสำคัญยิ่งกว่าอาหาร
และร่างกายสำคัญยิ่งกว่าเครื่องนุ่งห่ม
จงพิจารณาดูอีกา
มันมิได้หว่านมิได้เกี่ยว
และมิได้มียุ้งฉาง
แต่พระเจ้ายังทรงเลี้ยงมันไว้
ท่านทั้งหลายประเสริฐกว่านกกามากทีเดียว
มีใครในพวกท่านโดยความกระวนกระวาย
อาจต่อชีวิตให้ยาวออกไปอีกศอกหนึ่งได้หรือ
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
คืนดำ
พายุฝนกระหน่ำลงมาอย่างบ้าคลั่ง
ฉันได้แต่นั่งซุกกายอยู่ในกระท่อม
ณ ท่ามกลางปรากฏการณ์ของธรรมชาติที่เกิดขึ้น
เฝ้ามองดูพายุฝนเกรี้ยวกราดโหมกระหน่ำซัดสาดสรรพสิ่ง
เฝ้ามองดูสายฟ้าแล่บแปลบปลาบ
เฝ้ามองดูสายฟ้าผ่าเปรี้ยงปร้าง
ณ ซอกมุมที่อบอุ่นและปลอดภัยที่สุด
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ครั้งหนึ่ง
ชายคนหนึ่ง ขุดรูปสลักหินอ่อนที่สวยงามอย่างยิ่ง ได้จากท้องทุ่ง เขาจึงนำมันไปหานักสะสมของเก่า ซึ่งรักของสวยๆงามๆ และเสนอขายให้แก่เขา นักสะสมก็ซื้อไปในราคาสูง แล้วคนทั้งสองก็จากกัน
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ปลายปีที่แล้ว
ผมได้รับข่าวฝากประชาสัมพันธ์การแสดงภาพเขียนสีน้ำของพิบูลศักดิ์ ละครพล ชื่อ "ภาพประทับจากการแรมทาง" จากหอศิลป์ริมน่าน จังหวัดน่าน ผ่านมาจนถึงปลายปีนี้ ผมก็ได้รับข่าวคราวการแสดงงานของเขาอีกครั้งหนึ่งจากคุณนิลจากร้านหนังสือ "2521" จังหวัดภูเก็ต ส่งอีเมล์ มาฝากข่าว เพื่อให้ช่วยประชาสัมพันธ์มาว่า
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ฉันเป็นดอกไม้ริมทาง
เบ่งบานอ้างว้างอยู่นอกรั้วบ้าน
ไม่สวยแจ่มใสไม่งามตระการ
ด้วยเกิดมาเบ่งบานตามบุญตามกรรม