Skip to main content

 

 
 

ผมมักจะได้ยิน
ผู้คนและสื่อต่างๆเกี่ยวกับการเมือง มักจะพูดกันให้ได้ยินอยู่เสมอว่า
คนชนบทเป็นคนเลือกตั้งรัฐบาล คนเมืองเป็นคนล้ม
ซึ่งดูเหมือนจะเป็นความจริงมาโดยตลอด แต่ก็ไม่มีใครให้คำอธิบายที่ฟังดู สมเหตุสมผลและชอบธรรม ให้ฟัง ว่าทำไมคนเมืองที่หมายถึงคนชั้นกลาง จึงไม่ชอบรัฐบาลที่ได้มาจากเสียงส่วนใหญ่ที่เป็นคนชนบทในประเทศ และช่วยกันล้มรัฐบาลที่เขาเลือกตามกติกา 

นอกจากคำอธิบายที่เป็นนัยยะว่า เพราะเป็นรัฐบาลที่มาจากคะแนนเสียงจำนวนมากที่ไร้คุณภาพเพราะด้อยการศึกษา เขาจึงต้องโค่นล้ม ซึ่งผมฟังแล้ว อดรู้สึกเจ็บปวดแทนทั้งรัฐบาลและพี่น้องที่เป็นคนชนบทไม่ได้ ที่ถูกคนเมืองเขาประเมินคุณค่ากันเช่นนี้  

จึงได้แต่สงสัยมาโดยตลอด
ว่าเป็นความจริงหรือไม่ แต่ก็ไม่สามารถหาคำตอบแบบที่ผมต้องการได้ จนกระทั่งได้อ่านบทสัมภาษณ์  ดร.เอนก เหล่าธรรมทัต  คณะบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาธรรมศาสตร์ ชื่อ  ความคาดหวังและความจริงของประชาธิปไตยแบบไทยๆ จากหนังสือสารคดีฉบับ 188 ประจำเดือนตุลาคม 2543 คือเมื่อสิบกว่าปีแล้ว ผมจึงได้คำตอบที่ฟังดูเป็นเหตุเป็นผลและชอบธรรม เป็นที่พอใจแก่ตัวเองในระดับหนึ่งได้ จึงขอตัดต่อเอาเฉพาะส่วนที่ผมได้รับคำตอบมาให้อ่าน เผื่อท่านที่มีอาการคันในหัวใจอย่างผม จะได้ทุเลากันลงบ้าง ดังนี้

สารคดี ; แสดงว่าชาวบ้านมองประโยชน์ของประชาธิปไตยเพียงแค่นี้หรือ

ดร.เอนก
; ประชาธิปไตยไทยเป็นประชาธิปไตยของคนสองพวก คือ พวกชาวบ้าน กับ พวกชาวเมือง เป็นประชาธิปไตยสองนครา ถ้าถามชาวบ้านประชาธิปไตยที่เขาต้องการ คือ ส.ส. ต้องสนใจชาวบ้าน เสียงของชาวบ้านทั้งหมู่บ้านที่พร้อมใจกันลงคะแนนให้คนใดคนหนึ่ง มันมีน้ำหนักทำให้ชาวบ้านมีอำนาจต่อรองมากขึ้น ถ้าชาวบ้านเลือกอิสระ ต่างคนต่างเลือกแบบคนชั้นกลางหรือคนในเมือง เสียงของพวกเขาก็จะไม่มีน้ำหนัก ชาวบ้านรู้ว่าเขามีฐานะต่ำกว่านักการเมือง แต่ขณะเดียวกัน เขาก็สามารถเรียกร้องและต่อรองกับนักการเมืองได้พอควร

การเมืองของเรา
ยังตัดสินด้วยเสียงของคนยากคนจน คนชั้นล่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกษตรกร ฉะนั้นใครอยากมีอำนาจ ก็ต้องทำตัวให้เป็นที่ยอมรับ ให้เป็นที่ไว้ใจ ให้เป็นที่รักใคร่ของชาวนาชาวไร่... (รวมทั้งผู้ใช้แรงงาน / ถนอม ไชยวงษ์แก้ว เพิ่มเติม)

ค่านิยมหรือความคิด
ที่ใช้เป็นมาตรในการมองหรือวิจารณ์สังคมไทย ก็คือเกณฑ์หรือมาตรของคนชั้นกลางในเมือง ซึ่งมีสัดส่วนแค่ 15 - 20 เปอร์เซ็นต์ ของประชากรไทยทั้งหมด

ความคิด
หลัก ของสังคมไทย จึงเป็นความคิดของคนชั้นกลางหรือคนมีการศึกษา ขณะที่ความเป็นจริงทางการปฏิบัติ คนส่วนใหญ่ของสังคมเรายังเป็นคนยากคนจน ยังเป็นเกษตรกร ซึ่งวิธีคิดของเขาไม่เหมือนกับคนชั้นกลาง

ฉะนั้น
เมื่อเวลาเขาเลือก ส.ส. มาทุกที ก็จะเป็นคนที่ไม่ถูกใจของคนชั้นกลาง บ่อยครั้ง คนชั้นกลางเข้าใจว่าชาวบ้านถูกหลอก แต่เท่าที่ผมไปคุยด้วย ชาวบ้านเขาไม่ได้คิดแบบนั้น เขาคิดว่าเขาได้เลือกคนดีเข้ามา แต่ก็คนเหล่านี้แหละ ที่คนชั้นกลางเขารังเกียจ ไม่ต้องการ คนดีของคนเมืองกับคนดีของคนชนบท จึงไม่เหมือนกัน

คนดีของคนเมือง
ต้องเน้นเรื่องหลักการ
นโยบาย
อุดมการณ์ไม่โกงกิน
ไม่เล่นพรรคเล่นพวก
ไม่ฝ่าผืนกฎหมายเลย

แต่สำหรับชาวบ้านแล้ว
คนดีคือคนที่เหนือกว่าเขา
รวยกว่าเขา แต่ให้ผลประโยชน์แก่เขาได้
เมื่อเขาถูกรังแก เมื่อเขาทำผิดกฎหมาย
คนดีของเขาช่วยเขาได้

หน้าที่ของ ส.ส. คือเข้าไปช่วยชาวบ้าน เวลาชาวบ้านถูกจับในข้อหาลักลอบขนไม้เถื่อน ส.ส. คนไหนยิ่งช่วยชาวบ้านได้มากเท่าไหร่ ส.ส. คนนั้นก็เป็นคนดี

เพราะฉะนั้น ส.ส. ก็ต้องพยายามไปมีอิทธิพล มีเส้นสายกับ ผู้พิพากษา อัยการ ตำรวจ เพราะถึงเวลาที่ชาวบ้านขอให้ช่วยจะได้ช่วยได้

ถ้าถามว่าชาวบ้านเขาคิดอย่างนี้ เขาไม่สนใจกฎหมายหรือเปล่า ไม่ใช่นะ แต่กฎหมายของชาวบ้านไม่เหมือนกับกฎหมายของรัฐ ถ้าเป็นเรื่องยาเสพติด แล้ว ส.ส. ไปช่วยพวกค้ายาเสพติด ชาวบ้านจะด่าให้เลย เพราะเขาไม่ชอบยาเสพติด ชาวบ้านรู้สึกว่า ยาเสพติดเป็นของไม่ดีนั่นเอง แต่ถ้าชาวบ้านถูกจับเรื่องขนไม้เถื่อน เขาจะรู้สึกว่ากฎหมายนั้นไม่เป็นธรรม...

คงจะพอเข้าใจกันได้
พอสมควรนะครับ  ว่าทำไม คนชนบทเลือกตั้งรัฐบาล แล้วคนเมืองจึงต้องหาไปเรื่องล้มกันทุกที และคราวนี้ เสียงจากชนบทก็เป็นผู้เลือกอีก เรามาคอยดูกันซิว่าคราวนี้ คนเมืองเขาจะล้มรัฐบาล ที่กำลังจะมีนายกรัฐมนตรี เป็นผู้หญิงคนแรกของประเทศ กันอย่างไร และจะล้มโดยวิธีการใช้กฎหมาย มาเป็นเครื่องมือเหมือนที่ผ่านๆมา และได้ผลอีกหรือเปล่า

ที่พูดมานี่
ผมไม่ได้คิดจะชักใบให้นาวาของคุณยิ่งลักษณ์เสีย หรือบั่นทอนกำลังใจอะไรกัน เพราะผมเลือกแล้วที่จะยอมรับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ไม่ว่าพรรคไหนจะขึ้นมาเป็นรัฐบาลตามกติกาของระบอบ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อไทย ประชาธิปัตย์ หรือพรรคอะไรก็แล้วแต่

ผมเพียงแต่กำลังมองไปตามข้อเท็จจริง ที่คนเมืองหรือคนชั้นกลางเขาจะต้องทำกันจนกลายเป็นขนบ เพราะเขามองว่า รัฐบาลที่มาจากคนยากคนจนที่ด้อยการศึกษา จะต้องเป็นรัฐบาลที่ไม่มีคุณค่า แต่นักการเมืองที่เป็นตัวแทนของพวกเขา ถึงคราวเลือกตั้งทีไรก็แพ้ ส.ส. ไม่ดี พรรคการเมืองไม่ดี จากคะแนนที่ไร้คุณภาพ ตามทัศนะมุมมองของพวกเขาทุกที

ดังนั้น
พวกเขาจึงต้องหาเรื่องมาล้มรัฐบาลกันอีกต่อไป เพราะพวกเขาคงคิดกันว่า...ประเทศไทย ควรจะเป็นอย่างที่พวกเขา ซึ่งเป็นผู้กำหนดค่านิยม มาตรฐาน การศึกษา ระบบระเบียบ กฎกติกา และวัฒนธรรมต่างๆในสังคม ต้องการให้เป็นไปแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้นกระมัง พวกเขาจึงยอมไม่ได้

เพราะรัฐบาลของคนชนบท
ไม่ใช่คนดี
ตามมาตรฐานของพวกเขานั่นเอง !

หมายเหตุ ; ครับ อันนี้เป็นส่วนปลีกย่อยส่วนหนึ่งของหัวข้อใหญ่ที่อาจารย์ให้สัมภาษณ์ และตอบต่อข้อสงสัยของผมดังกล่าว ใจจริง ผมอยากจะนำส่วนอื่นที่น่าสนใจมาลงด้วย แต่ก็เกรงว่าท่านผู้อ่านจะเบื่อ จึงตัดมาให้อ่านและพยายามทำให้อ่านกันสนุกๆได้เพียงแค่นี้ ถ้าท่านสนใจอยากจะอ่านทั้งหมด ก็คงต้องไปหาหนังสือสารคดีเล่มนี้อ่านเอาเองนะครับ.

26 กรกฎาคม 2554

 

บล็อกของ ถนอม ไชยวงษ์แก้ว

ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ชีวิตเอย เหตุใดเล่า เจ้าจึงเศร้าโศกเสียใจร้องไห้คร่ำครวญ ให้กับบางสิ่งที่เจ้าได้สูญเสียมันไป เหมือนนมที่หกออกจากแก้วไปแล้ว...ตกลงบนพื้นดิน วันแล้ววันเล่า ไม่รู้จักจบสิ้น  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
12 เมษายน 2545 วันครบรอบวันเกิด...ที่แสนจะเจ็บปวด ขณะนั่งรถจักรยานยนต์ออกตรวจพื้นที่กับคู่หู ขับรถผ่านไปทางบ้านพ่อแม่ผู้พัน นายเก่าที่มาหยิบยืมเงินเราแล้วไม่ยอมใช้คืน เมื่อสองสามปีที่แล้ว พอเจอหน้า จอดรถจะเข้าไปถาม นายกลับรีบเดินหนี อนิจจา ! นายเอ๋ยนาย...ดอกไม่ต้องขอเพียงแค่ต้นคืนได้ไหม...
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  7   ครับ รายละเอียดเรื่องราวของเขา ที่ผมอยากรู้อยากเห็นเหลือเกิน เริ่มปรากฏอยู่ในบันทึกหน้านี้นี่เอง และเมื่อหยิบหน้าคอลัมน์ “ศาลาคลายร้อน” ที่เขาถ่ายสำเนาจากหนังสือนิตยสาร “ชีวิตรัก” มาให้ผม ซึ่งเป็นหน้า คอลัมน์ - ในช่วงที่เขาได้แบกเป้ออกไปตะลอนทัวร์ ช่วยคุณวนัสนันท์ ตามที่เขาตั้งปณิธานเอาไว้ออกมาอ่าน เพื่อทำความรู้จักทั้งคอลัมน์และตัวตนของคุณวนัสนันท์ ที่นำมือแห่งความเมตตาของคุณวรรณและคุณแขคนไทยในต่างประเทศ มาฉุดเขาขึ้นมาตจากขุมนรกอันลึกล้ำดำมืดแห่งหนี้สิน และมือแห่งความเมตตาอีกมากมายที่หลั่งไหลติดตามมา... ผมพบว่าคอลัมน์ “ศาลาคลายร้อน” ของคุณวนัสนันท์…
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
6 หลังจากงานศพของพ่อแล้ว เขาก็เริ่มตกเข้าไปอยู่ในวังวน - ของการหมกมุ่นครุ่นคิด...เป็นทุกข์อยู่กับหนี้สินอีก และพยายามต่อสู้กับตัวเองอย่างถึงที่สุด ระหว่างการคิดทำลายตัวเองตามพ่อไป เพื่อหนีความทุกข์ปัญหาอันหนักหนาสาหัส และการพยายามคิดหาเหตุผลต่างๆนานาที่จะมีชีวิตอยู่อีกต่อไป...
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
30 ตุลาคม 2539 วันนี้ นายเรียกข้าราชการตำรวจทั้งโรงพักมาประชุม เพื่อร่ำลาไปรับตำแหน่งใหม่ เห็นพวงมาลัย...ที่นายดาบหัวหน้าสายแต่ละสาย เตรียมมาให้นายแล้ว ได้แต่นึกเสียดาย... ท่านมากอบโกย...แล้วก็ไป
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  3. เขากลับกรุงเทพฯไปได้หนึ่งอาทิตย์กว่าๆ ผมก็ได้รับกล่องพัสดุขนาดใหญ่ หนักเกือบสองกิโลกรัมจากเขา เมื่อแกะกล่องออกมา ผมก็พบแฟ้มเก็บต้นฉบับที่เขาถ่ายสำเนามาจากหน้าคอลัมน์ “สะพานบุญ” ที่เขาเคยเขียนในนิตยสาร “ย้อนรอยกรรม”และ จากหน้าคอลัมน์ “ศาลาแรงบุญ” ในนิตยสาร “แรงบุญแรงกรรม” ที่เขาเขียนอยู่ในปัจจุบัน นับรวมกันได้ 60 กว่าเรื่อง หนาประมาณ 200 กว่าหน้ากระดาษ A4 รวมทั้งสำเนาต้นฉบับที่เขาถ่ายจากหน้าคอลัมน์ “ศาลาคลายร้อน” ของคุณวนัสนันท์ จากหนังสือ “ ชีวิตรัก” 15 แผ่น และจากกรอบหน้าคอลัมน์หนังสือพิมพ์รายวันที่เขียนยกย่องชื่นชมเขา 3 - 4 แผ่น
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
 1.  จินตวีร์ เกียงมี หรือที่มีชื่อเต็มยศว่า จ.ส.ต.จินตวีร์ เกียงมี ซึ่งปัจจุบันรับราชการตำรวจ ตำแหน่ง งานธุรการอำนวยการกองวิจัย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ  ที่ใครต่อใครต่างรู้จักกันทั่วไปทั้งประเทศ และเลื่องลือไปถึงเมืองนอกเมืองนาในวันนี้ ในฐานะ จ่าตำรวจใจบุญ ที่แบกเป้เที่ยวตะลอนๆ ไปช่วยเหลือคนที่กำลังตกทุกข์ได้ยาก แทบทุกหนทุกแห่งในประเทศ ที่ส่งเสียงร้องทุกข์โอดโอยมาให้เขาได้ยิน ซึ่งเราได้รับรู้เรื่องราวของเขาจากสื่อต่างๆ  ไม่ว่าจะเป็นสื่อทางวิทยุ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร อินเตอร์เน็ต ฯลฯ และที.วี.แทบทุกช่องที่นำเรื่องราวของเขา มาบอกเล่าแก่สาธารณะชน  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
 สมัยที่ผมยังทำงานเป็นนักดนตรีประจำร้าน สายหมอกกับดอกไม้ ของคุณอันยา โพธิวัฒน์ คู่ชีวิตของคุณจรัล มโนเพ็ชร ศิลปินผู้ยิ่งใหญ่แห่งล้านนา ผู้ล่วงลับไปแล้ว ก่อนจะออกมาทำงานเขียนและงานเกี่ยวกับหนังสืออย่างเต็มตัวในทุกวันนี้ ผมจำได้อย่างแม่นยำว่า ภายในร้านสายหมอกกับดอกไม้ นอกจากเฟอร์นิเจอร์และเครื่องประดับตกแต่งภายใน ที่ประกอบด้วย โต๊ะ เก้าอี้ ที่เป็นเครื่องไม้ ภาพเขียน รูปปั้น และ ข้าวของเครื่องใช้ ผลงานเพลงของคุณจรัลในตู้โชว์ ตลอดจนรูปภาพของคุณจรัลตามฝาผนังห้องในอิริยาบถต่างๆแล้ว ยังมีกระจกเงาเก่าแก่บานหนึ่ง กว้างประมาณ สองฟุต สูงท่วมหัว ประดับอยู่ตรงมุมห้องโถงด้านขวามือใกล้ๆกับเวทีเล่นดนตรี…
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  3 กันยายน 2552 ปีนี้ นอกจากจะเป็นวันรำลึกครบรอบการจากไปของ จรัล มโนเพ็ชร ศิลปินผู้ยิ่งใหญ่แห่งล้านนาแล้ว วันนี้ยังมาตรงกับวันจัดงาน " แอ่วสันป่าตอง " ซึ่งเป็นงานของโครงการย้อนยุคอำเภอสันป่าตอง ที่มีเป้าหมายที่จะแนะนำอำเภอสันป่าตองเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยมีสภาวัฒนธรรมอำเภอเป็นตัวหลักในการจัดงาน ร่วมกับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนอีกมากมายหลายองค์กร ฯลฯ
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  ก่อนอาทิตย์ตกในไร่ข้าวโพดสีส้มโชติโชนอยู่อีกครู่ใหญ่แผ่ร่มเงาความเวิ้งว้างกว้างออกไปอีกหนึ่งวันกลืนวันวัยในวันนี้
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  ฉันเอยฉันทลักษณ์ ยากยิ่งนักจะประดิษฐ์มาคิดเขียน เป็นบทกวีงามวิจิตรสนิทเนียน มิผิดเพี้ยนตามกำหนดแห่งกฎเกณฑ์
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
มิ่งมิตร เธอมีสิทธิ์ที่จะล่องแม่น้ำรื่น ที่จะบุกดงดำกลางค่ำคืน ที่จะชื่นใจหลายกับสายลม