เมื่อพูดถึงคำว่า“เสรีภาพ”
คำ คำนี้ช่างมีพลังอย่างแปลกประหลาด ทำให้รู้สึกดึงดูดเย้ายวนใจสำหรับคนบางคน พอๆกับที่ก่อให้เกิดความรู้สึกหวาดกลัวกับคนบางคน ยิ่งไปกว่านั้นบางคนปรารถนาเสรีภาพ ในขณะเดียวกันก็รู้สึกหวาดหวั่นอยู่ลึกๆ เรียกร้องอยากจะได้มา และก็กลัวที่จะได้มันมาจริงๆ
ความรู้สึกนานาประการนี้
ย่อม เกิดจากการเข้าถึงเสรีภาพ จากแง่มุมและความหมายต่างๆกัน ผู้ที่ไม่เคยมีย่อมหวาดกลัว ผู้มีแล้วแต่ไม่เข้าใจยิ่งหวาดกลัวกว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมา มนุษย์เคยชินกับการถูกบังคับให้ทำตามกฎเกณฑ์ต่างๆ และมักมองเสรีภาพไปในความหมายด้านตรงกันข้ามกับกฎเกณฑ์เหล่านั้น คนส่วนมากมักจะมองหาขอบเขตของมันไม่พบ และคิดเอาเองว่า เสรีภาพน่าจะเป็นอย่างโน้นอย่างนี้ ในขณะที่ตัวเองก็ไม่กล้าที่จะออกจากกฎเกณฑ์เก่าๆที่เคยชิน
เรากลัวเกินไป
ที่ จะเริ่มต้นทดลองสิ่งใหม่ๆ ดูเหมือนว่าการได้ยึดอะไรบางอย่างเป็นหลักไว้ ย่อมให้ความรู้สึกที่ปลอดภัยกว่า พวกเรายังติดอยู่กับความคิดชนิดที่ว่า
“อยู่กับสิ่งที่เลวน้อยที่สุด ดีกว่าเสี่ยงกับสิ่งที่ไม่รู้ว่า จะดีหรือเลว”
ความคิดเช่นนี้ ทำให้กระบวนการวิวัฒน์ทางสังคมและตัวเองหยุดนิ่ง เป็นพลังที่เฉื่อยชาและจำยอม
ชีวิตมนุษย์
น่า จะมีโอกาสได้ค้นหาและทดลองสิ่งใหม่ๆหรือไม่ หรือว่ากฎเกณฑ์แบบแผนข้อบังคับ และคำตอบสำเร็จรูป ได้ทดแทนให้รู้สึกอิ่มอกอิ่มใจพอแล้ว และถ้าเลือกเอาอย่างแรก ก็หมายความว่าเราได้เริ่มเรียนรู้สิ่งที่เรียกว่าเสรีภาพนี้ ต่างกันไกลจากความหมายเดิมๆที่เราเคยเข้าใจ จากบทเรียนบทต่อๆไป คงจะทำให้เข้าใจความหมายอันแท้จริงมากขึ้น
มีผู้สงสัยว่า
หาก มนุษย์มีอิสระในตัวเอง และเต็มไปด้วยเสรีภาพแล้ว หากปราศจากแบบแผนกฎเกณฑ์แล้ว สังคมจะอยู่ร่วมกันได้อย่างไร จะมิวุ่นวายไปหมดหรือ ต่อคำถามนี้ ตอบได้ง่ายๆว่า เสรีภาพมิได้หมายถึง การทำตามใจตัวเองอย่างสุดโต่ง และไม่ใช่การไร้แบบแผน เพราะเสรีภาพนั่นเองหมายถึงการมีวินัยอย่างสูงสุด ไม่ใช่จากกฎหมายของรัฐหรือกฎเกณฑ์ที่บังคับใช้ในสังคม...
หากเป็นวินัยในตัวเอง
ที่เกิดจากการพิจารณาไตร่ตรองด้วยวิจารญาณและจิตสำนึก กลายเป็นความรู้สึกรับผิดชอบโดยส่วนรวม และสำหรับคนที่มีสำนึกต่อส่วนรวม ย่อมรู้ว่าขอบเขตของการกระทำอยู่ตรงไหน ในกรณีนี้ แม้จะไม่มีกฎหมายบังคับ และไม่มีตำรวจเฝ้าดู... เขาก็ย่อมเลือก ที่จะทำและไม่ทำ อย่างมีเหตุผล และเต็มเปี่ยมไปด้วยจิตสำนึกเช่นนี้ การณ์ก็กลับเป็นตรงกันข้ามว่า เสรีภาพหมายถึงกฎเกณฑ์อันสูงสุด ที่มนุษย์ยินยอมรับอย่างมีศักดิ์ศรี ด้วยการใช้สติปัญญาและวิจารณญาณด้วยตนเอง
จะเห็นว่าความหมายในที่นี้
แตกต่างจากความหมายเก่าๆโดยสิ้นเชิง ความคิดและการกระทำของคนในสังคมอารยะนั้น เข้าถึงแง่มุมความเป็นจริงมากกว่าสังคมทาส ในสังคมใดๆจะเข้าถึงการอยู่ร่วมกันโดยสันติ และความดีงามโดยส่วนรวมไม่ได้เลย หากประชาชนปราศจากเสรีภาพ...
เราพบว่าเสรีภาพ
กับ ความรับผิดชอบต่อส่วนรวมเป็นสิ่งเดียวกัน ความเป็นตัวของตัวเองก็เช่นกัน ไม่ได้มีความหมายต่างไปจากนี้ คนเป็นอันมากกลัวที่จะเป็นตัวของตัวเอง และไม่กล้าพอที่จะอนุญาตให้คนอื่นเป็นด้วย ที่จริงไม่น่ากลัวเลย เพราะการเป็นตัวของตัวเองอย่างแท้จริงนั้น ย่อมหมายถึงการพัฒนาภายในของมนุษย์ในระดับสูงสุด คุณภาพภายในของปัจเจกชนนั่นเอง ที่จะเกื้อหนุนให้ส่วนรวมดำรงอยู่ได้ หากปราศจากสิ่งนี้
เชื่อแน่ว่าสังคมแบบแผนอันเส็งเคร็งนี้
จะต้องพังทลายลงสักวันหนึ่ง.
หมายเหตุ ; พจนา จันทรสันติ เป็นนักเขียนและนักแปล ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันมานานจากงานเขียนบทกวีอิสระที่ชื่อว่า “ขลุ่ยไม้ไผ่” และงานแปลของ กฤษณะ มูรติ ที่ชื่อว่า “แด่หนุ่มสาว” ที่ผมเข้าใจว่าคุณพจนาเป็นคนแรกที่นำงานของ กฤษณะมาเผยแพร่ และมีผู้แปลติดตามมาอีกมากมายหลายท่าน...
ภาพรวม ผลงาน ของ คุณพจนา ไม่ว่าจะเป็นงานเขียนเพียวๆของเขาหรือว่างานแปล เป็นงานเชิงศาสนา ปรัชญา และจิตวิทยา ซึ่งเขาก็ได้ยืนหยัดทำงานในแนวนี้มาโดยตลอด และผมเชื่อว่า นี่เป็นเป็นการยืนยันถึงการค้นพบตัวเองของเขาอย่างแน่ชัด...
โดยส่วนตัวผม ผมถือว่าคุณพจนาเป็นนักคิดทางจิตวิญญาณที่สำคัญคนหนึ่งของยุคสมัย งานของเขาเป็นงานที่อบอุ่นเช่นเดียวกับบุคลิกภาพของเขา ที่ใครเห็นแล้วก็รู้สึกปลอดภัย และอยากเข้าใกล้ เป็นงานที่อ่านแล้วก่อให้เราเกิดความรู้สึก...อยากจะพัฒนาความคิดจิตใจของ ตัวเอง โดยไม่ต้องมีใครมาบีบบังคับ และสามารถหยิบมาอ่านได้ทุกยุคทุกสมัย เพราะเป็นงานที่ขุดค้นเข้าไป ข้างในอันละเอียดอ่อนซับซ้อนของมนุษย์ ที่เขายังแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆในชีวิตจริงของคนเราด้วย ไม่ว่าจะเป็นงานเขียนหรืองานแปล ที่คุณพจนาทำออกมาอย่างประณีต มีเป้าหมายที่ชัดเจน และมีคุณูปการต่อผู้อ่านเป็นอย่างยิ่ง...
น่าแปลกใจ
ที่ องค์กรบางองค์กรของรัฐ ที่มอบรางวัลให้ผู้ทำงานดีเด่นเกี่ยวศาสนาทุกปี มักจะให้รางวัลแก่ผู้ที่ทำบุญทางวัตถุอย่างออกหน้าออกตาเป็นหลัก แต่ไม่ได้เหลียวแลคนที่ทำบุญทาง จิตวิญญาณ อย่างอย่างเงียบๆด้วยผลงานที่เป็น มวลอันมหึมา เช่นคุณพจนา คงเป็นเพราะว่าสังคมปัจจุบันของเราเป็นสังคมที่เน้นหนักไปทางวัตถุนิยม การให้คุณค่าสิ่งต่างๆจึงพลอยเน้นหนักไปในเรื่องวัตถุ ตามค่านิยมของสังคมไปจนหมด...
แม้แต่เรื่องศาสนา
ที่เป็นเรื่องของความคิดจิตใจ ที่ทางพุทธศาสนาของเราถือว่าเป็นเรื่องสำคัญถึงขนาดมีคำกล่าวว่า “จิตเป็นนายกายเป็นบ่าว” ก็ พากันหลงทางไปเน้นหนักในการเรื่องสร้างวัตถุ คนที่ทำงานถูกที่ถูกทาง และยืนหยัดอย่างยาวนานมาโดยตลอด เช่นคุณพจนา - จึงถูกมองไม่เห็น เพราะพวกเราต่างพากันหน้ามืดตามัวอยู่ในโลกของวัตถุนิยมที่ครอบงำพวกเราเอา ไว้อย่างแน่นหนา ถึงแม้โดยส่วนตัว ผมสามารถจะหยั่งรู้ด้วยว่า... คนแบบคุณพจนา ไม่ได้สนใจไยดีอะไรกับเรื่องพวกนี้ก็ตาม
แต่สังคมที่พอจะมีสติปัญญา
ก็น่าจะปักป้ายไว้ให้แก่คุณค่าที่แท้จริง
เพื่อผู้ที่สนใจแสวงหาแนวทางนี้
จะไม่ได้เสียเวลาไปกับของปลอมและฉาบฉวย...
ความเรียงเชิงบันทึกชื่อ “เสรีภาพกับความเป็นตัวของตัวเอง” ของคุณพจนา ที่ผมคัดเลือกมาจากหนังสือ “ชัยชนะ” พิมพ์ครั้งที่ 3 โดยสำนักพิมพ์ เคล็ดไทย 2533 ที่ ผมนำมาเสนอชิ้นนี้ ผมเชื่อมั่นว่า ใครๆได้อ่านแล้ว คงยากจะปฏิเสธได้ว่า ทัศนะในเรื่องเสรีภาพและความเป็นตัวของตัวเองของมนุษย์ จากทัศนะของเขา เรายากที่จะไม่ยอมรับว่า
ทัศนะที่ถูกต้องที่สุดในเรื่องนี้
มันควรจะเป็นเช่นนี้
ใช่หรือมิใช่.
***ขอขอบคุณภาพประกอบจาก โอเคเนชั่น.com
2 สิงหาคม 2553
กระท่อมทุ่งเสี้ยว เชียงใหม่
บล็อกของ ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ชีวิตเอย
เหตุใดเล่า
เจ้าจึงเศร้าโศกเสียใจร้องไห้คร่ำครวญ
ให้กับบางสิ่งที่เจ้าได้สูญเสียมันไป
เหมือนนมที่หกออกจากแก้วไปแล้ว...ตกลงบนพื้นดิน
วันแล้ววันเล่า
ไม่รู้จักจบสิ้น
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
12 เมษายน 2545
วันครบรอบวันเกิด...ที่แสนจะเจ็บปวด ขณะนั่งรถจักรยานยนต์ออกตรวจพื้นที่กับคู่หู ขับรถผ่านไปทางบ้านพ่อแม่ผู้พัน นายเก่าที่มาหยิบยืมเงินเราแล้วไม่ยอมใช้คืน เมื่อสองสามปีที่แล้ว พอเจอหน้า จอดรถจะเข้าไปถาม นายกลับรีบเดินหนี อนิจจา ! นายเอ๋ยนาย...ดอกไม่ต้องขอเพียงแค่ต้นคืนได้ไหม...
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
7
ครับ
รายละเอียดเรื่องราวของเขา ที่ผมอยากรู้อยากเห็นเหลือเกิน เริ่มปรากฏอยู่ในบันทึกหน้านี้นี่เอง และเมื่อหยิบหน้าคอลัมน์ “ศาลาคลายร้อน” ที่เขาถ่ายสำเนาจากหนังสือนิตยสาร “ชีวิตรัก” มาให้ผม ซึ่งเป็นหน้า คอลัมน์ - ในช่วงที่เขาได้แบกเป้ออกไปตะลอนทัวร์ ช่วยคุณวนัสนันท์ ตามที่เขาตั้งปณิธานเอาไว้ออกมาอ่าน
เพื่อทำความรู้จักทั้งคอลัมน์และตัวตนของคุณวนัสนันท์ ที่นำมือแห่งความเมตตาของคุณวรรณและคุณแขคนไทยในต่างประเทศ มาฉุดเขาขึ้นมาตจากขุมนรกอันลึกล้ำดำมืดแห่งหนี้สิน และมือแห่งความเมตตาอีกมากมายที่หลั่งไหลติดตามมา...
ผมพบว่าคอลัมน์ “ศาลาคลายร้อน” ของคุณวนัสนันท์…
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
6 หลังจากงานศพของพ่อแล้ว เขาก็เริ่มตกเข้าไปอยู่ในวังวน - ของการหมกมุ่นครุ่นคิด...เป็นทุกข์อยู่กับหนี้สินอีก และพยายามต่อสู้กับตัวเองอย่างถึงที่สุด ระหว่างการคิดทำลายตัวเองตามพ่อไป เพื่อหนีความทุกข์ปัญหาอันหนักหนาสาหัส และการพยายามคิดหาเหตุผลต่างๆนานาที่จะมีชีวิตอยู่อีกต่อไป...
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
30 ตุลาคม 2539
วันนี้ นายเรียกข้าราชการตำรวจทั้งโรงพักมาประชุม เพื่อร่ำลาไปรับตำแหน่งใหม่ เห็นพวงมาลัย...ที่นายดาบหัวหน้าสายแต่ละสาย เตรียมมาให้นายแล้ว ได้แต่นึกเสียดาย... ท่านมากอบโกย...แล้วก็ไป
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
3.
เขากลับกรุงเทพฯไปได้หนึ่งอาทิตย์กว่าๆ
ผมก็ได้รับกล่องพัสดุขนาดใหญ่ หนักเกือบสองกิโลกรัมจากเขา เมื่อแกะกล่องออกมา ผมก็พบแฟ้มเก็บต้นฉบับที่เขาถ่ายสำเนามาจากหน้าคอลัมน์ “สะพานบุญ” ที่เขาเคยเขียนในนิตยสาร “ย้อนรอยกรรม”และ จากหน้าคอลัมน์ “ศาลาแรงบุญ” ในนิตยสาร “แรงบุญแรงกรรม” ที่เขาเขียนอยู่ในปัจจุบัน นับรวมกันได้ 60 กว่าเรื่อง หนาประมาณ 200 กว่าหน้ากระดาษ A4 รวมทั้งสำเนาต้นฉบับที่เขาถ่ายจากหน้าคอลัมน์ “ศาลาคลายร้อน” ของคุณวนัสนันท์ จากหนังสือ “ ชีวิตรัก” 15 แผ่น และจากกรอบหน้าคอลัมน์หนังสือพิมพ์รายวันที่เขียนยกย่องชื่นชมเขา 3 - 4 แผ่น
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
1.
จินตวีร์ เกียงมี
หรือที่มีชื่อเต็มยศว่า จ.ส.ต.จินตวีร์ เกียงมี ซึ่งปัจจุบันรับราชการตำรวจ ตำแหน่ง งานธุรการอำนวยการกองวิจัย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ใครต่อใครต่างรู้จักกันทั่วไปทั้งประเทศ และเลื่องลือไปถึงเมืองนอกเมืองนาในวันนี้ ในฐานะ จ่าตำรวจใจบุญ ที่แบกเป้เที่ยวตะลอนๆ ไปช่วยเหลือคนที่กำลังตกทุกข์ได้ยาก แทบทุกหนทุกแห่งในประเทศ ที่ส่งเสียงร้องทุกข์โอดโอยมาให้เขาได้ยิน ซึ่งเราได้รับรู้เรื่องราวของเขาจากสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสื่อทางวิทยุ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร อินเตอร์เน็ต ฯลฯ และที.วี.แทบทุกช่องที่นำเรื่องราวของเขา มาบอกเล่าแก่สาธารณะชน
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
สมัยที่ผมยังทำงานเป็นนักดนตรีประจำร้าน สายหมอกกับดอกไม้ ของคุณอันยา โพธิวัฒน์ คู่ชีวิตของคุณจรัล มโนเพ็ชร ศิลปินผู้ยิ่งใหญ่แห่งล้านนา ผู้ล่วงลับไปแล้ว ก่อนจะออกมาทำงานเขียนและงานเกี่ยวกับหนังสืออย่างเต็มตัวในทุกวันนี้ ผมจำได้อย่างแม่นยำว่า ภายในร้านสายหมอกกับดอกไม้ นอกจากเฟอร์นิเจอร์และเครื่องประดับตกแต่งภายใน ที่ประกอบด้วย โต๊ะ เก้าอี้ ที่เป็นเครื่องไม้ ภาพเขียน รูปปั้น และ ข้าวของเครื่องใช้ ผลงานเพลงของคุณจรัลในตู้โชว์ ตลอดจนรูปภาพของคุณจรัลตามฝาผนังห้องในอิริยาบถต่างๆแล้ว ยังมีกระจกเงาเก่าแก่บานหนึ่ง กว้างประมาณ สองฟุต สูงท่วมหัว ประดับอยู่ตรงมุมห้องโถงด้านขวามือใกล้ๆกับเวทีเล่นดนตรี…
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
3 กันยายน 2552 ปีนี้
นอกจากจะเป็นวันรำลึกครบรอบการจากไปของ จรัล มโนเพ็ชร ศิลปินผู้ยิ่งใหญ่แห่งล้านนาแล้ว วันนี้ยังมาตรงกับวันจัดงาน " แอ่วสันป่าตอง " ซึ่งเป็นงานของโครงการย้อนยุคอำเภอสันป่าตอง ที่มีเป้าหมายที่จะแนะนำอำเภอสันป่าตองเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยมีสภาวัฒนธรรมอำเภอเป็นตัวหลักในการจัดงาน ร่วมกับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนอีกมากมายหลายองค์กร ฯลฯ
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ก่อนอาทิตย์ตกในไร่ข้าวโพดสีส้มโชติโชนอยู่อีกครู่ใหญ่แผ่ร่มเงาความเวิ้งว้างกว้างออกไปอีกหนึ่งวันกลืนวันวัยในวันนี้
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ฉันเอยฉันทลักษณ์
ยากยิ่งนักจะประดิษฐ์มาคิดเขียน
เป็นบทกวีงามวิจิตรสนิทเนียน
มิผิดเพี้ยนตามกำหนดแห่งกฎเกณฑ์
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
มิ่งมิตร
เธอมีสิทธิ์ที่จะล่องแม่น้ำรื่น
ที่จะบุกดงดำกลางค่ำคืน
ที่จะชื่นใจหลายกับสายลม