Skip to main content

บางครั้ง
ชีวิตคนก็ถูกต้อนมาถึงมุมอับ
ที่ซึ่งไม่มีทางไปต่อ
และไร้หนทางถอยหนี
ในสถานการณ์เช่นนั้นเขาจะทำอย่างไร
 
เพราะการเลือก
อย่างใดอย่างหนึ่ง
ก็อาจทำให้เจ็บปวดกันทุกฝ่าย
ความขัดแย้งภายในอย่างรุนแรง
เหมือนอย่างพายุที่พัดกระหน่ำอย่างบ้าคลั่ง
ผลักดันรุมเร้า
 
วิญญาณของเรา
จะมีรอยบิ่น
และดวงใจก็จะถูกโบยตี
เป็นที่สุดของความรวดร้าวทรมาน
ชีวิตไม่เคยปรานีใคร
เราจะจัดการอย่างไรดีเล่า
กับที่สุดของชีวิตเช่นนี้
 
บางครั้งชีวิต
ก็คือหนทางอันไร้หนทาง
คือทางเลือกอันไร้ความปรานี
และคือสมการอันไม่ลงตัว
ในกรณีเช่นนี้
การตั้งตนอยู่ในความสงบ
จึงเป็นสิ่งเดียวที่เราอาจทำได้.
 
หมายเหตุ ; ผมเองก็เคยเผชิญกับสภาวะที่เรียกว่า มุมอับ หรือ ทางตัน ของชีวิตมาหลายครั้ง แต่ก็ไม่เคยหยิบยกเรื่องนี้มาเขียนอย่างพินิจพิเคราะห์ใคร่ครวญ แถมให้คำตอบที่ดีที่สุดแก่คนอื่น นำไปใช้เป็นวิธีการเผชิญชะตากรรมที่น่ากลัวนี้เหมือนคุณพจนา นี่เป็นข้อเขียนเล็กๆแต่ยิ่งใหญ่ในคุณค่า เพราะมิได้หมกมุ่นอยู่แต่เรื่องของตัวเอง แต่ยังสื่อสารแบ่งปันสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านด้วย...

ผมเชื่อว่า
ท่านที่เคยพบกับมุมอับหรือทางตันของชีวิต ในความหมายที่คุณพจนาอธิบายว่า “เป็นที่ซึ่งไม่มีทางไปต่อ และไร้หนทางถอยหนี” การตั้งตนอยู่ในความสงบ เป็นสิ่งเดียวที่ดีที่สุดที่เราพึงกระทำจริงๆ เพื่อพอรอให้สถานการณ์คลี่คลายด้วยตัวของมันเอง เพราะไม่อย่างนั้น เราก็ต้องเผชิญกับสภาวะที่เรียกว่า “ยิ่งดิ้นก็ยิ่งเจ็บ เพราะยิ่งดิ้นก็ยิ่งถูกบีบคั้น” นั่นเอง
 
เพราะการต่อสู้กับชะตากรรมของชีวิตในบางเรื่อง ก็เหมือนการดึงเส้นเชือกคนละปลายกับคนที่เขาแข็งแรงกว่า  ยิ่งเราดื้อดึง...ออกแรงดึงต่อต้านเขา เราก็ยิ่งจะถูกเขาฉุดกระชากลากถูจนถลอกปอกเปิก ทางเดียวที่ทำได้ ก็คือ...วางใจให้สงบ และคอยปล่อยเชือกให้เขาดึงและล้มไปเอง นั่นแหละ
 
งานชิ้นนี้นำมาจากหนังสือที่ชื่อว่า “ชัยชนะ” เช่นเดียวกับชิ้นแรกที่ผมนำมาพูดถึงในเชิงวิพากษ์คุณค่าความหมายในงานเขียนของเขา - ที่มีคนบ่นว่าอ่านยาก และคงคิดว่ายังจะนำมาเสนออีกต่อไปพอสมควร - สวัสดีครับ.
 
ขอขอบคุณ ภาพประกอบจาก www.bloggang.com
 
11 สิงหาคม 2553
กระท่อมทุ่งเสี้ยว เชียงใหม่  

 

บล็อกของ ถนอม ไชยวงษ์แก้ว

ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
    เมื่อยังมีชีวิต จงหายใจเข้าไว้ หายใจแรงๆ และหายใจอย่างสดชื่น เพราะภาระหน้าที่ของชีวิตคือการมีชีวิต ชีวิตที่กระปรี้กระเปร่า และถ้าเป็นไปได้ควรต้องรื่นรมย์กับชีวิต บาปอันยิ่งใหญ่ของมนุษย์ (บางทีสำหรับสิ่งมีชีวิตทั้งปวง) คือการปฏิเสธชีวิต   การมีชีวิต
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
    ฉันเป็นเท่าที่ฉันเป็น ฉันทำเท่าที่ฉันหวัง ฉันหวังเท่าที่ฉันเห็น ฉันง่ายฉันงามฉันแจ่มชัด ฉันเชื่อหนึ่งมากกว่าร้อย ฉันเชื่อคนมากกว่าลัทธิ ฉันเชื่อดินมากกว่าฟ้า ฉันเชื่อต้นหญ้ามากกว่าขุนเขา ฉันเชื่อสวนหลังบ้านมากกว่าป่าหิมพานต์ ฉันเชื่อวันนี้มากกว่าวันวาน ฉันง่ายฉันงามฉันแจ่มชัด ฉันไม่เชื่ออำนาจรัฐจากกระบอกปืน   ฉันเป็นเท่าที่ฉันเป็น.  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  อิสรภาพ   ฉันต้องการอิสรภาพ ที่จะได้เห็น ที่จะได้ยิน ในสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  เป็นที่ทราบกันดีว่า กฎหมายอาญามาตรา 112 เป็นกฎหมายที่สร้างความทุกข์สาหัสให้แก่ผู้ที่ถูกกล่าวหาว่า “หมิ่นสถาบัน” มามากมายหลายคน เพราะกฎหมายนี้ถูกตราขึ้นมาอย่างกว้างๆไม่ระบุขอบข่ายความผิดให้ชัดเจน รวมทั้งกระบวนการจับกุม สอบสวน ดำเนินคดี ก็มิได้เป็นไปตามปกติทั่วไป มิหนำซ้ำการตีความบังคับใช้มาตรานี้ ว่ากันว่า เจ้าหน้าที่สามารถตีความใช้ได้อย่างกว้างขวาง และนักการเมืองมักจะใช้เป็นเครื่องมือในการทำลายฝ่ายตรงกันข้ามอยู่เสมอ และผู้ต้องคดีนี้นอกจากจะติดคุกติดตะรางแล้ว ยังถูกซ้ำเติมจากสังคมที่จงรักภักดีต่อสถาบันอย่างรุนแรง    
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
    คือแม่น้ำและขุนเขาอันขรึมขลัง คือพลังคีตกานท์อันหวานไหว คือหนึ่งจิตวิญญาณล้านนาไทย คือดอกไม้สวยสะคราญบานนิรันดร์  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  ย้อนกลับไปทบทวนดู คำประกาศหลังจากรับพระราชทานโปรดเกล้าฯของคุณยิ่งลักษณ์ตอนหนึ่งที่กล่าวว่า “อุปสรรคข้างหน้ายังรอเราอยู่มาก ทั้งที่ควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ แต่ทั้งหมดมิใช่อุปสรรคขวางกั้นมิให้ทำงาน พร้อมที่จะอุทิศตัวด้วยความทุ่มเท เสียสละอดทน ทำงานแข่งกับเวลา ไม่เกรงต่อความลำบากใดๆ”
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
    แล้ว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย หมายเลข 1 ก็ได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 28 และ เป็นนายกหญิงคนแรกในประวัติศาสตร์การเมืองของเมืองไทย และเป็นคนที่ 52 ของโลก อย่างสมบูรณ์ โดยได้รับการโหวตเสียงจากที่ประชุมสภาฯ เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2554 ด้วยคะแนนเสียงเห็นด้วย 296 เสียง ไม่เห็นด้วย 3 เสียง และงดออกเสียง 197 เสียง ก่อนจะได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ในวันที่ 8 สิงหาคม 2554 เวลา 18.40 น. ณ บริเวณตึกชั้น 7 ที่ทำงานพรรคเพื่อไทย ท่ามกลางความยินดีของคนจำนวนมากมาย ที่สนับสนุนคุณยิ่งลักษณ์และพรรคเพื่อไทย  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
    คราวที่แล้ว ผมนำเรื่อง “คนดีของคนเมือง และ คนดีของชนบท” ที่แตกต่างกัน จากบทสัมภาษณ์ที่ชื่อว่า “ความคาดหวังและความจริงของประชาธิปไตยแบบไทยๆ” ของ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ซึ่งให้สัมภาษณ์ลงนิตยสารสารคดี ฉบับเดือนตุลาคม 2543 ผมคิดว่าจะหยุดเพียงแค่นั้น แต่ก็หยุดไม่ได้ เพราะพบว่ายังมีประเด็นที่ผมคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้อ่านอีกสองประเด็น ที่ยังเป็นเรื่องราวที่ยังดำรงอยู่ในปี 2544 และต่อไปอีกนานเท่าไหร่ ก็คงไม่มีใครรู้ เพราะมันเป็นรื่องของอนาคต  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
      ผมมักจะได้ยิน ผู้คนและสื่อต่างๆเกี่ยวกับการเมือง มักจะพูดกันให้ได้ยินอยู่เสมอว่า “คนชนบทเป็นคนเลือกตั้งรัฐบาล คนเมืองเป็นคนล้ม” ซึ่งดูเหมือนจะเป็นความจริงมาโดยตลอด แต่ก็ไม่มีใครให้คำอธิบายที่ฟังดู สมเหตุสมผลและชอบธรรม ให้ฟัง ว่าทำไมคนเมืองที่หมายถึงคนชั้นกลาง จึงไม่ชอบรัฐบาลที่ได้มาจากเสียงส่วนใหญ่ที่เป็นคนชนบทในประเทศ และช่วยกันล้มรัฐบาลที่เขาเลือกตามกติกา 
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
      ถึงแม้ คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะได้รับการรับรองจาก กกต. ให้หลุดพ้นจากข้อหาไปช่วยขบวนแห่ที่เชียงราย ให้พ้นจากข่ายความผิดด้วยมติ 5 ต่อ 0 ท่ามกลางความโล่งอกของใครต่อใครมากมายหลายคน ที่ว่ากันว่า เป็นเพราะโพลเสียงจากประชาชน 80 เปอร์เซ็นต์ ต้องการคุณยิ่งลักษณ์นายกฯ (รวมทั้ง นปช.) เป็นกระแสกดดัน กกต. หรือเพราะเหตุใดก็ช่างเถิด แต่เราก็สามารถฟันธงกันได้เลยว่า อีกไม่นาน เราจะต้องได้นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศอย่างแน่นอน 
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
      ผมไม่แน่ใจว่า ก่อนที่คุณยิ่งลักษณ์ ว่าที่นายกฯ ยิ่งลักษณ์ คนสวย และกลุ่มมันสมองของพรรคเพื่อไทยจะชูนโยบายประชานิยม เพิ่มค่าแรงงานขั้นต่ำให้กรรมกรผู้ใช้แรงงานจาก 221 บาท เป็น 300 บาท และเพิ่มเงินเดือนให้แก่ผู้จบปริญญาตรีที่เริ่มเข้าบรรจุงานจาก 11,028 บาท เป็น 15,000 บาท
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผมกำลังจะชวนใครต่อใคร เข้ามาคุยเรื่องปัญหาที่รัฐบาลใหม่จะต้องเข้ามาสะสางและแก้ไข จากข้อมูลของนักวิเคราะห์การเมืองท่านหนึ่งที่รวบรวมและชี้แนะเอาไว้ล่วงหน้าแก่รัฐบาลของคุณยิ่งลักษณ์เอาไว้