สถาปนิกผู้หนึ่ง
ทำงานอยู่บริษัทก่อสร้างแห่งหนึ่งมานานหลายปี ตลอดชีวิตการทำงานของเขาได้ออกแบบและสร้างสิ่งก่อสร้างให้บริษัทมากมาย ขณะนี้เขาใกล้จะปลดเกษียณ
อยู่มาวันหนึ่ง ซีอีโอได้เรียกเขาเข้าพบ
“คุณได้ทำงานใหญ่ๆให้เรามานานหลายปี ขณะนี้ผมมีงานสุดท้ายให้คุณทำก่อนเกษียณ” ซีอีโอกล่าว “ผมต้องการให้คุณออกแบบบ้านหลังหนึ่งให้ดีที่สุดเท่าที่คุณจะทำได้ และเป็นผู้รับผิดชอบโครงการนี้ทั้งหมด ที่คุณต้องทำคือ จัดซื้อวัสดุที่ดีที่สุดและจ้างช่างที่มีประสบการณ์มาสร้าง ส่วนค่าใช้จ่าย...ไม่อั้น!”
สถาปนิกเห็นเป็นโอกาสดี
ถ้าเขาได้รับผิดชอบโครงการเพียงผู้เดียว เพราะจะไม่มีใครรู้ว่าเขาหลบงานไปไหนบ้าง ไหนๆก็จะเกษียณอยู่แล้ว ครั้งนี้อาจเป็นโอกาสสุดท้ายที่เขาจะหาเงินพิเศษได้โดยสะดวกสบาย
สถาปนิกได้เบิกเงินงบประมาณอย่างฟุ่มเฟือย แต่ใช้เพียงบางส่วนเท่านั้นในการซื้อวัสดุเกรดต่ำ และใช้คนงานที่ค่าจ้างแพงให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย เขาจึงเร่งให้เสร็จโครงการโดยเร็ว จากนั้นได้รายงานซีอีโอว่า เขาได้ทำงานชิ้นสุดท้ายของเขาเสร็จแล้ว
“ดีมาก!” ซีอีโอมีสีหน้าปิติยินดี “ไปดูกันเถอะ”
เมื่อพวกเขามาถึงที่บ้านหลังนั้น สถาปนิกรู้สึกประหลาดใจที่ได้เห็นเพื่อนร่วมงานของเขาทั้งหมดอยู่ที่หน้าบ้าน กำลังชื่นชมและพูดถึงการออกแบบของเขา สถาปนิกผู้นี้รอบรู้กลยุทธ์ทางการค้าเป็นอย่างดี และเขาได้ใช้มันเพื่อทำให้บ้านหลังนี้ดูดีที่ภายนอก...เขาไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียกับบ้านหลังนี้ด้วยนี่ !
ซีอีโอได้เรียกทุกคนมารวมกัน แล้วกระแอมเบาๆ
“ทุกคนคงรู้แล้วว่า สถาปนิกท่านนี้ได้ทำงานให้พวกเรามาหลายปี ขณะนี้ท่านพร้อมที่จะเกษียณแล้ว บ้านหลังนี้เป็นผลงานชิ้นโบว์แดงล่าสุดของท่าน”
จากนั้น เขาได้มอบกุญแจบ้านให้เป็นของขวัญแก่สถาปนิกและประกาศว่า
“เพื่อเป็นการขอบคุณสำหรับการอุทิศตัวบริการพวกเรามานานหลายปี จึงขอมอบผลงานชิ้นโบว์แดงนี้ให้เป็นของขวัญแก่ท่านเนื่องในโอกาสที่ท่านปลดเกษียณ”
ขณะที่ทุกคนปรบมือให้อย่างกึกก้อง สถาปนิกยืนงงอย่างไม่เชื่อหูตัวเอง
เมื่อเราได้ครอบครองร่างกายที่ต้องตาย และก้าวเข้าสู่โลกนี้ก็เท่ากับเรามีโอกาสที่ดีเป็นพิเศษ ขณะที่สถาปนิกได้รับงานสร้างบ้านที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ เราก็มีโอกาสที่จะสร้างชีวิตที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้
ขั้นตอนที่เป็นปัจจัยสำคัญ
คือการกำหนดสถานที่ตั้งในขั้นต้น ซึ่งเราได้รับโอกาสที่ดีนี้แล้ว ภารกิจขั้นต่อไปของเรานั้น ความจริงแล้วไม่ได้ยากเย็นอะไรเลย เพราะว่าเรามีอำนาจในการจัดหาวัสดุที่ดีที่สุดเท่าที่จะหาได้ รวมทั้งความสามารถที่มีอยู่แต่เดิมของเราจะนำพลังมหาศาลไปใช้ในโครงการนี้ได้ เรามีทุกสิ่งทุกอย่างที่จำเป็นในการทำงานให้ดีที่สุดครบอยู่แล้ว อำนาจที่ได้รับมอบหมายก็ชัดเจน... จ่ายได้ไม่อั้น เพื่อสร้างชีวิตที่ยิ่งใหญ่ !
ปัญหาก็คือ
ทันทีที่ทราบว่าเราคือผู้เดียวที่รับผิดชอบโครงการก่อสร้างชีวิตนี้ตั้งแต่ต้นจนจบ ด้านหนึ่งหมายถึงว่า เรามีอิสระในการออกแบบโครงการตามที่เราชอบและดำเนินการตามที่เราเห็นเหมาะสม มันเป็นอิสรภาพที่ยอดเยี่ยมและเป็นการทำให้มีชีวิตชีวา ในอีกด้านหนึ่งหมายถึงว่า ผลสุดท้ายแล้วไม่มีใครเลยเรียกร้องสางที่ดีที่สุดจากเรา หรือบังคับใช้ระเบียบวินัยกับเรา นี่คือเหตุผลที่ว่าทำไมเราจึงมักใช้วิธีรวบรัดหรือเลี่ยงงาน ทั้งๆที่รู้ว่าไม่ควรทำ ในเมื่อไม่มีใครคอยควบคุมดูแล ยังไงมันก็โอ.เค.อยู่แล้ว?
เราตกลงไปในหลุมพรางแห่งพฤติกรรม ทำให้ดูประหนึ่งว่าเรากำลังสร้างตัวเราเองเพื่อผู้อื่น เราสร้างภาพพจน์เพื่อให้คนอื่นรับรู้ บางทีเราบากบั่นศึกษาคำสอนทางศาสนา เพื่อให้ดูเหมือนว่าเป็นคนดีมีศีลธรรม บางทีเรากล่าวโทษผู้อื่นเพื่อแสดงว่าเรามีความรู้ บางทีเราทำเป็นไม่แยแสกับหน้าที่การงานที่ได้รับมอบหมาย เพื่อแสดงให้เห็นว่า “ข้าแน่”
หลุมพรางนี้
จะสนับสนุนเราให้มีนิสัยเฉื่อยชาหรือทำอะไรชุ่ยๆ เนื่องจากเราสนใจแต่เพียงว่า “ทำอย่างไรให้ภายนอกดูดีเท่านั้นเป็นพอ” ส่วนข้างในจะเป็นอย่างไรไม่สำคัญ ดังนั้น ที่ปรากฏออกมาว่าเป็นผู้เคร่งครัดในศาสนา อาจเป็นเพียงหน้ากากที่ปกปิดความไม่เข้าใจทางด้านจิตใจอย่างแท้จริงเอาไว้ การกล่าวอ้างถึงความรู้อาจเป็นเปลือกนอกของความหยิ่งยโสที่โง่เขลา การแสดงความ “แน่” ออกมาอาจเป็นการเสแสร้งเพื่อปกปิดความ “ไม่มีน้ำยา” เอาไว้
วันหนึ่ง
เมื่อตื่นขึ้นมารู้ความจริงว่า ตลอดเวลาที่คิดว่าทำงานเพื่อคนอื่นนั้น ความจริงแล้วเรากำลังทำเพื่อตัวเองเหมือนสถาปนิกในนิทาน เมื่อเราให้ตัวเราเองน้อยกว่าที่เราสามารถได้จริงๆนั้น เราไม่ได้โกงผู้อื่น หากแต่เราโกงตัวเอง
โชคดี
ที่เราไม่เหมือนสถาปนิกผู้นั้น เพราะไม่ต้องถูกปลดเกษียณ เราจึงยังมีโอกาสแก้ตัวได้ เมื่อสามารถเข้าใจได้ว่าความจริงแล้ว ตัวเราแสดงบทบาททั้งนายจ้างและลูกจ้างอยู่ในขณะเดียวกัน เราอาจสามารถเลิกบ่อนทำลายตัวเองด้วยวิธีที่สถาปนิกใช้
เมื่อรู้สึกตัวเช่นนั้นแล้ว ไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงอีกต่อไปว่า ใครจะเฝ้ามองดูเราหรือคนจะคิดกับเราอย่างไร เรายังคงยืนหยัดกับการพัฒนาจิตใจต่อไป ไม่ว่าจะมีใครเห็นสิ่งที่เรากำลังทำหรือไม่ก็ตาม
ในตอนท้ายบทที่ 59 ของเต๋าเต็กเก็งกล่าวไว้ว่า
ด้วยกฎหลักแห่งพลังที่มีมาแต่กำเนิดนี้
บุคคลสามารถดำรงอยู่ได้ตลอดไป
นี่คือการฝังรากลึกและเป็นรากฐานอันมั่นคง
เป็นหนทางไปสู่ความยั่งยืนและความเป็นอมตะ
ถ้าเราเพ่งความสนใจไปที่โลกภายนอกเหมือนผู้คนส่วนมากเขาทำกัน ลักษณะภายนอกที่เราสร้างขึ้นนั้น มิใช่สิ่งที่คงทนถาวร แต่ถ้าเราเพ่งความสนใจไปที่ภายในเหมือนดั่งที่ปราชญ์เต่าทำ เราจะสามารถเชื่อมโงเข้ากับกฎหลักของพลัง
บ้านที่สร้างอย่างดีเลิศจากภายในออกมา จะมีความแข็งแรงอย่างแท้จริงและคงทนต่อการทดสอบของกาลเวลา เช่นเดียวกับผู้ฝังรากลึกทางความรู้สึกนึกคิดและมีพื้นฐานทางจิตใจที่มั่นคง ก็เป็นการสร้างตัวเองจากภายในออกมา พวกเขาจะมีความเข้มแข็งที่แท้จริง และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างถาวร
เมื่อได้ตามที่เต๋าเต็กเก็งแนะนำ
เราจะกลายเป็นสถาปนิกที่แท้จริงผู้กำหนดชะตากรรมของตัวเองด้วยวัตถุก่อสร้างชนิดดีเลิศ คือ ความรัก ความกตัญญู ความเบิกบาน ความอ่อนน้อมถ่อมตน และบรรดาเพื่อนร่วมงานที่เต็มไปด้วยประสบการณ์ คือ ปัญญาแห่งปราชญ์
เราสามารถ
สร้างโชคชะตา
ให้เป็นงานชิ้นเอกที่แท้จริง.
หมายเหตุ ; ผมมีความเข้าใจว่า คุณเกรียงไกร เจริญโท ผู้เขียนวิเคราะห์และอธิบายธรรมจากเต๋า คงได้คัดเลือกเอาแต่ประเด็นสำคัญที่เราสามารถถือเป็นหลักในการดำเนินชีวิตที่ดีได้ (หากคุณศรัทธาและมีความเชื่อ) เพราะแทบทุกบทที่ผมอ่านจากหนังสือ “อยู่อย่างเต๋า” ที่คุณเกรียงไกรเขียนล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของคนทุกคน เช่น ดังที่ผมได้นำเสนอมาให้อ่านแล้วสองสามตอน และเรื่องนี้ถึงแม้จะเน้นการปฏิบัติเพื่อพัฒนาทางจิตใจ แต่ก็เป็นความหมายในเชิงวัตถุไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน
เป็นความจริงหรือเปล่านะ
ที่เราลืมกันไปว่า
แท้จริงแล้วทุกสิ่งทุกอย่างที่เราทำ
ล้วนแต่เพื่อตัวเราเองทั้งสิ้น
แต่ทำไม
เรา...
17 พฤษภาคม 2554
กระท่อมทุ่งเสี้ยว เชียงใหม่
บล็อกของ ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
เมื่อยังมีชีวิต
จงหายใจเข้าไว้ หายใจแรงๆ และหายใจอย่างสดชื่น เพราะภาระหน้าที่ของชีวิตคือการมีชีวิต ชีวิตที่กระปรี้กระเปร่า และถ้าเป็นไปได้ควรต้องรื่นรมย์กับชีวิต บาปอันยิ่งใหญ่ของมนุษย์ (บางทีสำหรับสิ่งมีชีวิตทั้งปวง) คือการปฏิเสธชีวิต
การมีชีวิต
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ฉันเป็นเท่าที่ฉันเป็น
ฉันทำเท่าที่ฉันหวัง
ฉันหวังเท่าที่ฉันเห็น
ฉันง่ายฉันงามฉันแจ่มชัด
ฉันเชื่อหนึ่งมากกว่าร้อย
ฉันเชื่อคนมากกว่าลัทธิ
ฉันเชื่อดินมากกว่าฟ้า
ฉันเชื่อต้นหญ้ามากกว่าขุนเขา
ฉันเชื่อสวนหลังบ้านมากกว่าป่าหิมพานต์
ฉันเชื่อวันนี้มากกว่าวันวาน
ฉันง่ายฉันงามฉันแจ่มชัด
ฉันไม่เชื่ออำนาจรัฐจากกระบอกปืน
ฉันเป็นเท่าที่ฉันเป็น.
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
อิสรภาพ
ฉันต้องการอิสรภาพ
ที่จะได้เห็น ที่จะได้ยิน
ในสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
เป็นที่ทราบกันดีว่า
กฎหมายอาญามาตรา 112 เป็นกฎหมายที่สร้างความทุกข์สาหัสให้แก่ผู้ที่ถูกกล่าวหาว่า “หมิ่นสถาบัน” มามากมายหลายคน เพราะกฎหมายนี้ถูกตราขึ้นมาอย่างกว้างๆไม่ระบุขอบข่ายความผิดให้ชัดเจน รวมทั้งกระบวนการจับกุม สอบสวน ดำเนินคดี ก็มิได้เป็นไปตามปกติทั่วไป มิหนำซ้ำการตีความบังคับใช้มาตรานี้ ว่ากันว่า เจ้าหน้าที่สามารถตีความใช้ได้อย่างกว้างขวาง และนักการเมืองมักจะใช้เป็นเครื่องมือในการทำลายฝ่ายตรงกันข้ามอยู่เสมอ และผู้ต้องคดีนี้นอกจากจะติดคุกติดตะรางแล้ว ยังถูกซ้ำเติมจากสังคมที่จงรักภักดีต่อสถาบันอย่างรุนแรง
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
คือแม่น้ำและขุนเขาอันขรึมขลัง
คือพลังคีตกานท์อันหวานไหว
คือหนึ่งจิตวิญญาณล้านนาไทย
คือดอกไม้สวยสะคราญบานนิรันดร์
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ย้อนกลับไปทบทวนดู
คำประกาศหลังจากรับพระราชทานโปรดเกล้าฯของคุณยิ่งลักษณ์ตอนหนึ่งที่กล่าวว่า
“อุปสรรคข้างหน้ายังรอเราอยู่มาก ทั้งที่ควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ แต่ทั้งหมดมิใช่อุปสรรคขวางกั้นมิให้ทำงาน พร้อมที่จะอุทิศตัวด้วยความทุ่มเท เสียสละอดทน ทำงานแข่งกับเวลา ไม่เกรงต่อความลำบากใดๆ”
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
แล้ว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย หมายเลข 1 ก็ได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 28 และ เป็นนายกหญิงคนแรกในประวัติศาสตร์การเมืองของเมืองไทย และเป็นคนที่ 52 ของโลก อย่างสมบูรณ์ โดยได้รับการโหวตเสียงจากที่ประชุมสภาฯ เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2554 ด้วยคะแนนเสียงเห็นด้วย 296 เสียง ไม่เห็นด้วย 3 เสียง และงดออกเสียง 197 เสียง ก่อนจะได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ในวันที่ 8 สิงหาคม 2554 เวลา 18.40 น. ณ บริเวณตึกชั้น 7 ที่ทำงานพรรคเพื่อไทย ท่ามกลางความยินดีของคนจำนวนมากมาย ที่สนับสนุนคุณยิ่งลักษณ์และพรรคเพื่อไทย
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
คราวที่แล้ว
ผมนำเรื่อง “คนดีของคนเมือง และ คนดีของชนบท” ที่แตกต่างกัน จากบทสัมภาษณ์ที่ชื่อว่า “ความคาดหวังและความจริงของประชาธิปไตยแบบไทยๆ” ของ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ซึ่งให้สัมภาษณ์ลงนิตยสารสารคดี ฉบับเดือนตุลาคม 2543 ผมคิดว่าจะหยุดเพียงแค่นั้น แต่ก็หยุดไม่ได้ เพราะพบว่ายังมีประเด็นที่ผมคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้อ่านอีกสองประเด็น ที่ยังเป็นเรื่องราวที่ยังดำรงอยู่ในปี 2544 และต่อไปอีกนานเท่าไหร่ ก็คงไม่มีใครรู้ เพราะมันเป็นรื่องของอนาคต
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผมมักจะได้ยิน
ผู้คนและสื่อต่างๆเกี่ยวกับการเมือง มักจะพูดกันให้ได้ยินอยู่เสมอว่า
“คนชนบทเป็นคนเลือกตั้งรัฐบาล คนเมืองเป็นคนล้ม”
ซึ่งดูเหมือนจะเป็นความจริงมาโดยตลอด แต่ก็ไม่มีใครให้คำอธิบายที่ฟังดู สมเหตุสมผลและชอบธรรม ให้ฟัง ว่าทำไมคนเมืองที่หมายถึงคนชั้นกลาง จึงไม่ชอบรัฐบาลที่ได้มาจากเสียงส่วนใหญ่ที่เป็นคนชนบทในประเทศ และช่วยกันล้มรัฐบาลที่เขาเลือกตามกติกา
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ถึงแม้ คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
จะได้รับการรับรองจาก กกต. ให้หลุดพ้นจากข้อหาไปช่วยขบวนแห่ที่เชียงราย ให้พ้นจากข่ายความผิดด้วยมติ 5 ต่อ 0 ท่ามกลางความโล่งอกของใครต่อใครมากมายหลายคน ที่ว่ากันว่า เป็นเพราะโพลเสียงจากประชาชน 80 เปอร์เซ็นต์ ต้องการคุณยิ่งลักษณ์นายกฯ (รวมทั้ง นปช.) เป็นกระแสกดดัน กกต. หรือเพราะเหตุใดก็ช่างเถิด แต่เราก็สามารถฟันธงกันได้เลยว่า อีกไม่นาน เราจะต้องได้นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศอย่างแน่นอน
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผมไม่แน่ใจว่า
ก่อนที่คุณยิ่งลักษณ์ ว่าที่นายกฯ ยิ่งลักษณ์ คนสวย และกลุ่มมันสมองของพรรคเพื่อไทยจะชูนโยบายประชานิยม เพิ่มค่าแรงงานขั้นต่ำให้กรรมกรผู้ใช้แรงงานจาก 221 บาท เป็น 300 บาท และเพิ่มเงินเดือนให้แก่ผู้จบปริญญาตรีที่เริ่มเข้าบรรจุงานจาก 11,028 บาท เป็น 15,000 บาท
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผมกำลังจะชวนใครต่อใคร
เข้ามาคุยเรื่องปัญหาที่รัฐบาลใหม่จะต้องเข้ามาสะสางและแก้ไข จากข้อมูลของนักวิเคราะห์การเมืองท่านหนึ่งที่รวบรวมและชี้แนะเอาไว้ล่วงหน้าแก่รัฐบาลของคุณยิ่งลักษณ์เอาไว้